NOTE: Some content may not display correctly, including tables and figures. See PDF for full details.
แผนแม่บทการพัฒนา ระบบโครงขา่ยสมาร์ทกริดของประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579
ค าน า
ไฟฟ้าเป็นพลังงานประเภทหนึ่งที่มีรูปแบบการใช้งานที่หลากหลายที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับพลังงาน ประเภทอื่นๆ โครงสร้างพื้นฐานที่จ าเป็นในการผลิต การส่ง การจ าหน่าย และการใช้ไฟฟ้า ได้ถูกออกแบบและใช้ งานมาอย่างยาวนาน โครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้มีส่วนส าคัญต่อการเติบโตทางด้านอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของ ประเทศในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ถ้าหากไม่มีพลังงานไฟฟ้า การด าเนินการในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นด้าน อุตสาหกรรมหรือแม้แต่การด าเนินชีวิตประจ าวันจะเกิดอุปสรรคหรืออาจหยุดชะงักได้ การเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจที่สูงขึ้นก็ส่งผลให้ยิ่งมีความต้องการพลังงานไฟฟ้าที่มีคุณภาพและมีความเชื่อถือได้มากขึ้นตามไปด้วย ซึ่ง การเกิดความขัดข้องในระบบไฟฟ้าที่ใดที่หนึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างต่อทั้งระบบได้ทั้งนี้ ใน ปัจจุบันการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อผลิตไฟฟ้าส่งผลให้มีการปลดปล่อยก๊าซ CO2 ออกมาในปริมาณมากโดย มลภาวะที่เกิดจากการปลดปล่อย CO2 ที่มากขึ้นรวมถึงความต้องการพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นผลักดันให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าขึ้น แนวทางที่จะบรรลุเป้าหมายในการแก้ปัญหาดังกล่าวจะต้องมีการ จัดหาไฟฟ้าให้เพียงพอเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น และในขณะเดียวกันจะต้องมีการปลดปล่อยก๊าซ CO2 ที่น้อยลง รวมถึงจะต้องมีการจัดการในด้านการผลิต การส่ง การจ าหน่าย และด้านการใช้พลังงานไฟฟ้าให้มี ประสิทธิภาพสูงสุดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมีแนวโน้มสูงขึ้น เรื่อยๆ แตอ่ ย่างไรก็ดี เมื่อเปรียบเทียบกับพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมดแล้วยังถือว่าพลังงานหมุนเวียนดังกล่าวยัง มีปริมาณอยู่น้อยมากอีกทั้งการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนยังมีปัญหาในเรื่องความไม่แน่นอนของแหล่งผลิต และความไม่ต่อเนื่องหรือไม่สม่ าเสมอของพลังงานที่ผลิตได้ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องหาวิธีปรับปรุงแก้ไขต่อไป การที่จะ เชื่อมต่อแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่มีมากขึ้นเข้ากับระบบได้อย่างมีเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพ จ าเป็นต้องมีโครงสร้างพิเศษที่ประสานงานการด าเนินการดังกล่าว ซึ่งแนวทางหนึ่งที่เป็นไปได้ในการปรับปรุงและ แก้ไขปัญหาในระบบไฟฟ้า คือการพัฒนาระบบไฟฟ้าให้มีความชาญฉลาดหรือรวมเรียกว่าระบบโครงข่าย
“สมาร์ทกริด” (Smart Grid)
ในการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศ หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ทั้งจาก ภาครัฐ คือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตการไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่ายและภาคเอกชนคือ นักลงทุน ภาคอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา และผู้ใช้ไฟฟ้านั้นต่างก็มีบทบาทในการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดทั้งสิ้นหากแต่มุมมอง การพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของแต่ละภาคส่วนนั้นย่อมเป็นไปตามภารกิจของแต่ละหน่วยงานดังนั้น กระทรวงพลังงาน โดยส านักงานนโยบายและแผนพลังงานจึงได้จัดท าแผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดของไทย พ.ศ. 2558-2579 ขึ้น เพื่อวางกรอบทิศทางการพัฒนานโยบายระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของ ประเทศในภาพรวม เพื่อให้แต่ละหน่วยงานซึ่งมีงบประมาณในการพัฒนาของตนเองมีทิศทางการก าหนดแผนการ พัฒนาและลงทุนที่สอดคล้องกับกรอบการพัฒนาตามนโยบายของประเทศโดยเนื้อหาของแผนแม่บทฯ ฉบับนี้ ประกอบไปด้วย ความจ าเป็นของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทย บริบท/ปัจจัยการพัฒนาระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริด วิสัยทัศน์และประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทย และสรุป แผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทย ทั้งนี้ แผนแม่บทฯ ดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดบูรณาการด้าน การจัดหาไฟฟ้าและการใช้ไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอ มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน มีคุณภาพบริการที่ดี และเกิดประโยชน์ สูงสุดต่อประเทศได้ในที่สุดต่อไป
กระทรวงพลังงาน กุมภาพันธ์ 2558
สารบัญ
1. บทน า 1
2. ความจ าเป็นของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทย 3
3. บริบท/ปัจจัยการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด 8
3.1 บริบท/ปัจจัยการพัฒนาในต่างประเทศ 8
3.2 บริบท/ปัจจัยการพัฒนาภายในประเทศ 11
4. วิสัยทัศน์และประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทย 14
4.1 วิสัยทัศน์ 14
4.2 ประเด็นยุทธศาสตร์ 14
4.3 เป้าประสงค์และตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ 17
4.3 ปัจจัยขับเคลื่อน (Driving Forces) และภาพฉายอนาคต (Scenarios) 20
5. แผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทย 22
5.1 นโยบายและกิจกรรมขับเคลื่อนการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทย 22
5.2 แผนการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด 25
6. สรุปภาพรวมแผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทย 29
6.1 เป้าหมายของการพัฒนาในช่วงระยะที่ 1 (ระยะเตรียมการ) 31
6.2 เป้าหมายของการพัฒนาในช่วงระยะที่ 2 (ระยะสั้น) 32
6.3 เป้าหมายของการพัฒนาในช่วงระยะที่ 3 (ระยะปานกลาง) 33
6.4 เป้าหมายของการพัฒนาในช่วงระยะที่ 4 (ระยะยาว) 35
เอกสารแนบ ก. นโยบายและกิจกรรมการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
เอกสารแนบ ข. ผลของการด าเนินนโยบายและกิจกรรมการพัฒนาที่มีต่อการปรับปรุงดัชนีชี้วัดสัมฤทธิผล
เอกสารแนบ ค. ค่าระดับคะแนนปัจจุบันและระดับคะแนนเป้าหมายของดัชนีชี้วัดฯ พร้อมการแปรผล
เอกสารแนบ ง. กรอบวงเงินและผลประโยชน์ของกิจกรรมลงทุน
เอกสารแนบ จ. โครงการน าร่องการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
สารบัญรูปภาพ
รูปที่ 2.1 การวิเคราะห์การปรับปรุง/พัฒนาระบบไฟฟ้าของประเทศไทยด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนา 4 ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
รูปที่ 3.1 ผลประโยชน์ของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด 11
รูปที่ 3.2 บทบาทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของแต่ละภาคส่วนต่อยุทธศาสตร์ต่างๆ 13
รูปที่ 4.1 ตัวอย่างโครงสร้างความสัมพันธ์ของหน่วยงาน/องค์องกรที่เกี่ยวข้อง 16
รูปที่ 4.2 การก าหนดรูปแบบของ Scenarios ในอนาคต 20
รูปที่ 6.1 แผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทย พ.ศ. 2558-2579 30
สารบัญตาราง
ตารางที่ 3.1 แนวคิดของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในต่างประเทศ 8
ตารางที่ 3.2 สรุปผลการประเมินเงินลงทุน ผลประโยชน์ที่ได้รับ และสัดส่วนผลประโยชน์ต่อเงินลงทุน 9
โครงการ
ตารางที่ 3.3 ประเภทของเงินลงทุนที่ใช้ในการลงทุนพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด 10
ตารางที่ 3.4 ผลประโยชน์ของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด 10
ตารางที่ 4.1 สรุปดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาความเชื่อถือได้และคุณภาพ 17
ไฟฟ้า
ตารางที่ 4.2 สรุปดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของประเด็นยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนและประสิทธิภาพของการ 17
ผลิตและการใช้พลังงาน
ตารางที่ 4.3 สรุปดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาการท างานและการ 18
ให้บริการของหน่วยงานการไฟฟ้าฯ
ตารางที่ 4.4 สรุปดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการก าหนดมาตรฐานความเข้ากันได้ 19
ของอุปกรณ์ในระบบ
ตารางที่ 4.5 สรุปดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทาง 19
เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
ตารางที่ 4.6 สรุปผลภาพฉายอนาคตทั้ง 3 กรณี 21
ตารางที่ 5.1 ความสัมพันธ์ของนโยบายที่มีต่อประเด็นยุทธศาสตร์แต่ละด้าน 23
ตารางที่ 5.2 ความสัมพันธ์ของกิจกรรมการลงทุนในระบบส่งและระบบจ าหน่ายที่มีต่อประเด็น 24
ยุทธศาสตร์แต่ละด้าน
ตารางที่ 5.3 นโยบายและกิจกรรมพัฒนา/ลงทุนในเทคโนโลยีการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดเพื่อ 26
ยกระดับความสามารถของระบบไฟฟ้า (Smart System)
ตารางที่ 5.4 นโยบายและกิจกรรมพัฒนา/ลงทุนในเทคโนโลยีการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดเพื่อ 27
ยกระดับคุณภาพบริการที่มีต่อผู้ใช้ไฟฟ้า (Smart Life)
ตารางที่ 5.5 นโยบายและกิจกรรมพัฒนา/ลงทุนในเทคโนโลยีการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดเพื่อ 28
ยกระดับโครงสร้างระบบไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Society)
แผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทย
พ.ศ. 2558-2579
กระทรวงพลังงาน
บทน า
ไฟฟ้าเป็นพลังงานประเภทหนึ่งที่มีรูปแบบการใช้งานที่หลากหลายที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับพลังงาน
ประเภทอื่นๆ โครงสร้างพื้นฐานที่จ าเป็นในการผลิต การส่ง การจ าหน่าย และการใช้ไฟฟ้าซึ่งได้มีการใช้งานมา อย่างยาวนานในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ท าให้พลังงานไฟฟ้ามีส่วนส าคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและ อุตสาหกรรมของประเทศ ทั้งนี้ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นส่งผลให้มีความต้องการพลังงานไฟฟ้าที่มี คุณภาพและมีความเชื่อถือได้มากขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากหากเกิดความขัดข้องในที่ใดที่หนึ่งในระบบไฟฟ้าก็อาจ ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างต่อทั้งระบบเศรษฐกิจของประเทศได้ ปัจจุบัน ประเทศไทยผลิตไฟฟ้าโดยใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อผลิตไฟฟ้า ส่งผลให้มีการปลดปล่อยก๊าซ CO2 ออกมาในปริมาณมาก โดยมลภาวะที่เกิดจากการปลดปล่อย CO2 ที่มากขึ้น รวมถึงความต้องการพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าโดยมี เป้าหมายเพื่อจัดหาไฟฟ้าให้เพียงพอรองรับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันจะต้องมีการปลดปล่อย ก๊าซ CO2 ที่น้อยลง รวมถึงจะต้องมีการจัดการในด้านการผลิต การส่ง การจ าหน่าย และด้านการใช้พลังงานไฟฟ้า ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ดังนั้น การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลด การปลดปล่อยก๊าซ CO2ได้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอัตราการขยายตัวของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมี แนวโน้มที่สูงขึ้น แต่เมื่อเปรียบเทียบกับพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมดแล้วถือว่าพลังงานหมุนเวียนดังกล่าวยังมี สัดส่วนอยู่น้อยมาก อีกทั้งการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนยังมีปัญหาในเรื่องความไม่แน่นอนของแหล่งผลิต และความไม่ต่อเนื่องหรือความไม่สม่ าเสมอของพลังงานที่ผลิตได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องหาวิธีปรับปรุงแก้ไขต่อไป การที่จะเชื่อมต่อแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่มีมากขึ้นเข้ากับระบบได้อย่างมีเสถียรภาพและมี ประสิทธิภาพจะต้องท าการปรับปรุงและเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับระบบไฟฟ้า ซึ่งแนวทางหนึ่งที่เป็นไปได้ก็คือการ พัฒนาระบบไฟฟ้าให้เป็นระบบโครงข่ายที่มีความชาญฉลาดหรือที่เรียกว่าเป็นระบบ“สมาร์ทกริด” (Smart grid)
1.1 ความแตกต่างของระบบโครงข่ายไฟฟ้าปัจจุบันและระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด ระบบโครงข่ายไฟฟ้าในปัจจุบันมีวัตถุประสงค์การใช้งานหลัก คือ การส่งพลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้า ขนาดใหญ่ไปยังผู้ใช้ไฟฟ้า ซึ่งโดยทั่วไปแล้วพลังงานไฟฟ้าจะมีทิศทางการไหลของพลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่เพียง ทิศทางเดียว โดยที่ผู้ใช้ไฟฟ้ายังมีบทบาทในการผลิตไฟฟ้าที่จ ากัด รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลของระบบไฟฟ้า ระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ในระดับน้อยมาก และมีการท างานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์แบบอัตโนมัติอย่างจ ากัด
ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในอนาคตจะสามารถท างานร่วมกับอุปกรณ์ตรวจวัด ประมวลผล ระบบ อัตโนมัติและสื่อสารข้อมูล พร้อมทั้งควบคุมทิศทางการไหลของพลังงานไฟฟ้าและข้อมูลสารสนเทศให้สามารถไหล
แผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทยพ.ศ. 2558-2579 กระทรวงพลังงาน
ได้สองทิศทาง และยังสามารถรองรับแหล่งไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจ านวนมากที่กระจายอยู่ทั่วไป รวมถึงการ รองรับการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าที่จะเพิ่มจ านวนมากขึ้นในอนาคต และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถบริหาร จัดการการใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าในแต่ละวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 นิยามความหมายของระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด ปัจจุบันการก าหนดนิยามส าหรับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในหลายประเทศยังไม่มีนิยามที่ชัดเจนและ ใช้เป็นมาตรฐานสากลเดียวกันทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ประเทศส่วนใหญ่ที่ได้มีการด าเนินการพัฒนาเกี่ยวกับทางด้าน ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดมาบ้างแล้ว ต่างมีแนวคิดหลักในการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดที่มีทิศทางไปใน แนวเดียวกัน ดังนั้น ในการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดโดยรวมจะสามารถให้ความหมายกว้างๆ ได้ดังนี้ คือ “การพัฒนาให้ระบบไฟฟ้าสามารถตอบสนองต่อการท างานได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น หรือมี ความสามารถมากขึ้นโดยใช้ทรัพยากรที่น้อยลง (Doing more with less) มีประสิทธิภาพมีความน่าเชื่อถือ มี ความปลอดภัย มีความยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถท าให้เกิดขึ้นได้โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ระบบสื่อสารสารสนเทศ (ICT) ระบบเซนเซอร์ระบบเก็บข้อมูลและเทคโนโลยีทางด้านการควบคุมอัตโนมัติเพื่อท า ให้ระบบไฟฟ้าก าลัง (Power grid) สามารถรับรู้ข้อมูลสถานะต่างๆ ในระบบมากขึ้นเพื่อใช้ในการตัดสินใจอย่าง อัตโนมัติ ทั้งนี้ กระบวนการเหล่านี้จะต้องเกิดขึ้นทั่วทั้งระบบไฟฟ้าครอบคลุม ระบบผลิต ระบบส่ง ระบบจ าหน่าย และระบบผู้ใช้ไฟฟ้า”
1.3 องค์ประกอบพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีของระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดมีองค์ประกอบพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีที่มีคุณสมบัติสามารถตรวจวัด รับส่งสัญญาณข้อมูลและท างานร่วมกับอุปกรณ์และระบบไฟฟ้าอื่นๆ ได้ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในกลุ่มต่างๆ ทั้ง ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟท์แวร์ (Software) พีเพิลแวร์ (Peopleware) เช่น
- เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology, ICT)
- เทคโนโลยีการผลิตพลังงานไฟฟ้า การส่งจ่ายไฟฟ้า
- เทคโนโลยีการควบคุมโครงข่ายไฟฟ้าอัตโนมัติ
- เทคโนโลยีสมาร์ทมิเตอร์ (Advanced Metering Infrastructure, AMI), การปรับความต้องการไฟฟ้า (Demand Response)
- เทคโนโลยีการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้า (Energy Management System, EMS) ได้แก่ ภายใน บ้าน (Home EMS, HEMS), ภายในอาคาร (Building EMS, BEMS), ภายในโรงงาน (Factory EMS, FEMS) และภายในชุมชน (Community EMS, CEMS) เป็นต้น
ในการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทย หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐ และ ภาคเอกชน ได้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตการไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่ายนักลงทุนภาคอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา และผู้ใช้ ไฟฟ้านั้นต่างก็มีบทบาทในการพัฒนาทั้งสิ้นหากแต่มุมมองการพัฒนาของแต่ละภาคส่วนนั้นย่อมเป็นไปตามภารกิจ ของแต่ละหน่วยงานดังนั้นเพื่อให้การพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศของแต่ละภาคส่วนเป็นไปใน ทิศทางเดียวกันกระทรวงพลังงาน โดยส านักงานนโยบายและแผนพลังงานจึงได้จัดท าแผนแม่บทการพัฒนาระบบ
2
โครงข่ายสมาร์ทกริดของไทย พ.ศ. 2558-2579 ขึ้น เพื่อวางกรอบแนวทางการพัฒนานโยบายระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดในภาพรวม เพื่อให้แต่ละหน่วยงานซึ่งมีงบประมาณในการพัฒนาของตนเอง ก าหนดทิศทางการพัฒนา และลงทุนที่สอดคล้องกับกรอบการพัฒนาตามนโยบายของประเทศอันจะส่งผลให้เกิดการลงทุนที่ไม่ซ้ าซ้อน สามารถบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงาน และประสานการท างานแต่ละส่วนร่วมกันได้ ซึ่งจะส่งผลให้สามารถ จัดหาไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอ มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน มีคุณภาพบริการที่ดี และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศได้ใน ที่สุดต่อไป
- ความจ าเป็นของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทย
ระบบไฟฟ้าปัจจุบัน ได้ถูกออกแบบและพัฒนาอยู่บนแนวคิดของการบริหารระบบไฟฟ้าแบบรวมศูนย์มา
ตั้งแต่ต้น ในขณะที่ในปัจจุบัน มีการน าพลังงานหมุนเวียนและระบบไฟฟ้าขนาดเล็กแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Generation: DG) มาใช้งานมากขึ้นเพื่อท าให้เกิดการกระจายชนิดเชื้อเพลิง และส่งเสริมการใช้ เชื้อเพลิงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องได้อย่างยั่งยืนอย่างไรก็ตาม การใช้งานระบบส่งไฟฟ้าในบางครั้งไม่เอื้ออ านวยต่อการรองรับการเพิ่มขึ้นของระบบไฟฟ้าขนาดเล็กแบบกระจาย ศูนย์ได้ เช่น การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ไม่สัมพันธ์กับปริมาณไฟฟ้าที่จัดหาได้ในบาง ภูมิภาคโดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลจะส่งผลต่อปัญหาคุณภาพไฟฟ้าและเกิดปัญหาความเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าดับ ท าให้การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนไม่สามารถท าได้อย่างเต็มที่เนื่องจากติดปัญหาขีดจ ากัดของ สายส่ง นอกจากนี้ การขนานโรงไฟฟ้าขนาดเล็กเข้ากับระบบจ าหน่ายก็อาจท าได้ไม่เต็มที่เนื่องจากติดปัญหา ก าลังไฟฟ้าไหลย้อนกลับทิศทาง เป็นต้น นอกจากนี้ จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพความเป็นอยู่ของสังคม และการพัฒนาทางเศรษฐกิจและ อุตสาหกรรมท าให้การเติบโตของความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับความต้องการคุณภาพ พลังงานไฟฟ้าและการบริการที่ดีจากหน่วยงานการไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าในปัจจุบันซึ่งมีความละเอียดอ่อนและ ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และรวมไปถึงแนวคิดการรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านพลังงาน ท าให้ อุตสาหกรรมด้านพลังงานไฟฟ้าต้องมีการพัฒนาเพื่อรองรับการพัฒนาตามทิศทางดังกล่าวข้างต้นเพื่อให้เกิดการ พัฒนาทางด้านพลังงานอย่างยั่งยืนของประเทศการพัฒนาด้านพลังงานจะต้องรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้ง ทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและสังคม ซง่ึมีแนวทางการด าเนินการได้หลายแนวทางด้วยกัน อย่างไรก็ตาม แนว ทางการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้เป็นระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดเป็นแนวทางที่สามารถแก้ไขปัญหาได้หลายๆ ปัญหาด้วยกันดังสรุปได้ตามผังการวิเคราะห์ตามรูปที่ 2.1 รวมทั้งสามารถช่วยในการบริหารจัดการด้านพลังงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างให้ความส าคัญในการพัฒนา ดังนั้น การพัฒนา ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทย จึงเป็นเรื่องที่มีความจ าเป็นต่อการพัฒนาด้านพลังงานในระยะยาว ของประเทศ ด้วยเหตุผลความจ าเป็นต่างๆ ดังนี้
แผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทยพ.ศ. 2558-2579 กระทรวงพลังงาน
รูปที่ 2.1 การวิเคราะห์การปรับปรุง/พัฒนาระบบไฟฟ้าของประเทศไทยด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
4
1) ด้านระบบไฟฟ้า
- การพัฒนาระบบไฟฟ้าแบบการกระจายศูนย์ (Decentralized Generation: DG) เพื่อการ
รองรับการพัฒนาระบบไฟฟ้าขนาดเล็กแบบกระจายศูนย์โดยเปลี่ยนจากระบบไฟฟ้าแบบเดิมคือระบบไฟฟ้าแบบ
รวมศูนย์ (Centralized Power System) โดยมีการพัฒนาที่ครอบคลุมทั้งระบบผลิต ระบบส่ง และระบบจ าหน่าย
- การรองรับการปฏิบัติงานร่วมกันของหน่วยงานการไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ
(Interoperability) ในการปฏิบัติงานร่วมกันของรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าเพื่อการปฏิบัติงานทางด้านระบบไฟฟ้าก าลัง อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถท าได้โดยการใช้งานระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในการติดต่อสื่อสารบนมาตรฐานการ ติดต่อสื่อสารและการปฏิบัติการเดียวกัน
2) ด้านผู้ใช้ไฟฟ้า
- การรองรับความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นในระยะยาว การพัฒนาเพื่อรองรับการเติบโตของ
ความต้องการใช้ไฟฟ้า โดยที่ระบบไฟฟ้ายังสามารถรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้า คุณภาพของพลังงานไฟฟ้าที่ ดีและการปฏิบัติการของระบบที่มีประสิทธิภาพได้
- การรองรับการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากรองรับนโยบายการ
ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดเข้ามาช่วยเหลือในการบริหารจัด การพลังงาน ร่วมกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านพลังงานต่างๆเข้าด้วยกัน เช่น ระบบเซ็นเซอร์ เป็นต้น เพื่อช่วย ให้มีการใช้พลังงาน รวมทั้งการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ
3) ด้านสิ่งแวดล้อม
การรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรองรับการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตไฟฟ้า
จากพลังงานหมุนเวียน เพื่อการจัดหาพลังงานที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพร่วมกับการใช้งานเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น ระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) เป็นต้นเพื่อการพัฒนาด้านพลังงานที่ยั่งยืนควบคู่ไปกับการรักษา สิ่งแวดล้อม
2.1 ประโยชน์จากการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด การพัฒนาระบบ Smart grid ของประเทศไทยนั้น นอกจากเป็นการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าเดิมให้มี
ประสิทธิภาพการใช้งานให้ดีขึ้นเพื่อรองรับการประยุกต์ใช้งานต่างๆ ในระยะยาวจากการเปลี่ยนแปลงตามสภาพ เศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันและอนาคตแล้ว การพัฒนาและปรับปรุงระบบโครงข่ายไฟฟ้าเดิมให้เป็นระบบ Smart grid ยังถือเป็นการเพิ่มและเปิดโอกาสในการพัฒนาต่อยอดด้านต่างๆ ของประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ดังนี้
1) การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
- เพิ่มประสิทธิภาพการด าเนินการของภาคอุตสาหกรรม โดยการน าเทคโนโลยีระบบ Smart
grid มาประยุกต์ใช้ในการบริการจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าในอุตสาหกรรม และการรักษาระดับคุณภาพของ พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ จะสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและการด าเนินการ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อความสามารถ ในการแข่งขันทางเศรษฐกิจให้แก่อุตสาหกรรมไทยได้
- ลดมูลค่าการสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเกิดไฟฟ้าตกไฟฟ้าดับ จากสถิติอัตราการเกิดไฟฟ้า
ตกไฟฟ้าดับในแต่ละปีของประเทศไทย ก่อให้เกิดมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่ามหาศาล หาก สามารถลดอัตราการเกิดไฟฟ้าตกไฟฟ้าดับด้วยการใช้ระบบ Smart grid มาประยุกต์ใช้ด้วยแล้ว ประเทศชาติจะ ได้รับผลประโยชน์
2) การพัฒนาด้านธุรกิจและการลงทุน
- ส่งเสริมธุรกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และการอนุรักษ์พลังงาน เนื่องจากการใช้
งานระบบ Smart grid จะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และสามารถ บริหารจัดการด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ ซึ่งถือเป็นการสนับสนุนนโยบายการส่งเสริมการผลิต ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และการอนุรักษ์พลังงานของภาครัฐ
- เปิดโอกาสสู่การประกอบธุรกิจใหม่ จากความสามารถในการประยุกต์ใช้งานระบบ Smart grid
ที่มีความหลากหลาย น าไปสู่โอกาสของธุรกิจต่างๆ เช่น การให้ค าปรึกษาด้านการบริหารจัดการการใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพด้วยระบบ Smart grid และยังน าไปสู่การจ้างงานที่เพิ่มขึ้น เป็นการกระจายรายได้ไปสู่ ภูมิภาคต่างๆ ลดความเหลื่อมล้ าทางสังคมได้
3) การพัฒนาด้านวิทยาการความรู้ทางเทคโนโลยี
- การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับการพัฒนา
ระบบ Smart grid ทั้งนี้ยังสามารถส่งออกบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญดังกล่าวไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ ได้อีกด้วย
- การพัฒนาหลักสูตรระบบ Smart grid เป็นการสร้างชื่อเสียงในด้านวิทยากรความรู้ทางด้าน
เทคโนโลยีระบบ Smart grid เพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพ สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศ และดึงดูดความ สนใจจากต่างประเทศในด้านการศึกษาวิจัยและพัฒนา
- การพัฒนาโครงการน าร่องเทคโนโลยีระบบ Smart grid โดยสามารถด าเนินการให้เป็น
โครงการน าร่องในระดับชาติ เพื่อใช้เป็นโครงการตัวอย่างในการดึงดูดความสนใจจากต่างประเทศ ซึ่งถือเป็น ช่องทางและโอกาสในการส่งออกเทคโนโลยีระบบ Smart grid ของประเทศไทย
การพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านการท างานของผู้ให้บริการ
คือ การไฟฟ้าทั้ง 3 การ ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการต่อผู้ใช้ไฟฟ้าให้ดีขึ้น (Utility Operation and Service) และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศในภาพรวม นอกจากนั้นการพัฒนาดังกล่าวจะมีส่วนช่วย พัฒนาศักยภาพการแข่งขันระบบเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรมของประเทศ (Economic and Industrial Competitiveness) ให้มากขึ้นด้วย
ทั้งนี้ ประโยชน์หลักที่เกิดขึ้นต่อระบบไฟฟ้าและผู้ใช้บริการไฟฟ้ารวมถึงระบบเศรษฐกิจของประเทศอัน
เนื่องมาจากการพัฒนาระบบไฟฟ้าโครงข่ายสมาร์ทกริดในประเทศไทย สามารถสรุปไดด้ ังนี้
1) เพิ่มความเชื่อถือได้และคุณภาพของไฟฟ้าที่ประชาชนจะได้รับ
2) เพิ่มความยั่งยืนและประสิทธิภาพของการผลิตและใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย
3) พัฒนาการท างานและการให้บริการของหน่วยงานการไฟฟ้าฯ ให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ และเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน
4) แก้ปัญหามาตรฐานการเข้ากันได้ของอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต หากไม่มีการ วางแผนไว้ล่วงหน้าอย่างรอบคอบ
5) พัฒนาศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศในธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวข้องกับ ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
2.2 ผลของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดต่อนโยบายทางด้านพลังงานของกระทรวงพลังงาน นอกจากการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจะเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ ระบบไฟฟ้าซึ่งมีความส าคัญต่อการพัฒนาประเทศตามที่กล่าวในหัวข้อที่ผ่านมาแล้ว ยังส่งผลโดยตรงต่อการ ก าหนดนโยบายที่ส าคัญของกระทรวงพลังงานด้วย คือ นโยบายทางด้านการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน นโยบาย ด้านการอนุรักษ์พลังงาน และนโยบายการพัฒนาก าลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ
1) ผลของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดต่อนโยบายทางด้านการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน การพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด เช่น การติดตั้งระบบกักเก็บพลังงาน หรือการติดตั้งระบบ พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน จะช่วยให้ระบบไฟฟ้ามีความยืดหยุ่นสูงและสามารถรองรับการผลิต ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้มากขึ้น ดังนั้น การจัดท าแผนพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและพลังงานทางเลือก (AEDP) ในอนาคต จะสามารถก าหนดให้มีสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนได้สูงกว่าเดิมโดยไม่ส่งผลกระทบต่อ คุณภาพและความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า นอกจากนี้ การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจะพลังงานหมุนเวียนจะไม่ถูก จ ากัดด้วยเงื่อนไขของระบบส่งไฟฟ้าอีกต่อไป
2) ผลของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดต่อนโยบายทางด้านการอนุรักษ์พลังงาน การพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดเช่น ระบบบริหารจัดการพลังงานในอาคาร (BEMS) หรือ เทคโนโลยีการตอบสนองของโหลด (Demand Response) จะช่วยเพิ่มทางเลือกให้กับภาครัฐที่จะส่งเสริมการ อนุรักษ์พลังงาน การลดการใช้พลังงาน และการใช้พลังงานอย่างประสิทธิภาพได้มากขึ้น ดังนั้น การจัดท าแผน อนุรักษ์พลังงาน (EEDP) ในอนาคต จะสามารถคาดหวังสัดส่วนการลดความเข้มข้นของการใช้พลังงานที่สูงขึ้นได้ และสามารถก าหนดมาตรการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพได้หลากหลายมากขึ้น อันจะส่งผลให้ช่วย ลดความต้องการใช้พลังไฟฟ้าสูงสุดของประเทศอย่างมีนัยส าคัญได้
3) ผลของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดต่อนโยบายการพัฒนาก าลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ เนื่องจากการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจะช่วยให้สามารถลดความต้องการใช้พลังไฟฟ้าสูงสุดของ ประเทศตามนโยบายทางด้านการอนุรักษ์พลังงาน และช่วยเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตาม นโยบายทางด้านการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน ดังนั้น จะส่งผลต่อการจัดท าแผนพัฒนาก าลังผลิตไฟฟ้า (PDP) ของประเทศในที่สุด นอกจากนี้ การพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดเช่น ระบบผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ ระบบไมโครกริด และระบบกักเก็บพลังงานขนาดใหญ่ จะช่วยเพิ่มทางเลือกของการสร้างโรงไฟฟ้าในอนาคตให้ หลากหลายมากขึ้น ส่งผลให้การจัดท าแผนพัฒนาก าลังผลิตไฟฟ้าของประเทศในอนาคตจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
- บริบท/ปัจจัยการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
ปัจจัยที่เร่งให้เกิดการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในประเทศต่างๆ ทั่วโลก มีความแตกต่างกันไป ตามบริบทปัญหาและความจ าเป็นเร่งด่วนของประเทศนั้นๆ ทั้งนี้ ในการจัดท าแผนแม่บทการพัฒนาระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศ ได้พิจารณาทั้งบริบท/ปัจจัยการพัฒนาในต่างประเทศและความจ าเป็นในการ พัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทย ดังนี้
3.1 บริบท/ปัจจัยการพัฒนาในต่างประเทศ
โดยทั่วไป แนวคิด เหตุผลและความจ าเป็นของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของแต่ละประเทศ จะแตกต่างกันไปตามคุณลักษณะของระบบไฟฟ้า โครงสร้างพื้นฐาน และความพร้อมของโครงข่ายไฟฟ้าในประเทศ นั้นๆ จากการรวบรวมแนวคิดของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศต่างๆ จากบทความวิชาการ และเอกสารต่างๆ จะสามารถแบ่งแนวคิดในการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดได้เป็น 4 กลุ่มประเภทหลักๆคือ (1) เพื่อเพิ่มความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าในประเทศ (2) เพื่อปรับปรุงระบบไฟฟ้าในประเทศให้สามารถรองรับ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในปริมาณสูงได้(3) เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของความต้องการไฟฟ้าอย่าง รวดเร็ว และ (4) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการใช้พลังงานไฟฟ้าโดยรายละเอียดส าคัญๆ สามารถสรุปได้ ดงัตารางที่ 3.1
ตารางที่ 3.1 แนวคิดของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในต่างประเทศ
แนวคิดในการพัฒนา | เป้าประสงค์ | ตัวอย่างประเทศ | เทคโนโลยีหลัก |
- เพื่อเพิ่มความ เชื่อถือได้ของระบบ ไฟฟ้า | - ปรับปรุงโครงข่าย ไฟฟ้าที่เริ่มล้าสมัย - ลดค่าใช้จ่ายในการ บ ารุง รักษา - เพิ่มความเชื่อถือได้ของ ระบบไฟฟ้า | - สหรัฐอเมริกา - แคนาดา | - เทคโนโลยีการปรับปรุงระบบส่ง และระบบจ าหน่าย - เทคโนโลยีการจัดการไฟฟ้าดับ และการแก้ไขอัตโนมัติ - เทคโนโลยีสมาร์ทมิเตอร์ขั้นสูง - เทคโนโลยีการเฝ้าสังเกตและ การควบคุมจากระยะไกล |
- เพื่อให้สามารถ รองรับการผลิต ไฟฟ้าจากพลังงาน หมุนเวียนใน ปริมาณสูงได้ | - เพิ่มการผลิตไฟฟ้าจาก พลังงานหมุนเวียน - กระจายเชื้อเพลิงใน การผลิตไฟฟ้า - พัฒนาเมืองสมัยใหม่ที่ ปลดปล่อย CO2ต่ า | - ญี่ปุ่น (พลังงานแสงอาทิตย์) - ประเทศในกลุ่ม สแกนดิเนเวีย (พลังงานลม) - เยอรมนี (ชีวมวล) | - เทคโนโลยีระบบผลิตไฟฟ้าแบบ กระจายตัวหรือไมโครกริด - เทคโนโลยีการกักเก็บพลังงาน - รถยนต์ไฟฟ้า (EV) - เทคโนโลยีการปรับปรุงระบบ ส่งและระบบจ าหน่าย |
- เพื่อรองรับการ เพิ่มขึ้นของความ ต้องการไฟฟ้าอย่าง รวดเร็ว | - รองรับการเพิ่มของ ความต้องการไฟฟ้า อย่างรวดเร็วใน ประเทศก าลังพัฒนา | - จีน - อินเดีย - บราซิล | - เทคโนโลยีโรงไฟฟ้าใหม่ - เทคโนโลยีระบบส่งและ จ าหน่ายแบบใหม่ - เทคโนโลยีการเฝ้าสังเกตและ |
แนวคิดในการพัฒนา | เป้าประสงค์ | ตัวอย่างประเทศ | เทคโนโลยีหลัก |
| | | การควบคุมจากระยะไกล |
- เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการ ผลิตและการใช้ พลังงาน | - สามารถผลิตพลังงาน ไฟฟ้าใช้เองได้อย่าง พอเพียง - พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อ การส่งออกสินค้าและ บริการ | - ญี่ปุ่น - เกาหลี - จีน - สิงคโปร์ | - เทคโนโลยีสมาร์ทมิเตอร์ขั้นสูง - เทคโนโลยีระบบบริหารจัดการ พลังงาน - เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับระบบ สาธารณูปโภคพื้นฐานทางด้าน พลังงาน ขนส่ง การด ารงชีวิต การประกอบธุรกิจ ฯลฯ |
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาแนวคิดในการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในต่างประเทศนั้น ประเทศไทย อาจจะไม่จ าเป็นต้องน ามาใช้ทั้งหมด โดยระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทยอาจไม่จ าเป็นต้องล้ าสมัยมากที่สุด
อาจไม่จ าเป็นต้องปลดปล่อย CO2 น้อยที่สุด หรืออาจไม่จ าเป็นต้องลงทุนทุกเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเนื่องจากทิศทาง ของการพัฒนาระบบไฟฟ้าจะต้องสอดคล้องกับบริบทการพัฒนาของประเทศไทยเองเพื่อให้เหมาะสมกับ คุณลักษณะของประเทศเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างไรก็ดี ก็ยังจะต้องศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริดจากต่างประเทศเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นตัวอย่างของการพัฒนาอย่างรอบคอบ และเพื่อน า สิ่งที่ดีของโครงสร้างแต่ละประเทศมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทยได้ทั้งนี้ จะเห็นว่าในหลายๆ ประเทศ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีนญี่ปุ่นสหรัฐอเมริกา และ ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป ได้เริ่มด าเนินการกิจกรรมน าร่องที่เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดไปบ้างแล้ว การลงทุนในแต่ละเทคโนโลยีก็ เกิดผลประโยชน์และมีต้นทุนในการลงทุนที่แตกต่างกัน จากผลการศึกษาของ Electric Power Research Institute (EPRI) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ท าการศึกษาผลประโยชน์จากการลงทุนโครงการพัฒนาระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริดและประมาณการกรอบวงเงินที่ใช้ในการลงทุนพัฒนาของประเทศสหรัฐอเมริกา จะพบว่า กรอบวงเงินลงทุนที่ต้องใช้ ผลประโยชน์ที่ได้รับและสัดส่วนประโยชน์ต่อเงินลงทุนของโครงการพัฒนาระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริดในสหรัฐอเมริกา สามารถแสดงได้ดังตารางที่ 3.2โดยหากมีการด าเนินโครงการพัฒนาระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริดในสหรัฐอเมริกาครอบคลุมทั้งประเทศ จะต้องใช้เงินลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 337,678 – 476,190 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (USD) แต่จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ทั้งทางตรงต่อการไฟฟ้าฯ ผลประโยชน์ทางอ้อม ต่อผู้ใช้ไฟฟ้า และต่อสังคมโดยรวมประมาณ 1,294,000 – 2,028,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งคิดเป็นสัดส่วน ผลประโยชน์ต่อเงินลงทุน (Benefit to cost ratio) ประมาณ 2.8 – 6.0 เท่า
ตารางที่ 3.2 สรุปผลการประเมินเงินลงทุน ผลประโยชน์ที่ได้รับ และสัดส่วนผลประโยชน์ต่อเงินลงทุนโครงการ
ผลการศึกษาดังกล่าวให้รายละเอียดเกี่ยวกับกรอบเวลาในการลงทุนซึ่งครอบคลุมช่วงระยะเวลา ประมาณ 20 ปีโดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 17,000– 24,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ซึ่งครอบคลุมการ ลงทุนในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานระบบส่งและสถานีไฟฟ้าการลงทุนในระบบจ าหน่าย และการลงทุนในส่วนของ ผู้ใช้ไฟฟ้า รายละเอียดของสัดส่วนการลงทุนในส่วนต่างๆ แสดงดังตารางที่ 3.3
ตารางที่ 3.3 ประเภทของเงินลงทุนที่ใช้ในการลงทุนพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
การพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ทั้งทางตรงต่อการไฟฟ้าฯ และทางอ้อม ต่อผู้ใช้ไฟฟ้า โดยผลประโยชน์จากการพัฒนาระบบ Smart grid ดังกล่าวจะสะท้อนไปยังการพัฒนาในภาคส่วน ต่างๆ เช่น ค่าใช้จ่ายที่ลดลงในภาคการผลิตและการปฏิบัติการของระบบไฟฟ้าก าลัง การปรับปรุงความเชื่อถือได้ ของระบบไฟฟ้า การปรับปรุงคุณภาพทางไฟฟ้า และการปรับปรุงการให้บริการทางไฟฟ้า ซึ่งได้มีการประเมินผล ประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อภาคส่วนต่างๆ ทั้งในกรณีสูงและกรณีต่ าดังสรุปได้ตามตารางท ี่3.4 และรูปที่ 3.1
ตารางที่ 3.4 ผลประโยชน์ของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
รูปที่ 3.1 ผลประโยชน์ของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
3.2 บริบท/ปัจจัยการพัฒนาภายในประเทศ
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยมีแนวโน้มเติบโตขึ้นมาโดยตลอด ท าให้ ต้องท าการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติมเข้ามาในระบบอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี การก่อสร้างโรงไฟฟ้าในปัจจุบันท าได้ ยากมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากติดขัดปัญหาเรื่องการจัดหาพื้นที่ในการก่อสร้าง ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะ แวดล้อมและระบบนิเวศน์ และการต่อต้านจากภาคประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้ หากต้องท าการก่อสร้างโรงไฟฟ้า เพิ่มเติมเข้ามาในระบบเพื่อรองรับการเติบโตของความต้องการใช้ไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลา ก็จะเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่มี วันสิ้นสุด และจะกระทบต่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศในที่สุด แนวคิดของการแก้ปัญหาที่น าไปสู่ความ ยั่งยืนของประเทศมากกว่าก็คือ การพยายามบริหารจัดการความต้องการใช้ไฟฟ้าให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นและ ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าและพลังงานอื่นๆ ใช้เองในบริเวณศูนย์กลางที่มีการใช้พลังงาน ในมิติของการจัดหาแหล่งพลังงาน ในปัจจุบัน ประเทศไทยพึ่งพาการน าเข้าพลังงานจากต่างประเทศเป็น หลัก จากข้อมูลในปี 2554 พบว่ากว่าร้อยละ 60 ของความต้องการพลังงานปฐมภูมิ (Primary Energy) มาจาก การน าเข้าโดยมีสัดส่วนการน าเข้าน้ ามันสูงถึงร้อยละ 80 ของปริมาณการใช้น้ ามันทั้งหมดภายในประเทศและยังมี แนวโน้มจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้ การผลิตไฟฟ้าในปัจจุบันก็ยังมีการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงสูง ถึงกว่าร้อยละ 70 ดังนั้น การผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดการน าเข้าพลังงานปฐมภูมิ และ การพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานหมุนเวียนอย่างจริงจังเพื่อช่วยลดสัดส่วนการน าเข้าเชื้อเพลิง และเพื่อกระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าของประเทศจึงถือเป็นหนึ่งในเป้าหมาย หลักที่คาดว่าจะบรรเทาปัญหาทางด้านพลังงานของประเทศได้อย่างมีนัยส าคัญ โดยในอนาคต หากเทคโนโลยี พลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังน้ าขนาดเล็ก พลังงานจากชีวมวล พลังงานจาก ก๊าซชีวภาพ และพลังงานจากขยะมีต้นทุนการผลิตถูกลงอย่างมีนัยส าคัญและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ก็ อาจสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งพลังงานหลักในการผลิตไฟฟ้าส าหรับประเทศไทยในระยะยาวได้ จากเหตุผลดังกล่าวกระทรวงพลังงานได้จัดท าแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (พ.ศ. 2554 - 2573) ขึ้นเพื่อ ใช้เป็นแผนแม่บทในการเพิ่มประสิทธิภาพและช่วยบริหารจัดการการใช้พลังงานของประเทศและวางยุทธศาสตร์ การลดการใช้พลังงานส่วนที่ไม่จ าเป็นลง และจัดท าแผนพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี (พ.ศ. 2555 - 2564) เพื่อก าหนดกรอบและทิศทางการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนของประเทศทั้งนี้ เป้าหมาย หลักของแผนพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและพลังงานทางเลือกฯ ก็คือการส่งเสริมให้สัดส่วนการใช้พลังงาน หมุนเวียนหรือพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นโดยมีเป้าหมายคิดเป็นร้อยละ 25 ของการใช้พลังงานรวมทั้งหมดของ ประเทศซึ่งจะส่งผลให้แนวโน้มของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนสูงขึ้นนั่นเอง อย่างไรก็ตามการเพิ่ม ประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อผลิตไฟฟ้ายังมีข้อจ ากัดอยู่ในปัจจุบันเนื่องจาก เทคโนโลยีการผลิตและการส่งจ่ายของระบบไฟฟ้าก าลังแบบดั้งเดิมไม่ได้ถูกออกแบบให้รองรับความสามารถเหล่านี้ เอาไว้ตั้งแต่ต้น ซึ่งการใช้เทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดโดยการน าเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ ระบบข้อมูลเข้ามาใช้ จะเป็นแนวทางส าคัญประการหนึ่งที่จะสามารถช่วยให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามแผน แม่บททั้งสองแผนได ้ นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจะช่วยให้การวางแผนการพัฒนาก าลัง ผลิตไฟฟ้าของประเทศมีมิติที่หลากหลายมากขึ้นนอกเหนือไปจากการพยายามก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว แต่จะเพิ่มความสามารถในการบริหารจัดการความต้องการใช้ไฟฟ้าที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นและสามารถเพิ่ม สัดส่วนของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้มากขึ้น
ในปัจจุบัน หน่วยงานการไฟฟ้าฯ ทั้งสามแห่งของประเทศไทยทั้ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้ตื่นตัวในด้านการพัฒนาระบบไฟฟ้าของ ตนให้มีความสามารถใกล้เคียงกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดหรือ Smart grid มากขึ้น และได้จัดท าแผนที่น า ทางการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของตนแล้ว อย่างไรก็ดี ในการพัฒนาระบบไฟฟ้าในปัจจุบันให้ไปสู่ระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริดนั้น ควรจะต้องมีการบูรณาการข้อมูลให้เกิดการพัฒนาร่วมกันเพื่อไม่ให้เกิดการลงทุนที่ซ้ าซ้อน และระบบของแต่ละหน่วยงานที่พัฒนาขึ้นต้องมีความเข้ากันได้โดยสมบูรณ์ นอกจากนี้ ผู้ก าหนดนโยบายการ พัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศซึ่งก็คือกระทรวงพลังงาน ควรจะต้องก าหนดกรอบให้โครงการต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นโดยการไฟฟ้าทั้งสามแห่งและภาคเอกชนเป็นไปตามหลักการและสอดคล้องกับนโยบายของการพัฒนา ของประเทศทั้งนี้ การก าหนดนโยบายหรือขอบเขตโครงการต่างๆ เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดให้ชัดเจนจึง เป็นสิ่งที่จ าเป็นจะต้องมีการศึกษาอย่างรอบคอบ โดยประเด็นหลัก ก็คือ อะไรเป็นคุณลักษณะจ าเพาะที่เหมาะสม ส าหรับประเทศไทยและจะสามารถวัดสมรรถนะหรือความผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดนั้น ได้อย่างไร ซึ่งประเด็นเหล่านี้ท าให้กระทรวงพลังงาน จ าเป็นที่จะต้องเร่งจัดท าแผนแม่บทการพัฒนาระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศเพื่อใช้เป็นกรอบนโยบายที่ส าคัญให้หน่วยงานต่างๆ มีทิศทางการพัฒนาที่ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาของประเทศ
3.2.1 แผนที่น าทางการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กฟผ. เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้เริ่มท าการวางแผนพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
พัฒนาปรับปรุงระบบไฟฟ้าให้มีความทันสมัย ประหยัด มีประสิทธิภาพ และมีส่วนช่วยในการลดสภาวะโลกร้อน โดย กฟผ. ได้ท าการร่างแผนที่น าทางการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของตน และท าการศึกษาผลกระทบที่มี ต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วม เช่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง ผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ ผู้ผลิตไฟฟ้าราย เล็ก และผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กมาก โดยได้ท าการว่าจ้างศูนย์เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีไฟฟ้าก าลัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยท าหน้าที่เป็นที่ปรึกษาจัดท าแผนที่น าทาง
3.2.2 แผนที่น าทางการพัฒนาระบบโครงขา่ ยสมาร์ทกริดของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีแผนพัฒนาโครงการ“โครงข่ายสมาร์ทกริด PEA Smart grid” ให้ ครอบคลุมทั่วทั้งระบบภายใน 15 ปีข้างหน้าโดยมีจุดมุ่งหมายหลักในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านระบบไฟฟ้าและ เทคโนโลยีด้านสารสนเทศและการสื่อสารให้เป็นระบบอัตโนมัติที่มีความสามารถมากยิ่งขึ้น โดยมีศูนย์เชี่ยวชาญ พิเศษเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีไฟฟ้าก าลัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยท าหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในการจัดท าร่างแผนที่ น าทาง
3.2.3 แผนที่น าทางการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้ว่าจ้างศูนย์เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีไฟฟ้าก าลัง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยท าหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในการร่างแผนที่น าทางพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด โดย กฟน. ได้ก าหนดแผนการในพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดครอบคลุมระยะเวลาทั้งหมด 15 ปีซึ่งแผนดังกล่าว ก าหนดการเริ่มต้นการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2555 – 2569
ในการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศ หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ทั้งจาก
ภาครัฐ คือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตการไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่ายและภาคเอกชนคือ นักลงทุน ภาคอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา และผู้ใช้ไฟฟ้านั้น ต่างก็มีบทบาทในการพัฒนาทั้งสิ้นหากแต่มุมมองการพัฒนาระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดของแต่ละภาคส่วนนั้นย่อมเป็นไปตามภารกิจหลักของแต่ละหน่วยงานดังนั้นกระทรวงพลังงานจึง จ าเป็นต้องวางกรอบการพัฒนานโยบายระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในภาพรวม เพื่อให้แต่ละหน่วยงานซึ่งมี งบประมาณในการพัฒนาของตนเองมีทิศทางการพัฒนาและลงทุนที่สอดคล้องกับกรอบการพัฒนาตามนโยบาย ของประเทศ อันจะส่งผลให้เกิดการจัดหาไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอ มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน มีคุณภาพบริการที่ดี และ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศได้ในที่สุดต่อไป แนวคิดดังกล่าวสามารถแสดงได้ดังรูปที่ 3.2
รูปที่ 3.2 บทบาทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของแต่ละภาคส่วนต่อยุทธศาสตร์ต่างๆ
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทย
4.1 วิสัยทัศน์
เพื่อให้การพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในประเทศไทยเกิดประโยชน์ต่อระบบไฟฟ้าและผู้ใช้บริการ
ไฟฟ้ารวมถึงระบบเศรษฐกิจของประเทศตามที่กล่าวไว้ในส่วนที่ผ่านมานั้นส านักงานนโยบายและแผนพลังงานใน ฐานะผู้จัดท าแผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทยได้ก าหนดวิสัยทัศน์ (Vision) ของการพัฒนา ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทยคือ
วิสัยทัศน์ “ส่งเสริมให้เกิดการจัดหาไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอ มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน มีคุณภาพบริการที่ดี
และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ”
4.2 ประเด็นยุทธศาสตร์
เพื่อให้วิสัยทัศน์ในการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทยสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างมี
เป้าหมายและมีผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม จึงได้ก าหนดประเด็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
5 ด้าน ดังนี้
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการพัฒนาความเชื่อถือได้และคุณภาพของไฟฟ้า
(Power Reliability and Quality)
การพิจารณาคุณลักษณะด้านความเชื่อถือได้และคุณภาพก าลังไฟฟ้าเป็นประเด็นที่การไฟฟ้าทั้งสามของ
ประเทศไทยให้ความส าคัญ และการไฟฟ้าทั่วโลกยอมรับในการใช้ประกอบการประเมินระบบไฟฟ้าประเด็น ยุทธศาสตร์นี้เป็นการพิจารณาทางด้านเทคนิคซึ่งครอบคลุมทั้ง ความเพียงพอของพลังงานไฟฟ้า ความเชื่อถือได้ของ ระบบไฟฟ้าและคุณภาพไฟฟ้า (Capacity, Reliability, and Quality) โดยการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด จะต้องท าให้มีระบบไฟฟ้ามีความสามารถในการผลิตไฟฟ้าที่เพียงพอ มีความต่อเนื่องของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ และไม่มีปัญหาคุณภาพของแรงดันและกระแสไฟฟ้าที่อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าได้
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านความยั่งยืนและประสิทธิภาพของการผลิตและใช้พลังงาน
(Energy Sustainability and Efficiency)
การพิจารณาคุณลักษณะด้านความยั่งยืนและประสิทธิภาพของการผลิตและใช้พลังงานเป็นประเด็นที่ หลายประเทศทั่วโลกให้ความสนใจ เนื่องจากความต้องการในการหาแหล่งพลังงานแหล่งใหม่เพื่อทดแทนการใช้ พลังงานจากแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีอยู่อย่างจ ากัดและการบริหารจัดการการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพจะ เป็นการช่วยลดความต้องการใช้เชื้อเพลิงลง และช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของโลก ในปัจจุบันด้วยโดยการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจะต้องช่วยให้มีการผลิตและการใช้พลังงานอย่างมี ประสิทธิภาพเพื่อช่วยลดต้นทุน บรรเทาปัญหาการจัดหาแหล่งเชื้อเพลิง และช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ จะต้องรองรับการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนในปริมาณมากได้
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาการท างานและการให้บริการของหน่วยงานการไฟฟ้าฯ
(Utility Operation and Service)
การพิจารณาคุณลักษณะด้านการท างานและการบริการของการไฟฟ้ามีความจ าเป็นที่จะต้องท าการ
ประเมินควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ของระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดเนื่องจากการใช้งาน ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดสามารถสื่อเป็นนัยส าคัญได้ว่าการท างานของทั้งระบบไฟฟ้าและกิจการไฟฟ้าต้องพัฒนา ไปในทางที่ดีขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีดัชนีวัดผลมารองรับคุณลักษณะด้านนี้โดยการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด จะต้องช่วยให้การด าเนินงานของการไฟฟ้าฯ ทั้งทางด้านเทคนิคและการให้บริการ มีประสิทธิภาพและมีความ ถูกต้องแม่นย ามากขึ้น ซึ่งจะลดระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่างๆ ลง และส่งผลต่อการให้บริการแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ดีขึ้น โดยตรง
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการก าหนดมาตรฐานความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ในระบบ
(Integration and Interoperability)
การพิจารณาคุณลักษณะด้านการผสมผสานและความสามารถในการท างานร่วมกันเป็นประเด็นส าคัญที่ จะต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบเนื่องจากการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจะก่อให้เกิดนวัตกรรมการ พัฒนาอุปกรณ์ใหม่ๆ เป็นจ านวนมาก อุปกรณ์เหล่านี้จะต้องมีการรับส่งข้อมูลต่อกันตลอดเวลา การรวมทุก อุปกรณ์ในระบบเข้าด้วยกันเพื่อรองรับการใช้มาตรฐานควบคุมที่มีความสอดคล้องและเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน จ าเป็นที่จะต้องมีการออกแบบอย่างเป็นระบบ นอกจากมุมมองประโยชน์ในการรวมอุปกรณ์ในระบบเข้าด้วยกัน แล้วยังมีประเด็นอื่นที่ต้องพิจารณาจากคุณลักษณะด้านนี้ด้วย เช่น การเชื่อมต่อพลังงานหมุนเวียนเข้าสู่ระบบต้อง มีความง่าย การผลิตไฟฟ้าจากภาคผู้ใช้ไฟฟ้าต้องสามารถส่งเข้าสู่ระบบได้ทันที และระยะเวลาในการเชื่อมต่อ ระหว่างระบบไฟฟ้าจะต้องสั้นลง เป็นต้นโดยการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจะต้องช่วยให้อุปกรณ์ต่างๆ ใน ระบบสามารถท างานประสานกันได้มากขึ้นโดยอาศัยเทคโนโลยีของ ICT ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดรูปแบบการให้บริการ ใหม่ๆ แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าได้อีกด้วย
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
(Economic and Industrial Competitiveness)
การพิจารณาคุณลักษณะด้านการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมมีความจ าเป็น จะต้องน ามาพิจารณา เนื่องจากการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดมีผลกระทบโดยตรงต่อทั้งภาคเศรษฐกิจและ ภาคอุตสาหกรรมทั้งในด้านของการลงทุนในประเทศที่เพิ่มขึ้น อัตราการจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้น และการลงทุนใน ภาคอุตสาหกรรมเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าแบบสมาร์ท (Smart Appliances) และพาหนะไฟฟ้า (Electric Vehicle; EV) เป็นต้นการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดโดยการพึ่งพาการน าเข้าเทคโนโลยีจาก ต่างประเทศเพียงอย่างเดียวจะเป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนและส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น การ พัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดซึ่งยังถือว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ประเทศไทยสามารถสร้างองค์ความรู้และสามารถ พัฒนาเทคโนโลยีตามประเทศอื่นได้ทันจะต้องให้ความส าคัญกับการสร้างบุคลากร และการส่งเสริมอุตสาหกรรม ภายในประเทศด้วย โดยการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดควรมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการเติบโตของภาค เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศไปพร้อมๆ กัน
ทั้งนี้ ในการพัฒนาระบบไฟฟ้าจากปัจจุบันให้เป็นระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดนั้น จะส่งผลกระทบต่อผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องเป็นวงกว้างโดยบทบาทและหน้าที่ของภาคส่วนต่างๆ นั้นสามารถแสดงได้ดังรูปที่ 4.1 โดยที่ หน่วยงาน/องค์กรที่ท าหน้าที่ก าหนดนโยบาย (Policy maker) ซึ่งก็คือ กระทรวงพลังงาน จะเป็นหน่วยงานส าคัญ ซึ่งท าหน้าที่ก าหนดแผนแม่บทหรือแผนนโยบาย (Policy Plan) และทิศทางการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของ ประเทศในภาพรวมจากนั้น นโยบายและทิศทางการพัฒนานี้จะถูกส่งผ่านไปยังฝ่ายก ากับดูแล (Regulator) ซึ่งจะ ท าหน้าที่แปลงแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อให้หน่วยงานในก ากับฯ ด าเนินกิจกรรมการ พัฒนาองค์กรที่สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐฝ่ายก ากับดูแลนี้จะท าหน้าที่ก ากับการไฟฟ้าฯ (Utility) และใน ขณะเดียวกันก็จะรับฟังความคิดเห็นจากผู้ใช้ไฟฟ้า (Consumer) ด้วยส าหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภาคส่วนอื่นๆเช่นนัก ลงทุนภาคเอกชน (Investor/Vendor) และหน่วยงานวิจัยหรือสถาบันการศึกษาก็จะมีส่วนประสานสัมพันธ์กับการ ไฟฟ้าฯและผู้ใช้ไฟฟ้าในรูปแบบของการสนับสนุนทางเทคโนโลยีและองค์ความรู้ และการพัฒนาอุปกรณ์หรือ เทคโนโลยีใหม่เพื่อใช้งานในส่วนต่างๆ
รูปท ี่4.1 ตัวอย่างโครงสร้างความสัมพันธ์ของหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง (ที่มา: World Economic Forum)
4.3 เป้าประสงค์และตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการพัฒนาความเชื่อถือได้และคุณภาพของไฟฟ้า ส าหรับประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาความเชื่อถือได้และคุณภาพของไฟฟ้าสามารถก าหนดดัชนี ชี้วัดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าประสงค์ 2 ข้อ คือ (1) พัฒนาระดับความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าให้อยู่ในเกณฑ์ซึ่งมีดัชนีชี้ วัดผลสัมฤทธิ์จ านวน 2 ดัชนี และ (2) พัฒนาคุณภาพไฟฟ้าให้อยู่ในเกณฑ์ซึ่งมีดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์จ านวน 2 ดัชนี ดงัแสดงได้ดังตารางที่ 4.1
ตารางที่ 4.1 สรุปดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาความเชื่อถือได้และคุณภาพไฟฟ้า
เป้าประสงค์ | ดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ |
พัฒนาระดับความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าให้อยู่ในเกณฑ์ | - ระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับ (นาที/ผู้ใช้ไฟฟ้า 1 ราย/ปี)
- จ านวนครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับ (ครั้ง/ผู้ใช้ไฟฟ้า 1 ราย/ปี)
|
พัฒนาคุณภาพไฟฟ้าให้อยู่ในเกณฑ์ | - การเบี่ยงเบนแรงดันจากเกณฑ์ที่ก าหนด (ครั้ง/ปี)
- การเบี่ยงเบนความถี่จากเกณฑ์ที่ก าหนด (ครั้ง/ปี)
|
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านความยั่งยืนและประสิทธิภาพของการผลิตและใช้พลังงาน ส าหรับประเด็นยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนและประสิทธิภาพของการผลิตและใช้พลังงาน สามารถ
ก าหนดดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าประสงค์ 4 ข้อ คือ (1) เพิ่มความสามารถในการพึ่งพาแหล่งพลังงาน ภายในประเทศจ านวน 2 ดัชนี (2) เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการก าลังผลิตหลักของประเทศจ านวน 2 ดัชนี (3) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานปฐมภูมิในการผลิตไฟฟ้าจ านวน 2 ดัชนี และ (4) พัฒนาและใช้งาน ระบบไฟฟ้าแบบ Microgrid จ านวน 1 ดัชนี ดงัแสดงได้ดังตารางที่ 4.2
ตารางที่ 4.2 สรุปดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของประเด็นยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนและประสิทธิภาพของการผลิต
และการใช้พลังงาน
เป้าประสงค์ | ดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ |
เพิ่มความสามารถในการพึ่งพาแหล่งพลังงานหมุนเวียน ภายในประเทศ | - อัตราส่วนระหว่างพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงาน หมุนเวียนต่อพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้โดยรวม (%)
- อัตราส่วนระหว่างก าลังผลิตไฟฟ้าพึ่งได้ของโรงไฟฟ้าพลังงาน หมุนเวียนต่อก าลังผลิตติดตั้งโดยรวมของทั้งประเทศ (%)
|
เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการก าลังผลิตหลักของ ประเทศ | - ค่าสูงสุดของผลต่างระหว่างโหลดค่ายอด (Peak load) กับ โหลดค่าฐาน (Base load) เทียบกับโหลดค่ายอด ที่ศูนย์ ควบคุมระบบไฟฟ้ามองเห็น (%)
- ค่าสูงสุดของอัตราส่วนระหว่างก าลังผลิตไฟฟ้าส ารองในการ ปฏิบัติการ (Operation reserve) คิดเฉพาะ Spinning reserve ต่อความต้องการใช้ไฟฟ้า ณ ขณะนั้น
|
เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานปฐมภูมิในการผลิตไฟฟ้า | - ร้อยละพลังงานไฟฟ้าสูญเสียในระบบส่งและระบบจ าหน่าย
(T&D) เทียบกับพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตทั้งหมด (%) - อัตราส่วนระหว่างพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบผลิต พลังงานไฟฟ้าและความร้อนร่วม (Cogeneration, CCHP) ต่อพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้โดยรวม (%)
|
เป้าประสงค์ | ดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ |
พัฒนาและใช้งานระบบไฟฟ้าแบบ Microgrid | 1. อัตราส่วนระหว่างผลรวมพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ภายใน Microgrid ต่อพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้โดยรวม (%) |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาการท างานและการให้บริการของหน่วยงานการไฟฟ้าฯ ส าหรับประเด็นยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนและประสิทธิภาพของการผลิตและใช้พลังงาน สามารถ ก าหนดดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าประสงค์ 4 ข้อ คือ (1) การบริการมีประสิทธิภาพดีขึ้นซึ่งมีดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ จ านวน 2 ดัชนี (2) การบริการมีความถูกต้องแม่นย าโปร่งใสซง่ึมีดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์จ านวน 2 ดัชนี (3) การท างาน มีประสิทธิภาพดีขึ้นซึ่งมีดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์จ านวน 1 ดัชนี และ (4) การท างานมีความถูกต้องแม่นย าซึ่งมีดัชนีชี้ วัดผลสัมฤทธิ์จ านวน 1 ดัชนี ดงัแสดงได้ดังตารางที่ 4.3
ตารางที่ 4.3 สรุปดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาการท างานและการให้บริการของ หน่วยงานการไฟฟ้าฯ
เป้าประสงค์ | ดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ |
การบริการมีประสิทธิภาพดีขึ้น | - จ านวนครั้งที่เกิดไฟฟ้าดับต่อปี (ครั้ง/ปี)
- ระยะเวลาที่เกิดไฟฟ้าดับต่อปี (นาที/ปี)
|
การบริการมีความถูกต้องแม่นย าโปร่งใส | - จ านวนมิเตอร์แบบอัตโนมัติ (สมาร์ทมิเตอร์และมเิ ตอรม์ ิเตอร์ อัตโนมัติอื่นๆ) ต่อจ านวนมิเตอร์ทั้งหมดในระบบจ าหน่าย (%)
- สัดส่วนของ kWh ที่จ่ายผ่านมิเตอร์แบบอัตโนมัติ (สมาร์ท มิเตอร์และมิเตอร์อัตโนมัติอื่นๆ) ต่อ kWh ทั้งหมดที่จ่ายใน ระบบ (%)
|
การท างานมีประสิทธิภาพดีขึ้น | 1. ระยะเวลาในการด าเนินการเมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าร้องขอเพิ่มจุดรับ ไฟฟ้าใหม่ (วัน) |
การท างานมีความถูกต้องแม่นย า | 1. ร้อยละของความผิดพร่องในระบบไฟฟ้าที่ไม่ทราบสาเหตุ (%) |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการก าหนดมาตรฐานความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ในระบบ ส าหรับประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการก าหนดมาตรฐานความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ในระบบ สามารถ
ก าหนดดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าประสงค์ 2 ข้อ คือ (1) มีความสามารถในการอัพเกรดและถ่ายโอนเทคโนโลยี ด้านระบบสื่อสารของอุปกรณ์และมิเตอร์รวมถึงอุปกรณ์ประเภท IED ไปสู่การท างานแบบ Interoperabilityซึ่งมี ดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์จ านวน 1 ดัชนี และ (2) สามารถเข้าถึงและแลกเปลี่ยน (Accessibility & Interchangeability) ข้อมูลการผลิตและการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟอย่างเป็นมาตรฐานเพื่อใช้ในการบริหารจัด การพลังงาน (รู้สถานะของการผลิตไฟฟ้าจาก DG และสถานะ Demand Response แบบ Real time)ซึ่งมีดัชนีชี้ วัดผลสัมฤทธิ์จ านวน 3 ดัชนี ดงัแสดงได้ดังตารางที่ 4.4
ตารางที่ 4.4 สรุปดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการก าหนดมาตรฐานความเข้ากันได้ของ อุปกรณ์ในระบบ
เป้าประสงค์ | ดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ |
ความสามารถในการอัพเกรดและถ่ายโอนเทคโนโลยีด้าน ระบบสื่อสารของอุปกรณ์และมิเตอร์รวมถึงอุปกรณ์ ประเภท IED ไปสู่การท างานแบบInteroperability | 1. ร้อยละของจ านวนสถานีไฟฟ้าที่สามารถสื่อสารได้ ตาม มาตรฐานการสื่อสารในระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดที่ได้รับ การยอมรับในระดับชาติ (%) |
สามารถเข้าถึงและแลกเปลี่ยน ( Accessibility &Interchangeability) ข้อมูลการผลิตและการใช้ไฟฟ้า ของผู้ใช้ไฟอย่างเป็นมาตรฐานเพื่อใช้ในการบริหารจัด การพลังงาน (รู้สถานะของการผลิตไฟฟ้าจาก DG และ สถานะ Demand Response แบบ Real time) | - ร้อยละของจ านวนผู้ใช้ไฟรายสุดท้าย (End-use) ที่สามารถ เข้าถึงการขอใช้บริการการจัดการพลังงาน
- ร้อยละของ DG (VSPP เป็นหลัก) ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลและ ควบคุมสถานะได้แบบ Real time (%)
- ร้อยละของผู้ใช้ไฟที่เข้าร่วมโปรแกรม Demand Response ต่อ ผู้ใช้ไฟทั้งหมด (%)
|
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ส าหรับประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม สามารถ
ก าหนดดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าประสงค์ 3 ข้อ คือ (1) สามารถพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดขึ้นภายในประเทศซึ่งมีดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์จ านวน 3 ดัชนี (2) การบริหารจัดการการใช้ พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ต้นทุนทางด้านพลังงานของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมสามารถแข่งขันได้ซึ่งมี ดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์จ านวน 1 ดัชนี และ (3) เกิดธุรกิจต่อยอดภายในประเทศและมีความสามารถในการส่งออก เทคโนโลยี/สินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดซึ่งมีดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์จ านวน 1 ดัชนี ดัง แสดงได้ดังตารางที่ 4.5
ตารางที่ 4.5 สรุปดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทาง
เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
เป้าประสงค์ | ดัชนีชี้วัดผลสัมฤทธิ์ |
สามารถพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดขึ้นภายในประเทศ | - จ านวนบุคลากรที่จบการศึกษา/ผา่ นการอบรมด้านระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริด (ราย)
- สัดส่วนเงินลงทุนค่าอุปกรณ์ที่ผลิตได้ในประเทศต่อมลู ค่า อุปกรณ์ทั้งหมดของโครงการที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงข่าย สมาร์ทกริด (%)
- จ านวนสิทธิบัตรและผลิตภัณฑ์ ด้านระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด ที่ได้รับการพัฒนาในประเทศ
|
การบริหารจัดการการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ต้นทุนทางด้านพลังงานของภาคธุรกิจและ อุตสาหกรรมสามารถแข่งขันได้ | 1. จ านวนโรงงานอุตสาหกรรม/อาคารส านักงาน/หน่วยงาน ที่ ใช้ระบบบริหารจัดการพลังงาน เช่น FEMS/BEMS เป็นต้น (โรง/แห่ง) |
เกิดธุรกิจต่อยอดภายในประเทศและมีความสามารถใน การส่งออกเทคโนโลยี/สินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับ ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด | 1. จ านวนผู้ประกอบการที่ให้บริการทางด้านการบริหารจดั การพลังงานที่ใช้เทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกรดิ |
4.4 ปัจจัยขับเคลื่อน (Driving Forces) และภาพฉายอนาคต (Scenarios) ในการก าหนดแผนพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจ าเป็นจะต้องมีการก าหนดเป้าหมายของการพัฒนา
และท าการคัดเลือกกิจกรรมพัฒนา/ลงทุนให้สอดคล้องกับเป้าหมายและทรัพยากรที่มี นอกจากนี้ยังต้องจัดล าดับ ความส าคัญของกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้การเกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับเป้าประสงค์ที่ต้องการ มากที่สุด อย่างไรก็ดี ในการก าหนดแผนกิจกรรมจ าเป็นต้องการพิจารณาถึงล าดับความส าคัญของกิจกรรมว่า กิจกรรมใดควรจัดท าก่อนหรือหลังและกิจกรรมใดต้องท ามากน้อยเพียงใด ซึ่งขึ้นอยู่กับความแตกต่างของ สถานะปัจจุบันกับสถานะเป้าหมายของดัชนีชี้วัดสัมฤทธิผลที่ก าหนดค่าเป้าหมายที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย หลายประการซึ่งมีความไม่แน่นอนในอนาคตหากมีการก าหนดรูปแบบของภาพฉายในอนาคต (Scenarios) ก่อนก็ อาจจะช่วยให้สามารถเห็นภาพของค่าเป้าหมายของดัชนีชี้วัดสัมฤทธิผลที่ต้องการได้ง่ายขึ้น เช่นหากในอนาคตมี งบประมาณการลงทุนรองรับมาก รัฐบาลให้การสนับสนุนเต็มที่ และเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ก็ สามารถพัฒนา/ลงทุนระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดได้มากและก าหนดค่าเป้าหมายของดัชนีชี้วัดสัมฤทธิผลให้เป็นไป แบบเข้มข้นได้เป็นต้น ส าหรับขั้นตอนการคัดเลือกภาพฉายในอนาคตนั้น ปัจจัยที่มีผลกระทบสูงและมีความไม่แน่นอนสูงจะถูก ก าหนดขึ้นและถูกแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ Positive หมายถึง มีความพร้อมสูงมาก และ Negative หมายถึงยังไม่ พร้อมที่จะด าเนินการ ยกตัวอย่างเช่น หากมี 3 ปัจจัยขับเคลื่อนที่มีผลกระทบสูงและมีความไม่แน่นอนสูงแล้ว ภาพ ฉายที่จะเป็นไปได้ในอนาคตจะมี 8 รูปแบบ อย่างไรก็ตามในการก าหนดรูปแบบของภาพฉายเพื่อก าหนด แผนพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทยจะท าการคัดเลือกมาเพียง 3 กรณี คือ
- ภาพฉายอนาคตที่มีปัจจัยสนับสนุนการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด (Best case)
- ภาพฉายอนาคตที่มีปัจจัยไม่สนับสนุนการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด (Worst case)
- ภาพฉายอนาคตที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด (Most likely Future – Moderate case)
รูปที่ 4.2 การก าหนดรูปแบบของ Scenarios ในอนาคต
ในการก าหนดเป้าหมายของดัชนีชี้วัดสัมฤทธิผลในแต่ละช่วงของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดว่า ควรเป็นเท่าใด จะพิจารณาระดับเป้าหมายเพิ่มเติมจากแผนต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบัน (Existing) เช่น แผนพัฒนา ก าลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) แผนพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและพลังงานทางเลือก (AEDP) และแผนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กับระบบไฟฟ้า ซึ่งกิจกรรมการพัฒนา/ลงทุนโครงการโครงข่ายสมาร์ทกริดจะไปช่วยเพิ่มระดับของดัชนีชี้วัด สัมฤทธิผลเพิ่มเติมจากแผนดังกล่าวซึ่งยังไม่ได้พิจารณาผลของระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด ทั้งนี้ ระดับความเข้มข้น ของค่าเป้าหมายของดัชนีชี้วัดสัมฤทธิผลจะขึ้นกับภาพฉายอนาคตที่ก าลังพิจารณาเช่น หากพิจารณาในกรณีที่ดี ที่สุด ค่าเป้าหมายของดัชนีชี้วัดสัมฤทธิผลจะเป็นระดับเข้มข้นมากซึ่งจะต้องการกิจกรรมการพัฒนา/ลงทุนระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริดหลายกิจกรรม ในขณะที่หากพิจารณาในกรณีที่แย่ที่สุด ค่าเป้าหมายของดัชนีชี้วัดสัมฤทธิผล จะได้รับการปรับเพิ่มจากแผนการพัฒนาระบบไฟฟ้าปกติได้เพียงเล็กน้อยโดยจะเลือกพัฒนา/ลงทุนเฉพาะกิจกรรม ที่มีความส าคัญมากเป็นล าดับต้นๆ ก่อนเท่านั้น เป็นต้น จากการประชุมคณะท างานเพื่อร่วมกันก าหนดปัจจัยขับเคลื่อน (Driving Factors) ที่มีผลกระทบ (Impact) ต่อความส าเร็จของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดและก าหนดรูปแบบของภาพฉายในอนาคตนั้น ที่ประชุมได้ท าการเสนอปัจจัยหลักที่มีผลต่อความส าเร็จของโครงการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดซึ่งสามารถ แบ่งออกเป็น 9 กลุ่มจากนั้น คณะท างานได้ท าการลงคะแนนเพื่อคัดเลือกกรณีที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด (Most likely Future) ซึ่งถือว่าเป็นกรณีกลาง (Moderate case) และก าหนดภาพฉายอนาคตกรณีดีที่สุด (Best case) และกรณีเลวร้ายที่สุด (Worst case) ซึ่งผลลัพธ์แสดงได้ดังตารางที่ 4.6
ตารางที่ 4.6 สรุปผลภาพฉายอนาคตทั้ง 3 กรณี
ปัจจัยที่ | ปัจจัยที่มีผลต่อระดับการพัฒนา Smart grid | | Scenario | |
Best case | Moderate case | Worst case |
1 | ความก้าวหน้าของการพัฒนาเทคโนโลยี | ดีขึ้น | ดีขึ้น | ดีขึ้น |
2 | ต้นทุนของเทคโนโลยี | ถูกลง | ถูกลง | ถูกลง |
3 | โครงสร้างราคาคา่ ไฟฟ้าที่สะท้อนต้นทุน | ส่งเสริม RTP | ส่งเสริม RTP | ไม่ส่งเสรมิ |
4 | นโยบายการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ | เพียงพอ | ไม่เพียงพอ | ไม่เพียงพอ |
5 | การตระหนักรู้ของประชาชน | สนใจ ยอมรับ | เฉยๆ-ต่อต้าน | เฉยๆ-ต่อต้าน |
6 | นโยบายดา้ นพลังงานหมุนเวียนและประสิทธิภาพ | จริงจัง เพิ่ม | จริงจัง เพิ่ม | ไม่จริงจัง คงเดมิ |
7 | นโยบายที่เน้นด้านสิ่งแวดล้อม | เข้มข้นขึ้น | เข้มข้นขึ้น | เข้มข้นขึ้น |
8 | การจัดหาพลังงานเพื่อตอบสนองความต้องการ | ยากขึ้น | ยากขึ้น | ยากขึ้น |
9 | ระดับการเข้ามาของ EV | มีนัยส าคญั | มีนัยส าคญั | ไม่มีนัยส าคญั |
ทั้งนี้ภาพฉายในอนาคตทั้ง 3 กรณี จะถูกน าไปใช้ในการสร้างแผนที่น าทางส าหรับการพัฒนาระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริดแต่อย่างไรก็ดี แผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทย พ.ศ. 2258 – 2579 จะอ้างอิงจากปัจจัยขับเคลื่อนของภาพฉายอนาคตกรณีกลางเป็นหลัก
- แผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทย
5.1 นโยบายและกิจกรรมขับเคลื่อนการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทย จากการพิจารณาตัวอย่างนโยบายและกิจกรรมพัฒนา/ลงทุนในเทคโนโลยีการพัฒนาระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดของ สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป รวมทั้ง การพิจารณาแผนที่น าทางการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของการไฟฟ้าทั้งสามแห่งในประเทศไทยประกอบ กับการระดมความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ คณะท างาน และคณะกรรมการอ านวยการ เพื่อคัดเลือกนโยบายและ กิจกรรมการพัฒนา/ลงทุนที่เหมาะสมกับบริบทของระบบไฟฟ้าในประเทศไทยที่สอดคล้องกับการขับเคลื่อน เป้าประสงค์ของดัชนีชี้วัดสัมฤทธิผลหลักตามการพัฒนายุทธศาสตร์ทั้ง 5 ด้านจะสามารถจ าแนกนโยบายและ กิจกรรมที่ถูกคัดเลือกทั้งหมดออกเป็น 3 กลุ่ม ได้ดังนี้
1) นโยบายขับเคลื่อนของภาครัฐที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
2) กิจกรรมกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา/ลงทุนในระบบผลิตไฟฟ้าและระบบส่งไฟฟ้า 3) กิจกรรมกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา/ลงทุนในระบบจ าหน่ายไฟฟ้า
นโยบายและกิจกรรมลงทุนต่างๆ นั้นจะสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาทั้ง 5 ด้าน โดยแต่ละ
นโยบายหรือกิจกรรมอาจจะส่งเสริมการพัฒนาในหลายประเด็นยุทธศาสตร์พร้อมกันได้ ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ของ นโยบายและกิจกรรมลงทุนที่มีต่อประเด็นยุทธศาสตร์แต่ละด้านสามารถแสดงได้ดังตารางที่ 5.1-5.2 ส่วน รายละเอียดของค าอธิบายส าหรับแต่ละนโยบายและกิจกรรมการพัฒนารวมทั้งหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับ นโยบายหรือกิจกรรมนั้นๆ จะแสดงอยู่ในเอกสารแนบ ก. ผลของการด าเนินนโยบายและกิจกรรมการพัฒนาที่มีต่อ การปรับปรุงดัชนีชี้วัดสัมฤทธิผลแต่ละดัชนีสรุปไว้ในเอกสารแนบข. ค่าระดับคะแนนปัจจุบันและระดับคะแนน เป้าหมายของดัชนีชี้วัดสัมฤทธิผลพร้อมการแปรผลระดับคะแนนต่างๆ แสดงอยู่ในเอกสารแนบ คส่วนรายละเอียด ของสมมติฐานที่ใช้ในการประเมินกรอบวงเงินที่ใช้ในการลงทุนแต่ละกิจกรรมของการไฟฟ้าฯ ทั้งสามแห่งจะแสดง อยู่ในเอกสารแนบ ง.
แผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทยพ.ศ. 2558-2579 กระทรวงพลังงาน
ตารางที่ 5.1 ความสัมพันธ์ของนโยบายที่มีต่อประเด็นยุทธศาสตร์แต่ละด้าน
นโยบายขับเคลื่อนจากภาครัฐ | Reliability | Sustainability | Service | Interoperability | Economics |
สนับสนุนให้มีโครงสร้าง Real Time Pricing (RTP) | | O | O | O | |
สนับสนุนให้มีโครงสร้าง Demand Response (DR) | | O | O | O | |
สนับสนุนให้มีการใช้งาน HEMS/BEMS/FEMS | | O | O | O | O |
สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบ Microgrid | O | O | O | | O |
ตั้งคณะท างานเชื่อมต่อโครงข่ายสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน ระหว่าง 3 การไฟฟ้า | | | O | O | |
ตั้งคณะท างานก าหนด Platform ของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของทั้ง 3 การไฟฟ้า | | | O | O | |
จัดตั้งศูนย์ข้อมูลการพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน/ระบบกักเก็บพลังงาน | | O | | O | |
ปรับปรุงข้อก าหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Grid Code) | O | O | | O | |
ออกมาตรการสนับสนุนให้ภาคเอกชนพัฒนาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด | | | | O | O |
ออกมาตรการก าหนดสัดส่วน Local content ส าหรับโครงการลงทุนระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของหน่วยงานภาครัฐ | | | | | O |
สนับสนุนให้สถาบันการศึกษาผลิตบุคคลากรด้านระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด | | | | | O |
สนับสนุนเงินทุนกับงานวิจัยที่เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด | | | | | O |
ออกมาตรการสนับสนุนทางภาษีและทางการเงินอื่นๆแก่ภาคเอกชนที่ด าเนินธุรกิจเกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด | | O | O | O | O |
ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดแก่หน่วยงานของรัฐ/กระทรวงที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีอ านาจตัดสินใจ | | O | | | O |
ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดแก่ประชาชนทั่วไปอย่างสม่ าเสมอ | | O | | O | O |
23
แผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทยพ.ศ. 2558-2579 กระทรวงพลังงาน
ตารางที่ 5.2 ความสัมพันธ์ของกิจกรรมการลงทุนในระบบส่งและระบบจ าหน่ายที่มีต่อประเด็นยุทธศาสตร์แต่ละด้าน
กิจกรรมการพัฒนา/ลงทุนในระบบผลิตไฟฟ้าและระบบส่งไฟฟ้า | Reliability | Sustainability | Service | Interoperability | Economics |
Wide Area Monitoring System (WAMS)/Wide Area Protection and Control (WAPC) | O | O | O | | |
Energy Management System (SCADA/EMS) | O | O | O | | |
EHV/FACTS | O | O | O | | |
Substation Automation (G&T) | O | | O | O | |
Energy Storage System (G&T) | O | O | O | | |
Renewable Energy Forecast System | O | O | O | O | |
SPP/VSPP Data Communication System (G&T) | O | O | O | O | |
ICT Integration (G&T) | O | O | O | O | O |
Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (G&T) | | O | O | | O |
Intelligent Charging System/V2G (G&T) | O | O | O | | |
กิจกรรมการพัฒนา/ลงทุนในระบบจ าหน่าย | | | | | |
Distribution/Feeder Automation (DA/FA) | O | | O | O | |
Substation Automation (Distr) | O | | O | O | |
Distribution Management System (SCADA/DMS) | O | O | O | O | |
Smart Meter + AMR/AMI | O | O | O | O | |
Intelligent Charging System/V2G (Distr) | O | O | O | O | |
Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (Distr) | | O | O | O | O |
Intelligent Street Lights | | O | | | |
Meter Data Management System (MDMS) | | | O | O | |
Microgrid Development | O | O | O | | |
Energy Storage System (Distr) | O | O | O | | |
SPP/VSPP Data Communication System (Distr) | | O | | | |
ICT Integration (Distr) | O | O | O | O | O |
24
ในการก าหนดแผนแม่บทพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทยนั้น จ าเป็นจะต้องมีการคัดเลือก นโยบายและกิจกรรมพัฒนา/ลงทุนให้สอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอย่างจ ากัดเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างมี ประสิทธิภาพและตรงกับเป้าประสงค์ที่ต้องการมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ในการก าหนดแผนนโยบายและกิจกรรม จ าเป็นจะต้องมีการพิจารณาถึงล าดับความส าคัญของนโยบายหรือกิจกรรมว่า นโยบายหรือกิจกรรมใดควรจัดท า ก่อนหรือหลัง และจะต้องมีการด าเนินการมากน้อยเพียงใด โดยในขั้นตอนของการก าหนดแผนนโยบายนั้น มี ขั้นตอนการจัดท าร่างแผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทยดังต่อไปนี้
1) จัดล าดับความส าคัญของนโยบายและกิจกรรมการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด โดยอาศัย ข้อมูลระดับคะแนนความส าคัญ (Priority) ของนโยบายและกิจกรรมที่มีต่อดัชนีชี้วัดสัมฤทธิผล ซึ่งได้ถูกประเมินโดยคณะท างานในขั้นตอนของการวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis)
2) พิจารณาภาพฉายในอนาคต (Scenario) กรณีกลาง (Moderate case) เป็นหลักโดยหากใน อนาคตมีปัจจัยขับเคลื่อนดีกว่าที่คาด ก็จะสามารถเพิ่มความเข้มข้นหรืองบประมาณการลงทุน เพิ่มขึ้นได้ ในทางตรงกันข้าม หากปัจจัยขับเคลื่อนในอนาคตต่ ากว่าที่คาด ก็สามารถลดความ เข้มข้นหรืองบประมาณการลงทุนลงได้
3) เพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสารของภาคสังคม นโยบายและกิจกรรมต่างๆ จะถูกจัดหมวดหมู่ตาม คุณลักษณะ ออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ Smart System, Smart Life, และ Green Society
4) แผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทย จะแบ่งระยะเวลาของการ พัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าของไทยออกเป็น 4 ช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงระยะเวลาที่ 1 (พ.ศ. 2558 - 2559) ช่วงระยะเวลาที่ 2 (พ.ศ. 2560 - 2564) ช่วงระยะเวลาที่ 3 (พ.ศ. 2565 - 2574) และ ช่วงเวลาที่ 4 (พ.ศ. 2575 - 2579)โดยก าหนดให้มีการเริ่มต้นจากการผลักดันเชิงนโยบายของ ภาครัฐก่อน จากนั้นจึงให้มีการเริ่มพัฒนากิจกรรมการลงทุนของการไฟฟ้าฯ ทั้งสามแห่ง
5) จัดล าดับการพัฒนาของกิจกรรมต่างๆ ตามระยะเวลา โดยต้องถูกพิจารณาจากความสัมพันธ์เชิง กายภาพด้วยว่ากิจกรรมใดจะต้องเกิดก่อนจึงจะมีกิจกรรมอื่นเกิดตามมาได้ เช่น กิจกรรม Smart Meter/AMI และกิจกรรม Meter Data Management System (MDMS) จะต้องได้รับการ พัฒนาก่อน จากนั้น กิจกรรม Demand Response จึงจะเกิดขึ้นไดอ้ ย่างสมบูรณ์ เป็นต้น
5.2 แผนการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด นโยบายและกิจกรรมขับเคลื่อนการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทยที่น าเสนอในหัวข้อ 5.1 เป็นนโยบายที่ภาครัฐควรด าเนินการและเป็นกิจกรรมการลงทุนที่การไฟฟ้าฯ ทั้งสามแห่งควรให้ความส าคัญ เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาทั้ง 5 ด้านที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์การพัฒนาระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทย อย่างไรก็ดี นโยบายและกิจกรรมการลงทุนพัฒนาเหล่านี้สามารถน ามาจัด กลุ่มโดยเน้นการจัดหมวดหมู่ตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดได้เป็น 3 กลุ่ม คือ การ พัฒนาโดยเน้นการยกระดับความสามารถของระบบไฟฟ้า (Smart System) การพัฒนาโดยเน้นการยกระดับ คุณภาพบริการที่มีต่อผู้ใช้ไฟฟ้า (Smart Life) และการพัฒนาโดยเน้นการยกระดับโครงสร้างระบบไฟฟ้าที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม (Green Society) ทั้งนี้ การพัฒนาในแต่ละกลุ่มมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
5.2.1 การยกระดับความสามารถของระบบไฟฟ้า (Smart System)
การพัฒนาระบบไฟฟ้าของประเทศไทยให้สามารถรองรับการปฏิบัติงานและการพัฒนาอย่างยั่งยืนใน ระยะยาว มีแนวทางการพัฒนาโดยการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าก าลัง เพื่อยกระดับความสามารถของ ระบบไฟฟ้าให้มีความสามารถมากขึ้น และสามารถตอบสนองต่อการปฏิบัติการของระบบไฟฟ้าในสภาวะต่างๆได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ แนวทางในการพัฒนาเพื่อยกระดับความสามารถของระบบไฟฟ้ามีหน่วยงานการไฟฟ้า เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาระบบไฟฟ้า โดยภาครัฐจะเป็นผู้ก าหนดนโยบายขับเคลื่อนให้แต่ละหน่วยงานมี การแลกเปลี่ยนข้อมูลและบูรณาการข้อมูลกันเพื่อไม่ให้เกิดการลงทุนที่ซ้ าซ้อนและเพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดที่แต่ละหน่วยงานพัฒนาขึ้นมีการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกันกับทิศทางการพัฒนาที่ภาครัฐก าหนดไว้ นโยบายของภาครัฐและกิจกรรมพัฒนา/ลงทุนในระบบผลิต ระบบส่ง และระบบจ าหน่ายเพื่อยกระดับ ความสามารถของระบบไฟฟ้าของประเทศไทยในกรณีที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดหรือกรณีกลาง (Moderate Case)สามารถแสดงได้ดังตารางที่ 5.3
ตารางที่ 5.3 นโยบายและกิจกรรมพัฒนา/ลงทุนในเทคโนโลยีการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดเพื่อ
ยกระดับความสามารถของระบบไฟฟ้า (Smart System)
| - - - -- | ตั้งคณะท างานเชื่อมต่อโครงข่ายสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน ระหว่าง 3 การไฟฟ้าฯ ตั้งคณะท างานก าหนด Platform ของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของทั้ง 3 การไฟฟ้า ออกมาตรการสนับสนุนทางภาษี และทางการเงินอื่นๆ แก่ภาคเอกชนที่ด าเนินธุรกิจเกี่ยวกับ ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด สนับสนุนเงินทุนกับงานวิจัยที่เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด มีมาตรการก าหนดสัดส่วน Local content ส าหรับโครงการลงทุนระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดของหน่วยงานภาครัฐ |
| - - - - - - | ICT Integration (G&T) Energy Management System (SCADA/EMS) SPP/VSPP Data Communication System (G&T) Substation Automation (G&T) Wide Area Monitoring System (WAMS)/Wide Area Protection and Control (WAPC) EHV/FACTS |
| - - - - | ICT Integration (Distr) Distribution Management System (SCADA/DMS) Distribution/Feeder Automation (DA/FA) Substation Automation (Distr) |
5.2.2 การยกระดับคุณภาพบริการที่มีต่อผู้ใช้ไฟฟ้า (Smart Life)
การยกระดับคุณภาพบริการที่มีต่อผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นแนวทางการส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างมี ประสิทธิภาพผ่านการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ไฟฟ้าในการช่วยบริหารจัดการความต้องการใช้พลังงานโดยใช้เทคโนโลยี ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดเข้ามาช่วยบริหารจัดการ ทั้งนี้ การพัฒนาในด้านนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนในระบบ จ าหน่ายซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ใช้ไฟฟ้ามากที่สุด โดยภาครัฐจะเข้ามามีบทบาทส าคัญในการช่วยให้การพัฒนา ด้านนี้ประสบความส าเร็จด้วยปรับเกณฑ์และระเบียบเพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้ามีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการ ใช้ไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น เช่น จะต้องส่งเสริมให้เกิดโครงสร้างราคาค่าไฟฟ้าแบบ RTP เพื่อจูงใจให้ผู้ใช้สามารถ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าให้สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตไฟฟ้าได้ เป็นต้น
นโยบายของภาครัฐและกิจกรรมพัฒนา/ลงทุนในระบบผลิต ระบบส่ง และระบบจ าหน่ายเพื่อยกระดับ คุณภาพบริการที่มีต่อผู้ใช้ไฟฟ้าในกรณีที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดหรือกรณีกลาง (Moderate Case) สามารถ แสดงได้ดังตารางที่ 5.4
ตารางที่ 5.4 นโยบายและกิจกรรมพัฒนา/ลงทุนในเทคโนโลยีการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดเพื่อ
ยกระดับคุณภาพบริการที่มีต่อผู้ใช้ไฟฟ้า(Smart Life)
| - - - - - - | ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดแก่หน่วยงานของรัฐ/กระทรวงที่เกี่ยวข้อง/ผู้มี อ านาจตัดสินใจ ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดแก่ประชาชนทั่วไปอย่างสม่ าเสมอ สนับสนุนให้สถาบันการศึกษาผลิตบุคคลากรด้านระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด สนับสนุนให้มีโครงสร้าง Real Time Pricing (RTP) สนับสนุนให้มีการใช้งาน HEMS/BEMS/FEMS สนับสนุนให้มีโครงสร้าง Demand Response (DR) |
| - | มีมาตรการสนับสนุนให้ภาคเอกชนพัฒนาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวกับระบบโครงข่าย สมาร์ทกริด |
| - - | Intelligent Charging System/V2G (G&T) Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (G&T) |
| - - - - - - | Smart Meter + AMR/AMI Meter Data Management System (MDMS) Intelligent Charging System/V2G (Distr) SPP/VSPP Data Communication System (Distr) Intelligent Street Lights Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (Distr) |
5.2.3 การยกระดับโครงสร้างระบบไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Society)
แนวทางการพัฒนาด้านพลังงานไฟฟ้าควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สามารถท าได้โดย การส่งเสริมให้มีการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น โดยที่ระบบไฟฟ้ายังสามารถปฏิบัติงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิมหรือมากขึ้นได้ ทั้งนี้ ในการพัฒนาดังกล่าว ภาครัฐจะเป็นหน่วยงานหลักในการผลักดัน การพัฒนาโดยการปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการเชื่อมต่อพลังงานหมุนเวียนเข้าสู่ระบบโครงข่าย ไฟฟ้า และจะต้องสนับสนุนให้มีการใช้งานไมโครกริดและระบบกักเก็บพลังงานมากขึ้น เนื่องจากระบบไมโครกริด และระบบกักเก็บพลังงานจะมีส่วนส่งเสริมให้เกิดการใช้งานพลังงานหมุนเวียนในปริมาณมากได้ นโยบายของภาครัฐและกิจกรรมพัฒนา/ลงทุนในระบบผลิต ระบบส่ง และระบบจ าหน่ายเพื่อยกระดับ โครงสร้างระบบไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในกรณีที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดหรือกรณีกลาง (Moderate Case) สามารถแสดงได้ดังตารางท ี่5.5
ตารางที่ 5.5 นโยบายและกิจกรรมพัฒนา/ลงทุนในเทคโนโลยีการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดเพื่อ ยกระดับโครงสร้างระบบไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Society)
| - - - | ปรับปรุงข้อก าหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน หมุนเวียน (Grid Code) สนับสนุนให้เกดิ การพัฒนาระบบ Microgrid จัดตั้งศูนย์ข้อมลู การพยากรณไ์ ฟฟา้ ที่ผลิตไดจ้ ากพลังงานหมุนเวยี น/ระบบกักเก็บพลังงาน |
| - - | Renewable Energy Forecast System Energy Storage System (G&T) |
| - - | Microgrid Development Energy Storage System (Distr) |
6. สรุปภาพรวมแผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทยแผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทย พ.ศ. 2558 – 2559 ถูกจัดท าขึ้นโดยอาศัย สมมติฐานภาพฉายอนาคตกรณกี ลาง (Moderate case) เป็นหลักโดยได้ก าหนดกิจกรรมการพัฒนาและการลงทุน ที่จ าเป็นพร้อมช่วงระยะเวลาที่ควรด าเนินการและประมาณการกรอบวงเงินทตี่ ้องใช้ตามสภาวการณ์ที่สอดคล้องกัน ทั้งนี้ หากในอนาคตปัจจัยขับเคลื่อนต่างๆ มีส่วนส่งเสริมให้สามารถพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดได้มากขึ้น ก็ จะสามารถปรับแผนแม่บทไปอา้ งอิงปัจจัยขับเคลื่อนกรณีดีที่สุด (Best Case) ได้ ในทางตรงกันข้าม หากในอนาคต ปัจจัยขับเคลื่อนต่างๆ เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด ก็จะสามารถปรับแผนแม่บทไปอ้างอิง กับกรณีเลวร้ายที่สุด (Worst Case) ไดเ้ ช่นกันทั้งนกี้ รอบเวลาส าหรับการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทย สามารถแบ่งออกเป็น 4ช่วงระยะดังแสดงในรูปที่ 6.1 คือ (1) ระยะเตรียมการครอบคลุมช่วงปี 2558 – 2559 ซึ่ง จะเป็นระยะเตรียมการทางด้านนโยบายต่างๆ (2) ระยะสั้นครอบคลุมช่วงปี 2560 – 2564 ซึ่งเป็นการพัฒนา โครงการน าร่องเพื่อทดสอบความเหมาะสมทางเทคนิคและความคุ้มค่าของการลงทุนในแต่ละเทคโนโลยี (3) ระยะ ปานกลางครอบคลุมช่วงปี 2565 – 2574 ซึ่งเป็นระยะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่จ าเป็นส าหรับระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริด และ (4) ระยะยาวครอบคลุมช่วงปี 2575 – 2579 ซึ่งเป็นระยะที่เริ่มทดลองใช้ความสามารถ ของระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดอย่างเต็มรูปแบบและเริ่มปรับปรุงความสามารถของระบบเพิ่มเติม รายละเอียดของการด าเนินการและเป้าหมายของร่างแผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของ
ไทยซึ่งอ้างอิงแผนกรณีกลาง สามารถสรุปได้ในหัวข้อต่อไป
แผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทยพ.ศ. 2558-2579 กระทรวงพลังงาน
. . 2558 - 2579
2558-2559 2560-2564 2565-2574 2575-2579
§ § § §
(Action Plan) (Real Time Pricing; RTP)
§ § HEMS/BEMS/FEMS TOU §
§ Demand Response (DR) §
§ / §
§ § §
§ § (Local content) (EHV/FACTS)
3 §
§ Platform §
3
§ § §
§ §
§ §
§
§
§ § §
/ /
§ /
รูปที่ 6.1 แผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทย พ.ศ. 2558-2579
30
6.1 1 (ระยะเตรียมการ)
เป้าหมายของการพัฒนาระบบสมาร์ทกริดของไทยในระยะเตรียมการซึ่งครอบคลุมช่วงปี 2558 – 2559 จะเป็นการเตรียมการด้านนโยบายต่างๆ เพื่อรองรับการขับเคลื่อนการพัฒนาไปทั้งระบบ ทั้งนี้ เป้าหมายและกลไก การด าเนินการในช่วงระยะนี้ ประกอบด้วย
เป้าหมาย
- ก าหนดหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบดูแล ติดตาม และขับเคลื่อนการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้เป็นไป ตามแผนแม่บท
- ก าหนดรูปแบบการเชื่อมต่อโครงข่ายสื่อสาร การแลกเปลี่ยนข้อมูล และก าหนด Platform ของการพัฒนา ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดร่วมกันระหว่าง 3 การไฟฟ้า
- ปรับปรุงข้อก าหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้รองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนใน สัดส่วนสูง
- สนับสนุนให้สถาบันการศึกษาสามารถผลิตบุคลากรดา้ นระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดได้
- สนับสนุนการศึกษาวิจัยในระยะเริ่มต้นที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
กลไกการด าเนินการ
- ตั้งคณะท างานเพื่อน าแผนแม่บทมาปรับใช้และจัดท าแผนปฏิบัติการ (Action Plan)
- ตั้งหน่วยงานเพื่อดูแล ติดตาม และขับเคลื่อนการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้เป็นไปตามแผนแม่บท พร้อมทั้งก าหนดกรอบงบประมาณส าหรับการด าเนินงานประจ าปีโดยเฉพาะ
- ตั้งคณะท างานเชื่อมต่อโครงข่ายสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน ระหว่าง 3 การไฟฟ้า
- ตั้งคณะท างานก าหนด Platform ของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของทั้ง 3 การไฟฟ้า
- ตั้งคณะท างานปรับปรุงข้อก าหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน หมุนเวียน
- ให้ทุนสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาเพื่อผลิตบุคคลากรด้านระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
- ให้ทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยในระยะเริ่มต้นที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
- ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดแก่หน่วยงานของรัฐ/กระทรวงที่เกี่ยวข้อง/ผู้มี อ านาจตัดสินใจ และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับประชาชนทั่วไปอย่างสม่ าเสมอ เพื่อให้ตระหนักถึง ความส าคัญและเข้าใจเกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
6.2 เป้าหมายของการพัฒนาในช่วงที่ 2 (ระยะสั้น)
เป้าหมายของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทยในระยะสั้นซึ่งครอบคลุมช่วงปี 2560 – 2564 จะเป็นระยะของการพัฒนาโครงการน าร่องเพื่อทดสอบความเหมาะสมทางเทคนิคและความคุ้มค่าของการ ลงทุนในแต่ละเทคโนโลยีและน าผลที่ได้จากการศึกษาส าหรับแต่ละเทคโนโลยีในโครงการน าร่องมาพิจารณา ทบทวนถึงความเหมาะสมในการน าไปใช้พัฒนาจริงในระยะต่อไปทั้งนี้ เป้าหมายและกลไกการด าเนินการในช่วง ระยะนี้ ประกอบด้วย
เป้าหมาย
- สนับสนุนการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในระดับโครงการน าร่อง
- ก าหนดนโยบายให้การไฟฟ้าฯ ทั้งสามแห่งลงทุนโครงการน าร่องที่เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
กลไกการด าเนินการ
- ให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยที่เกี่ยวกับโครงการน าร่องระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด เช่น
- โครงการน าร่องด้าน HEMS/BEMS/FEMS
- โครงการน าร่องด้าน Demand Response (DR)
- โครงการน าร่องด้านระบบไมโครกริด
- โครงการน าร่องด้านระบบกักเก็บพลังงาน
- ศึกษาและทบทวนความเหมาะสมการใช้งานเทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจากโครงการน าร่องที่ได้ ด าเนินการไปแล้ว เพื่อใช้พิจารณาในการก าหนดแนวทางการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพในระยะต่อไป
6.3 3 (ระยะปานกลาง)
เป้าหมายของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทยในระยะปานกลางซึ่งครอบคลุมช่วงปี 2565 – 2574 จะเป็นระยะของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่จ าเป็นส าหรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบโครงข่าย ไฟฟ้ายุคใหม่ ทั้งนี้ กิจกรรมการลงทุน/พัฒนาที่ควรด าเนินการในช่วงระยะนี้จะเป็นการผสมผสานนโยบาย ขับเคลื่อนจากภาครัฐ และการลงทุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตและการไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่าย อันประกอบด้วย
เป้าหมาย
- สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดภายในประเทศ
- ปรับนโยบายและกฎระเบียบต่างๆ ให้เอื้อต่อการพัฒนาระบบโครงขา่ ยสมาร์ทกริดขั้นสูง
- สนับสนุนให้การไฟฟ้าฯ ทั้งสามแห่งลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
กลไกการด าเนินงาน
- สนับสนุนให้มีโครงสร้างค่าไฟฟ้าที่สะท้อนต้นทุนตามช่วงเวลา (Real Time Pricing; RTP) หรืออย่างน้อย ในรูปแบบ TOU ที่มีความหลากหลายมากขึ้น
- จดั ตั้งศูนย์ข้อมูลการพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน/ระบบกักเก็บพลังงาน
- ออกมาตรการก าหนดสัดส่วนอุปกรณ์ภายในประเทศ (Local content) ส าหรับโครงการลงทุนระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริดของหน่วยงานภาครัฐ
- ออกมาตรการสนับสนุนเพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวกับระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริดภายในประเทศได้
- ออกมาตรการสนับสนุนทางภาษี และทางการเงินอื่นๆ แก่ภาคเอกชนที่ด าเนินธุรกิจเกี่ยวกับระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริด
- สนับสนุนให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานส าหรับเทคโนโลยีต่างๆ
ดังนี้
- เทคโนโลยีโครงข่ายสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลในระบบผลิตและระบบส่ง (ICT Integration(G&T))
- เทคโนโลยีระบบบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System (SCADA/EMS))
- เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานในระบบส่ง (Energy Storage System (G&T))
- เทคโนโลยีระบบสื่อสารข้อมูลกับผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก/ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากโดยเชื่อมต่อกับ ข้อมูลของระบบจ าหน่าย (SPP/VSPP Data Communication System (G&T))
- เทคโนโลยีระบบสถานีไฟฟ้าอัตโนมัติในระบบส่ง (Substation Automation (G&T))
- เทคโนโลยีระบบตรวจการณ์และระบบป้องกันและควบคุมในวงกว้าง (Wide Area Monitoring System (WAMS)/Wide Area Protection and Control (WAPC))
- สนับสนุนให้การไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่ายลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานส าหรับเทคโนโลยีต่างๆ ดังนี้
- เทคโนโลยีโครงข่ายสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลในระบบจ าหน่าย (ICT Integration (Distr))
- เทคโนโลยีระบบบริหารจัดการระบบจ าหน่าย (Distribution Management System (SCADA/DMS))
- เทคโนโลยีระบบสายป้อนอัตโนมัติ (Distribution/Feeder Automation (DA/FA))
- เทคโนโลยีระบบสถานีไฟฟ้าอัตโนมัติในระบบจ าหน่าย (Substation Automation (Distr))
- เทคโนโลยีสมาร์ทมิเตอร์และระบบโครงสร้างพื้นฐานมิเตอร์ขั้นสูง (Smart Meter + AMR/AMI)
- เทคโนโลยีระบบฐานข้อมูลมิเตอร์ผู้ใช้ไฟฟ้า (Meter Data Management System (MDMS))
- เทคโนโลยีระบบสื่อสารข้อมูลกับผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก/ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (SPP/VSPP Data Communication System (Distr))
- เทคโนโลยีระบบไฟถนนชาญฉลาด (Intelligent Street Lights)
6.4 4 (ระยะยาว)
เป้าหมายของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทยในระยะยาวซึ่งครอบคลุมช่วงปี 2575 – 2579 จะเป็นการทดลองใช้ความสามารถของระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดและเริ่มปรับปรุงความสามารถของระบบ ไฟฟ้าเพิ่มเติมโดยอาศัยเทคโนโลยีที่ต่อยอดจากโครงสร้างพื้นฐานที่พัฒนาขึ้น ทั้งนี้ กิจกรรมที่ส าคัญของการพัฒนา ในระยะนี้ จะเป็นการลงทุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตและการไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่าย เป็นหลัก อันประกอบด้วย
เป้าหมาย
- ก าหนดนโยบายให้การไฟฟ้าฯ ทั้งสามแห่งลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดขั้นสูง
- สนับสนุนให้ภาคผู้ใช้ไฟฟ้ามีการลงทุนการติดตั้งเทคโนโลยีเพื่อช่วยบริหารจัดการการใช้พลังงานอย่างมี ประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดการบูรณาการใช้งานร่วมกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตั้งแต่ภาคครัวเรือน อาคารพาณิชย์ และโรงงานอุตสาหกรรม (เทคโนโลยี HEMS/BEMS/FEMS)
กลไกการด าเนินงาน
- ก าหนดนโยบายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ดังนี้
- เทคโนโลยีระบบการอัดประจุรถยนต์ไฟฟ้าชาญฉลาดในระบบส่งโดยเชื่อมต่อกับข้อมูลของระบบ จ าหน่าย (Intelligent Charging System/V2G (G&T))
- เทคโนโลยีระบบพยากรณ์พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Forecast System)
- เทคโนโลยีระบบส่งไฟฟ้าแรงสูงและการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมก าลังไฟฟ้าในระบบส่ง (EHV/FACTS)
- เทคโนโลยีระบบจัดการการตอบสนองของโหลดและระบบจัดการความต้องการใช้ไฟฟ้าในระบบผลิต และระบบโดยเชื่อมต่อกับข้อมูลของระบบจ าหน่าย (Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (G&T))
- ก าหนดนโยบายให้การไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่ายลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ดังนี้
- เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานในระบบจ าหน่าย (Energy Storage System (Distr))
- เทคโนโลยีระบบการอัดประจุรถยนต์ไฟฟ้าชาญฉลาดในระบบจ าหน่าย (Intelligent Charging System/V2G (Distr))
- เทคโนโลยีระบบไมโครกริด (Microgrid Development)
- เทคโนโลยีระบบจัดการการตอบสนองของโหลดและระบบจัดการความต้องการใช้ไฟฟ้าในระบบ จ าหน่าย (Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (Distr))
- ก าหนดนโยบายสนับสนุน/จูงใจให้ภาคผู้ใช้ไฟฟ้าทุกภาคส่วนตั้งแต่ภาคครัวเรือน อาคารพาณิชย์ และ โรงงานอุตสาหกรรม มีการลงทุนติดตั้งเทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการการใช้พลังงานอย่างเต็มรูปแบบ
เอกสารแนบ ก. นโยบายและกิจกรรมการพัฒนา ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
ค าชี้แจง
เอกสารฉบับนี้จะแสดงถึงนิยาม ความหมาย พร้อมทั้งเสนอแนะหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย
ส่งเสริมและกิจกรรมการลงทุนพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทย ซึ่งจัดท าขึ้นภายใต้โครงการศึกษา เพื่อก าหนดนโยบายและแผนการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทย โดยส านักงานนโยบายและแผน พลังงานได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เป็นผู้ด าเนินการหลัก ทั้งนี้ เนื้อหาที่ปรากฏ ในเอกสารฉบับนี้ได้ผ่านกระบวนการระดมสมองจากคณะท างาน (Working Group) ซึ่งแบ่งตามประเด็น ยุทธศาสตร์ 5 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาความเชื่อถือได้และคุณภาพของไฟฟ้าด้านความยั่งยืนและประสิทธิภาพ ของการผลิตและใช้พลังงาน ด้านการพัฒนาการท างานและการให้บริการของหน่วยงานการไฟฟ้าฯ ด้านการ ก าหนดมาตรฐานความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ในระบบ และด้านการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม และผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการอ านวยการ (Steering Committee) ที่ได้รับการ แต่งตั้งจากคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดภายใต้คณะ กรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)
ในการก าหนดนโยบายและกิจกรรมต่างๆ ที่ระบุในเอกสารฉบับนี้ คณะผู้จัดท าได้ท าการรวบรวม ข้อมูลด้านนโยบายและรูปแบบเทคโนโลยีในการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจากแผนการพัฒนาระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริดในต่างประเทศ อันประกอบด้วย สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่นสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และแผนการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทยได้แก่ แผนการพัฒนาระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริดของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นอกจากนี้ ยังได้ท าการศึกษาเปรียบเทียบเทียบการพัฒนาโครงการต่างๆ ของในต่างประเทศและในประเทศ ไทย เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกและจัดล าดับความส าคัญของโครงการส าหรับการพัฒนาระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดของประเทศไทยให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกัน
ทั้งนี้ การด าเนินนโยบายส่งเสริมการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจะอยู่ในความรับผิดชอบของ หน่วยงานภาครัฐต่างๆ ทั้งจากกระทรวงพลังงาน และกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของกิจกรรมการลงทุน ต่างๆ จะอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานการไฟฟ้าทั้งสามแห่งเป็นหลัก อย่างไรก็ดี ทั้งนโยบายและ กิจกรรมลงทุนต่างๆ นั้นจะสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาทั้ง 5 ด้านตามที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยใน แต่ละนโยบายหรือกิจกรรม อาจจะส่งเสริมการพัฒนาในหลายประเด็นยุทธศาสตร์พร้อมกันได้ ความสัมพันธ์ ของนโยบายและกิจกรรมลงทุนที่มีต่อประเด็นยุทธศาสตร์แต่ละด้านสามารถแสดงได้ดังตารางในส่วนถัดไป
ผลของการด าเนินนโยบายและกิจกรรมลงทุนที่มตี อ่ การขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์
| Reliability | Sustainability | Service | Interoperability | Economics |
Policy |
สนับสนุนให้มีโครงสร้าง Real Time Pricing (RTP) | | O | O | O | |
สนับสนุนให้มีโครงสร้าง Demand Response (DR) | | O | O | O | |
สนับสนุนให้มีการใช้งาน HEMS/BEMS/FEMS | | O | O | O | O |
สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบ Microgrid | O | O | O | | O |
ตั้งคณะท างานเชื่อมต่อโครงข่ายสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน ระหว่าง 3 การไฟฟ้า | | | O | O | |
ตั้งคณะท างานก าหนด Platform ของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของทั้ง 3 การไฟฟ้า | | | O | O | |
จัดตั้งศูนย์ข้อมูลการพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน/ระบบกักเก็บพลังงาน | | O | | O | |
ปรับปรุงข้อก าหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Grid Code) | O | O | | O | |
มีมาตรการสนับสนุนให้ภาคเอกชนพัฒนาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด | | | | O | O |
มีมาตรการก าหนดสัดส่วน Local content ส าหรับโครงการลงทุนระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของหน่วยงานภาครัฐ | | | | | O |
สนับสนุนให้สถาบันการศึกษาผลิตบุคคลากรด้านระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด | | | | | O |
สนับสนุนเงินทุนกับงานวิจัยที่เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด | | | | | O |
ออกมาตรการสนับสนุนทางภาษีและทางการเงินอื่นๆแก่ภาคเอกชนที่ด าเนินธุรกิจเกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด | | O | O | O | O |
ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดแก่หน่วยงานของรัฐ/กระทรวงที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีอ านาจตัดสินใจ | | O | | | O |
ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดแก่ประชาชนทั่วไปอย่างสม่ าเสมอ | | O | | O | O |
ก.1
| Reliability | Sustainability | Service | Interoperability | Economics |
Generation & Transmission system |
Wide Area Monitoring System (WAMS)/Wide Area Protection and Control (WAPC) | O | O | O | | |
Energy Management System (SCADA/EMS) | O | O | O | | |
EHV/FACTS | O | O | O | | |
Substation Automation (G&T) | O | | O | O | |
Energy Storage System (G&T) | O | O | O | | |
Renewable Energy Forecast System | O | O | O | O | |
SPP/VSPP Data Communication System (G&T) | O | O | O | O | |
ICT Integration (G&T) | O | O | O | O | O |
Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (G&T) | | O | O | | O |
Intelligent Charging System/V2G (G&T) | O | O | O | | |
Distribution system | | | | | |
Distribution/Feeder Automation (DA/FA) | O | | O | O | |
Substation Automation (Distr) | O | | O | O | |
Distribution Management System (SCADA/DMS) | O | O | O | O | |
Smart Meter + AMR/AMI | O | O | O | O | |
Intelligent Charging System/V2G (Distr) | O | O | O | O | |
Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (Distr) | | O | O | O | O |
Intelligent Street Lights | | O | | | |
Meter Data Management System (MDMS) | | | O | O | |
Microgrid Development | O | O | O | | |
Energy Storage System (Distr) | O | O | O | | |
SPP/VSPP Data Communication System (Distr) | | O | | | |
ICT Integration (Distr) | O | O | O | O | O |
ก.2
นโยบายสนับสนุนการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกรดิ
นโยบาย: สนับสนุนให้มีโครงสร้างReal Time Pricing (RTP)
หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง: หน่วยงานก าหนดนโยบายภาครัฐ เช่น ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และหน่วยงานก ากับดูแล เช่น ส านักงานคณะกรรมการก ากับ กิจการพลังงาน (สกพ.)
ค าอธิบาย:
Real Time Pricing (RTP) คือ โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าตามเวลาจริงที่สะท้อนถึงต้นทุนในการผลิต พลังงานไฟฟ้าที่แตกต่างกันตามเวลา โดยโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าประเภทนี้อาจแตกต่างกันตามพื้นที่การจ่าย ไฟฟ้า อีกทั้งยังอาจแตกต่างกันตามระดับความเชื่อถือได้และคุณภาพไฟฟ้าที่ผู้ใช้ต้องการด้วย ตัวอย่างแนวคิด เริ่มต้นของการพัฒนาโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าแบบ RTP ก็คือ อัตราค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาของการใช้งาน (Time of Use Rate; TOU) ซึ่งแบ่งการคิดค่าไฟฟ้าแตกต่างกันในช่วงความต้องการไฟฟ้าสูง (On Peak) และ ช่วงความต้องการไฟฟ้าต่ า(Off Peak) อย่างไรก็ดี โครงสร้างค่าไฟฟ้าแบบ TOU ยังไม่ถือว่าเป็นโครงสร้าง อัตราค่าไฟฟ้าแบบ RTPอย่างสมบูรณ์แบบ
การมีโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าแบบ RTP ที่สะท้อนต้นทุนการผลิตพลังงานไฟฟ้าจริง จะเป็นตัว
ขับเคลื่อนหรือเป็นแรงจูงใจให้ผู้ใช้ไฟฟ้าเข้ามามีส่วนร่วมและตอบสนองการใช้พลังงานไฟฟ้า (Demand Response) อย่างมีประสิทธิภาพได้ โดยผู้ใช้ไฟฟ้าจะพิจารณาว่าจะเลือกใช้พลังงานไฟฟ้าในช่วงที่มีราคาแพง หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าโดยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในช่วงที่มีราคาแพงเพื่อไปใช้พลังงานไฟฟ้า ในช่วงที่มีราคาถูกกว่า การมีโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าประเภทนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดกิจกรรมต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบไฟฟ้าอัจฉริยะตามมา เช่น จะเกิดกระบวนการตอบสนองการใช้พลังงานไฟฟ้า หรือการบริหารจัดการความต้องการใช้ไฟฟ้า (Demand Response/Demand Side Management) การใช้ งานระบบบริหารจัดการพลังงานของผู้ใช้ (Energy Management System; EMS – HEMS/BEMS/FEMS) และเกิดการพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ ในการบริหารจัดการพลังงานซึ่งจะก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจและ อุตสาหกรรมของประเทศ เป็นต้น
ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จะเป็นหน่วยงานหลักที่ผลักดันให้เกิดนโยบายสนับสนุน ให้มีโครงสร้างReal Time Pricing (RTP) ซึ่งจะมีส่วนส าคัญต่อความส าเร็จของการพัฒนาระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดทั้งระบบ จากนั้น และส านักงานคณะกรรมการก ากับกิจการพลังงาน (สกพ.)จะต้องร่วม ท าการศึกษาการก าหนดโครงสร้างที่เหมาะสม และน าไปประกาศใช้ต่อไป
สนับสนุนให้มีโครงสร้าง Demand Response (DR)
หน่วยงานก าหนดนโยบายภาครัฐ เช่น ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)
ค าอธิบาย:
การตอบสนองการใช้พลังงานไฟฟ้า (Demand Response) จะเป็นช่องทางให้เกิดการใช้พลังงาน
ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพจากส่วนของผู้ใช้ไฟฟ้า (End-use) โดยตรง ท าให้สามารถใช้พลังงานหมุนเวียนได้ อย่างคุ้มค่า ช่วยลดความต้องการไฟฟ้าสูงสุด เพิ่มความมั่นคงต่อระบบไฟฟ้าและพลังงาน และอาจช่วยชะลอ การสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อสังคมและต่อประเทศชาติโดยรวม
ผู้ใช้ไฟฟ้าอาจตอบสนองการใช้ไฟฟ้าต่อราคาค่าไฟฟ้า (Price Signal) ที่เปลี่ยนแปลงไปหรือตอบสนอง
ต่อค่าตอบแทนจูงใจอื่นๆ ที่ได้รับ (Incentive Payment) ซึ่งภาครัฐสามารถส่งสัญญาณไปยังผู้ใช้ผ่านช่องทาง กลไก หรือโครงสร้างการตอบสนองการใช้พลังงานไฟฟ้า (Demand Response; DR) ที่มีอยู่ ตัวอย่างของการ มีโครงสร้างการตอบสนองการใช้พลังงานไฟฟ้าที่สมบูรณ์ได้แก่ การที่ผู้ควบคุมระบบไฟฟ้าส่งข้อมูลอัตราค่า
ไฟฟ้าตามเวลาจริงไปสู่ผู้ใช้ไฟฟ้าผ่านทางระบบสมาร์ทมิเตอร์ที่ติดตั้งที่ส่วนของผู้ใช้ไฟฟ้า เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับ ข้อมูลดังกล่าวก็จะตอบสนองต่อสัญญาณนั้นและท าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของตนเองให้ เหมาะสม เป็นต้น ในระบบไฟฟ้าอัจฉริยะที่มีการพัฒนาอย่างมาก การตอบสนองการใช้พลังงานไฟฟ้าอาจ ด าเนินการโดยระบบอัตโนมัติ เช่นในอาคารที่มีระบบบริหารจัดการพลังงาน (Building Energy Management System; BEMS) เมื่อมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ใน ปริมาณมากผู้ควบคุมระบบไฟฟ้าอาจส่งสัญญาณไปยัง BEMS ผ่านทางสมาร์ทมิเตอร์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการ ชาร์จรถไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อท าให้เกิดความสมดุลระหว่างการผลิตไฟฟ้ากับการบริโภคไฟฟ้า อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ การมีโครงสร้างการตอบสนองการใช้พลังงานไฟฟ้า จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา เทคโนโลยี หรือธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบไฟฟ้าอัจฉริยะตามมา เช่น เทคโนโลยีการใช้งาน ระบบบริหารจัดการพลังงานของผู้ใช้ (Energy Management System; EMS – HEMS/BEMS/FEMS) และ เกิดการพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ ในการบริหารจัดการพลังงาน เป็นต้นอย่างไรก็ดี ภายใต้โครงสร้างกิจการไฟฟ้าของ ประเทศในปัจจุบัน กิจกรรมที่เกี่ยวกับการตอบสนองการใช้พลังงานไฟฟ้า อาจจะไม่จูงใจหน่วยงานการไฟฟ้าฯ ทั้งสามมากนัก เนื่องจากอาจจะไม่ได้ก่อให้เกิดผลตอบแทนการลงทุนต่อองค์กรโดยตรง และอาจท าให้รายได้ จากการขายไฟฟ้าลดลงอีกด้วย ดังนั้น ภาครัฐจึงมีบทบาทส าคัญที่จะต้องให้นโยบายที่ชัดเจนแก่หน่วยงานการ ไฟฟ้าฯ ทั้งสาม
ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จะเป็นหน่วยงานหลักที่ผลักดันให้เกิดนโยบายสนับสนุน
ให้มีโครงสร้างDemand Response (DR) ซึ่งจะเป็นพันธกิจให้หน่วยงานการไฟฟ้าฯ ทั้งสามต้องลงทุนพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับนโยบายดังกล่าว นอกจากนี้ นโยบายที่ชัดเจนจะเป็นการส่งสัญญาณให้ ภาคอุตสาหกรรมเกิดความมั่นใจ และพัฒนาเทคโนโลยีการบริหารจัดการพลังงานหรือเทคโนโลยีอัตโนมัติ ต่างๆ มาใช้ในประเทศ ซึ่งจะมีส่วนส าคัญต่อความส าเร็จของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดทั้งระบบ สนับสนุนให้มีการใช้งาน HEMS/BEMS/FEMS
หน่วยงานก าหนดนโยบายภาครัฐ เช่น ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และหน่วยงานส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เช่น กรมพัฒนา พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)
ค าอธิบาย:
ระบบบริหารจัดการพลังงานในบ้าน (Home Energy Management System; HEMS) ระบบบริหาร จัดการพลังงานในอาคาร (Building Energy Management System; BEMS) และระบบบริหารจัด การพลังงานในโรงงาน (Factory Energy Management System; FEMS) คือ เป็นการปฏิรูประบบการ จัดการด้านพลังงานโดยมีการประสานการท างานของอุปกรณ์ตรวจวัด (Sensor) สมาร์ทมิเตอร์ (Smart Meter) และระบบควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าอัตโนมัติ (Actuator/Controller) มาติดตั้งท างานร่วมกัน อาจมีการ ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ และระบบกักเก็บพลังงานร่วมด้วยเพื่อ บริหารจัดการการใช้ไฟฟ้าให้เกิดประโยชน์สูงสุดซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามาตรการอนุรักษ์พลังงานที่เกิดผล สัมฤทธิ์มากที่สุด คือ การบริหารจัดการพลังงานในส่วนของผู้ใช้ไฟฟ้า
วัตถุประสงค์ของการประยุกต์ใช้ระบบบริหารจัดการพลังงาน HEMS/BEMS/FEMS ประกอบด้วย
- เพื่อให้ผู้ดูแลอาคารและผู้เกี่ยวข้องสามารถมองเห็นการภาพการใช้พลังงานใน บ้าน/อาคาร/โรงงาน ได้อย่าง เป็นรูปธรรม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดจิตส านึกต่อการอนุรักษ์พลังงาน และมีการตอบสนองการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่าง เหมาะสม
- เพื่อรองรับและควบคุมการท างานร่วมกันของอุปกรณ์ผลิตและกักเก็บพลังงานที่จะถูกติดตั้งเข้ามาในบ้าน/ อาคาร/โรงงาน เช่น เซลล์แสงอาทิตย์เซลล์เชื้อเพลิงระบบการผลิตพลังงานร่วมระบบการผลิตพลังงานความ ร้อนจากแสงอาทติ ย์ และระบบแบตเตอรี่ เป็นต้น
- เพื่อควบคุมการท างานของระบบสิ่งอ านวยความสะดวกต่างๆในอาคารให้มีการด าเนินการเหมาะที่สุด มีการใช้บริโภคพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดและลดความต้องการไฟฟ้าสูงสุด
ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จะเป็นหน่วยงานส าคัญที่ผลักดันให้เกิดนโยบาย สนับสนุนให้มีการใช้งาน HEMS/BEMS/FEMS โดยอาจจะออกมาตรการสนับสนุนงานวิจัยการพัฒนา เทคโนโลยี ออกมาตรการทางการเงินส่งเสริมการติดตั้งระบบ และมาตรการสนับสนุนอื่นๆ เป็นต้น กรมพัฒนา พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จะเป็นหน่วยงานหลักที่ส่งเสริมและเร่งให้เกิดการพัฒนาโครงการ น าร่องในโรงงานหรืออาคารควบคุม เพื่อเป็นโครงการตัวอย่างให้เห็นประโยชน์และความคุ้มค่าของการใช้ เทคโนโลยี HEMS/BEMS/FEMS อย่างเป็นรูปธรรม
สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบ Microgrid
หน่วยงานก าหนดนโยบายภาครัฐ เช่น ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และหน่วยงานส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เช่น กรมพัฒนา พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)
ค าอธิบาย:
ไมโครกริด (Microgrid) คือ ระบบไฟฟ้าขนาดเล็กที่มีองค์ประกอบครบถ้วนทั้ง ระบบผลิตพลังงาน ระบบกักเก็บพลังงานและส่วนของผู้ใช้โดยหลักการส าคัญของการผลิตไฟฟ้าด้วยไมโครกริดคือการพยายาม สร้างความสมดุลระหว่างการผลิตพลังงานให้พอดีกับความต้องการใช้พลังงานภายในไมโครกริด และใช้ระบบ ไฟฟ้าหลัก (Main grid) เป็นเพียงระบบเสริมความมั่นคง (Back up) เท่านั้น โดยในปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิต ไฟฟ้าได้พัฒนาจนมีขนาดของระบบเล็กมากและราคาก็ต่ าลงกว่าในอดีต สามารถเลือกใช้เชื้อเพลิงได้ หลากหลายในการผลิตไฟฟ้ารวมทั้งการใช้พลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาร่วมในการผลิตพลังงานไฟฟ้า และ เนื่องจากไมโครกริดมีขนาดเล็กท าให้มีผู้ใช้มีอิสระที่จะเลือกต าแหน่งการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าให้ใกล้กับความ ต้องการใช้พลังงานความร้อน ท าให้สามารถน าความร้อนเหลือทิ้งจากระบบผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กนี้ไปใช้งานได้ โดยตรง (Combined Heat and Power; CHP) ส่งผลให้สามารถใช้พลังงานจากแหล่งเชื้อเพลิงได้อย่างมี ประสิทธิภาพ คือ ใช้ทั้งผลิตไฟฟ้าและน าความร้อนเหลือทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์ได้ด้วยประโยชน์ส าคัญอีก ประการที่เห็นได้ชัดจากไมโครกริดก็คือการลดการใช้งานระบบส่งและระบบจ าหน่าย ลดพลังงานไฟฟ้าสูญเสีย ในสายส่งและสายจ าหน่าย เนื่องจากระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าและส่วนของผู้ใช้ไฟฟ้าอยู่ใกล้กันท าให้ไม่ต้องการ การส่งก าลังไฟฟ้าจากระบบไฟฟ้าหลักที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ในที่ห่างไกล นอกจากนี้เมื่อเกิด ปัญหาขัดข้องกับระบบไฟฟ้าหลัก ไมโครกริดก็สามารถปลดตัวเองออกมาและใช้เพียงพลังงานไฟฟ้าจากระบบ ผลิตของตัวเองจ่ายให้กับโหลดในระบบได้
การสนับสนุนให้เกิดการใช้งานไมโครกริด จะเป็นการช่วยให้เกิดความหลากหลายของการใช้แหล่ง พลังงานมากขึ้น และส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะน าไปสู่การพัฒนาระบบ การผลิตและการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนของประเทศในอนาคต
ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จะเป็นหน่วยงานส าคัญที่ผลักดันให้เกิดนโยบาย สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบ Microgrid โดยอาจจะออกมาตรการสนับสนุนงานวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยี เป็นต้น กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จะเป็นหน่วยงานหลักที่อาจท าการส่งเสริมให้ เกิดการพัฒนาโครงการน าร่องโดยอาจจะร่วมมือกับชุมชนหรือภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น เพื่อพัฒนาโครงการ ตัวอย่างให้เห็นประโยชน์และความคุ้มค่าของการใช้งานระบบ Microgrid อย่างเป็นรูปธรรม
ตั้งคณะท างานเชื่อมต่อโครงข่ายสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน ระหว่าง 3 การไฟฟ้า หน่วยงานก าหนดนโยบายภาครัฐ เช่น ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และหน่วยงานก ากับดูแล เช่น ส านักงานคณะกรรมการก ากับ กิจการพลังงาน (สกพ.) ทั้งนี้ อาจรวมถึงหน่วยงานจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อ การสื่อสารด้วย
ค าอธิบาย:
ปัจจัยที่จะก าหนดความส าเร็จของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจะขึ้นอยู่กับความสามารถ ของโครงข่ายระบบสื่อสาร การแลกเปลี่ยนข้อมูล และการน าข้อมูลไปใช้ประโยชน์ด้วย เพื่อให้การพัฒนาระบบ สาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศไม่เกิดความความซ้ าซ้อนและเกิดบูรณาการของการท างานร่วมกันของ หน่วยงานการไฟฟ้าทั้งสามของประเทศเพื่อพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะของประเทศไทยให้เป็นโครงข่ายที่ เข้ากันได้ทั่วประเทศ และเตรียมพร้อมที่จะเชื่อมต่อเข้ากับโครงข่ายระบบไฟฟ้าก าลังของอาเซียน (ASEAN Power Grid) ต่อไปในอนาคต ดังนั้น การไฟฟ้าทั้งสาม คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การ ไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ควรจะต้องมีการตกลงร่วมกันเพื่อก าหนด มาตรฐานการเชื่อมต่อโครงข่ายระบบสื่อสาร โดยโครงข่ายระบบสื่อสารของทั้งสามหน่วยงานควรจะต้อง สามารถเชื่อมต่อกันตามมาตรฐานกลางที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลได้
ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานก าหนดนโยบายหลักทางด้าน พลังงานของประเทศจะต้องเสนอประเด็นดังกล่าวให้แก่ผู้มีอ านาจตัดสินใจหรือมีอ านาจในการแต่งตั้ง คณะท างาน เช่น เสนอให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) หรือคณะอนุกรรมการของ กบง. ที่ เกี่ยวข้อง มีค าสั่งแต่งตั้งคณะคณะท างานด้านการเชื่อมต่อโครงข่ายสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน ระหว่าง 3 การไฟฟ้าเพื่อพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดขึ้น ส านักงานคณะกรรมการก ากับกิจการพลังงาน (สกพ.) ควรจะต้องมีส่วนร่วมในคณะท างานนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถก ากับดูแลหน่วยงานการไฟฟ้าทั้ง สามให้สามารถเชื่อมต่อโครงข่ายสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ หน่วยงานจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อการสื่อสารและสารสนเทศก็จะมีบทบาทส าคัญในการช่วยจัดสรรช่วงความถี่ ให้กับหน่วยงานการไฟฟ้าฯ เพื่อใช้ในงานเกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและ เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ร่วมกันด้านระบบสื่อสารกับหน่วยงานภาครัฐต่อไป
ตั้งคณะท างานก าหนด Platform ของการพัฒนาระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดของทั้ง 3 การไฟฟ้า หน่วยงานก าหนดนโยบายภาครัฐ เช่น ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และหน่วยงานก ากับดูแล เช่น ส านักงานคณะกรรมการก ากับ กิจการพลังงาน (สกพ.)
ค าอธิบาย:
ในบริบทของระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด Platform จะมีความหมายเทียบเคียงได้กับระบบปฏิบัติ (Operating System) ซึ่งเป็นตัวก าหนดคุณลักษณะของเทคโนโลยีหรือวิธีการที่ใช้กับการบริหารจัดการข้อมูล และการควบคุมต่างๆ ในระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด เช่น วิธีการเข้าถึงข้อมูลและการจัดการข้อมูล (Data Acquisition and Management) วิธีการจัดการด้านความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security) และวิธีการ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น หากเปรียบเทียบกับเทคโนโลยี ของระบบคอมพิวเตอร์แล้ว จะพบว่า คอมพิวเตอร์ก็มีระบบปฏิบัติการหลายรูปแบบให้เลือกใช้เช่นกัน เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows ของบริษัทไมโครซอฟฟ์ OS X ของบริษัทแอปเปิ้ล หรือ Linux ซึ่งเป็น ระบบปฏิบัติการแบบเปิด (Open OS) เป็นต้น ทั้งนี้ แม้ว่าฮาร์ดแวร์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะ เหมือนกัน แต่หากเลือกใช้ระบบปฏิบัติการแตกต่างกันแล้ว ไฟล์ข้อมูลจากระบบปฏิบัติการหนึ่งก็จะถูกน าไปใช้ กับอีกระบบปฏิบัติการหนึ่งได้ยากเนื่องจากมีวิธีการในการบริหารจัดการข้อมูลที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ซอฟฟ์แวร์หรือโปรแกรมประยุกต์ของแต่ละระบบปฏิบัติการก็จะแตกต่างกันและไม่สามารถน ามาใช้ร่วมกันได้
การเลือก Platform ของเทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดก็เช่นเดียวกัน เนื่องจากต้องมีการ จัดการกับข้อมูลหลากหลายประเภทเป็นจ านวนมาก และต้องมีการติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์จ านวนมากมายใน ระบบไฟฟ้า จึงต้องมีกระบวนการจัดการที่เป็นระบบ ตัวอย่างเช่น จะต้องพิจารณาว่า ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล กับสมาร์ทมิเตอร์จะใช้เทคโนโลยีแบบมีสาย (Wire) หรือไร้สาย (Wireless) และจะใช้เทคโนโลยีใดเป็นหลัก เช่น Edgeหรือ 3G การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ก็จ าเป็นต้องมีโปรโตคอล (Protocol) มาตรฐานว่า จะแลกเปลี่ยนข้อมูลประเภทใด และจ านวนเท่าใด และมีความถี่ของการส่งข้อมูลเป็นอย่างไร เป็นต้น นอกจากนี้ ยังต้องมีซอฟฟ์แวร์หรือชุดค าสั่งที่คอยควบคุมประสานการท างานของอุปกรณ์ทั้งหมดในระบบ ใน ปัจจุบัน มีผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการหรือ Platform ของระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดอยู่หลายบริษัท เช่น SilverSpring Network, Cisco, GE Intelligent Platform และ Kamstrup-OMNIA เป็นต้น การไฟฟ้าทั้ง สามควรจะต้องให้ความส าคัญกับประเด็นการเลือก Platform ที่จะน ามาใช้กับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของ ตน โดยอาจจะไม่จ าเป็นต้องใช้ Platform ที่มาจากบริษัทผู้พัฒนาเดียวกัน แต่ต้องท าให้แน่ใจว่ามาตรฐาน ต่างๆ ที่ Platform ของแต่ละการไฟฟ้าฯ ใช้ จะต้องมีความเข้ากันได้หรืออย่างน้อยเป็นมาตรฐานแบบเปิดที่ สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากันได้
ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานก าหนดนโยบายหลักทางด้าน พลังงานของประเทศจะต้องเสนอประเด็นดังกล่าวให้แก่ผู้มีอ านาจตัดสินใจหรือมีอ านาจในการแต่งตั้ง คณะท างาน เช่น เสนอให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) หรือคณะอนุกรรมการของ กบง. ที่ เกี่ยวข้อง มีค าสั่งแต่งตั้งคณะคณะท างานด้านก าหนด Platform ของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของ ทั้ง 3 การไฟฟ้า นอกจากนี้ ส านักงานคณะกรรมการก ากับกิจการพลังงาน (สกพ.) ควรจะต้องมีส่วนร่วมใน คณะท างานนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถก ากับดูแลหน่วยงานการไฟฟ้าทั้งสามให้ใช้ Platform ที่เข้ากันได้ จัดตั้งศูนย์ข้อมูลการพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน/ระบบ กักเก็บพลังงาน
หน่วยงานก ากับดูแล เช่น ส านักงานคณะกรรมการก ากับกิจการพลังงาน (สกพ.)
ค าอธิบาย:
เนื่องจากจุดประสงค์หลักประการหนึ่งในการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดก็คือ การท าให้ระบบ ไฟฟ้าก าลังสามารถรองรับการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ในปริมาณที่มากขึ้น โดยเฉพาะ พลังงานหมุนเวียนประเภทพลังงานธรรมชาติ เช่น พลังแสงอาทิตย์ และพลังงานลม และสามารถบริหาร จัดการระบบกักเก็บพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดต่างๆ ในระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดแล้วส่งข้อมูลทางไฟฟ้าต่างๆ ณ ขณะ
เวลาใดๆ มายังระบบประมวลผลของศูนย์ข้อมูลการพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียนและระบบ กักเก็บพลังงาน เพื่อประเมินศักยภาพของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน/ระบบกักเก็บพลังงาน ใน ระบบไฟฟ้าก าลงั ณ ช่วงระยะเวลาที่สนใจ จะช่วยท าให้ผู้ควบคุมระบบไฟฟ้าทราบสถานะของระบบไฟฟ้าได้ดี ขึ้นและช่วยให้สามารถควบคุมระบบไฟฟ้าให้สามารถรองรับพลังงานหมุนเวียนได้อย่างมีความมั่นคงและมี ความเชื่อถือได้มากขึ้น
ส านักงานคณะกรรมการก ากับกิจการพลังงาน (สกพ.) จะเป็นหน่วยงานส าคัญที่ผลักดันให้เกิดการ จัดตั้งศูนย์ข้อมูลการพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน/ระบบกักเก็บพลังงาน เพื่อให้หน่วยงาน การไฟฟ้าด าเนินการผลิตและส่งจ่ายไฟฟ้าได้อย่างมั่นคง มีประสิทธิภาพ และเป็นธรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุดต่อผู้บริโภค
ปรับปรุงข้อก าหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อรองรับการผลิต ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Grid Code)
หน่วยงานก ากับดูแล เช่น ส านักงานคณะกรรมการก ากับกิจการพลังงาน (สกพ.)
ค าอธิบาย:
เนื่องจากการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจะท าให้ระบบไฟฟ้าก าลังมีความสามารถสูงขึ้น โดยที่ ระบบส่งและระบบจ าหน่ายจะมีศักยภาพมากขึ้น และจะมีข้อจ ากัดทางด้านกายภาพของระบบน้อยลง ส่งผล ให้การเชื่อมต่อระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเข้ากับระบบไฟฟ้าหลัก (Main grid) ท าได้ง่ายขึ้น ดังนั้น จึงต้องมีการปรับปรุงข้อก าหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน หมุนเวียน (Grid Connection Code for Renewable Power Plant) ใหม่ โดยท าให้กฏระเบียบต่างๆ ไม่ เป็นอุปสรรคในการจ ากัดการเชื่อมต่อระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
ส านักงานคณะกรรมการก ากับกิจการพลังงาน (สกพ.) จะเป็นหน่วยงานส าคัญที่จะต้องท าการศึกษา
และปรับปรุงข้อก าหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้ มากขึ้นได้
มีมาตรการสนับสนุนให้ภาคเอกชนพัฒนาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่ เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
หน่วยงานหลกั ที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานก าหนดนโยบายภาครัฐ เช่น ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และหน่วยงานทางด้านการพัฒนาเทคโนโลยี เช่น ส านักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ค าอธิบาย:
เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ การลงทุนเพื่อ พัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดควรจะต้องมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ภายในประเทศด้วย ซึ่งเป้าหมายส าคัญก็คือ จะต้องส่งสัญญาณให้ภาคเอกชนเกิดการพัฒนาขีดความสามารถ ในการพัฒนาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดขึ้นได้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศ อย่างยั่งยืนในที่สุดโดยซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นภายในประเทศอาจจะถูกใช้กับโครงการ ต่างๆ ภายในประเทศเอง หรืออาจถูกส่งออกเพื่อไปขายยังต่างประเทศก็ได้
ในความเป็นจริง นโยบายที่ชัดเจนและเอาจริงเอาจังเกี่ยวกับการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริ ดของภาครัฐ ก็เป็นการส่งสัญญาณไปยังภาคอุตสาหกรรมอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี หน่วยงานภาครัฐต่างๆ อาจส่ง สัญญาณเพิ่มไปยังภาคอุตสาหกรรม เพื่อเร่งการพัฒนาให้เร็วมากยิ่งขึ้นได้ เช่น ส านักงานนโยบายและแผน พลังงาน (สนพ.) อาจให้เงินกองทุนเพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดมากขึ้น โดยอาจให้ทุนสนับสนุนแก่หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย หรือหน่วยงาน เอกชนในการพัฒนาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ในระดับโครงการน าร่อง หรืออาจจะเป็นการให้ทุนสนับสนุน เริ่มต้นกับภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ และส านักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) อาจท าการวิจัยและพัฒนาต้นแบบซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดและถ่ายทอด เทคโนโลยีให้กับภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น
มีมาตรการก าหนดสัดส่วน Local content ส าหรับโครงการลงทุนระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริดของหน่วยงานภาครัฐ
หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานก าหนดนโยบายภาครัฐ เช่น ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และหน่วยงานพิจารณางบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ เช่น ส านักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
ค าอธิบาย:
เนื่องจากโครงการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดต่างๆ จะต้องการเงินลงทุนเป็นจ านวนมาก หาก ทุกโครงการต้องน าเข้าอุปกรณ์และเทคโนโลยีจากต่างประเทศทั้งหมด จะท าให้เกิดการเสียดุลการค้ามากและ อาจเป็นภาระต่อประเทศในระยะยาวได้ นอกจากนี้ การใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีจากต่างประเทศทั้งหมดใน โครงการ ยังไม่เป็นการส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศอีกด้วย ดังนั้น จึงควรมีการส่งเสริมให้โครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดต่างๆ โดยเฉพาะ โครงการของหน่วยงานภาครัฐมีการใช้งานอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีต่างๆ ที่ผลิตขึ้นในประเทศมากขึ้น โดยอาจ ก าหนดสัดส่วนเงินลงทุนอุปกรณ์ทั้งหมดที่ผลิตได้ภายในประเทศต่อมูลค่าโครงการโดยรวม (Local content) ไว้ให้เหมาะสม เช่น มากกว่าหรือเท่ากับ 20% เป็นต้น โดยอุปกรณ์ทั้งหมดที่ผลิตได้ภายในประเทศอาจจะเป็น อุปกรณ์พื้นฐานปกติที่ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดก็ได้ เนื่องจากไม่ว่าจะใช้อุปกรณ์ อะไรที่ผลิตได้ภายในประเทศก็ถือว่าเป็นการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมภายในประเทศ เช่นกัน ซึ่งการมีมาตรการเช่นนี้จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องครบวงจรทั้งหมด ภายในประเทศได้
ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ(สศช.)จะเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทหลักในการผลักดันมาตรการดังกล่าว เนื่องจาก หน่วยงานทั้ง สองจะเป็นหน่วยงานหลักที่ให้ความเห็นและพิจารณาความเหมาะสมของโครงการลงทุนต่างๆ ของการไฟฟ้า ทั้งสามแห่ง
สนับสนุนให้สถาบันการศึกษาผลิตบุคคลากรด้านระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง: หน่วยงานก าหนดนโยบายภาครัฐ เช่น ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) หน่วยงานก ากับดูแล เช่น ส านักงานคณะกรรมการก ากับกิจการ พลังงาน (สกพ.) หน่วยงานการไฟฟ้าฯ ทั้งสาม และสถาบันการศึกษาต่างๆ
ค าอธิบาย:
ในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ สิ่งหนึ่งที่จะต้องให้ ความส าคัญควบคู่ไปกับการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดเพื่อให้เกิดการพัฒนา อย่างยั่งยืน ก็คือ การพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ หากประเทศไทยสามารถผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถและมีความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดเป็นอย่างดี ก็จะก่อให้เกิดการ พัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ ภายในประเทศได้ นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดการจ้างงานภายในประเทศ เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากการควบคุมดูแลระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจ าเป็นจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความ เข้าใจในสาขาวิชาชีพดังกล่าว
สถาบันการศึกษาที่มีหลักสูตรการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมศาสตร์จะเป็นหน่วยงานหลักที่ท าหน้าที่ ผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด ซึ่งจะสามารถท าได้โดยการเปิดหลักสูตร ปริญญาบัณฑิต/มหาบัณฑิต หรือในระยะสั้นอาจจะเป็นการเปิดอบรมหลักสูตรประกาศนีบัตรก็ได้อย่างไรก็ดี หน่วยงานภาครัฐ เช่น ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ส านักงานคณะกรรมการก ากับกิจการ พลังงาน (สกพ.)และหน่วยงานการไฟฟ้าทั้งสาม ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้า นครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จะเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทหลักในการสนับสนุน สถาบันการศึกษาให้สามารถผลิตบุคลากรด้านนี้ได้มากขึ้น ซึ่งอาจท าได้โดยการให้การสนับสนุนทุนการศึกษา หรือการสร้างหลักสูตรความร่วมมือพิเศษระหว่างหน่วยงานการไฟฟ้าฯ และสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นต้น
สนับสนุนเงินทุนกับงานวิจัยที่เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง: หน่วยงานก าหนดนโยบายภาครัฐ เช่น ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และหน่วยงานก ากับดูแล เช่น ส านักงานคณะกรรมการก ากับ กิจการพลังงาน (สกพ.) และหน่วยงานการไฟฟ้าฯ ทั้งสาม
ค าอธิบาย:
ในการลงทุนพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด การสร้างเทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ขึ้นได้เอง ภายในประเทศจะเป็นปัจจัยพื้นฐานส าคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจและ อุตสาหกรรมของประเทศ สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการสนับสนุนด้านการศึกษาและวิจัยต่างๆ ภายในประเทศ ซึ่งหากการศึกษาวิจัยภายในประเทศมีความเข้มแข็ง และการตั้งโจทย์การวิจัยมีความชัดเจน และตรงกับความต้องการของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจริง จะก่อให้เกิดการพัฒนาด้านอื่นๆ ตามมา อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศที่เข้มแข็ง
ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และส านักงานคณะกรรมการก ากับกิจการพลังงาน (สกพ.)และหน่วยงานการไฟฟ้าทั้งสาม ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จะเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทหลักในการสนับสนุนเงินทุนวิจัยแก่ หน่วยงานวิจัยภายในประเทศอันได้แก่ สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัยต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชน ซึ่งอาจ ท าได้โดยการตั้งกรอบงบประมาณส่วนหนึ่งไว้เพื่อเป็นงบสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริดโดยเฉพาะ เป็นต้น
ออกมาตรการสนับสนุนทางภาษี และทางการเงินอื่นๆ แก่ภาคเอกชนที่
ด าเนินธุรกิจเกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
หน่วยงานก าหนดนโยบายภาครัฐ เช่น ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และหน่วยงานส่งเสริมการลงทุน เช่น ส านักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน (BOI)
ค าอธิบาย:
เนื่องจาก โดยทั่วไป บทบาทหลักในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาเทคโนโลยีหรือ
อุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจะอยู่ที่หน่วยงานการไฟฟ้าฯ ทั้งสาม และการพัฒนาของ ภาคเอกชน อย่างไรก็ดี หน่วยงานภาครัฐไม่ว่าจะเป็น กระทรวงพลังงาน หรือหน่วยงานก ากับดูแล เช่น ส านักงานคณะกรรมการก ากับกิจการพลังงาน (สกพ.) สามารถให้นโยบายและก ากับดูแลได้แค่เพียงหน่วยงาน การไฟฟ้าฯ เท่านั้น แต่ไม่สามารถก ากับการด าเนินงานของภาคเอกชนโดยตรงได้ สิ่งที่ภาครัฐสามารถท าได้ คือ การส่งสัญญาณที่ชัดเจนไปยังภาคเอกชนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ภายในประเทศที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดโดยหน่วยงานภาครัฐ สามารถออกมาตรการ สนับสนุนทางภาษี และทางการเงินอื่นๆ แก่ภาคเอกชนที่ด าเนินธุรกิจเกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด เพื่อ เป็นการสนับสนุนภาคเอกชนให้สามารถเร่งการพัฒนาเทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในด้านต่างๆ ให้เร็ว มากยิ่งขึ้นได้
ทั้งนี้ ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และหน่วยงานส่งเสริมการลงทุน เช่น ส านักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จะเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทหลักในการออกมาตรการสนับสนุนทาง ภาษี และทางการเงินอื่นๆ แก่ภาคเอกชนที่ด าเนินธุรกิจเกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด โดยส านักงาน นโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) อาจให้เงินกองทุนเพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดมากขึ้น และส านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) อาจออกมาตรการ ทางภาษีเพื่อสนับสนุนการลงทุนแก่ภาคเอกชนที่พัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด เป็นต้น
ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดแก่หน่วยงานของรัฐ/กระทรวง ที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีอ านาจตัดสินใจ
หน่วยงานก าหนดนโยบายภาครัฐ เช่น ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)
ค าอธิบาย:
สิ่งส าคัญประการหนึ่งที่มีผลต่อสัมฤทธิผลของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดก็คือ การท าความ เข้าใจกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนถึงความส าคัญและความจ าเป็นของการพัฒนาฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจนถึงทิศทางของแผนการพัฒนาที่เหมาะสม และล าดับความส าคัญเร่งด่วน ของกิจกรรมการพัฒนา/ลงทุนต่างๆ ที่ควรด าเนินการก่อน แก่หน่วยงานของรัฐ/กระทรวงที่เกี่ยวข้อง/ผู้มี อ านาจตัดสินใจ เพื่อให้มีข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจและสามารถบูรณาการทิศทางหรือแผนการพัฒนา ประเทศด้านต่างๆ ให้สอดคล้องกัน และสามารถก าหนดกรอบงบประมาณของการพัฒนาได้อย่างเหมาะสม
ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ในฐานะหน่วยงานก าหนดนโยบายการพัฒนาทางด้าน
พลังงานของประเทศ จะเป็นหน่วยงานส าคัญที่จะต้องให้ความรู้เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดแก่ หน่วยงานของรัฐ/กระทรวงที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีอ านาจตัดสินใจ อย่างชัดเจน
ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดแก่ประชาชนทั่วไปอย่าง สม่ าเสมอ
หน่วยงานก าหนดนโยบายภาครัฐ เช่น ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และหน่วยงานก ากับดูแล เช่น ส านักงานคณะกรรมการก ากับ กิจการพลังงาน (สกพ.)
ค าอธิบาย:
สิ่งที่ส าคัญต่อสัมฤทธิผลของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดอย่างยั่งยืน และมีความโปร่งใส ก็ คือ การท าความเข้าใจกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนถึงความส าคัญและความจ าเป็นของการพัฒนาฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภาคประชาชนที่มีส่วนได้รับผลกระทบโดยตรงจากการรับภาระของค่าใช้จ่ายในการ ลงทุนพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดทั้งทางตรงและทางอ้อม
ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ในฐานะหน่วยงานก าหนดนโยบายการพัฒนาทางด้าน
พลังงานของประเทศ จะเป็นหน่วยงานส าคัญที่จะต้องให้ความรู้เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดแก่ ประชาชนทั่วไปอย่างสม่ าเสมอ
กิจกรรมการลงทุนพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในระบบผลติ และระบบส่ง
กิจกรรมการลงทุน: Wide Area Monitoring System (WAMS)/Wide Area Protection and Control (WAPC)
หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง: การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ค าอธิบาย:
Wide Area Monitoring System (WAMS) คือ ระบบตรวจการณ์แบบพื้นที่กว้างโดยอาศัยการติดตั้ง อุปกรณ์ที่เรียกว่าPhasor Measurement Unit (PMU) หลายๆ ตัวในระบบส่งไฟฟ้าซึ่งใช้ในการตรวจวัด สถานะการท างานของระบบ โดยปริมาณทางไฟฟ้าต่างๆ ทั้งกระแส แรงดันไฟฟ้า และความถี่ไฟฟ้าของระบบ ส่งไฟฟ้าจะถูกวัดโดย PMU และข้อมูลที่ได้จากการวัดจะถูกเก็บไว้ในระบบเก็บข้อมูล (Data Concentrator) ซึ่งจะมีความถี่ในการวัดและเก็บข้อมูลสูงมาก เช่น ทุกๆ 1 มิลลิวินาที เป็นต้น โดยปริมาณทางไฟฟ้าที่วัดได้จะ มีทั้งขนาดและมุมเฟสที่มีความแม่นย าสูงเนื่องจากใช้การเทียบเวลากับระบบก าหนดต าแหน่งพิกัดบนโลก (Global Positioning System; GPS) ผ่านระบบดาวเทียมซึ่งมีความแม่นย าในระดับ 1 ไมโครวินาที
นอกจากนี้ WAMS ยังสามารถท างานร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งในระบบส่งเช่น อุปกรณ์ FACTS
เพื่อควบคุมการส่งผ่านก าลังไฟฟ้าในบริเวณต่างๆ ในระบบส่งอีกทั้งยังสามารถใช่ร่วมกับอุปกรณ์ป้องกันใน ระบบไฟฟ้าได้อย่างอัตโนมัติเมื่อเกิดสภาวะผิดปกติขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเกิดไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้างได้ ซึ่งการประสานการท างานระหว่าง WAMSกับอุปกรณ์ต่างๆ ดังกล่าวจะรวมเป็นระบบที่เรียกว่า Wide Area Protection and Control (WAPC) โดยหน้าที่หลักของ WAPC คือสามารถรักษาตัวเอง (Self Healing) ได้ อย่างอัตโนมัติ เช่น ในกรณีที่เกิดความผิดปกติกับระบบ ระบบจะต้องมีการตัดส่วนที่ผิดปกตินั้นออกไปเพื่อ หลีกเลี่ยงการเกิดไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้างและหากระบบตรวจพบความเสี่ยงในการเกิดปัญหาเสถียรภาพของ ระบบไฟฟ้า WAPC จะต้องท าการประเมินสถานการณ์และแก้ปัญหาความความเสี่ยงของเสถียรภาพนั้นได้
ตัวอย่างโครงสร้างของ WAM/WAPC
(ที่มารูปภาพ: Wide-Area Protection and Emergency Control, Proceedings of the IEEE, Vol.93, No. 5, May 2005)
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบระบบผลิตและระบบส่ง ไฟฟ้าของประเทศจะเป็นหน่วยงานส าคัญที่จะท าการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ Wide Area
Monitoring System (WAMS)/Wide Area Protection and Control (WAPC) ต่อไป
Energy Management System (SCADA/EMS) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ระบบบริหารจัดการพลังงานในระบบผลิตและระบบส่ง หรือ Energy Management System คือ กลุ่มเครื่องมือหรือกลุ่มของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประยุกต์ (Computer Applications) ที่ใช้ในการบริหาร จัดการและควบคุมสมรรถนะของระบบผลิตและระบบส่งไฟฟ้าแบบเวลาจริง (Real time) ให้มีความเหมาะสม มากที่สุด (Optimized) ซึ่งโดยปกติ จะใช้งานร่วมกับระบบควบคุมและประมวลผลแบบรวมศูนย์ (Supervisory Control and Data Acquisition; SCADA) และรวมเรียกเป็น SCADA/EMS โดยสามารถ ท างานร่วมกับระบบ WAMS/WAPC ภายใต้เทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดได้
ตัวอย่างของแอปลิเคชั่นต่างๆ ของระบบ SCADA/EMS ได้แก่ การประมาณสถานะของปริมาณทาง ไฟฟ้าในระบบ (State Estimation) การพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า (Load Forecasting) การควบคุมการ ส่งผ่านก าลังไฟฟ้าในระบบส่ง (Power Flow Control) การตรวจวัดเสถียรภาพของแรงดันไฟฟ้า (Voltage Stability Monitoring) การจัดสรรก าลังการผลิตอย่างเหมาะสม (Economic Load Dispatching) การลด ก าลังสูญเสียในระบบส่งไฟฟ้า (Loss Minimization) และการตรวจจับและก าหนดต าแหน่งที่เกิดความผิด พร่องในระบบส่ง (Fault Location Detector) เป็นต้นนอกจากนี้ ระบบSCADA/EMS ยังสามารถถูก ประยุกต์ใช้เพื่อเป็นระบบบริหารจัดการสินทรัพย์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ (Asset Management System) และระบบบ ารุงรักษาอุปกรณ์ตามเงื่อนไข (Condition-Based Maintenance System) ได้อีกด้วย
ตัวอย่างโครงสร้างของ SCADA/EMS
(ที่มารูปภาพ: Open Distributed EMS/SCADA System, Hitachi Review, Vol.7 No.5, 1998)
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบระบบผลิตและระบบส่ง
ไฟฟ้าของประเทศจะเป็นหน่วยงานส าคัญที่จะท าการลงทุนพัฒนาระบบโปรแกรมประยุกต์ส าหรับ Energy
Management System (SCADA/EMS) ให้สามารถท างานกับระบบ SCADA ที่มีการติดตั้งอยู่แล้วต่อไป EHV/FACTS การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
Flexible AC Transmission System (FACTS) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก าลังต่างๆที่ช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพการควบคุมและการส่งผ่านก าลังไฟฟ้าในระบบส่งให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วย ตัวอย่างอุปกรณ์ เช่น Static Synchronous Compensator (STATCOM), Static Var Compensator (SVC), Unified Power Flow Controller (UPFC), Interline Power Flow Controller (IPFC) และ High Voltage DC System (HVDC) เป็นต้น ส าหรับในระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดอุปกรณ์ FACTS จะถูกน าไปใช้ เพื่อปรับเปลี่ยนปริมาณของก าลังไฟฟ้าที่ไหลในระบบส่งบางบริเวณเพื่อท าให้ไม่จ าเป็นต้องสร้างสายส่งเพิ่มเติม เพื่อควบคุมการผ่านก าลังไฟฟ้าในระยะไกลเพื่อลดก าลังไฟฟ้าสูญเสีย และเพื่อเพิ่มเสถียรภาพของการเชื่อมต่อ ระบบไฟฟ้า เป็นหลัก เช่น ใช้เพื่อควบคุมส่งผ่านก าลังไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียนซึ่งอาจจะอยู่ห่าง จากผู้ใช้มาก หรือใช้ระบบส่งไฟฟ้าแรงดันสูงมาก (Extra High Voltage; EHV) หรือระบบ HVDC เป็นตัวกลาง เพื่อเชื่อมระบบไฟฟ้าระหว่างกลุ่มประเทศในอาเซียนเข้าด้วยกัน เป็นต้น
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบระบบส่งไฟฟ้าของประเทศ
จะเป็นหน่วยงานส าคัญที่จะท าการลงทุนติดตั้งอุปกรณ์ EHV/FACTS เพื่อควบคุมการส่งผ่านก าลังไฟฟ้าใน ระบบส่งต่อไป
Substation Automation (G&T) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ระบบสถานีไฟฟ้าย่อยอัตโนมัติในระบบส่งซึ่งบ่อยครั้งจะถูกเรียกว่า Substation Automation
System (SAS) ท าหน้าที่พื้นฐานดังนี้
1. การให้บริการในการเข้าถึงข้อมูลทางระบบไฟฟ้าทั้งระยะไกลและใกล้ (Remote/Local) เช่น ตรวจสอบสถานะอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือสามารถท าการปรับแก้ไขค่าของรีเลย์ระบบป้องกัน (Relay Setting) 2. การควบคุมการท างานอุปกรณ์จ่ายไฟฟ้าโดยบุคคลและโดยระบบอัตโนมัติ (Manual/Automatic
Function) ทั้งในเหตุการณ์ปกติและไม่ปกติ เช่น การรักษาระดับแรงดันไฟฟ้า
3. เป็นตัวกลางจัดการระบบข้อมูลและควบคุมระหว่างอุปกรณ์จ่ายไฟฟ้าและระบบควบคุมและ ประมวลผลแบบรวมศูนย์ (Supervisory Control and Data Acquisition; SCADA) ท าให้ได้ข้อมูลที่มี คุณภาพและเชื่อถือได้มากที่สุด
ระบบ SAS เริ่มต้นพัฒนามาจาก RTU (Remote Terminal Unit) และ Protective Relay ซึ่งเป็น
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ประกอบด้วยชุดรับส่งสัญญาณดิจิตอลและอนาล็อก (Digital Input/Digital Output/Analog Input/Analog Output; DI/DO/AI/AO) รวมทั้งประกอบด้วยฟังก์ชั่นการท างานซึ่งเป็น ซอฟต์แวร์ เพื่อดึงค่าวัด สถานะ สัญญาณเตือน รวมทั้งควบคุมการท างานของอุปกรณ์จ่ายไฟฟ้าและป้องกัน การเสียหายของอุปกรณ์ไฟฟ้าข้อมูลจากการวัดและสถานะต่างๆ จะถูกส่งไปยังระบบ SCADA เพื่อ ประกอบการตัดสินใจในการควบคุมอุปกรณ์การจ่ายไฟฟ้านั้นๆ ผ่านระบบสื่อสารข้อมูลด้วยโปรโตคอลที่ ออกแบบมาส าหรับงานระบบอัตโนมัติโดยเฉพาะ เช่น มาตรฐานเปิด IEC 61850 เป็นต้น ในปัจจุบัน RTU ยัง มีใช้อย่างแพร่หลายในระบบขนาดเล็กหรือระบบที่ไม่มีความซับซ้อน ส่วน Protective Relay มักถูกใช้ในการ ด้านระบบป้องกันอย่างเดียว แต่ส าหรับระบบขนาดใหญ่นั้น SAS เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบัน อัน เนื่องจากโครงสร้างและสถาปัตยกรรมของระบบ SAS เป็นแบบกระจายหน้าที่ (Distributed concept) ซึ่งมี ความเชื่อถือได้สูงตลอดรวมทั้งระบบประสิทธิภาพในการท างานก็สูงเช่นกัน เนื่องจากระบบท างานด้วย โปรเซสเซอร์หลายตัว (Multiple processor) สามารถรองรับงานที่ต้องการการตอบสนองด้วยความเร็วสูง เช่น งานโอนถ่ายโหลดไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือ งานระบบป้องกันทางไฟฟ้า เป็นต้น
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบระบบส่งไฟฟ้าและสถานี
ไฟฟ้าย่อยในระบบส่งทั่วประเทศจะเป็นหน่วยงานส าคัญที่จะท าการลงทุนปรับเปลี่ยนสถานีไฟฟ้าให้มี ความสามารถท างานได้แบบ Substation Automation ต่อไป
Energy Storage System (G&T) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ระบบกักเก็บพลังงานในที่นี้หมายถึง อุปกรณ์ที่สามารถเก็บพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานในรูปแบบอื่น และสามารถเปลี่ยนกลับมาเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อน ามาใช้ใหม่ได้ ซึ่งอุปกรณ์หลักที่สามารถท าหน้าที่นี้ได้ก็คือ แบตเตอรี่ชนิดต่างๆ และอาจมีความหมายรวมถึงระบบกักเก็บน้ าท้ายเขื่อน (Pumped-storage Hydro Power Plant) ด้วย โดยจุดประสงค์หลักประการหนึ่งที่มีการน าระบบกักเก็บพลังงานมาใช้ในเทคโนโลยีระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริดก็คือ เพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนซึ่งมีความไม่แน่นอนสูง อาทิเช่น พลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์หรือพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานลม เป็นต้น เพื่อท าให้ระบบไฟฟ้ายังคงมี ความมั่นคงและความเชื่อถือได้สูงแม้ในบางเวลาโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้ อย่างไรก็ดี ระบบกักเก็บพลังงานสามารถน าไปใช้ได้กับการบริหารจัดการผลิตไฟฟ้าได้อีกด้วย เช่น ใช้กักเก็บ พลังงานไฟฟ้าในช่วงเวลาที่สามารถผลิตได้มากกว่าความต้องการหรือในช่วงที่ต้นทุนการผลิตไฟฟ้ามีราคาถูก และน ากลับมาใช้ใหม่ในช่วงเวลาที่ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอต่อความต้องการหรือในช่วงเวลาที่มีต้นทุน การผลิตไฟฟ้าแพงหรือใช้ในการบริหารจัดการความต้องการไฟฟ้าสูงสุด เป็นต้น ซึ่งจะท าให้การวางแผนการ ผลิตไฟฟ้ามีความยืดหยุ่นมากขึ้น
องค์ประกอบของระบบกักเก็บพลังงาน
(ที่มารูปภาพ: Electric Energy Storage Systems, Quanta technology)
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศ
จะเป็นหน่วยงานส าคัญที่จะท าการพิจารณาเลือกลงทุนระบบ Energy Storage System ที่เหมาะสมต่อไป Renewable Energy Forecast System การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
จากรายงาน Final Report California Renewable Energy Forecasting, Resource Data and Mapping ได้นิยามว่า Renewable Energy Forecast System คือ ระบบพยากรณ์พลังงานไฟฟ้าที่สามารถ ผลิตได้จากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ซึ่งจะท าหน้าที่ประเมินศักยภาพการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังงาน หมุนเวียนประเภทต่างๆ ในช่วงระยะเวลาที่สนใจ ซึ่งในการพยากรณ์นั้นจะอาศัยข้อมูลจากลักษณะการ เปลี่ยนแปลงของปัจจัยทางธรรมชาติที่ได้จากระบบตรวจวัดที่ติดตั้งและข้อมูลทางไฟฟ้าต่างๆ ณ ขณะนั้น โดย ระบบประมวลผลของศูนย์ข้อมูลจะท าการพยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่มีในระบบ และส่งต่อมายังศูนย์ควบคุมเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการก าลังผลิตโดยรวมของประเทศต่อไป
โดยทั่วไปการศึกษาระบบพยากรณ์พลังงานหมุนเวียนนั้นจะเน้นไปที่ การพยากรณ์พลังงาน แสงอาทิตย์ และการพยากรณ์พลังงานลม เนื่องด้วยพลังงานทั้งสองนั้นเป็นพลังงานที่มีความไม่แน่นอนสูง โดย วิธีการในการพยากรณ์พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมมีดังนี้
- พลังงานแสงอาทิตย์
1.1 Persistence forecast คือ วิธีการพยากรณ์โดยการพิจารณาค่ากระแสไฟฟ้าหรือก าลังไฟฟ้าของ เซลล์แสงอาทิตย์ เมื่อมุมตกกระทบของแสงอาทิตย์กับเซลล์แสงอาทิตย์เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตามวิธีการ พยากรณ์นี้มีข้อเสียคือความแม่นย าจะลดลงไปอย่างมากเมื่อมีเมฆมาบดบังแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาที่พยากรณ์
1.2 Total sky imagery คือ วิธีการพยากรณ์โดยใช้การประมวลผลรูปภาพ (Image processing) และเทคนิคการติดตามเมฆ (Cloud tracking) เพื่อให้ได้ภาพถ่ายของท้องฟ้าซึ่งวิธีการนี้สามารถประเมิน ล่วงหน้าได้ประมาณ 15-30 นาที โดยความเข้มแสงจะถูกพยากรณ์โดยพิจารณาจากเงา ทิศทาง และความเร็ว ของเมฆ
ภาพถ่ายของท้องฟ้าจากระบบ Total sky imagery
(ที่มารูปภาพ: Final Report California Renewable Energy Forecasting, Resource Data and Mapping)
1.3 Satellite imagery คือ วิธีการพยากรณ์โดยใช้การประมวลผลรูปภาพจากดาวเทียมคล้ายๆ กับ วิธี Total sky imagery โดยมีหลักการคือ ค านวณค่าความเข้มของแสงอาทิตย์ที่สะท้อนจากโลกผ่านเมฆเข้าสู่ ดาวเทียม
1.4 Numerical Weather Prediction (NWP) คือ ถือเป็นวิธีการพยากรณ์ที่ดีที่สุดส าหรับการ พยากรณ์ล่วงหน้ามากกว่า 5 ชั่วโมงขึ้นไป โดยวิธีการคือ สร้างแบบจ าลองการกระจายของแสงอาทิตย์ เช่นเดียวกับที่แสงอาทิตย์แพร่กระจายในชั้นบรรยากาศผ่านชั้นของเมฆ
- พลังงานลม
ในการพยากรณ์พลังงานลมนั้นจะใช้แบบจ าลองซึ่งสร้างจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยความซับซ้อน ของแบบจ าลองนั้นสามารถน ามาจัดเรียงได้ตั้งแต่ซับซ้อนน้อยไปยังซับซ้อนมาก ยกตัวอย่างเช่น Persistence Modelจะใช้หลักการที่ง่ายที่สุดคือพยากรณ์ว่าพลังงานลมที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะเท่ากับพลังงานลมที่เกิดใน ปัจจุบัน เป็นต้น ในปัจจุบัน แบบจ าลองพลังงานลมถูกจ าลองขึ้นอย่างมากมาย และซับซ้อน โดยชื่อของ แบบจ าลองนั้นมักจะเป็นชื่อของผู้คิดค้นขึ้นดังตัวอย่างเช่น แบบจ าลอง AWS Truewind’s eWind ซึ่งจะ พิจารณาทั้งแบบจ าลองการพยากรณ์ของสภาพอากาศ แบบจ าลองชั้นบรรยากาศ และแบบจ าลองทางสถิติ ร่วมกัน
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศ
จะเป็นหน่วยงานส าคัญที่จะท าการพิจารณาลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบ Renewable Energy Forecast System และจัดตั้งศูนย์ข้อมูลการพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียนต่อไป
SPP/VSPP Data Communication System (G&T) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ในปัจจุบัน การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) และโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) โดยเฉพาะประเภทสัญญา Non-firm ไม่ได้ถูกสั่งการโดยตรงผ่านศูนย์ควบคุมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย (กฟผ.) และข้อมูลการผลิตไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้ากลุ่มดังกล่าวก็ไม่ได้ถูกรายงานกลับไปที่ศูนย์ ควบคุมฯ ในทันทีแบบเวลาจริง (Real Time) ท าให้บางครั้งการวางแผนการผลิตไฟฟ้าโดยรวมของประเทศมี ความยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้นโดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ผลิตไฟฟ้าเหล่านี้เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนซึ่งมี ความไม่แน่นอนของก าลังการผลิตสูงเป็นสาเหตุให้ศูนย์ควบคุมจ าเป็นต้องสั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าเผื่อให้มีก าลัง การผลิตส ารองพร้อมจ่าย (Operational/SpinningReserve) สูงเพื่อรองรับกับความไม่แน่นอนดังกล่าวส่งผล ให้มีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงเกินความจ าเป็น
ในความเป็นจริง หากระบบไฟฟ้าหลักสามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลของโรงไฟฟ้าเหล่านี้ได้ดีขึ้นจะท าให้
สามารถจัดสรรก าลังการผลิตไฟฟ้าของระบบให้เหมาะสมกับพลังงานไฟฟ้าที่ได้จาก SPP/VSPP ได้ดียิ่งขึ้น จึง เป็นสาเหตุให้ต้องมีการพัฒนาระบบสื่อสารข้อมูลของโรงไฟฟ้าขนาดเล็กและขนาดเล็กมาก (SPP/VSPP Data Communication System) เพื่อให้สามารถรับรู้ข้อมูลการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าเหล่านี้ได้อย่างแม่นย าได้
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศ
จะเป็นหน่วยงานส าคัญที่จะท าการพิจารณาลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบ SPP/VSPP Data Communication System ต่อไป
ICT integration (G&T)
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ในการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดนั้น โครงสร้างพื้นฐานที่ส าคัญอย่างหนึ่งคือ ระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ ดังนั้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในอนาคต การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย (กฟผ.) จะต้องปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่เดิมให้ได้รับการพัฒนา/ปรับปรุงให้ ทันสมัยมากยิ่งขึ้น โดยอาจจะต้องมีการปรับปรุงทั้งโครงสร้างองค์กรที่ดูแลระบบสื่อสารและ IT ของ กฟผ. ใหม่ ทั้งนี้ กฟผ. ควรจะต้องปรึกษาหารือกับคณะท างานของทั้งการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วน ภูมิภาค (กฟภ.) ด้วยเพื่อให้เกิดมีทิศทางการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไปในทางเดยี วกัน
นอกจากนี้ เพื่อให้การสื่อสารในโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะของ กฟผ. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมี ความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา กฟผ. จ าเป็นต้องปรับปรุงระบบจัดการทราฟฟิกบนโครงข่ายสื่อสาร ของตนเองเพื่อรับประกันคุณภาพของบริการและบูรณภาพของข้อมูลอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาตามความ ต้องการ และต้องค านึงถึงการป้องกันภัยคุกคามโครงข่าย (Cyber Security) ที่อาจจะเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา ตามความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้วย
Demand Response/Demand-Side Management (G&T) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
การตอบสนองการใช้พลังงานไฟฟ้า(Demand Response; DR) และการบริหารจัดการพลังงาน (Demand Side Management; DSM) จะมีความหมายคล้ายคลึงกัน อย่างไรก็ดี Demand Response จะ เน้นที่การกระตุ้นให้ผู้ใช้ไฟฟ้าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือปรับลดการใช้พลังงานในช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อ จุดประสงค์หลักในการได้รับผลประโยชน์บางประการจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้น แต่ Demand Side Management จะเน้นให้ความส าคัญที่การปรับเปลี่ยนลักษณะของความต้องการใช้พลังงานโดยการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ (Energy Efficiency) และส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานซึ่งโดยทั่วไปจะส่งผลต่อเนื่องในระยะยาว
โปรแกรม Demand Response และโปรแกรม Demand Side Management อาจถูกใช้ร่วมกัน เพื่อบริหารจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สร้างสมดุลระหว่างการผลิตและการใช้ พลังงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากในกรณีที่ระบบผลิตมีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเป็นจ านวนมาก และอาจจะ ช่วยให้สามารถชะลอการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้ ในปัจจุบัน โปรแกรม Demand Side Management สามารถด าเนินการได้ทันที แต่อย่างไรก็ดี โปรแกรม Demand Response จะต้องการเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับ ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดเข้ามาช่วยให้เกิดช่องทางการส่งสัญญาณ (Signal) จากผู้ควบคุมระบบไปสู่ผู้ใช้ (End-use) โดยตรง
การมีโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการใช้ประโยชน์จากโปรแกรม Demand Response จะช่วยสร้าง
ความสมดุลระหว่างการจัดหาไฟฟ้ากับความต้องการไฟฟ้าและช่วยลดการบริโภคพลังงานไฟฟ้าผ่านปัจจัย ต่างๆ เช่น โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าตามเวลาจริง (Real Time Pricing; RTP) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถ บริหารจัดการการผลิตและการใช้ไฟฟ้าในช่วงที่มีความต้องการไฟฟ้าสูงสุด (Peak Demand) และสามารถท า ใหใ้ ช้ประโยชน์จากพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนให้มากที่สุดได้ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อ การสร้างความมั่นคงของระบบผลิตและระบบส่งไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม โปรแกรม Demand Response ซึ่งต้อง ติดต่อกับผู้ใช้ไฟฟ้าโดยตรงจะใกล้ชิดกับการไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่ายมากกว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ดังนั้น กฟผ. จึงควร ลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดการใช้ประโยชน์จากโปรแกรมDemand Response ร่วมกันกับการ ไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่าย (กฟภ. และ กฟน.) ตามนโยบายของภาครัฐให้ได้
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบระบบผลิตและระบบส่ง
ไฟฟ้าของประเทศจะเป็นหน่วยงานส าคัญที่จะท าการพิจารณาลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบ Demand Response/Demand-Side Management ร่วมกันกับการไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่าย (กฟภ. และ กฟน.) ตามนโยบายของภาครัฐต่อไป
Intelligent Charging System/V2G (G&T) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ด้วยปัจจุบัน เทคโนโลยีการใช้ยานพาหนะไฟฟ้า (Electric Vehicle) ในภาคการขนส่งเริ่มได้รับความ สนใจมากขึ้นในระดับที่มีนัยส าคัญจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก เนื่องจากเทคโนโลยีดังกล่าวอาศัยพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเก็บสะสมอยู่ในแบตเตอรี่มาเป็นแหล่งพลังงานหลักในการขับเคลื่อนยานพาหนะดังกล่าว โดยเมื่อ เปรียบเทียบกับยานพาหนะในปัจจุบันที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine) ซึ่งใช้ น้ ามันหรือก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักแล้วจะพบว่า ยานพาหนะไฟฟ้าจะไม่ปลดปล่อยมลพิษในรูปของไอ เสียสู่สภาพแวดล้อมเลย นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาถึงประสิทธิภาพการใช้พลังงานตั้งต้นหรือพลังงานปฐมภูมิ (Primary Energy) แล้ว การใช้เชื้อเพลิงความร้อนมาผลิตไฟฟ้าเพื่อน ามาจ่ายให้กับยานพาหนะไฟฟ้าก็ยังมี ความคุ้มค่าหรือมีประสิทธิภาพของการใช้พลังงานสูงกว่าการน าเชื้อเพลิงความร้อนมาใช้ในยานพาหนะที่เป็น เครื่องยนต์สันดาปภายในโดยตรงมาก อย่างไรก็ดี การน ายานพาหนะไฟฟ้าเข้ามาใช้งานมากขึ้นจ าเป็นจะต้องมี ระบบอัดประจุไฟฟ้าเพื่อรองรับการใช้งานซึ่งในอนาคต 10-20 ปีข้างหน้า ยานพาหนะไฟฟ้าจะกลายเป็นโหลด หลักที่ส าคัญอย่างหนึ่งของระบบไฟฟ้าท าให้มีปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น โดยหากยานพาหนะ ไฟฟ้าจ านวนมากต่อเข้ากับระบบไฟฟ้าพร้อมกันจะท าให้มีความต้องการใช้ไฟฟ้า ณ ขณะนั้นสูงมาก จึงมีความ จ าเป็นจะต้องมีการพัฒนาระบบอัดประจไุ ฟฟ้าที่ชาญฉลาด (Intelligent charging system) ขึ้นเพื่อรองรับกับ ปัญหานี้ในอนาคต โดยระบบอัดประจุไฟฟ้าที่ชาญฉลาดนั้นจะต้องสามารถติดต่อสื่อสารกับระบบไฟฟ้าหลัก เพื่อจัดล าดับการอัดประจุอย่างชาญฉลาดและบรรเทาปัญหาความต้องการไฟฟ้าสูงสุดที่จะเกิดกับระบบไฟฟ้า ได้ นอกจากนี้ ในบางกรณี ระบบอัดประจุไฟฟ้าที่ชาญฉลาดจะสามารถน าประจุไฟฟ้าที่เก็บสะสมไว้ใน แบตเตอรี่มาจ่ายกลับเข้าสู่ระบบไฟฟ้า (Vehicle to Grid; V2G) เพื่อช่วยลดการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขนาด ใหญ่ในบางเวลาได้
อย่างไรก็ตาม ระบบอัดประจุไฟฟ้าที่ชาญฉลาดซึ่งต้องติดต่อกับยานพาหนะไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้า
โดยตรงจะใกล้ชิดกับการไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่ายมากกว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ดังนั้น กฟผ. จึงควรลงทุนและพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานให้เกิดการใช้ประโยชน์ร่วมกันกับการไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่าย (กฟภ. และ กฟน.) ให้ได้
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศ
จะเป็นหน่วยงานส าคัญที่จะท าการพิจารณาลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ Intelligent Charging System/V2G ต่อไป
กิจกรรมการลงทุนพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในระบบจ าหน่าย
กิจกรรมการลงทุน: Distribution/Feeder Automation (DA/FA)
หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง: การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
ค าอธิบาย:
ในขณะที่ระบบ Wide Area Monitoring System (WAMS) ท าหน้าที่เฝ้าระวังระบบผลิตก าลังไฟฟ้า
ขนาดใหญ่รวมถึงระบบส่งและสถานีไฟฟ้าในระบบส่ง ระบบDistribution/Feeder Automation (DA/FA) ก็ ท าหน้าที่คล้ายกันเพียงแต่ท าหน้าที่เฝ้าระวังความผิดปกติในสายจ าหน่ายและสถานีไฟฟ้าในระบบจ าหน่าย โดยในบางครั้งระบบ Distribution/Feeder Automation (DA/FA) ที่ท างานร่วมกับเทคโนโลยีระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดจะถูกเรียกว่าเป็น Advanced Distribution Automation (ADA) ซึ่งเป็นระบบที่สามารถช่วยเพิ่ม ความเชื่อถือได้ของระบบจ าหน่ายไฟฟ้าเนื่องจากมีความสามารถในการรักษาตัวเอง (Self Healing) ได้อย่าง อัตโนมัติโดยอาศัยระบบเซนเซอร์และอุปกรณ์ตัดต่อวงจรอัตโนมัติที่ติดตั้งในระบบจ าหน่ายนอกจากนี้ ระบบ ADAยังสามารถท างานร่วมกับอุปกรณ์อัตโนมัติอื่นๆ ที่ติดตั้งอยู่ในระบบ และสามารถท างานร่วมกับระบบ สารสนเทศระบบไฟฟ้าทางภูมิศาสตร์ (Geographical Information System; GIS) ในระบบจ าหน่ายได้
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบระบบ
จ าหน่ายไฟฟ้าของประเทศจะเป็นหน่วยงานส าคัญที่จะท าการพิจารณาลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ ระบบ (Advanced) Distribution/Feeder Automation (DA/FA) ต่อไป
Substation Automation (Distr) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
ค าอธิบาย:
ระบบสถานีไฟฟ้าย่อยอัตโนมัติในระบบจ าหน่ายจะท าหน้าที่เช่นเดียวกับระบบสถานีไฟฟ้าย่อยใน ระบบส่งโดยจะท าหน้าที่ ให้บริการในการเข้าถึงข้อมูลทางระบบไฟฟ้าทั้งระยะไกลและใกล้ (Remote/Local) เช่น ตรวจสอบสถานะอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือสามารถท าการปรับแก้ไขค่าของรีเลย์ระบบป้องกัน (Relay Setting) ควบคุมการท างานอุปกรณ์จ่ายไฟฟ้าโดยบุคคลและโดยระบบอัตโนมัติ (Manual/Automatic Function) และ เป็นตัวกลางจัดการระบบข้อมูลและควบคุมระหว่างอุปกรณ์จ่ายไฟฟ้าและระบบควบคุมและประมวลผลแบบ รวมศูนย์ (Supervisory Control and Data Acquisition; SCADA) ท าให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพและเชื่อถือได้ มากที่สุด โดยข้อมูลจากการวัดและสถานะต่างๆ จะถูกส่งไปยังระบบ SCADA เพื่อประกอบการตัดสินใจในการ ควบคุมอุปกรณ์การจ่ายไฟฟ้านั้นๆ ผ่านระบบสื่อสารข้อมูลด้วยโปรโตคอลที่ออกแบบมาส าหรับงานระบบ อัตโนมัติโดยเฉพาะ เช่น มาตรฐานเปิด IEC 61850 เป็นต้น
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบระบบ จ าหน่ายไฟฟ้าและสถานีไฟฟ้าย่อยในระบบจ าหน่ายทั่วประเทศจะเป็นหน่วยงานส าคัญที่จะท าการลงทุน ปรับเปลี่ยนสถานีไฟฟ้าย่อยให้มีความสามารถท างานได้แบบ Substation Automation ต่อไป
Distribution Management System (DMS)
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
ค าอธิบาย:
หากระบบ Distribution/Feeder Automation (DA/FA) สามารถเทียบเคียงได้กับ Wide Area Monitoring System (WAMS) ในระบบส่งแล้ว Distribution Management System (DMS) ก็จะสามารถ เทียบเคียงได้กับ Energy Management System (EMS) เช่นกันโดย DMS คือ กลุ่มเครื่องมือหรือกลุ่มของ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประยุกต์ (Computer Applications) ที่ใช้ในการบริหารจัดการและควบคุมสมรรถนะ ของระบบจ าหน่ายไฟฟ้าแบบเวลาจริง (Real time) ให้มีความเหมาะสมมากที่สุด (Optimized) ซึ่งโดยปกติ จะต้องใช้งานร่วมกับระบบควบคุมและประมวลผลแบบรวมศูนย์ (Supervisory Control and Data Acquisition; SCADA) และรวมเรียกเป็น SCADA/DMS โดยสามารถท างานร่วมกับระบบ DA/FAภายใต้ เทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดได้
ตัวอย่างฟังก์ชันการท างานต่างๆ ของ DMS มีดังนี้
- ฟังกช์ ันการวิเคราะห์การเชื่อมต่อกันของโครงข่าย
- ฟังกช์ ันการตัดต่อสายป้อน(Switching) อย่างปลอดภัย
- ฟังกช์ ันการประมาณสถานะของปริมาณทางไฟฟ้าในระบบจ าหน่าย (State Estimation)
- ฟังกช์ ันการควบคุมการส่งผ่านก าลังไฟฟ้าในระบบส่ง (Power Flow Control)
- ฟังกช์ ันการบริหารจัดการคุณภาพไฟฟ้า (Power Quality Management)
- ฟังก์ชั่นการตรวจจับดิสชาร์จบางส่วน (Partial Discharge Detection)
- ฟังกช์ ันการควบคุมแรงดันและก าลังรีแอคทีฟ (Volt-VAr Control)
- ฟังกช์ ันการควบคุมการปลดโหลด (Load shedding)
- ฟังก์ชันการจัดการระบบเมื่อเกิดความผิดพร่อง (Fault management & system restoration) และการตรวจจับและก าหนดต าแหน่งที่เกิดความผิดพร่องในระบบส่ง (Fault Location Detector)
- ฟังก์ชันการสมดุลโหลดโดยการจัดวางรูปแบบของสายป้อน (Load Balancing via Feeder Reconfiguration: LBFR) หรือบริหารจัดการโหลดหม้อแปลง(Transformer Load Management: TLM)
- ฟังกช์ ันการพยากรณค์ วามต้องการไฟฟ้าเชิงพื้นที่ (Spatial Load Forecasting)
- นอกจากนี้ หากมีการเชื่อมต่อข้อมูลอย่างทั่วถึง ระบบ SCADA/DMS ยังอาจสามารถอาศัย ข้อมูลจากเซนเซอร์วัดสถานะต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อท าการพยากรณ์ความ ต้องการไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่อยู่ในพื้นที่ได้
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบระบบ
จ าหน่ายไฟฟ้าของประเทศจะเป็นหน่วยงานส าคัญที่จะท าการลงทุนพัฒนาระบบโปรแกรมประยุกต์ส าหรับ Distribution Management System(SCADA/DMS) ให้สามารถท างานกับระบบ SCADA ที่เริ่มมีการติด ตั้งอยู่แล้วต่อไป
Smart Meter and AMR/AMI
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
ค าอธิบาย:
สมาร์ทมิเตอร์ (Smart Meter) เป็นอุปกรณ์ส าคัญของระบบอ่านค่าหน่วยการใช้ไฟฟ้าของผู้บริโภค อย่างอัตโนมัติ (Automatic Meter Reading; AMR) และโครงสร้างพื้นฐานระบบมิเตอร์ขั้นสูง (Advanced Metering Infrastructure; AMI) อันเป็นโครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์และระบบข้อมูลสารสนเทศผ่าน โครงข่ายระบบสื่อสารเพื่อตรวจวัดค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าต่างๆ ที่จ่ายให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า
เทคโนโลยี AMR คือ ระบบการอ่านหน่วยการใช้ไฟฟ้าแบบอัตโนมัติผ่านช่องทางการสื่อสารชนิดต่างๆ โดยข้อมูลที่อ่านได้จากมิเตอร์อัตโนมัติทั้งหมดจะถูกส่งไปเก็บที่ระบบฐานข้อมูลกลาง (AMR Data Center) เพื่อใช้ในการจัดพิมพ์ใบแจ้งค่าไฟฟ้า นอกจากนี้ หากมีการพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลมิเตอร์ผู้ใช้ไฟฟ้า (Meter Data Management System; MDMS) ร่วมด้วย ผู้ใช้ไฟฟ้าจะสามารถตรวจสอบและดาวน์โหลด ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของตนผ่านทางเวปไซต์ (MDMS Website) ได้ ท าให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรม ทั้งนี้ การติดตั้งระบบ AMR จะเกิดประโยชน์ต่อทั้งผู้ใช้ไฟฟ้าและต่อการไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่ายเนื่องจาก ในปัจจุบัน มิเตอร์ไฟฟ้าทั่วประเทศเกือบทั้งหมดประมาณ 18 ล้านตัวเป็นมิเตอร์ไฟฟ้าที่การจดหน่วยไฟฟ้าท าได้วิธีเดียว คือ ส่งพนักงานไปจดหน่วยไฟฟ้าที่ตัวมิเตอร์ (มิเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องส่งพนักงานไปจดหน่วยไฟฟ้าที่ตัว มิเตอร์ ไม่ถือว่าเป็นมิเตอร์แบบอัตโนมัติ) ดังนั้น หากสมมุติว่าการไฟฟ้าต้องการจดหน่วยไฟฟ้าที่มิเตอร์ทุกตัว พร้อมกันในวันสุดท้ายของเดือนและหากพนักงานคนหนึ่งจดหน่วยไฟฟ้าได้ 200 ตัว/วัน (เพื่อความถูกต้องใน การจดหน่วยไฟฟ้า) ก็หมายความว่าต้องใช้พนักงานถึง 90,000 คน ซึ่งเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ และถ้าเร่ง ให้พนักงานคนหนึ่งจดหน่วยไฟฟ้าได้ 1000 ตัว/วัน (ซึ่งความถูกต้องในการจดหน่วยไฟฟ้าจะลดลง) ก็ หมายความว่าต้องใช้พนักงาน 18,000 คน ซึ่งก็ยังมากอยู่ดี วิธีที่ใช้ในการลดจ านวนพนักงานในการจดหน่วย ในปัจจุบัน คือ การให้พนักงานออกไปจดหน่วยไฟฟ้าไม่พร้อมกันในวันสิ้นเดือน ซึ่งก็เป็นการก่อให้เกิดปัญหา ในทางเทคนิคอื่นๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นการที่การไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่ายไม่สามารถการประเมินหน่วยขายของ ตนเองอย่างแม่นย าได้เนื่องจากหน่วยไฟฟ้าที่จดมาได้เป็นคนละเวลากันท าให้ไม่สามารถรับรู้รายได้ ณ เวลา ใดๆ อย่างแม่นย าได้ หรือท าให้ไม่สามารถประเมินหน่วยไฟฟ้าสูญเสียในระบบจ าหน่ายของตนเองได้ เนื่องจาก หน่วยซื้อจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและหน่วยขายในระบบจ าหน่ายของตนถูกบันทึกที่คนละเวลา กัน เป็นต้น
ส าหรับในส่วนของ AMI จะเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาเพิ่มเติมจาก AMR ให้สามารถท างานที่เกี่ยวข้องกับ ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดมากขึ้น โดยAMI สามารถวัดพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าอื่นๆ ที่จ่ายให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าได้ สามารถส่งสัญญาณติดต่อกับสมาร์ทมิเตอร์หลายตัวที่อยู่ในระบบจ าหน่ายพร้อมๆ กันได้ และอาจจะมี ความสามารถติดต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกับระบบบ้านอัจฉริยะ (Home Energy Management System; HEMS) เพื่อช่วยควบคุมการใช้ไฟฟ้าส าหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ในบ้านอย่างประหยัดและมี ประสิทธิภาพ เป็นต้น ซึ่งจะท าให้เกิดสภาวะการสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communications) ขึ้นและ จะเป็นช่องทางให้สามารถส่งสัญญาณควบคุม (Control Signal) เช่น ราคาค่าไฟฟ้าตรมเวลาจริง (Real Time Pricing) ไปสู่ผู้ใช้ไฟฟ้าท าให้เกิดการตอบสนองต่อการใช้ไฟฟ้า (Demand Response) ได้
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบระบบ
จ าหน่ายไฟฟ้าของประเทศจะเป็นหน่วยงานส าคัญที่จะท าการพิจารณาทะยอยลงทุนติดตั้งสมาร์ทมิเตอร์ (Smart Meter) และโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยี AMR/AMI ต่อไป
Intelligent Charging System/V2G (Distr)
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
ค าอธิบาย:
ด้วยปัจจุบัน เทคโนโลยีการใช้ยานพาหนะไฟฟ้า (Electric Vehicle) ในภาคการขนส่งเริ่มได้รับความ สนใจมากขึ้นในระดับที่มีนัยส าคัญจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก การน ายานพาหนะไฟฟ้าเข้ามาใช้งานมากขึ้น จ าเป็นจะต้องมีระบบอัดประจุไฟฟ้าเพื่อรองรับการใช้งานซึ่งในอนาคต 10-20 ปีข้างหน้า ยานพาหนะไฟฟ้าจะ กลายเป็นโหลดหลักที่ส าคัญอย่างหนึ่งของระบบไฟฟ้าท าให้มีปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น โดยหาก ยานพาหนะไฟฟ้าจ านวนมากต่อเข้ากับระบบจ าหน่ายไฟฟ้าพร้อมกันจะท าให้มีความต้องการใช้ไฟฟ้าใน บริเวณนั้นสูงมากจนอาจท าให้อุปกรณ์ในระบบจ าหน่าย เช่น สายป้อน หม้อแปลงไฟฟ้า และอุปกรณ์ป้องกัน ต่างๆ ที่ติดตั้งบริเวณดังกล่าว รับภาระเกินพิกัด (Overloaded) จนเกิดความเสียหายหรือท างานผิดพลาดได้ ดังนั้น จึงมีความจ าเป็นจะต้องมีการพัฒนาระบบอัดประจุไฟฟ้าที่ชาญฉลาด (Intelligent charging system) ขึ้นเพื่อรองรับกับปัญหานี้ในอนาคต โดยระบบอัดประจุไฟฟ้าที่ชาญฉลาดจะต้องสามารถติดต่อสื่อสารกับระบบ บริหารจัดการระบบจ าหน่ายไฟฟ้า (Distribution Management System; DMS) เพื่อจัดล าดับการอัดประจุ อย่างชาญฉลาดและบรรเทาปัญหาอุปกรณ์รับภาระเกินพิกัดได้ นอกจากนี้ ในบางกรณี ระบบอัดประจุไฟฟ้าที่ ชาญฉลาดจะสามารถน าประจุไฟฟ้าที่เก็บสะสมไว้ในแบตเตอรี่มาจ่ายกลับเข้าสู่ระบบไฟฟ้า (Vehicle to Grid; V2G) เพื่อช่วยลดการซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในบางเวลาได้
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบระบบ
จ าหน่ายไฟฟ้าของประเทศจะเป็นหน่วยงานส าคัญที่จะท าการพิจารณาลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ Intelligent Charging System/V2G ต่อไป
Demand Response/Demand-Side Management (Distr) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
การตอบสนองการใช้พลังงานไฟฟ้า(Demand Response; DR) และการบริหารจัดการพลังงาน (Demand Side Management; DSM) จะมีความหมายคล้ายคลึงกัน อย่างไรก็ดี Demand Response จะ เน้นที่การกระตุ้นให้ผู้ใช้ไฟฟ้าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือปรับลดการใช้พลังงานในช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อ จุดประสงค์หลักในการได้รับผลประโยชน์บางประการจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้น แต่ Demand Side Management จะเน้นให้ความส าคัญที่การปรับเปลี่ยนลักษณะของความต้องการใช้พลังงานโดยการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ (Energy Efficiency) และส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานซึ่งโดยทั่วไปจะส่งผลต่อเนื่องในระยะยาว
การมีโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการใช้ประโยชน์จากโปรแกรม DR/DSM จะช่วยให้เกิดการใช้พลังงาน
อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากขึ้น และยังช่วยสร้างความสมดุลระหว่างการจัดหาไฟฟ้ากับความต้องการ ไฟฟ้าซึ่งจะช่วยให้เกิดความั่นคงในระบบไฟฟ้าและส่งผลดีต่อประเทศชาติโดยรวม
นอกจากนี้ ด้วยเทคโนโลยี ICT และระบบโครงขา่ ยสมาร์ทกริด จึงมีความเป็นไปได้ว่า DR จะสามารถ ประสานการท างานกันได้อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างผู้ผลิต/จ าหน่ายและผู้ใช้ไฟฟ้าซึ่งจะช่วยให้สามารถควบคุม ความต้องการใช้ไฟฟ้าให้เหมาะกับความสามารถในการจัดหาไฟฟ้าในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างเหมาะสมเช่น สามารถสั่งเดินเครื่องก าเนิดไฟฟ้าส ารอง (Standby generator) ของอาคารหรือโรงงาน ควบคุมอุณหภูมิ เครื่องปรับอากาศ และอุปกรณ์ไฟฟ้าอัจฉิยะต่างๆ ในกรณีที่ระบบพลังงานของประเทศเกิดสภาวะฉุกเฉินหรือ เกิดการขาดแคลนพลังงานผ่านทางระบบอาคารหรือโรงงานอัตโนมัติ เป็นต้น
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบระบบจ าหน่าย ไฟฟ้าของประเทศจะเป็นหน่วยงานส าคัญที่จะท าการพิจารณาลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ ระบบ Demand Response/Demand-Side Management ร่วมกันกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ตามนโยบายของ ภาครัฐต่อไป
กจิกรรมการลงทุน Intelligent Street Lights
หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
ค าอธิบาย:
ในปัจจุบันค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้าสาธารณะ เช่น ไฟถนน อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้า
ฝ่ายจ าหน่ายซึ่งนับว่าเป็นต้นทุนส่วนหนึ่งของการด าเนินธุรกิจจ าหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่ายทั้งสอง แห่ง หากการไฟฟ้าฯ สามารถลดต้นทุนในส่วนนี้ลงได้ในขณะที่ยังสามารถมีไฟฟ้าสาธารณะให้บริการประชาชน ได้อย่างทั่วถึง จะท าให้สามารถสร้างผลการด าเนินงานที่ดีขึ้นได้
การปรับปรุงไฟถนนในปัจจุบันให้เป็นระบบไฟถนนอัจฉริยะ (Intelligent Street Lights) โดยที่
นอกจากจะสามารถเปิด-ปิด ไฟถนนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมแล้ว ยังสามารถลดความเข้มแสงลงให้ เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมได้ เช่น ลดความเข้มแสงลงเมื่อไม่มีรถยนต์หรือผู้คนในบริเวณใกล้เคียง หรือการ สั่งเปิดไฟถนนเองเมื่อเกิดฝนตกเพื่อลดอุบัติเหตุและสั่งปิดไฟเองแบบอัตโนมัติเมื่อฝนหยุดตกเพื่อเป็นการ ประหยัดพลังงาน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสามารถติดตั้งระบบตรวจวัดพลังงานของการใช้ไฟถนน ระบบควบคุม และระบบการติดต่อสื่อสารแบบสองทางกับระบบบริหารจัดการระบบจ าหน่าย (Distribution Management System; DMS) ได้อีกด้วย
ส าหรับหลักการท างานโดยสังเขป คือ การใช้การสื่อสารแบบไร้สายส าหรับสื่อสารสั่งการให้ระบบเปิด หรือปิดซึ่งจะสามารถครอบคลุมพื้นที่ในช่วงหลายสิบตารางกิโลเมตรด้วยต้นทุนที่ต่ ามาก โดยข้อได้เปรียบเมื่อ น าระบบสื่อสารแบบไร้สายมาใช้กับระบบไฟถนนอัจฉริยะคือ สามารถใช้การสื่อสารไร้สายได้ครอบคลุมพื้นที่ กว้างโดยสามารถครอบคลุมอุปกรณ์ได้ถึงในระย 350 เมตรหรือมากกว่าเนื่องจากช่วงระยะความสูงของเสาไฟ สามารถท าให้สร้างเป็น Radio sphere ส่งผลให้เสาไฟแต่ละต้นนั้นจะอยู่ในระยะครอบคลุมของอุปกรณ์ ข้างเคียงได้ ท าให้ในกรณีที่มีอุปกรณ์ช ารุดเสียหายก็ไม่ส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ข้างเคียงที่ท างานอยู่มากนัก เนื่องจากอุปกรณ์ที่ไม่เสียหายนั้นสามารถรับการสื่อสารและค าสั่งผ่านอุปกรณ์ข้างเคียงตัวอื่นๆที่ไม่เกิดการ เสียหายได้
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบระบบ
จ าหน่ายไฟฟ้าของประเทศจะเป็นหน่วยงานส าคัญที่จะท าการพิจารณาลงทุนติดตั้งระบบ Intelligent Street Lights เพื่อปรับปรุงการให้บริการและสามารถจัดการต้นทุนได้อย่างเหมาะสมต่อไป
Meter Data Management System (MDMS) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
ระบบการบริหารจัดการข้อมูลมิเตอร์ผู้ใช้ไฟฟ้า (Meter Data Management System; MDMS) จะ ท างานร่วมกับ AMR/AMI โดยมีหน้าที่หลักคือ น าข้อมูลของผู้ใช้ไฟฟ้าที่บันทึกอยู่ในระบบฐานข้อมูลกลาง (AMR Data Center) มาบริหารจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อน าไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ต่างๆ เช่น ข้อมูล การใช้ไฟฟ้าตามฤดูกาล ลักษณะการใช้ไฟฟ้าหรือการเติบโตของความต้องการใช้ไฟฟ้าตามพื้นที่ พฤติกรรมการ ใช้ไฟฟ้าของลูกค้าแต่ละกลุ่ม เป็นต้น ซึ่งสามารถน าไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อื่นๆ ต่อไปได้ นอกจากนี้ ยัง สามารถน าข้อมูลที่ส าคัญไปแสดงผลอยู่ในส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้งาน (User Interface) เพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วไป สามารถตรวจสอบและดาวน์โหลดข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของตนผ่านทางเวปไซต์ (MDMS Website) ได้ซึ่งจะท าให้ การให้บริการเกิดความโปร่งและเป็นธรรม จุดประสงค์หลักอีกประการของการพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูล การใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างเป็นระบบ ก็เพื่อให้สามารถน าข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงระบบจ าหน่ายหรือ ปรับปรุงการให้บริการที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าได้ดียิ่งขึ้น
ในความเป็นจริง MDMS ก็เหมือนระบบจัดการฐานข้อมูลทั่วๆ ไป แต่เนื่องจากข้อมูลจากมิเตอร์ผู้ใช้
ไฟฟ้าในระบบจ าหน่ายจะต้องมีการจัดเก็บอย่างต่อเนื่องเป็นจ านวนมาก จึงต้องมีการพิจารณาให้ความส าคัญ กับการออกแบบและจัดการเป็นพิเศษ เช่น MDMS อาจจะต้องมีระบบประมวลผลแบบแบ่งปันทรัพยากร หรือ ท างานผ่านเครือข่าย Cloud Computing ซึ่งออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อใช้ในการจัดการกับข้อมูลขนาดใหญ่ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบระบบ
จ าหน่ายไฟฟ้าของประเทศจะเป็นหน่วยงานส าคัญที่จะท าการพิจารณาลงทุนติดตั้งระบบ Meter Data Management System (MDMS) เพื่อประสานการท างานกับ AMR/AMI ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
Microgrid Development
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
ไมโครกริด (Microgrid) คือ ระบบไฟฟ้าขนาดเล็กที่มีองค์ประกอบครบถ้วนทั้ง ระบบผลิตพลังงาน ระบบกักเก็บพลังงานและส่วนของผู้ใช้โดยหลักการส าคัญของการผลิตไฟฟ้าด้วยไมโครกริดคือการพยายาม สร้างความสมดุลระหว่างการผลิตพลังงานให้พอดีกับความต้องการใช้พลังงานภายในไมโครกริด และใช้ระบบ ไฟฟ้าหลัก(Main grid) เป็นเพียงระบบเสริมความมั่นคง (Back up) เท่านั้น โดยในปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิต ไฟฟ้าได้พัฒนาจนมีขนาดของระบบเล็กมาก สามารถเลือกใช้เชื้อเพลิงได้หลากหลายในการผลิตไฟฟ้ารวมทั้ง การใช้พลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาร่วมในการผลิตพลังงานไฟฟ้า สามารถน าความร้อนเหลือทิ้งจากระบบ ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กนี้ไปใช้งานได้ (Combined Heat and Power; CHP) ส่งผลให้สามารถใช้พลังงานจาก แหล่งเชื้อเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสนับสนุนให้เกิดการใช้งานไมโครกริด จะเป็นการช่วยให้เกิดความ หลากหลายของการใช้แหล่งพลังงานมากขึ้น และส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่ง จะน าไปสู่การพัฒนาระบบการผลิตและการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนของประเทศในอนาคต
อย่างไรก็ดี แม้ว่าภายใต้โครงสร้างกิจการไฟฟ้าของประเทศในปัจจุบัน การมีไมโครกริดจะไม่ได้ส่งผลดี
ในแง่ธุรกิจต่อการไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่าย เนื่องจาก นอกจากจะท าให้รายได้จากการขายไฟฟ้าตามปกติลดลงแล้ว ยังอาจท าให้การวางแผนและการปฏิบัติงาน (Planning and Operation) ของการไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่ายยุ่งยาก มากขึ้นอีกด้วย แต่หากภาครัฐมีนโยบายที่ชัดเจนที่จะส่งเสริมให้ภาคเอกชน ชุมชน หรือภาคอุตสาหกรรม พัฒนาไมโครกริดขึ้นมาใช้งานเพื่อประโยชน์โดยรวมของประเทศ ก็เป็นสิ่งที่การไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่ายหลีกเลี่ยง ไม่ได้ที่จะยอมให้มีการพัฒนาไมโครกริดขึ้นในระบบจ าหน่ายของตน ดังนั้น เพื่อเป็นการขจัดปัญหาความ ยุ่งยากในการวางแผนและการด าเนินงานที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต การไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่ายจึงควรเข้าไปมีส่วน ร่วมกับภาคเอกชน ชุมชน หรือภาคอุตสาหกรรม ในการพัฒนาไมโครกริดซึ่งจะท าให้การไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่ายมี สิทธิอ านาจในการ ร่วมออกแบบ ร่วมวางแผน และร่วมบริหารจัดการและควบคุมไมโครกริดได้ นอกจากนี้ ยัง อาจจะส่งผลดีต่อการไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่ายในด้านที่สามารถลดการพึ่งพาการซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบระบบ จ าหน่ายไฟฟ้าของประเทศจะเป็นหน่วยงานส าคัญที่จะพิจารณาว่าจะร่วมพัฒนาไมโครกริดกับภาคเอกชน ชุมชน หรือภาคอุตสาหกรรม หรือไม่ต่อไป
Energy Storage System (Distr)
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
ระบบกักเก็บพลังงานในที่นี้หมายถึง อุปกรณ์ที่สามารถเก็บพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานในรูปแบบอื่น และสามารถเปลี่ยนกลับมาเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อน ามาใช้ใหม่ได้ ซึ่งอุปกรณ์หลักที่สามารถท าหน้าที่นี้ในระบบ จ าหน่ายก็คือ แบตเตอรี่ชนิดต่างๆ โดยจุดประสงค์หลักในการน าระบบกักเก็บพลังงานมาใช้ในระบบจ าหน่ายก็ เพื่อท าให้ระบบไฟฟ้ายังคงมีความมั่นคงและความเชื่อถือได้สูงขึ้น เนื่องจากในอนาคตมีแนวโน้มที่จะมีโรงไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียนต่ออยู่ในระบบจ าหน่ายเป็นจ านวนมาก อย่างไรก็ดี ระบบกักเก็บพลังงานสามารถน าไปใช้ได้ กับการบริหารจัดการผลิตไฟฟ้าได้อีกด้วย เช่น ใช้กักเก็บพลังงานไฟฟ้าในช่วงเวลาที่สามารถผลิตได้มากกว่า ความต้องการหรือในช่วงที่ต้นทุนค่าไฟฟ้ามีราคาถูก และน ากลับมาจ่ายให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลาที่มีต้นทุนค่า ไฟฟ้าแพงหรือใช้ในการบริหารจัดการความต้องการไฟฟ้าสูงสุด เป็นต้น
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบระบบ
จ าหน่ายไฟฟ้าของประเทศจะเป็นหน่วยงานส าคัญที่จะพิจารณาติดตั้ง Energy Storage System ในระบบ จ าหน่ายต่อไป
SPP/VSPP Data Communication System (Distr) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
ในปัจจุบัน การมีโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) หรือโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) ต่ออยู่ในระบบ จ าหน่ายอาจจะท าให้การไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่ายท าการวางแผน ปฏิบัติงาน และท าการบ ารุงรักษาระบบจ าหน่าย ได้ยุ่งยากมากขึ้นเนื่องจากจะไม่ทราบสถานะการท างานของโรงไฟฟ้า และปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้า เหล่านี้ท าการจ่ายอยู่
ในความเป็นจริง หากศูนย์ควบคุมการจ่ายไฟของการไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่ายสามารถติดต่อสื่อสารข้อมูล
ของโรงไฟฟ้าเหล่านี้ได้ดีขึ้นจะท าให้สามารถวางแผน ปฏิบัติงาน และท าการบ ารุงรักษาระบบจ าหน่ายได้ง่าย มากขึ้น จึงเป็นสาเหตุให้ต้องมีการพัฒนาระบบสื่อสารข้อมูลของโรงไฟฟ้าขนาดเล็กและขนาดเล็กมาก (SPP/VSPP Data Communication System) เพื่อให้สามารถรับรู้ข้อมูลสถานะการท างาน และปริมาณ พลังงานไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าเหล่านี้ได้อย่างแม่นย าได้ โดยในปัจจุบัน การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เริ่มมีการ ก าหนดให้ SPP/VSPP ที่มีขนาดก าลังการผลิตเกินกว่า 1 MW ต้องมีระบบสื่อสารข้อมูลผ่านใยแก้วน าแสง (Optic Fiber) เพื่อเชื่อมโยงกับศูนย์สั่งการของ กฟน. อยู่แล้ว
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบระบบ จ าหน่ายไฟฟ้าของประเทศจะเป็นหน่วยงานส าคัญที่จะท าการพิจารณาลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ ระบบ SPP/VSPP Data Communication System ต่อไป
ก.39
ICT integration (Distr)
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
ในการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดนั้น โครงสร้างพื้นฐานที่ส าคัญอย่างหนึ่งคือ ระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ ดังนั้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในอนาคต การไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่าย จะต้องปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่เดิมให้ได้รับการพัฒนา/ปรับปรุงให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น โดย อาจจะต้องมีการปรับปรุงทั้งโครงสร้างองค์กรที่ดูแลระบบสื่อสารและ IT ของการไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่ายทั้งสอง แห่งใหม่ ทั้งนี้ ทั้งการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ควรจะต้องปรึกษาหารือกับ คณะท างานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ด้วยเพื่อให้เกิดมีทิศทางการพัฒนาระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศไปในทางเดียวกัน
นอกจากนี้ เพื่อให้การสื่อสารในโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะของ กฟน. และ กฟภ. เป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา การไฟฟ้าทั้งสองแห่งจ าเป็นต้องปรับปรุงระบบ จัดการทราฟฟิกบนโครงข่ายสื่อสารของตนเองเพื่อรับประกันคุณภาพของบริการและบูรณภาพของข้อมูลอย่าง ต่อเนื่องตลอดเวลาตามความต้องการ และต้องค านึงถึงการป้องกันภัยคุกคามโครงข่าย (Cyber Security) ที่ อาจจะเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลาตามความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้วย
ก.40
เอกสารแนบ ข. ผลของการด าเนินนโยบายและ กิจกรรมการพัฒนาที่มีต่อการ
ปรับปรุงดัชนีชี้วัดสัมฤทธิผล
ค าชี้แจง
เอกสารฉบับนี้ แสดงรายละเอียดของการก าหนดผลของการด าเนินนโยบายและกิจกรรมการพัฒนาที่
มีต่อการปรับปรุงดัชนีชี้วัดสัมฤทธิผลของประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทย โดยได้อาศัยวิธีการก าหนดค่าระดับคะแนนของสถานภาพปัจจุบันและค่าเป้าหมายที่เป็นระบบ (Systematic) ซึ่งพัฒนามาจากเครื่องมือส าหรับการวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายในการ วิเคราะห์การก าหนดกลยุทธ์ ทั้งนี้ ขั้นตอนการก าหนดระดับคะแนนของสถานภาพปัจจุบันและค่าเป้าหมาย ของดัชนีชี้วัดสัมฤทธิ์ผลส าหรับแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ จะประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ
1) การก าหนดระดับการพัฒนาของกิจกรรมพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
2) การคัดเลือกกิจกรรมที่ส่งผลต่อการปรับปรุงดัชนีชี้วัดสัมฤทธิผล และระดับนัยส าคัญของกิจกรรม
3) การประเมินระดับคะแนนสถานะปัจจุบันและระดับคะแนนเป้าหมายของดัชนีชี้วัดสัมฤทธิผล 4) ก าหนดระดับนัยส าคัญของนโยบายและกิจกรรมที่มีผลต่อการขับเคลื่อนตัวชี้วัด (Impact)
การด าเนินการกระบวนการดังกล่าว จัดท าโดยอาศัยการระดมสมองจากผู้เชี่ยวชาญในคณะท างาน ประจ าแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1: การพัฒนาความเชื่อถือได้และคุณภาพของไฟฟ้า
ตารางที่ ข.1.1 นโยบายและกิจกรรมที่ส่งผลต่อดัชนีจ านวนครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับ (ครั้ง/ผู้ใช้ไฟฟ้า 1 ราย/ปี)
Activity | Gap Analysis for SAIFI1 |
Existing (DL0-DL5) | Target (DL0-DL5) | Impact (1-3) |
| Business as Usual (Non Smart Grid Activities) | 4 | 4 | 3 |
P | สนับสนุนให้เกดิ การพัฒนาระบบ Microgrid | 1 | 3 | 1 |
D | Distribution/Feeder Automation (DA/FA) | 2 | 4 | 2 |
D | Substation Automation (Distr) | 2 | 4 | 3 |
D | Distribution Management System (SCADA/DMS) | 2 | 4 | 3 |
D | Smart Meter + AMR/AMI | 1.5 | 4 | 1 |
D | Intelligent Charging System/V2G (Distr) | 1 | 3 | 1 |
D | Microgrid Development | 1 | 3 | 1 |
G&T | Wide Area Monitoring System (WAMS)/Wide Area Protection and Control (WAPC) | 2 | 4 | 2 |
G&T | Energy Management System (SCADA/EMS) | 2 | 4 | 2 |
G&T | EHV/FACTS | 1 | 3 | 2 |
G&T | Substation Automation (G&T) | 1.5 | 4 | 2 |
G&T | Renewable Energy Forecast System | 1 | 3 | 1.5 |
G&T | SPP/VSPP Data Communication System (G&T) | 2 | 3.5 | 1.5 |
G&T | ICT Integration (G&T) | 2.5 | 4 | 1 |
G&T | Intelligent Charging System/V2G (G&T) | 0.5 | 3 | 1 |
D | ICT Integration (Distr) | 1.5 | 4 | 2 |
คะแนนระดับการพัฒนาของดัชนชี ี้วัด | 1.9 | 3.7 | - |
ตารางที่ ข.1.2 นโยบายและกิจกรรมที่ส่งผลต่อดัชนีระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับ (นาที/ผู้ใช้ไฟฟ้า 1 ราย/ปี)
Activity | Gap Analysis for SAIDI1 |
Existing (DL0-DL5) | Target (DL0-DL5) | Impact (1-3) |
| Business as Usual (Non Smart Grid Activities) | 4 | 4 | 3 |
P | สนับสนุนให้เกดิ การพัฒนาระบบ Microgrid | 1 | 3 | 1 |
G&T | Energy Storage System (G&T) | 2 | 3 | 1 |
D | Distribution/Feeder Automation (DA/FA) | 2 | 4 | 3 |
D | Substation Automation (Distr) | 2 | 4 | 3 |
D | Distribution Management System (SCADA/DMS) | 2 | 4 | 3 |
D | Smart Meter + AMR/AMI | 1.5 | 4 | 1 |
D | Intelligent Charging System/V2G (Distr) | 1 | 3 | 1 |
D | Microgrid Development | 1 | 3 | 2 |
G&T | Wide Area Monitoring System (WAMS)/Wide Area Protection and Control (WAPC) | 2 | 4 | 2 |
G&T | Energy Management System (SCADA/EMS) | 2 | 4 | 2 |
G&T | EHV/FACTS | 1 | 3 | 2 |
G&T | Substation Automation (G&T) | 1.5 | 4 | 2 |
G&T | Renewable Energy Forecast System | 1 | 3 | 1.5 |
G&T | SPP/VSPP Data Communication System (G&T) | 2 | 3.5 | 1.5 |
G&T | ICT Integration (G&T) | 2.5 | 4 | 1 |
G&T | Intelligent Charging System/V2G (G&T) | 0.5 | 3 | 1 |
D | Energy Storage System (Distr) | 1 | 3 | 1 |
D | ICT Integration (Distr) | 1.5 | 4 | 2 |
คะแนนระดับการพัฒนาของดัชนชี ี้วัด | 1.8 | 3.7 | - |
ตารางที่ ข.1.3 นโยบายและกิจกรรมที่ส่งผลต่อดัชนีการเบี่ยงเบนแรงดันจากเกณฑ์ที่ก าหนด (ครั้ง/ปี)
Activity | Gap Analysis for VD | |
Existing (DL0-DL5) | Target (DL0-DL5) | Impact (1-3) |
| Business as Usual (Non Smart Grid Activities) | 5 | 5 | 3 |
P | ปรับปรุงข้อก าหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Grid Code) | 2 | 4 | 1.5 |
คะแนนระดับการพัฒนาของดัชนชี ี้วัด | 4.0 | 4.7 | - |
ตารางที่ ข.1.4 นโยบายและกิจกรรมที่ส่งผลต่อดัชนีการเบี่ยงเบนความถี่จากเกณฑ์ที่ก าหนด (ครั้ง/ปี)
Activity/Policy | Gap Analysis for FD | |
Existing (DL0-DL5) | Target (DL0-DL5) | Impact (1-3) |
- | Business as Usual (Non Smart Grid Activities) | 5 | 5 | 3 |
G&T | Energy Storage System | 2 | 3 | 1.5 |
คะแนนระดับการพัฒนาของดัชนีชี้วัด | 4.0 | 4.3 | - |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2: ความยั่งยืนและประสิทธิภาพของการผลิตและใช้พลังงาน
ตารางที่ ข.2.1 นโยบายและกิจกรรมที่ส่งผลต่อดัชนีอัตราส่วนระหว่างพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียนต่อพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้โดยรวม (%)
Activity | Gap Analysis for %RE | |
Existing (DL0-DL5) | Target (DL0-DL5) | Impact (1-3) |
| Business as Usual (Non Smart Grid Activities) | 2.5 | 3 | 3 |
P | สนับสนุนให้มโี ครงสร้าง Demand Response (DR) | 1 | 3 | 3 |
P | สนับสนุนให้มีการใช้งาน HEMS/BEMS/FEMS | 1.5 | 4 | 2 |
P | สนับสนุนให้เกดิ การพัฒนาระบบ Microgrid | 1 | 3 | 3 |
P | จัดตั้งศูนย์ข้อมลู การพยากรณไ์ ฟฟา้ ที่ผลิตไดจ้ ากพลังงานหมุนเวยี น/ระบบกักเก็บพลังงาน | 1 | 3 | 2 |
P | ปรับปรุงข้อก าหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Grid Code) | 2 | 4 | 3 |
G&T | Energy Storage System (G&T) | 2 | 3 | 3 |
G&T | Renewable Energy Forecast System | 1 | 3 | 2 |
G&T | SPP/VSPP Data Communication System (G&T) | 2 | 3.5 | 2 |
D | Distribution Management System (SCADA/DMS) | 2 | 4 | 2 |
D | Intelligent Charging System/V2G (Distr) | 1 | 3 | 2 |
D | Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (Distr) | 1.5 | 3 | 3 |
D | Microgrid Development | 1 | 3 | 2 |
G&T | ICT Integration (G&T) | 2.5 | 4 | 3 |
G&T | Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (G&T) | 1 | 3 | 2 |
G&T | Intelligent Charging System/V2G (G&T) | 0.5 | 3 | 2 |
D | Energy Storage System (Distr) | 1 | 3 | 1.5 |
D | SPP/VSPP Data Communication System (Distr) | 2.5 | 3.5 | 2 |
G&T | Energy Management System (SCADA/EMS) | 2 | 4 | 3 |
D | ICT Integration (Distr) | 1.5 | 4 | 3 |
คะแนนระดับการพัฒนาของดัชนชี ี้วัด | 1.6 | 3.4 | - |
2.2 นโยบายและกิจกรรมที่ส่งผลต่อดัชนีอัตราส่วนระหว่างก าลังผลิตไฟฟ้าพึ่งได้ของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนต่อก าลังผลิตติดตั้งโดยรวมของทั้งประเทศ (%)
Activity | Gap Analysis for %DPC |
Existing (DL0-DL5) | Target (DL0-DL5) | Impact (1-3) |
| Business as Usual (Non Smart Grid Activities) | 2 | 3 | 1 |
P | สนับสนุนให้มโี ครงสร้าง Demand Response (DR) | 1 | 3 | 2 |
P | จัดตั้งศูนย์ข้อมลู การพยากรณไ์ ฟฟา้ ที่ผลิตไดจ้ ากพลังงานหมุนเวยี น/ระบบกักเก็บพลังงาน | 1 | 3 | 3 |
P | ปรับปรุงข้อก าหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Grid Code) | 2 | 4 | 3 |
G&T | Energy Storage System (G&T) | 2 | 3 | 3 |
G&T | Renewable Energy Forecast System | 1 | 3 | 3 |
G&T | SPP/VSPP Data Communication System (G&T) | 2 | 3.5 | 2 |
D | Microgrid Development | 1 | 3 | 1 |
G&T | ICT Integration (G&T) | 2.5 | 4 | 2 |
G&T | Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (G&T) | 1 | 3 | 2 |
G&T | Intelligent Charging System/V2G (G&T) | 0.5 | 3 | 1 |
D | Energy Storage System (Distr) | 1 | 3 | 1.5 |
D | SPP/VSPP Data Communication System (Distr) | 2.5 | 3.5 | 2 |
D | Energy Management System (SCADA/EMS) | 2 | 4 | 2 |
คะแนนระดับการพัฒนาของดัชนชี ี้วัด | 1.6 | 3.3 | - |
2.3 นโยบายและกิจกรรมที่ส่งผลต่อดัชนีค่าสูงสุดของผลต่างระหว่างโหลดค่ายอด (Peak load) กับโหลดค่าฐาน (Base load) เทียบกับโหลดค่ายอด ที่ศูนย์
ควบคุมระบบไฟฟ้ามองเห็น (%)
Activity | Gap Analysis for Diff_Peak |
Existing (DL0-DL5) | Target (DL0-DL5) | Impact (1-3) |
| Business as Usual (Non Smart Grid Activities) | 2.5 | 3 | 2 |
P | สนับสนุนให้มโี ครงสร้าง Real Time Pricing (RTP) | 1 | 3 | 3 |
P | สนับสนุนให้มโี ครงสร้าง Demand Response (DR) | 1 | 3 | 3 |
P | สนับสนุนให้มีการใช้งาน HEMS/BEMS/FEMS | 1.5 | 4 | 3 |
P | สนับสนุนให้เกดิ การพัฒนาระบบ Microgrid | 1 | 3 | 3 |
P | จัดตั้งศูนย์ข้อมลู การพยากรณไ์ ฟฟา้ ที่ผลิตไดจ้ ากพลังงานหมุนเวยี น/ระบบกักเก็บพลังงาน | 1 | 3 | 2 |
P | ปรับปรุงข้อก าหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Grid Code) | 2 | 4 | 2 |
P | ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดแก่หน่วยงานของรัฐ/กระทรวงที่เกี่ยวข้อง/ผมู้ ีอ านาจตดั สินใจ | 1.5 | 3 | 3 |
P | ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดแก่ประชาชนทั่วไปอยา่ งสม่ าเสมอ | 1 | 3 | 3 |
G&T | Energy Storage System (G&T) | 2 | 3 | 3 |
G&T | Renewable Energy Forecast System | 1 | 3 | 2 |
D | Distribution Management System (SCADA/DMS) | 2 | 4 | 2.5 |
D | Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (Distr) | 1.5 | 3 | 3 |
D | Microgrid Development | 1 | 3 | 2 |
G&T | ICT Integration (G&T) | 2.5 | 4 | 2 |
G&T | Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (G&T) | 1 | 3 | 3 |
D | Energy Storage System (Distr) | 1 | 3 | 2 |
G&T | Energy Management System (SCADA/EMS) | 2 | 4 | 3 |
D | ICT Integration (Distr) | 1.5 | 4 | 2 |
D | Intelligent Charging System/V2G (Distr) | 1 | 3 | 3 |
คะแนนระดับการพัฒนาของดัชนชี ี้วัด | 1.4 | 3.3 | - |
2.4 นโยบายและกิจกรรมที่ส่งผลต่อดัชนีค่าสูงสุดของอัตราส่วนระหว่างก าลังผลิตไฟฟ้าส ารองในการปฏิบัติการ (Operation reserve) คิดเฉพาะ Spinning
reserve ต่อความต้องการใช้ไฟฟ้า ณ ขณะนั้น
Activity | Gap Analysis for %OpRsv |
Existing (DL0-DL5) | Target (DL0-DL5) | Impact (1-3) |
| Business as Usual (Non Smart Grid Activities) | 2.5 | 3 | 2 |
P | สนับสนุนให้มโี ครงสร้าง Real Time Pricing (RTP) | 1 | 3 | 3 |
P | สนับสนุนให้มโี ครงสร้าง Demand Response (DR) | 1 | 3 | 3 |
P | สนับสนุนให้มีการใช้งาน HEMS/BEMS/FEMS | 1.5 | 4 | 2.5 |
P | สนับสนุนให้เกดิ การพัฒนาระบบ Microgrid | 1 | 3 | 2.5 |
P | จัดตั้งศูนย์ข้อมลู การพยากรณไ์ ฟฟา้ ที่ผลิตไดจ้ ากพลังงานหมุนเวยี น/ระบบกักเก็บพลังงาน | 1 | 3 | 2 |
G&T | Wide Area Monitoring System (WAMS)/Wide Area Protection and Control (WAPC) | 2 | 4 | 2.5 |
G&T | Energy Management System (SCADA/EMS) | 2 | 4 | 2.5 |
G&T | Energy Storage System (G&T) | 2 | 3 | 3 |
G&T | Renewable Energy Forecast System | 1 | 3 | 3 |
G&T | SPP/VSPP Data Communication System (G&T) | 2 | 3.5 | 2.5 |
D | Distribution Management System (SCADA/DMS) | 2 | 4 | 1 |
D | Smart Meter + AMR/AMI | 1.5 | 4 | 2.5 |
D | Intelligent Charging System/V2G (Distr) | 1 | 3 | 2 |
D | Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (Distr) | 1.5 | 3 | 3 |
D | Microgrid Development | 1 | 3 | 2 |
G&T | Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (G&T) | 1 | 3 | 2.5 |
G&T | Intelligent Charging System/V2G (G&T) | 0.5 | 3 | 1 |
D | SPP/VSPP Data Communication System (Distr) | 2.5 | 3.5 | 2.5 |
G&T | Energy Management System (SCADA/EMS) | 2 | 4 | 3 |
คะแนนระดับการพัฒนาของดัชนชี ี้วัด | 1.5 | 3.3 | - |
2.5 นโยบายและกิจกรรมที่ส่งผลต่อดัชนีร้อยละพลังงานไฟฟ้าสูญเสียในระบบส่งและระบบจ าหน่าย (T&D) เทียบกับพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตทั้งหมด (%)
Activity | Gap Analysis for %Loss |
Existing (DL0-DL5) | Target (DL0-DL5) | Impact (1-3) |
| Business as Usual (Non Smart Grid Activities) | 4 | 4 | 2 |
G&T | EHV/FACTS | 1 | 3 | 1.5 |
D | Distribution Management System (SCADA/DMS) | 2 | 4 | 3 |
D | Smart Meter + AMR/AMI | 1.5 | 4 | 3 |
D | Intelligent Street Lights | 1.5 | 3 | 2.5 |
G&T | Energy Management System (SCADA/EMS) | 2 | 4 | 2 |
คะแนนระดบั การพัฒนาของดัชนีชี้วัด | 2.0 | 3.7 | - |
ตารางที่ ข.2.6 นโยบายและกิจกรรมที่ส่งผลต่อดัชนีอัตราส่วนระหว่างพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อนร่วม (Cogeneration, CCHP) ต่อ พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้โดยรวม (%)
Activity | Gap Analysis for %CCHP |
Existing (DL0-DL5) | Target (DL0-DL5) | Impact (1-3) |
| Business as Usual (Non Smart Grid Activities) | 3 | 4 | 2 |
P | สนับสนุนให้มีการใช้งาน HEMS/BEMS/FEMS | 1.5 | 4 | 2 |
P | สนับสนุนให้เกดิ การพัฒนาระบบ Microgrid | 1 | 3 | 2 |
G&T | SPP/VSPP Data Communication System (G&T) | 2 | 3.5 | 1.5 |
D | Microgrid Development | 1 | 3 | 2 |
D | SPP/VSPP Data Communication System (Distr) | 2.5 | 3.5 | 1.5 |
คะแนนระดบั การพัฒนาของดัชนีชี้วัด | 1.8 | 3.5 | - |
2.7 นโยบายและกิจกรรมที่ส่งผลต่อดัชนีอัตราส่วนระหว่างผลรวมพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ภายใน Microgrid ต่อพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้โดยรวม (%)
Activity | Gap Analysis for %McG |
Existing (DL0-DL5) | Target (DL0-DL5) | Impact (1-3) |
| Business as Usual (Non Smart Grid Activities) | 0.5 | 2.5 | 1 |
P | สนับสนุนให้มีการใช้งาน HEMS/BEMS/FEMS | 1.5 | 4 | 1.5 |
P | สนับสนุนให้เกดิ การพัฒนาระบบ Microgrid | 1 | 3 | 3 |
D | Microgrid Development | 1 | 3 | 3 |
G&T | Energy Storage System (G&T) | 2 | 3 | 1 |
D | Energy Storage System (Distr) | 1 | 3 | 2 |
P | ออกมาตรการสนับสนุนทางภาษี และทางการเงินอื่นๆ แก่ภาคเอกชนที่ด าเนินธุรกิจเกยี่ วกับระบบโครงข่ายไฟฟ้า อัจฉริยะ | 0.5 | 3 | 1.5 |
คะแนนระดบั การพัฒนาของดัชนีชี้วัด | 1.0 | 3.1 | - |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3: การพัฒนาการท างานและการให้บริการของหน่วยงานการไฟฟ้าฯ
ตารางที่ ข.3.1 นโยบายและกิจกรรมที่ส่งผลต่อดัชนีจ านวนครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับ (ครั้ง/ผู้ใช้ไฟฟ้า 1 ราย/ปี)
Activity | Gap Analysis for SAIFI3 |
Existing (DL0-DL5) | Target (DL0-DL5) | Impact (1-3) |
| Business as Usual (Non Smart Grid Activities) | 4 | 4 | 3 |
P | สนับสนุนให้เกดิ การพัฒนาระบบ Microgrid | 1 | 3 | 1 |
D | Distribution/Feeder Automation (DA/FA) | 2 | 4 | 2 |
D | Substation Automation (Distr) | 2 | 4 | 3 |
D | Distribution Management System (SCADA/DMS) | 2 | 4 | 3 |
D | Smart Meter + AMR/AMI | 1.5 | 4 | 1 |
D | Intelligent Charging System/V2G (Distr) | 1 | 3 | 1 |
D | Microgrid Development | 1 | 3 | 1 |
G&T | Wide Area Monitoring System (WAMS)/Wide Area Protection and Control (WAPC) | 2 | 4 | 2 |
G&T | Energy Management System (SCADA/EMS) | 2 | 4 | 2 |
G&T | EHV/FACTS | 1 | 3 | 2 |
G&T | Substation Automation (G&T) | 1.5 | 4 | 2 |
G&T | Renewable Energy Forecast System | 1 | 3 | 1.5 |
G&T | SPP/VSPP Data Communication System (G&T) | 2 | 3.5 | 1.5 |
G&T | ICT Integration (G&T) | 2.5 | 4 | 1 |
G&T | Intelligent Charging System/V2G (G&T) | 0.5 | 3 | 1 |
D | ICT Integration (Distr) | 1.5 | 4 | 2 |
คะแนนระดับการพัฒนาของดัชนชี ี้วัด | 1.9 | 3.7 | - |
3.2 นโยบายและกิจกรรมที่ส่งผลต่อดัชนีระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับ (นาที/ผู้ใช้ไฟฟ้า 1 ราย/ปี)
Activity | Gap Analysis for SAIDI3 |
Existing (DL0-DL5) | Target (DL0-DL5) | Impact (1-3) |
| Business as Usual (Non Smart Grid Activities) | 4 | 4 | 3 |
P | สนับสนุนให้เกดิ การพัฒนาระบบ Microgrid | 1 | 3 | 1 |
G&T | Energy Storage System (G&T) | 2 | 3 | 1 |
D | Distribution/Feeder Automation (DA/FA) | 2 | 4 | 3 |
D | Substation Automation (Distr) | 2 | 4 | 3 |
D | Distribution Management System (SCADA/DMS) | 2 | 4 | 3 |
D | Smart Meter + AMR/AMI | 1.5 | 4 | 1 |
D | Intelligent Charging System/V2G (Distr) | 1 | 3 | 1 |
D | Microgrid Development | 1 | 3 | 2 |
G&T | Wide Area Monitoring System (WAMS)/Wide Area Protection and Control (WAPC) | 2 | 4 | 2 |
G&T | Energy Management System (SCADA/EMS) | 2 | 4 | 2 |
G&T | EHV/FACTS | 1 | 3 | 2 |
G&T | Substation Automation (G&T) | 1.5 | 4 | 2 |
G&T | Renewable Energy Forecast System | 1 | 3 | 1.5 |
G&T | SPP/VSPP Data Communication System (G&T) | 2 | 3.5 | 1.5 |
G&T | ICT Integration (G&T) | 2.5 | 4 | 1 |
G&T | Intelligent Charging System/V2G (G&T) | 0.5 | 3 | 1 |
D | Energy Storage System (Distr) | 1 | 3 | 1 |
D | ICT Integration (Distr) | 1.5 | 4 | 2 |
คะแนนระดับการพัฒนาของดัชนชี ี้วัด | 1.8 | 3.7 | - |
3.3 นโยบายและกิจกรรมที่ส่งผลต่อดัชนีจ านวนมิเตอร์แบบบอัตโนมัติ (สมาร์ทมิเตอร์และมิเตอร์มิเตอร์อัตโนมัติอื่นๆ) ต่อจ านวนมิเตอร์ทั้งหมด ในระบบจ าหน่าย (%)
Activity | Gap Analysis for %SmtMtr |
Existing (DL0-DL5) | Target (DL0-DL5) | Impact (1-3) |
| Business as Usual (Non Smart Grid Activities) | 1.5 | 4 | 2 |
P | สนับสนุนให้มโี ครงสร้าง Real Time Pricing (RTP) | 1 | 3 | 2.5 |
P | สนับสนุนให้มโี ครงสร้าง Demand Response (DR) | 1 | 3 | 2.5 |
P | สนับสนุนให้มีการใช้งาน HEMS/BEMS/FEMS | 1.5 | 4 | 2 |
P | ตั้งคณะท างานเชื่อมต่อโครงข่ายสอื่ สาร และแลกเปลี่ยนข้อมลู ร่วมกนั ระหว่าง 3 การไฟฟ้า | 2 | 4 | 2.5 |
P | ตั้งคณะท างานก าหนด Platform ของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของทั้ง 3 การไฟฟ้า | 1 | 4 | 3 |
D | Smart Meter + AMR/AMI | 1.5 | 4 | 3 |
D | Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (Distr) | 1.5 | 3 | 2 |
D | Meter Data Management System (MDMS) | 1 | 3 | 3 |
G&T | ICT Integration (G&T) | 2.5 | 4 | 2 |
G&T | Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (G&T) | 1 | 3 | 2 |
D | ICT Integration (Distr) | 1.5 | 4 | 3 |
P | ออกมาตรการสนับสนุนทางภาษี และทางการเงินอื่นๆ แก่ภาคเอกชนที่ด าเนินธุรกิจเกยี่ วกับระบบโครงข่ายไฟฟ้า อัจฉริยะ | 0.5 | 3 | 1 |
คะแนนระดับการพัฒนาของดัชนชี ี้วัด | 1.4 | 3.6 | - |
3.4 นโยบายและกิจกรรมที่ส่งผลต่อดัชนีสัดส่วนของ kWh ที่จ่ายผ่านมิเตอร์แบบอัตโนมัติ (สมาร์ทมิเตอร์และมิเตอร์อัตโนมัติอื่นๆ) ต่อ kWh ทั้งหมด
ที่จ่ายในระบบ (%)
Activity | Gap Analysis for %kWhSmtMtr |
Existing (DL0-DL5) | Target (DL0-DL5) | Impact (1-3) |
| Business as Usual (Non Smart Grid Activities) | 1.5 | 4 | 2.5 |
P | สนับสนุนให้มโี ครงสร้าง Real Time Pricing (RTP) | 1 | 3 | 2.5 |
P | สนับสนุนให้มโี ครงสร้าง Demand Response (DR) | 1 | 3 | 2.5 |
P | สนับสนุนให้มีการใช้งาน HEMS/BEMS/FEMS | 1.5 | 4 | 2 |
P | ตั้งคณะท างานเชื่อมต่อโครงข่ายสอื่ สาร และแลกเปลี่ยนข้อมลู ร่วมกนั ระหว่าง 3 การไฟฟ้า | 2 | 4 | 2.5 |
P | ตั้งคณะท างานก าหนด Platform ของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของทั้ง 3 การไฟฟ้า | 1 | 4 | 3 |
D | Smart Meter + AMR/AMI | 1.5 | 4 | 3 |
D | Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (Distr) | 1.5 | 3 | 2 |
D | Meter Data Management System (MDMS) | 1 | 3 | 3 |
G&T | ICT Integration (G&T) | 2.5 | 4 | 2 |
G&T | Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (G&T) | 1 | 3 | 2 |
D | ICT Integration (Distr) | 1.5 | 4 | 3 |
P | ออกมาตรการสนับสนุนทางภาษี และทางการเงินอื่นๆ แก่ภาคเอกชนที่ด าเนินธุรกิจเกยี่ วกับระบบโครงข่ายไฟฟ้า อัจฉริยะ | 0.5 | 3 | 1 |
คะแนนระดับการพัฒนาของดัชนชี ี้วัด | 1.4 | 3.6 | - |
3.5 นโยบายและกิจกรรมที่ส่งผลต่อดัชนีระยะเวลาในการด าเนินการเมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าร้องขอเพิ่มจุดรับไฟฟ้าใหม่ (วัน)
Activity | Gap Analysis for T_NewCust |
Existing (DL0-DL5) | Target (DL0-DL5) | Impact (1-3) |
| Business as Usual (Non Smart Grid Activities) | 2 | 3 | 2 |
P | ตั้งคณะท างานเชื่อมต่อโครงข่ายสอื่ สาร และแลกเปลี่ยนข้อมลู ร่วมกนั ระหว่าง 3 การไฟฟ้า | 2 | 4 | 2.5 |
D | Distribution/Feeder Automation (DA/FA) | 2 | 4 | 3 |
D | Distribution Management System (SCADA/DMS) | 2 | 4 | 3 |
D | Meter Data Management System (MDMS) | 1 | 3 | 3 |
D | ICT Integration (Distr) | 1.5 | 4 | 3 |
คะแนนระดับการพัฒนาของดัชนชี ี้วัด | 1.7 | 3.7 | - |
ตารางที่ ข.3.6 นโยบายและกิจกรรมที่ส่งผลต่อดัชนีสัดส่วนของเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องทางเทคนิคในระบบจ าหน่าย (%)
Activity | Gap Analysis for No_outage |
Existing (DL0-DL5) | Target (DL0-DL5) | Impact (1-3) |
| Business as Usual (Non Smart Grid Activities) | 3 | 3 | 2.5 |
G&T | Wide Area Monitoring System (WAMS)/Wide Area Protection and Control (WAPC) | 2 | 4 | 3 |
G&T | Energy Management System (SCADA/EMS) | 2 | 4 | 2 |
G&T | Substation Automation (G&T) | 1.5 | 4 | 2 |
D | Distribution/Feeder Automation (DA/FA) | 2 | 4 | 2 |
D | Substation Automation (Distr) | 2 | 4 | 2 |
D | Distribution Management System (SCADA/DMS) | 2 | 4 | 3 |
D | ICT Integration (Distr) | 1.5 | 4 | 3 |
คะแนนระดับการพัฒนาของดัชนชี ี้วัด | 2.0 | 3.9 | - |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4: การก าหนดมาตรฐานความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ในระบบ
ตารางที่ ข.4.1 นโยบายและกิจกรรมที่ส่งผลต่อดัชนีสัดส่วนของสถานีไฟฟ้าที่สามารถสื่อสารได้ตามมาตรฐานการสื่อสารในระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดที่ได้รับการยอมรับใน ระดับชาติต่อสถานีไฟฟ้าทั้งหมดในระบบโครงข่ายไฟฟ้า (%)
Activity | Gap Analysis for %StdSub |
Existing (DL0-DL5) | Target (DL0-DL5) | Impact (1-3) |
| Business as Usual (Non Smart Grid Activities) | 0.5 | 2.5 | 1 |
P | ตั้งคณะท างานเชื่อมต่อโครงข่ายสอื่ สาร และแลกเปลี่ยนข้อมลู ร่วมกนั ระหว่าง 3 การไฟฟ้า | 2 | 4 | 3 |
P | ตั้งคณะท างานก าหนด Platform ของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของทั้ง 3 การไฟฟ้า | 1 | 4 | 3 |
P | มีมาตรการสนับสนุนใหภ้ าคเอกชนพัฒนาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ทเี่ กี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกรดิ | 2 | 3 | 1 |
G&T | Substation Automation (G&T) | 1.5 | 4 | 3 |
D | Distribution/Feeder Automation (DA/FA) | 2 | 4 | 3 |
D | Substation Automation (Distr) | 2 | 4 | 3 |
D | Distribution Management System (SCADA/DMS) | 2 | 4 | 3 |
G&T | ICT Integration (G&T) | 2.5 | 4 | 2 |
D | ICT Integration (Distr) | 1.5 | 4 | 2 |
คะแนนระดับการพัฒนาของดัชนชี ี้วัด | 1.8 | 3.9 | - |
4.2 นโยบายและกิจกรรมที่ส่งผลต่อดัชนีสัดส่วนของจ านวนผู้ใช้ไฟรายสุดท้าย (End-use) ที่สามารถเข้าถึงการขอใช้บริการการจัดการพลังงานได้ (%)
Activity | Gap Analysis for %Enduse |
Existing (DL0-DL5) | Target (DL0-DL5) | Impact (1-3) |
| Business as Usual (Non Smart Grid Activities) | 1.5 | 3 | 1.5 |
P | สนับสนุนให้มโี ครงสร้าง Real Time Pricing (RTP) | 1 | 3 | 2 |
P | สนับสนุนให้มโี ครงสร้าง Demand Response (DR) | 1 | 3 | 2 |
P | สนับสนุนให้มีการใช้งาน HEMS/BEMS/FEMS | 1.5 | 4 | 2 |
P | ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดแก่ประชาชนทั่วไปอยา่ งสม่ าเสมอ | 1 | 3 | 2 |
D | Smart Meter + AMR/AMI | 1.5 | 4 | 3 |
D | Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (Distr) | 1.5 | 3 | 3 |
D | Meter Data Management System (MDMS) | 1 | 3 | 3 |
D | ICT Integration (Distr) | 1.5 | 4 | 3 |
P | ออกมาตรการสนับสนุนทางภาษี และทางการเงินอื่นๆ แก่ภาคเอกชนที่ด าเนินธุรกิจเกยี่ วกับระบบโครงข่ายไฟฟ้า อัจฉริยะ | 0.5 | 3 | 1 |
คะแนนระดับการพัฒนาของดัชนชี ี้วัด | 1.3 | 3.4 | - |
4.3 นโยบายและกิจกรรมที่ส่งผลต่อดัชนีสัดส่วนของ DG (VSPP เป็นหลัก) ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลและควบคุมสถานะได้แบบ Real time (%)
Activity | Gap Analysis for %DG_Realtime |
Existing (DL0-DL5) | Target (DL0-DL5) | Impact (1-3) |
| Business as Usual (Non Smart Grid Activities) | 1.5 | 3 | 1.5 |
P | ตั้งคณะท างานเชื่อมต่อโครงข่ายสอื่ สาร และแลกเปลี่ยนข้อมลู ร่วมกนั ระหว่าง 3 การไฟฟ้า | 2 | 4 | 2.5 |
P | ตั้งคณะท างานก าหนด Platform ของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของทั้ง 3 การไฟฟ้า | 1 | 4 | 2 |
P | จัดตั้งศูนย์ข้อมลู การพยากรณไ์ ฟฟา้ ที่ผลิตไดจ้ ากพลังงานหมุนเวยี น/ระบบกักเก็บพลังงาน | 1 | 3 | 2 |
P | ปรับปรุงข้อก าหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Grid Code) | 2 | 4 | 3 |
G&T | Renewable Energy Forecast System | 1 | 3 | 2 |
G&T | SPP/VSPP Data Communication System (G&T) | 2 | 3.5 | 3 |
D | Distribution Management System (SCADA/DMS) | 2 | 4 | 2.5 |
G&T | ICT Integration (G&T) | 2.5 | 4 | 3 |
D | ICT Integration (Distr) | 1.5 | 4 | 3 |
คะแนนระดับการพัฒนาของดัชนชี ี้วัด | 1.7 | 3.7 | - |
4.4 นโยบายและกิจกรรมที่ส่งผลต่อดัชนีสัดส่วนของผู้ใช้ไฟที่เข้าร่วมโปรแกรม Demand Response ต่อผู้ใช้ไฟทั้งหมด (%)
Activity | Gap Analysis for %DR | |
Existing (DL0-DL5) | Target (DL0-DL5) | Impact (13) |
| Business as Usual (Non Smart Grid Activities) | 2.5 | 3 | 1.5 |
P | สนับสนุนให้มโี ครงสร้าง Real Time Pricing (RTP) | 1 | 3 | 3 |
P | สนับสนุนให้มโี ครงสร้าง Demand Response (DR) | 1 | 3 | 3 |
P | สนับสนุนให้มีการใช้งาน HEMS/BEMS/FEMS | 1.5 | 4 | 2 |
P | ตั้งคณะท างานเชื่อมต่อโครงข่ายสอื่ สาร และแลกเปลี่ยนข้อมลู ร่วมกนั ระหว่าง 3 การไฟฟ้า | 2 | 4 | 2 |
P | ตั้งคณะท างานก าหนด Platform ของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของทั้ง 3 การไฟฟ้า | 1 | 4 | 1.5 |
P | จัดตั้งศูนย์ข้อมลู การพยากรณไ์ ฟฟา้ ที่ผลิตไดจ้ ากพลังงานหมุนเวยี น/ระบบกักเก็บพลังงาน | 1 | 3 | 2 |
P | ปรับปรุงข้อก าหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Grid Code) | 2 | 4 | 1.5 |
P | มีมาตรการสนับสนุนใหภ้ าคเอกชนพัฒนาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ทเี่ กี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกรดิ | 2 | 3 | 2 |
G&T | Renewable Energy Forecast System | 1 | 3 | 2 |
D | Smart Meter + AMR/AMI | 1.5 | 4 | 3 |
D | Intelligent Charging System/V2G (Distr) | 1 | 3 | 2 |
D | Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (Distr) | 1.5 | 3 | 3 |
D | Meter Data Management System (MDMS) | 1 | 3 | 3 |
G&T | ICT Integration (G&T) | 2.5 | 4 | 3 |
D | ICT Integration (Distr) | 1.5 | 4 | 3 |
P | ออกมาตรการสนับสนุนทางภาษี และทางการเงินอื่นๆ แก่ภาคเอกชนที่ด าเนินธุรกิจเกยี่ วกับระบบโครงข่ายไฟฟ้า อัจฉริยะ | 0.5 | 3 | 2 |
คะแนนระดับการพัฒนาของดัชนชี ี้วัด | 1.4 | 3.4 | - |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5: การพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
ตารางที่ ข.5.1 นโยบายและกิจกรรมที่ส่งผลต่อดัชนีจ านวนบุคลากรที่จบการศึกษา/ผ่านการอบรมด้านระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
Activity | Gap Analysis for No_Grad |
Existing (DL0-DL5) | Target (DL0-DL5) | Impact (1-3) |
| Business as Usual (Non Smart Grid Activities) | 2 | 4 | 1 |
P | มีมาตรการสนับสนุนใหภ้ าคเอกชนพัฒนาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ทเี่ กี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกรดิ | 2 | 3 | 1.5 |
P | สนับสนุนใหส้ ถาบันการศึกษาผลติ บุคคลากรด้านระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด | 1.5 | 4 | 3 |
P | สนับสนุนเงินทุนกับงานวิจัยที่เกยี่ วกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกรดิ | 1 | 3 | 3 |
P | ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดแก่ประชาชนทั่วไปอยา่ งสม่ าเสมอ | 1 | 3 | 2 |
คะแนนระดับการพัฒนาของดัชนชี ี้วัด | 1.4 | 3.4 | - |
ตารางที่ ข.5.2 นโยบายและกิจกรรมที่ส่งผลต่อดัชนีสัดส่วนเงินลงทุนค่าอุปกรณ์ที่ผลิตได้ภายในประเทศต่อมูลค่าโครงการที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
Activity | Gap Analysis for %LcCnt |
Existing (DL0-DL5) | Target (DL0-DL5) | Impact (1-3) |
| Business as Usual (Non Smart Grid Activities) | 1 | 2 | 2.5 |
P | สนับสนุนให้มีการใช้งาน HEMS/BEMS/FEMS | 1.5 | 4 | 1.5 |
P | สนับสนุนให้เกดิ การพัฒนาระบบ Microgrid | 1 | 3 | 1.5 |
P | มีมาตรการสนับสนุนใหภ้ าคเอกชนพัฒนาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ทเี่ กี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกรดิ | 2 | 3 | 2.5 |
P | มีมาตรการก าหนดสดั ส่วน Local content ส าหรับโครงการลงทุนระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของหน่วยงาน ภาครัฐ | 2 | 3 | 3 |
P | สนับสนุนใหส้ ถาบันการศึกษาผลติ บุคคลากรด้านระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด | 1.5 | 4 | 2 |
P | สนับสนุนเงินทุนกับงานวิจัยที่เกยี่ วกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกรดิ | 1 | 3 | 2.5 |
P | ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดแก่หน่วยงานของรัฐ/กระทรวงที่เกี่ยวข้อง/ผมู้ ีอ านาจตดั สินใจ | 1.5 | 3 | 2 |
คะแนนระดับการพัฒนาของดัชนชี ี้วัด | 1.5 | 3.1 | - |
5.3 นโยบายและกิจกรรมที่ส่งผลต่อดัชนีจ านวนสิทธิบัตรและผลิตภัณฑ์ ด้านระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดที่ได้รับการพัฒนาในประเทศ
Activity | Gap Analysis for No_Patent |
Existing (DL0-DL5) | Target (DL0-DL5) | Impact (1-3) |
| Business as Usual (Non Smart Grid Activities) | 1 | 2 | 2 |
P | มีมาตรการสนับสนุนใหภ้ าคเอกชนพัฒนาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ทเี่ กี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกรดิ | 2 | 3 | 1.5 |
P | สนับสนุนใหส้ ถาบันการศึกษาผลติ บุคคลากรด้านระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด | 1.5 | 4 | 1.5 |
P | สนับสนุนเงินทุนกับงานวิจัยที่เกยี่ วกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกรดิ | 1 | 3 | 2 |
คะแนนระดับการพัฒนาของดัชนชี ี้วัด | 1.3 | 2.9 | - |
ตารางที่ ข.5.4 นโยบายและกิจกรรมที่ส่งผลต่อดัชนีสัดส่วนจ านวนโรงงานอุตสาหกรรม/อาคารส านักงาน/หน่วยงาน ที่ใช้ระบบบริหารจัดการพลังงาน เช่น FEMS/BEMS เป็นต้น
Activity | Gap Analysis for No_FEMS-BEMS |
Existing (DL0-DL5) | Target (DL0-DL5) | Impact (1-3) |
| Business as Usual (Non Smart Grid Activities) | 1.5 | 3 | 1 |
P | สนับสนุนให้มีการใช้งาน HEMS/BEMS/FEMS | 1.5 | 4 | 3 |
P | มีมาตรการสนับสนุนใหภ้ าคเอกชนพัฒนาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ทเี่ กี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกรดิ | 2 | 3 | 2 |
P | ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดแก่ประชาชนทั่วไปอยา่ งสม่ าเสมอ | 1 | 3 | 1.5 |
G&T | ICT Integration (G&T) | 2.5 | 4 | 2 |
G&T | Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (G&T) | 1 | 3 | 2 |
D | ICT Integration (Distr) | 1.5 | 4 | 2 |
D | Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (Distr) | 1.5 | 3 | 2 |
P | ออกมาตรการสนับสนุนทางภาษี และทางการเงินอื่นๆ แก่ภาคเอกชนที่ด าเนินธุรกิจเกยี่ วกับระบบโครงข่ายไฟฟ้า อัจฉริยะ | 0.5 | 3 | 2 |
คะแนนระดับการพัฒนาของดัชนชี ี้วัด | 1.5 | 3.4 | - |
ตารางที่ ข.5.5 นโยบายและกิจกรรมที่ส่งผลต่อดัชนีจ านวนผู้ประกอบการที่ให้บริการทางด้านการบริหารจัดการพลังงานที่ใช้เทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
Activity | Gap Analysis for No_SmtEsco |
Existing (DL0-DL5) | Target (DL0-DL5) | Impact (1-3) |
| Business as Usual (Non Smart Grid Activities) | 2.5 | 4 | 2 |
P | สนับสนุนให้มีการใช้งาน HEMS/BEMS/FEMS | 1.5 | 4 | 3 |
P | สนับสนุนใหส้ ถาบันการศึกษาผลติ บุคคลากรด้านระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด | 1.5 | 4 | 2 |
P | ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดแก่ประชาชนทั่วไปอยา่ งสม่ าเสมอ | 1 | 3 | 1.5 |
G&T | ICT Integration (G&T) | 2.5 | 4 | 1 |
G&T | Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (G&T) | 1 | 3 | 2 |
D | ICT Integration (Distr) | 1.5 | 4 | 1 |
D | Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (Distr) | 1.5 | 3 | 2 |
P | ออกมาตรการสนับสนุนทางภาษี และทางการเงินอื่นๆ แก่ภาคเอกชนที่ด าเนินธุรกิจเกยี่ วกับระบบโครงข่ายไฟฟ้า อัจฉริยะ | 0.5 | 3 | 3 |
คะแนนระดับการพัฒนาของดัชนชี ี้วัด | 1.4 | 3.5 | - |
เอกสารแนบ ค.
ค่าระดับคะแนนปัจจุบันและระดับ
คะแนนเป้าหมายของดัชนีชี้วัดฯ พร้อมการแปรผล
ค าชี้แจง
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศฉบับนี้ จัดท าขึ้นภายใต้โครงการ ศึกษาเพื่อก าหนดนโยบายและแผนการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทยซึ่งส านักงานนโยบายและ แผนพลังงานได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เป็นผู้ด าเนินการหลัก ทั้งนี้ เนื้อหาที่ ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ได้ผ่านกระบวนการระดมสมองจากคณะท างาน (Working Group) ซึ่งแบ่งตาม ยุทธศาสตร์ 5 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาความเชื่อถือได้และคุณภาพของไฟฟ้า ด้านความยั่งยืนและ ประสิทธิภาพของการผลิตและใช้พลังงาน ด้านการพัฒนาการท างานและการให้บริการของหน่วยงานการไฟฟ้า ฯ ด้านการก าหนดมาตรฐานความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ในระบบ และด้านการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทาง เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการอ านวยการ (Steering Committee) ที่ ได้รับการแต่งตั้งจากคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดภายใต้คณะ กรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)
การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศได้เริ่มต้นจากการระดม
สมองเพื่อก าหนดคุณลักษณะหรือเป้าประสงค์ของระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดซึ่งมีแนวโน้มที่จะเป็นที่ต้องการ ของประเทศไทยในอนาคตโดยแบ่งตามยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ด้าน จากนั้น ท าการก าหนดดัชนีชี้วัดสัมฤทธิผล (Key Achievement Indicator; KAI) เพื่อแปลความหมายจากเป้าประสงค์ให้อยู่ในรูปของตัวเลขเชิงปริมาณที่ สามารถวัดได้ และท าการก าหนดค่าเป้าหมายของดัชนี้ชี้วัดสัมฤทธิผลที่เป็นที่ต้องการ (Taget-KAI) ในส่วน สุดท้าย จะพิจารณาท าการวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) ระหว่างสถานะปัจจุบัน (Existing Condition) และค่าเป้าหมาย เพื่อก าหนดกิจกรรมการพัฒนา/ลงทุนที่เหมาะสมในการลดความแตกต่างระหว่าง สถานะปัจจุบันและค่าเป้าหมายของดัชนีส าหรับการพัฒนาในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์
เจตนารมย์ของคณะท างานในการจัดท าแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของ ประเทศฉบับนี้คือ เพื่อให้ได้แนวทางที่ภาครัฐ โดยส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน สามารถใช้เป็น เครื่องมือในการพิจารณาว่านโยบายและ/หรือโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานการไฟฟ้าทั้งสามแห่ง เป็นไปตามหลักการและสอดคล้องกับ นโยบายการพัฒนาของประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ในภาพรวมหรือไม่ และใช้เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้า หรือสัมฤทธิผลของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศในระยะยาว เพื่อให้ทราบว่าภาครัฐควร จะต้องมีมาตรการส่งเสริมและมาตรการสนับสนุนเพิ่มเติม เพื่อเร่งหรือชะลอการพัฒนาระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดของไทยให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาประเทศตามแผนยุทธศาสตร์นี้หรือไม่ ทั้งนี้ มิได้มีความ ตั้งใจที่จะใช้ค่าเป้าหมายต่างๆ ที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้เป็นเกณฑ์บังคับโดยตรงหรือเป็นเกณฑ์การประเมิน สมรรถนะการท างานของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานการไฟฟ้าทั้งสามแห่ง
อย่างไรก็ดี เนื่องจากแผนยุทธศาสตร์นโยบายการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศเป็น
แผนระยะยาว ดังนั้น ควรจะต้องมีการทบทวนอย่างสม่ าเสมอ และสามารถปรับเปลี่ยนให้มีความเหมาะสมกับ สภาวะการณ์ในอนาคตที่เปลี่ยนไปได้ โดยกิจกรรมการลงทุนต่างๆ อาจถูกปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม หากเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด และค่าเป้าหมายของดัชนีชี้วัดสัมฤทธิผลอาจจะสามารถ ปรับเปลี่ยนให้มีความเข้มข้นหรือเบาบางลงได้ตามสภาวะการณ์ต่างๆ ที่อาจเปลี่ยนแปลงในอนาคต
ค.1 ค่าระดับคะแนนปัจจุบันและระดับคะแนนเป้าหมายของดัชนีชี้วัด
ตารางที่ 1 ระดับคะแนนของสถานภาพปัจจุบัน (Existing-KAI) และค่าเป้าหมาย (Target-KAI) ของดัชนีชี้วัดสัมฤทธิ์ผล
ประเด็นยุทธศาสตร์ | Existing | Goal / Target | Weight |
Worst | Moderate | Best |
ด้านการพัฒนาความเชื่อถือได้และคุณภาพของไฟฟ้า | 2.7 | 3.3 | 3.7 | 4.0 | |
1.1 | จ านวนครั้งเฉลยี่ ที่เกิดไฟฟ้าดับ (ครั้ง/ผู้ใช้ไฟฟ้า 1 ราย/ปี) | 1.9 | 2.7 | 3.3 | 3.7 | 4.5 |
*1.2 | ระยะเวลาเฉลี่ยทเี่ กิดไฟฟ้าดับ (นาที/ผู้ใช้ไฟฟ้า 1 ราย/ปี) | 1.8 | 2.6 | 3.2 | 3.7 | 5 |
1.3 | การเบี่ยงเบนแรงดันจากเกณฑ์ที่กา หนด (ครั้ง/ปี) | 4.0 | 4.5 | 4.5 | 4.7 | 3.5 |
1.4 | การเบี่ยงเบนความถี่จากเกณฑ์ที่กา หนด (ครั้ง/ปี) | 4.0 | 4.3 | 4.3 | 4.3 | 3 |
ด้านความยั่งยืนและประสิทธิภาพของการผลิตและใช้พลังงาน | 1.5 | 2.3 | 2.9 | 3.4 | |
*2.1 | สัดส่วนของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวยี นต่อพลังงานไฟฟ้าที่ผลติ ได้โดยรวม (%) | 1.6 | 2.3 | 3.0 | 3.4 | 5 |
2.2 | สัดส่วนของก าลังผลติ ไฟฟ้าพึ่งได้ของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (%) | 1.6 | 2.1 | 2.8 | 3.3 | 3 |
2.3 | ผลตา่ งระหว่างโหลดค่ายอด (Peak load) กับโหลดค่าฐาน (Base load) เทียบกับโหลดค่าฐาน ที่ศูนย์ควบคุม ระบบไฟฟ้ามองเห็น (%) | 1.4 | 2.3 | 3.0 | 3.3 | 4.5 |
2.4 | สัดส่วนก าลังผลิตส ารองสูงสุดในการปฏิบัติการ (Maximum Operation reserve) (%) | 1.5 | 2.0 | 3.0 | 3.3 | 4 |
2.5 | สัดส่วนพลังงานไฟฟ้าสญู เสียในระบบส่งและระบบจ าหน่าย (%) | 2.0 | 2.7 | 3.2 | 3.7 | 4 |
2.6 | สัดส่วนของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อนร่วม (Cogeneration, CCHP) ต่อพลังงานไฟฟ้าที่ผลติ ได้โดยรวม (%) | 1.8 | 2.7 | 3.2 | 3.5 | 3.5 |
2.7 | สัดส่วนของผลรวมพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตไดภ้ ายใน Microgrid ต่อพลงั งานไฟฟ้าที่ผลิตได้โดยรวม (%) (microgrid ต้องสามารถท างานในสภาวะ islanding ได้) | 1.0 | 2.0 | 2.5 | 3.1 | 4 |
ด้านการพัฒนาการท างานและการให้บริการของหน่วยงานการไฟฟ้าฯ | 1.7 | 2.8 | 3.3 | 3.7 | |
3.1 | จ านวนครั้งเฉลยี่ ที่เกิดไฟฟ้าดับ (ครั้ง/ผู้ใช้ไฟฟ้า 1 ราย/ปี) | 1.9 | 2.7 | 3.3 | 3.7 | 4 |
3.2 | ระยะเวลาเฉลี่ยทเี่ กิดไฟฟ้าดับ (นาที/ผู้ใช้ไฟฟ้า 1 ราย/ปี) | 1.8 | 2.6 | 3.2 | 3.7 | 4 |
3.3 | จ านวนมิเตอร์แบบบอัตโนมัติ (สมาร์ทมิเตอร์และมิเตอร์มเิ ตอร์อัตโนมัติอื่นๆ) ต่อจ านวนมิเตอร์ทั้งหมดใน ระบบจ าหนา่ ย (%) | 1.4 | 2.7 | 3.3 | 3.6 | 4 |
3.4 | สัดส่วนของ kWh ที่จ่ายผา่ นมิเตอร์แบบอัตโนมตั ิ (สมาร์ทมิเตอร์และมิเตอร์อัตโนมัติอื่นๆ) ต่อ kWh ทั้งหมดที่ จ่ายในระบบ (%) | 1.4 | 2.7 | 3.3 | 3.6 | 4 |
ค.1
ประเด็นยุทธศาสตร์ | Existing | Goal / Target | Weight |
Worst | Moderate | Best |
3.5 | ระยะเวลาในการด าเนินการเมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าร้องขอเพิ่มจุดรับไฟฟ้าใหม่ (วัน) | 1.7 | 3.2 | 3.3 | 3.7 | 4.5 |
*3.6 | สัดส่วนของเหตุการณ์ไฟฟ้าขดั ข้องทางเทคนิคในระบบจ าหน่าย (%) | 2.0 | 3.1 | 3.6 | 3.9 | 5 |
ด้านการก าหนดมาตรฐานความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ในระบบ | 1.6 | 2.8 | 3.3 | 3.6 | |
*4.1 | สัดส่วนของสถานไี ฟฟ้าที่สามารถสื่อสารไดต้ ามมาตรฐานการสื่อสารในระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดที่ได้รับการ ยอมรับในระดับชาติต่อสถานีไฟฟา้ ทั้งหมดในระบบโครงข่ายไฟฟ้า (%) | 1.8 | 3.3 | 3.6 | 3.9 | 5 |
4.2 | สัดส่วนของจ านวนผู้ใช้ไฟรายสุดทา้ ย (End-use) ที่สามารถเข้าถึงการขอใช้บริการการจดั การพลังงานได้ (%) | 1.3 | 2.4 | 3.0 | 3.4 | 4 |
4.3 | สัดส่วนของ DG (VSPP เป็นหลัก) ที่สามารถเข้าถึงข้อมลู และควบคมุ สถานะได้แบบ Real time (%) | 1.7 | 3.1 | 3.5 | 3.7 | 4 |
4.4 | สัดส่วนของผู้ใช้ไฟที่เข้าร่วมโปรแกรม Demand Response ต่อผู้ใช้ไฟทั้งหมด (%) | 1.4 | 2.3 | 3.0 | 3.4 | 4 |
ด้านการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกจิ และอุตสาหกรรม | 1.4 | 2.3 | 2.8 | 3.3 | |
5.1 | จ านวนบุคลากรที่จบการศึกษา/ผา่ นการอบรมด้านระบบโครงข่ายสมาร์ทกรดิ (ราย) | 1.4 | 2.3 | 2.8 | 3.4 | 3.5 |
*5.2 | สัดส่วนเงินลงทุนค่าอุปกรณ์ที่ผลิตได้ภายในประเทศต่อมูลค่าโครงการที่เก่ียวข้องกับระบบโครงข่าย สมาร์ทกริด (%) | 1.5 | 2.3 | 2.6 | 3.1 | 5 |
5.3 | จ านวนสิทธิบัตรและผลติ ภณั ฑ์ ด้านระบบโครงข่ายสมาร์ทกรดิที่ได้รบั การพัฒนาในประเทศ (รายการ) | 1.3 | 1.9 | 2.4 | 2.9 | 3.5 |
5.4 | สัดส่วนจ านวนโรงงานอุตสาหกรรม/อาคารส านักงาน/หน่วยงาน ที่ใช้ระบบบริหารจัดการพลังงาน เชน่ FEMS/BEMS เป็นต้น (%) | 1.5 | 2.6 | 3.1 | 3.4 | 4 |
5.5 | จ านวนผู้ประกอบการที่ให้บริการทางด้านการบริหารจดั การพลังงานที่ใช้เทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกรดิ (ราย) | 1.4 | 2.5 | 3.1 | 3.5 | 4 |
* แสดงดัชนีประจ ายุทธศาสตร์หลักและเป็นตัวแทนในการบ่งชี้ถึงเป้าประสงค์หลักของการพัฒนาในยุทธศาสตร์นั้น
ค.2
ค.2 การแปลผลระดับคะแนนของดัชนีชี้วัดสัมฤทธิผลต่างๆ เป็นค่าเป้าหมายของแต่ละดัชนี
ความหมายของค าส าคัญและนิยามต่างๆ ที่ปรากฏในหัวข้อนี้ หากมิได้มีการก าหนดให้เป็นอย่างอื่น ให้ถือ ว่ามีความหมายดังต่อไปนี้
ระดับการพัฒนา | เป็นตัวเลขเปรียบเทียบเชิงคุณภาพโดยมีค่าระดับต่ าสุดของการพัฒนาเท่ากับ 0 (ไม่มีแผนเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบัน) และค่าระดับสูงสุดของการ พัฒนาเท่ากับ 5 (การพัฒนาในระดับโลก) |
เป้าหมายระดับการพัฒนา | คือ ระดับการพัฒนาที่คาดหวังว่าประเทศไทยควรจะต้องพัฒนาให้ถึงได้ภายใน ปี ค.ศ. 2036 (พ.ศ. 2579) โดยแบ่งออกเป็น 3 กรณี คือ กรณีดีที่สุด (Best case) กรณีปานกลาง (Moderate case) และกรณีแย่ที่สุด (Worst case) ทั้งนี้ สมมติฐานต่างๆ ที่ใช้ในการก าหนดค่าเป้าหมายระดับการพัฒนาขึ้นอยู่กบั ภาพฉายอนาคต (Scenario) ที่ได้จัดท าขึ้นจากการระดมสมองของคณะท างาน |
ตารางแปลผลการประเมิน ระดับการพัฒนา | ระดับการพัฒนาที่ปรากฏอยู่ในตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนาท้าย แต่ละดัชนีชี้วัดสัมฤทธิผล มีความหมายดังต่อไปนี้ |
| ระดับการพัฒนา | ช่วงคะแนนระดับการ พัฒนาที่ครอบคลุม | ช่วงค่าดัชนีชี้วัดฯ | |
| 0 | 0 – 0.99 | ขอบล่าง – ขอบบน | |
| 1 | 1 – 1.99 | ขอบล่าง – ขอบบน | |
| 2 | 2 – 2.99 | ขอบล่าง – ขอบบน | |
| 3 | 3 – 3.99 | ขอบล่าง – ขอบบน | |
| 4 | 4 – 4.99 | ขอบล่าง – ขอบบน | |
| 5 | 5 | ขอบล่าง – ขอบบน | |
| ในการแปลความหมายระดับการพัฒนากรณีที่เป็นตัวเลขทศนิยม ให้ท าการ ค านวณเทียบแบบเชิงเส้น (เทียบบัญญัติไตรยางค์) ส าหรับค่าดัชนีในช่วง ระดับชั้นนั้นๆ | |
ความสัมพันธ์ของตารางแปล ผลการประเมินระดับการ พัฒนา และผลการประเมิน สมรรถนะการท างานของ หน่วยงานภาครัฐ (หากมี) | ระดับการพัฒนา 0 – 5 ที่แสดงในตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา ไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับระดับคะแนนของการประเมินสมรรถนะการ ท างาน (KPI) ของหน่วยงานภาครัฐ โดยในที่นี้ระดับการพัฒนา 0 – 5 เป็น เพียงตัวเลขเปรียบเทียบเชิงคุณภาพของความก้าวหน้าในการพัฒนา/ปรับปรุง ดัชนีชี้วัดสัมฤทธิผลที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด โดยระดับการ พัฒนาที่ 5 หมายถึง การพัฒนาด้านที่ก าลงั พิจารณามีความก้าวหน้าในปัจจุบัน ระดับแนวหน้าของโลก ไม่ได้หมายถึงระดับคะแนนของการประเมินสมรรถนะ การท างานของหน่วยงานภาครัฐว่ามีความส าเร็จตามเป้าหมายแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี หากในอนาคต จะต้องมีการประเมินสมรรถนะการท างานที่ เกี่ยวข้องกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด อาจก าหนดให้ระดับการพัฒนา เป้าหมาย (Target-KAI) ตามภาพฉายในอนาคตที่ก าลังพิจารณา เช่น กรณี ปานกลาง (Moderate case) เทียบเท่ากับระดับคะแนนการประเมิน สมรรถนะการท างานเท่ากับ 5 คะแนนเต็มก็ได้ | |
| | | | | | |
จ านวนครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับ [หน่วย: ครั้งต่อปี] (KAI Code: SAIFI1) การพัฒนาระดับความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าให้อยู่ในเกณฑ์
ค าอธิบาย:
การปรับปรุงระดับความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าโดยการลดจ านวนครั้งที่เกิดไฟฟ้าดับเป็น
เป้าประสงค์ที่ส าคัญประการหนึ่งของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอนาคตซึ่งมี แนวโน้มของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเข้ามาในระบบมากขึ้น การสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบ ไมโครกริด (Microgrid) การใช้งานเทคโนโลยีสายป้อนไฟฟ้าอัตโนมัติ (Distribution/Feeder Automation) การใช้งานเทคโนโลยีสถานีไฟฟ้าอัตโนมัติ (Substation Automation) และอื่นๆ ล้วนเป็นการช่วยลดโอกาส ในการเกิดไฟฟ้าดับทั้งสิ้น ด้วยเทคโนโลยีอัตโนมัติเหล่านี้จะส่งผลให้เมื่อเกิดเหตุขัดข้องในระบบไฟฟ้า ระบบจะ สามารถจ ากัดบริเวณการเกิดเหตุขัดข้องให้มีผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับผลกระทบน้อยลงได้ ส่งผลให้จ านวนครั้งเฉลี่ยที่ เกิดไฟฟ้าดับต่อผู้ใช้ไฟฟ้าลดลง ในส่วนสุดท้าย เทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดที่เกี่ยวกับระบบเซนเซอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถท างานในลักษณะการตรวจวัดและควบคุม (Monitor and control) ท าให้ระบบ ไฟฟ้าอยู่ในสภาวะการท างานที่สมดุลและบรรเทาความเสียหายจากการเกิดเหตุขัดข้องทางไฟฟ้าได้ทันท่วงที
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน (Existing): 1.9
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 3.7 (Best case)
3.3 (Moderate case)
2.7 (Worst case)
การแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา จากการส ารวจข้อมูลจ านวนครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับในประเทศต่างๆ ที่ได้รับการพัฒนาระบบไฟฟ้า
เป็นอย่างดี ซึ่งรวบรวมจากเอกสารหลักเรื่อง Electricity Reliability: Problems, Progress and Policy Solution โดย Galvin Electricity Initiative และจากอีกหลายๆบทความในปีใกล้เคียงกัน จะพบว่า จ านวน ครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับเฉลี่ยของกลุ่มประเทศตัวอย่างทั้งหมดมีค่าประมาณ 2.02 ครั้งต่อรายต่อปี ส าหรับ ระบบไฟฟา้ ของประเทศไทย ที่ปรึกษาท าการประเมินจ านวนครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับรวมของทั้งระบบจ าหน่าย โดยอาศัยข้อมูลจ านวนการเกิดไฟฟ้าดับและจ านวนผู้ใช้ไฟฟ้าในปี 2552 ของการไฟฟ้าทั้งสองแห่งในการ ประเมิน ซึ่งจะพบว่า จ านวนครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับรวมของทั้งประเทศมีค่าเท่ากับ 8.21 ครั้งต่อรายต่อปี เมื่อพิจารณาข้อมูลตัวอย่างในรายละเอียด ประเทศที่มีจ านวนครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับต่ าที่สุดคือ
ประเทศสิงคโปร์ โดยมีค่าเฉลี่ยประมาณ 0.04 ครั้งต่อรายต่อปี ในขณะที่ประเทศมาเลเซียมีจ านวนครั้งเฉลี่ยที่ เกิดไฟฟ้าดับต่ ากว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศตัวอย่างที่ประมาณ 1.69 ครั้งต่อรายต่อปี นอกจากนี้ยังพบว่า ประเทศในกลุ่มตัวอย่าง 25% แรก มีจ านวนครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับไม่เกิน 0.65 ครั้งต่อรายต่อปี และ ประมาณกึ่งหนึ่งของประเทศในกลุ่มตัวอย่างมีจ านวนครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับ 1.50 ครั้งต่อรายต่อปี ดังนั้นใน เบื้องต้น เมื่อพิจารณาว่าจ านวนครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับของประเทศไทยในปัจจุบันที่ 8.21 ครั้งต่อรายต่อปี เทียบเท่าระดับการพัฒนา 1.9 และหากก าหนดเป้าหมายของจ านวนครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับที่ต่ ากว่า 0.65 ครั้งต่อรายต่อปี เป็นเกณฑ์ระดับการพัฒนาที่ดีในระดับโลกที่ระดับ 5 คะแนนแล้ว การแปลผลระดับการ พัฒนาของจ านวนครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับภายใต้โครงการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจึงเป็นดังตาราง
ตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา
ระดับการพัฒนา | ความหมาย | SAIFI (ครั้งต่อรายต่อปี) |
0 | ไม่มีแผนเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบัน | มากกว่า 13.00 |
1 | มีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่ม ด าเนินการเป็นรูปธรรม | 7.00 – 13.00 |
2 | เริ่มด าเนินการพัฒนาด้านนี้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ทั่วทั้งระบบ | 5.00 – 7.00 |
3 | มีการพัฒนาด้านนี้อยู่ในแผนงานปกติ | 2.50 - 5.00 |
4 | มีการพัฒนาด้านนี้มากในระดับหนึ่งแล้ว | 0.65 - 2.50 |
5 | มีการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบันในระดับแนวหน้าของโลก | ต่ ากว่า 0.65 |
จากตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนาที่แสดงไว้ข้างต้นจะได้ว่า เป้าหมายระดับการพัฒนา
ของจ านวนครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับภายใต้โครงการระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในแต่ละกรณี เป็นดังนี้
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 3.25 ครั้งต่อรายต่อปี (Best case)
4.25 ครั้งต่อรายต่อปี (Moderate case)
5.60 ครั้งต่อรายต่อปี (Worst case) ระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับ [หน่วย: นาทีต่อปี] (KAI Code: SAIDI1) การพัฒนาระดับความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าให้อยู่ในเกณฑ์
ค าอธิบาย:
การปรับปรุงระดับความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าโดยการลดระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับเป็น
เป้าประสงค์หลักที่ส าคัญที่สุดของยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับความเชื่อถือได้ภายใต้โครงการพัฒนาระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอนาคตซึ่งมีแนวโน้มของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเข้ามา ในระบบมากขึ้น การสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบไมโครกริด (Microgrid) การพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) การใช้งานเทคโนโลยีสายป้อนไฟฟ้าอัตโนมัติ (Distribution/Feeder Automation) การใช้งานเทคโนโลยีสถานีไฟฟ้าอัตโนมัติ (Substation Automation) และอื่นๆ ล้วนเป็นการ ช่วยลดระยะเวลาในการเกิดไฟฟ้าดับทั้งสิ้น ด้วยเทคโนโลยีอัตโนมัติเหล่านี้จะส่งผลให้เมื่อเกิดเหตุขัดข้องใน ระบบไฟฟ้า ระบบจะสามารถจ ากัดบริเวณการเกิดเหตุขัดข้องให้มีผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับผลกระทบน้อยลงได้ ส่งผลให้ ระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับต่อผู้ใช้ไฟฟ้าลดลง ในส่วนสุดท้าย เทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดที่ เกี่ยวกับระบบเซนเซอร์และอิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถท างานในลักษณะการตรวจวัดและควบคุม (Monitor and control) ท าให้ระบบไฟฟ้าอยู่ในสภาวะการท างานที่สมดุลและบรรเทาความเสียหายจากการเกิด เหตุขัดข้องทางไฟฟ้าได้ทันท่วงที
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน (Existing): 1.8
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 3.7 (Best case)
3.2 (Moderate case)
2.6 (Worst case)
การแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา จากการส ารวจข้อมูลระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับในประเทศต่างๆ ที่ได้รับการพัฒนาระบบไฟฟ้า
เป็นอย่างดี ซึ่งรวบรวมจากเอกสารหลักเรื่อง Electricity Reliability: Problems, Progress and Policy Solution โดย Galvin Electricity Initiative และจากอีกหลายๆบทความในปีใกล้เคียงกัน จะพบว่า ระยะเวลาที่เกิดไฟฟ้าดับเฉลี่ยของกลุ่มประเทศตัวอย่างทั้งหมดมีค่าประมาณ 117.42 นาทีต่อรายต่อปี ส าหรับ ระบบไฟฟ้าของประเทศไทย ที่ปรึกษาท าการประเมินระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับรวมของทั้งระบบจ าหน่าย โดยอาศัยข้อมูลระยะเวลาการเกิดไฟฟ้าดับและจ านวนผู้ใช้ไฟฟ้าในปี 2552 ของการไฟฟ้าทั้งสองแห่งในการ ประเมิน ซึ่งจะพบว่า ระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับรวมของทั้งประเทศมีค่าเท่ากับ 326.86 นาทีต่อรายต่อปี เมื่อพิจารณาข้อมูลตัวอย่างในรายละเอียด ประเทศที่มีระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับต่ าที่สุดคือ
ประเทศสิงคโปร์ โดยมีค่าเฉลี่ยประมาณ 0.76 นาทีต่อรายต่อปี ในขณะที่ประเทศมาเลเซียมีระยะเวลาเฉลี่ยที่ เกิดไฟฟ้าดับประมาณ 167.60 นาทีต่อรายต่อปี นอกจากนี้ยังพบว่า ประเทศในกลุ่มตัวอย่าง 25% แรก มี ระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับไม่เกิน 60 นาทีต่อรายต่อปี และประมาณกึ่งหนึ่งของประเทศในกลุ่มตัวอย่างมี ระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับ 82 นาทีต่อรายต่อปี ดังนั้นในเบื้องต้น เมื่อพิจารณาว่าระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิด ไฟฟ้าดับของประเทศไทยที่ 326.86 นาทีต่อรายต่อปีในปัจจุบันเทียบเท่าระดับการพัฒนา 1.8 และหาก ก าหนดเป้าหมายของจ านวนครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับที่ต่ ากว่า 60 นาทีต่อรายต่อปี เป็นเกณฑ์ระดับการพัฒนา ที่ดีในระดับโลกที่ระดับ 5 คะแนนแล้ว การแปลผลระดับการพัฒนาของระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับภายใต้ โครงการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจึงเป็นดังตาราง
ตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา
ระดับการพัฒนา | ความหมาย | SAIDI (นาทีต่อรายต่อปี) |
0 | ไม่มีแผนเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบัน | มากกว่า 400 |
1 | มีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่ม ด าเนินการเป็นรูปธรรม | 300 - 400 |
2 | เริ่มด าเนินการพัฒนาด้านนี้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ทั่วทั้งระบบ | 200 - 300 |
3 | มีการพัฒนาด้านนี้อยู่ในแผนงานปกติ | 100 -200 |
4 | มีการพัฒนาด้านนี้มากในระดับหนึ่งแล้ว | 60 - 100 |
5 | มีการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบันในระดับแนวหน้าของโลก | ต่ ากว่า 60 |
จากตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนาที่แสดงไว้ข้างต้นจะได้ว่า เป้าหมายระดับการพัฒนา
ของระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับภายใต้โครงการระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในแต่ละกรณี เป็นดังนี้
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 130 นาทีต่อรายต่อปี (Best case)
180 นาทีต่อรายต่อปี (Moderate case)
240 นาทีต่อรายต่อปี (Worst case) การเบี่ยงเบนแรงดันจากเกณฑ์ที่ก าหนด [หน่วย: %] (KAI Code: %VD) การพัฒนาคุณภาพไฟฟ้าให้อยู่ในเกณฑ์
ค าอธิบาย:
คุณภาพของระบบไฟฟ้าเป็นสิ่งจ าเป็นที่จะท าให้ระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าท างานร่วมกันได้เป็น
อย่างปกติ คุณภาพไฟฟ้าที่ดีจึงเป็นสิ่งที่ต้องการส าหรับระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ การไฟฟ้าจ าเป็น ที่จะต้องก าหนดคุณภาพไฟฟ้าให้กับลูกค้าของการไฟฟ้าของตน หนึ่งในดัชนีที่ส าคัญทางด้านคุณภาพไฟฟ้า ได้แก่ ระดับแรงดันที่จุดเชื่อมต่อ การเบี่ยงเบนของแรงดันไฟฟ้าที่ผลิตได้ไม่ควรมีค่าอยู่นอกช่วงที่ก าหนดไว้ใน มาตรฐานมากนักจนท าให้คุณภาพของระบบไฟฟ้าลดลงไป การเบี่ยงเบนของระดับแรงดันที่จุดเชื่อมต่อขึ้นอยู่ กับ การแกว่งตัวของก าลังไฟฟ้าในระบบ (Power Swing) ตัวประกอบก าลังไฟฟ้า (Power Factor) ที่เครื่อง ก าเนิดไฟฟ้า และตัวประกอบก าลังไฟฟ้าของโหลดที่ต่ออยู่กับระบบไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอนาคตซึ่งมี แนวโน้มของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเข้ามาในระบบมากขึ้นอาจท าให้เกิดการแกว่งของก าลังไฟฟ้า ในระบบมากขึ้น การปรับปรุงระดับคุณภาพไฟฟ้าโดยการปรับปรุงข้อก าหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า เพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Grid Code) จะช่วยท าให้รักษาคุณภาพไฟฟ้าในด้านการ เบี่ยงเบนของแรงดันจากเกณฑ์ที่ก าหนดได้
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน (Existing): 4.0
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 4.7 (Best case)
4.5 (Moderate case)
4.5 (Worst case)
การแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา ปัจจุบัน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประทเศไทยได้ก าหนดเกณฑ์ของระดับแรงดันที่จุดเชื่อมต่อว่าจะต้อง
ถูกควบคุมไว้ที่ระดับไม่เกิน 5% ของแรงดันที่ระบุ (Nominal Voltage) และในช่วงผิดปกติ อาจยอมให้ แรงดันไฟฟ้าเบี่ยงเบนไปจากแรงดันที่ระบุได้ถึง 10% จากข้อมูลสถิติย้อนหลังของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทยในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา จ านวนการเบี่ยงเบนของแรงดันจากเกณฑ์ที่ก าหนดของการไฟฟ้าที่ทุกจุดเชื่อม ต่อของการไฟฟ้าฯ มีค่าเฉลี่ย 0.0002% ซึ่งอาจถือได้ว่าแรงดันไฟฟ้าที่จุดเชื่อมต่อเกือบทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์ที่ ก าหนด จากมาตรฐาน EN 50160-2010 (Voltage Characteristics of Electricity Supplied by Public Electricity Networks) ซึ่งมีการใช้อย่างแพร่หลายในหลายประเทศในทวีปยุโรปได้ก าหนดค่าการเปลี่ยนแปลง ของระดับแรงดันไว้ไม่เกิน 10% ของแรงดันที่ระบุ โดยจะเห็นได้ว่าเกณฑ์ของระดับแรงดันที่จุดเชื่อมต่อของ ประเทศไทยอยู่ในระดับที่ดีกว่ามาตรฐานยุโรปนี้มากและมาตรฐานนี้เองก็ไม่ได้มีการกล่าวถึงจ านวนครั้งของ การเบี่ยงเบนของแรงดันจากเกณฑ์ที่ก าหนดว่าควรจะเป็นเท่าไร แม้ว่าระดับการพัฒนาในด้านนี้ของประเทศไทยในปัจจุบันจะอยู่ในระดับดีเลิศ แต่ในอนาคตซึ่งมี
แนวโน้มของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเข้ามาในระบบมากขึ้น อาจท าให้ประเทศไทยประสบกับ ปัญหาการเบี่ยงเบนของระดับแรงดันมากขึ้นได้ ดังนั้น การพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทยจึงยังควร ให้ความส าคัญกับการเฝ้าระวังในประเด็นนี้อยู่บ้าง ซี่งอาจท าได้โดยการปรับปรุงข้อก าหนดการเชื่อมต่อระบบ โครงข่ายไฟฟ้าให้เหมาะสมมากขึ้นเพื่อให้สามารถรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในปริมาณมาก ได้ ดังนั้นในเบื้องต้น หากพิจารณาว่าการท างานในสภาวะปัจจุบันเป็นผลการด าเนินงานในระดับโลกที่ระดับ 5 คะแนนแล้ว การแปลผลจ านวนการเบี่ยงเบนของแรงดันจากเกณฑ์ที่ก าหนดภายใต้โครงการระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดจึงเป็นดังตาราง
ตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา
ระดับการพัฒนา | ความหมาย | %VD |
0 | ไม่มีแผนเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบัน | มากกว่า 1% |
1 | มีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่ม ด าเนินการเป็นรูปธรรม | 0.1000 - 1.0000 % |
2 | เริ่มด าเนินการพัฒนาด้านนี้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ทั่วทั้งระบบ | 0.0100 - 0.1000 % |
3 | มีการพัฒนาด้านนี้อยู่ในแผนงานปกติ | 0.0010 - 0.0100 % |
4 | มีการพัฒนาด้านนี้มากในระดับหนึ่งแล้ว | 0.0001 - 0.0010 % |
5 | มีการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบันในระดับแนวหน้าของโลก | น้อยกว่า 0.0001% |
จากตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนาที่แสดงไว้ข้างต้นจะได้ว่า เป้าหมายระดับการพัฒนา
ของจ านวนการเบี่ยงเบนของแรงดันจากเกณฑ์ที่ก าหนดภายใต้โครงการระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในแต่ละ กรณี เป็นดังนี้
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 0.0004 % (Best case)
0.0006 % (Moderate case)
0.0006 % (Worst case) การเบี่ยงเบนความถี่จากเกณฑ์ที่ก าหนด [หน่วย: %] (KAI Code: %FD) การพัฒนาคุณภาพไฟฟ้าให้อยู่ในเกณฑ์
ค าอธิบาย:
คุณภาพของระบบไฟฟ้าเป็นสิ่งจ าเป็นที่จะท าให้ระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าท างานร่วมกันได้เป็น
อย่างปกติ คุณภาพไฟฟ้าที่ดีจึงเป็นสิ่งที่ต้องการส าหรับระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ การไฟฟ้าจ าเป็น ที่จะต้องก าหนดคุณภาพไฟฟ้าให้กับลูกค้าของการไฟฟ้าของตน หนึ่งในดัชนีที่ส าคัญทางด้านคุณภาพไฟฟ้า ได้แก่ ความถี่ของไฟฟ้าในระบบ การเบี่ยงเบนความถี่ของระบบไฟฟ้าไม่ควรมีค่าอยู่นอกระดับที่ก าหนดไว้ใน มาตรฐานมากนักเนื่องจากจะก่อให้เกิดปัญหาทางเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าซึ่งท าให้คุณภาพของระบบไฟฟ้า ลดลง การเบี่ยงเบนของความถี่ของระบบไฟฟ้านั้นขึ้นอยู่กับความสมดุลระหว่างปริมาณก าลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ และโหลดที่ต่ออยู่กับระบบไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอนาคตซึ่งมีแนวโน้มของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน หมุนเวียนเข้ามาในระบบมากขึ้นอาจท าให้การปรับสมดุลของก าลังผลิตและโหลดท าได้ยากมากขึ้น การ ปรับปรุงระดับคุณภาพไฟฟ้าโดยการพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) จะช่วยท าให้ รักษาคุณภาพไฟฟ้าในด้านการเบี่ยงเบนของความถี่จากเกณฑ์ที่ก าหนดได้
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน (Existing): 4.0
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 4.3 (Best case)
4.3 (Moderate case)
4.3 (Worst case)
การแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา ปัจจุบัน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประทเศไทยได้ก าหนดเกณฑ์ของความถี่ของไฟฟ้าในระบบที่สภาวะ
การท างานปกติให้มีค่าไม่เกิน 50 Hz 0.5 Hz ยกเว้นกรณีเกิดเหตุผิดปกติซึ่งอาจยอมให้ความถี่ของไฟฟ้าใน ระบบเกินช่วงที่ก าหนดได้ในระยะเวลาสั้นๆ จากข้อมูลสถิติย้อนหลังของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในช่วงหกปีที่ผ่านมา จ านวนการเบี่ยงเบนของความถี่จากเกณฑ์ที่ก าหนดของการไฟฟ้าฯ มีค่าเฉลี่ย 0.01% ซึ่ง ถือได้ว่าเกือบทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์ที่ก าหนด ซึ่งอาจถือได้ว่าความถี่ของไฟฟ้าในระบบเกือบทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์ที่ ก าหนด จากมาตรฐาน EN 50160-2010 (Voltage Characteristics of Electricity Supplied by Public Electricity Networks) ซึ่งมีการใช้อย่างแพร่หลายในหลายประเทศในทวีปยุโรปได้ก าหนดให้ความถี่ของไฟฟ้า ในระบบที่สภาวะการท างานปกติในช่วง 49.5 – 50.5 Hz ของระยะเวลา 99.5% ในหนึ่งปี และอยู่ในช่วง 47 - 52 Hz ของระยะเวลา 100% ในหนึ่งปี โดยจะเห็นได้ว่าเกณฑ์ของค่าความถี่ของระบบไฟฟ้าของประเทศไทย อยู่ในระดับเดียวกับมาตรฐานในยุโรป และมาตรฐานเองไม่ได้มีการกล่าวถึงจ านวนครั้งของการเบี่ยงเบนของ ความถี่ของระบบไฟฟ้าจากเกณฑ์ที่ก าหนดว่าควรจะเป็นเท่าไร แม้ว่าระดับการพัฒนาในด้านนี้ของประเทศไทยในปัจจุบันจะอยู่ในระดับดีมาก แต่ในอนาคตซึ่งมี
แนวโน้มของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเข้ามาในระบบมากขึ้น อาจท าให้ประเทศไทยประสบกับ ปัญหาการเบี่ยงเบนของความถี่มากขึ้นได้ ดังนั้น การพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทยจึงยังควรให้ ความส าคัญกับการเฝ้าระวังในประเด็นนี้อยู่บ้าง ซี่งอาจท าได้โดยการพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานมากขึ้น ซึ่งจะ ช่วยให้สามารถปรับสมดุลระหว่างปริมาณก าลังไฟฟ้าที่ผลิตได้และโหลดที่ต่ออยู่กับระบบไฟฟ้าเพื่อให้สามารถ รองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในปริมาณมากได้ ดังนั้นในเบื้องต้น หากพิจารณาว่าการท างานใน สภาวะปัจจุบันเป็นผลการด าเนินงานในระดับโลกที่ระดับ 5 คะแนนแล้ว การแปลผลจ านวนการเบี่ยงเบนของ ความถี่จากเกณฑ์ที่ก าหนดภายใต้โครงการระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจึงเป็นดังตาราง
ตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา
ระดับการพัฒนา | ความหมาย | %FD |
0 | ไม่มีแผนเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบัน | มากกว่า 1.00% |
1 | มีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่ม ด าเนินการเป็นรูปธรรม | 0.30 - 1.00 % |
2 | เริ่มด าเนินการพัฒนาด้านนี้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ทั่วทั้งระบบ | 0.10 - 0.30 % |
3 | มีการพัฒนาด้านนี้อยู่ในแผนงานปกติ | 0.03 - 0.10 % |
4 | มีการพัฒนาด้านนี้มากในระดับหนึ่งแล้ว | 0.01 - 0.03% |
5 | มีการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบันในระดับแนวหน้าของโลก | น้อยกว่า 0.01% |
จากตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนาที่แสดงไว้ข้างต้นจะได้ว่า เป้าหมายระดับการพัฒนา ของจ านวนการเบี่ยงเบนของความถี่จากเกณฑ์ที่ก าหนดภายใต้โครงการระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในแต่ละ กรณี เป็นดังนี้
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 0.024 % (Best case)
0.024 % (Moderate case)
0.024 % (Worst case)
สัดส่วนของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียนต่อพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ โดยรวม (%) [หน่วย: %] (KAI Code: %RE)
เป้าประสงค์: เพิ่มความสามารถในการพึ่งพาแหล่งพลังงานหมุนเวียนภายในประเทศ
ค าอธิบาย:
การพึ่งพาพลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเพื่อความ
ยั่งยืนในอนาคตนั้น ถือได้ว่าเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่ส าคัญต่อการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดทั่วโลก ดัชนี ชี้วัดความส าเร็จในด้านนี้จะต้องพิจารณาทั้งในเชิงก าลังการผลิต (Power) และปริมาณพลังงานไฟฟ้า (Energy) ที่ผลิตได้และน ามาใช้จริง กิจกรรมหลักที่จะน าไปสู่สัมฤทธิผลในการพึ่งพาพลังงานหมุนเวียนในเชิง ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้นั้น ได้แก่ การปรับปรุงข้อก าหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Code) เพื่อให้สามารถรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ในปริมาณสูง การพัฒนาระบบ สารสนเทศเพื่อใช้ในการพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน การประยุกต์เทคโนโลยีระบบกักเก็บ พลังงาน และ Demand Response เพื่อรองรับพลังงานไฟฟ้าส่วนเกิน (Excess Energy) หรือส่วนที่ขาดไป อันเนื่องมาจากความไม่แน่นอนของแหล่งผลิตไฟฟ้าดังกล่าว (โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม) รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาไมโครกริดเพื่อใช้ประโยชน์จากพลังงานหมุนเวียนภายในพื้นที่นั้นๆได้อย่าง คุ้มค่า ตลอดจนการใช้แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าแบบกระจายเพื่อกักเก็บพลังงานส่วนเกิน และจ่ายคืนสู่ระบบเมื่อ จ าเป็น ในโหมดการท างานแบบ V2G ในอนาคตด้วย
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน (Existing): 1.6
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 3.4 (Best case)
3.0 (Moderate case)
2.3 (Worst case)
การแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา
จากข้อมูลเชิงสถิติในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน สัดส่วนของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงาน
หมุนเวียนของประเทศไทย (ไม่รวมโรงไฟฟ้าพลังน้ าจากเขื่อนขนาดใหญ่) ต่อพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้โดยรวมมี ค่าประมาณ 2% - 3% อย่างไรก็ดี ตามแผนพัฒนาพลังงานทางเลือก (AEDP) 25% ใน 10 ปี ได้ก าหนด เป้าหมายสัดส่วนพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนทดแทนเชื้อเพลิงหลักไว้ที่ประมาณ 10% ณ สิ้นปี พ.ศ. 2564 การพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องจนถึงปี พ.ศ. 2579 น่าจะ สามารถช่วยให้ระบบไฟฟ้าสามารถรองรับพลังงานหมุนเวียนได้มากขึ้นส่งผลให้สามารถเพิ่มสัดส่วนดังกล่าว (ไม่รวมโรงไฟฟ้าพลังน้ าจากเขื่อนขนาดใหญ่) มากขึ้นได้อีกเมื่อพิจารณาจากการคาดการณ์ความต้องการใช้ ไฟฟ้าโดยรวมและศักยภาพพลังหมุนเวียนเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย อันได้แก่ การส่งเสริมการ ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และจากพลังงานชีวมวล เป็นหลัก ส าหรับในต่างประเทศ มีการคาดหวังสัดส่วนพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียนในสัดส่วน ที่สูงกว่า 40% โดยเฉพาะประเทศเยอรมัน และเดนมาร์ก โดยส่วนใหญ่คาดหวังจากศักยภาพของการใช้ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลมเป็นหลัก ดังนั้นในเบื้องต้น เมื่อพิจารณาว่าสัดส่วนของพลังงานไฟฟ้าที่ ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียนของประเทศไทย (ไม่รวมโรงไฟฟ้าพลังน้ าจากเขื่อนขนาดใหญ่) ในปัจจุบันที่ 2% - 3% เทียบเท่าระดับการพัฒนา 1.6 และหากก าหนดเป้าหมายของสัดส่วนของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จาก พลังงานหมุนเวียนที่มากกว่า 35% เป็นเกณฑ์ระดับการพัฒนาที่ดีในระดับโลกที่ระดับ 5 คะแนนแล้ว การแปล ผลระดับการพัฒนาของสัดส่วนของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียนต่อพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ โดยรวมภายใต้โครงการระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจึงเป็นดังตาราง
ตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา
ระดับการพัฒนา | ความหมาย | %RE |
0 | ไม่มีแผนเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบัน | น้อยกว่า 1% |
1 | มีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่ม ด าเนินการเป็นรูปธรรม | 1% - 5% |
2 | เริ่มด าเนินการพัฒนาด้านนี้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ทั่วทั้งระบบ | 5% - 15% |
3 | มีการพัฒนาด้านนี้อยู่ในแผนงานปกติ | 15% - 25% |
4 | มีการพัฒนาด้านนี้มากในระดับหนึ่งแล้ว | 25% - 35% |
5 | มีการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบันในระดับแนวหน้าของโลก | มากกว่า 35% |
จากตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนาที่แสดงไว้ข้างต้นจะได้ว่า เป้าหมายระดับการพัฒนา
ของสัดส่วนของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียนต่อพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้โดยรวมภายใต้ โครงการระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในแต่ละกรณี เป็นดังนี้
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 19.0 % (Best case)
15.0 % (Moderate case)
8.0 % (Worst case) สัดส่วนของก าลังผลิตไฟฟ้าพึ่งได้ของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน [หน่วย: %]
(KAI Code: %DPC)
เป้าประสงค์: เพิ่มความสามารถในการพึ่งพาแหล่งพลังงานหมุนเวียนภายในประเทศ
ค าอธิบาย:
ด้วยคุณลักษณะความไม่แน่นอนและไม่สามารถควบคุมได้ของแหล่งพลังงานหมุนเวียนบางชนิดที่ใช้ใน
การผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม ส่งผลให้ก าลังผลิตไฟฟ้าพึ่งได้ (Dependable Power Capacity) ของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเหล่านี้แตกต่างจากก าลังผลิตไฟฟ้าติดตั้ง (Installed Capacity) อย่างมีนัยส าคัญ ดัชนีชี้วัดความส าเร็จในเชิงการเพิ่มขนาดก าลังผลิตไฟฟ้าพึ่งได้นี้ ใน บริบทของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจะขึ้นอยู่กับกิจกรรมส าคัญ คือ การปรับปรุงข้อก าหนดการ เชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Code) เพื่อให้สามารถรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ใน ปริมาณสูง การใช้งานระบบพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน การพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) และการพัฒนาระบบสื่อสารข้อมูลกับผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กและขนาดเล็กมาก
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน (Existing): 1.6
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 3.3 (Best case)
2.8 (Moderate case)
2.1 (Worst case)
การแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา จากผลการศึกษาค่าก าลังผลิตพึ่งได้ของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โดยคณะท างานของการไฟฟ้า
ฝ่ายผลิตแห่งประทศไทย
ประเภทโรงไฟฟ้า | แสงอาทิตย์ | ลม | ชีวมวล | ก๊าซชีวภาพ | ขยะ | พลังน้ าขนาดเล็ก |
ก าลังการผลิตไฟฟ้าพึ่งได้ | 27% | 2% | 36% | 0% | 36% | 36% |
เมื่อผนวกกับข้อมูลก าลังผลิตไฟฟ้าที่จ่ายเข้าสู่ระบบจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทยตามที่
ก าหนดในแผน PDP2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1,700 MW (ไม่รวมโรงไฟฟ้าพลังน้ าจาก เขื่อนขนาดใหญ่) จะท าให้สามารถประเมินสัดส่วนของก าลังการผลิตไฟฟ้าพึ่งได้เฉลี่ยของโรงไฟฟ้าพลังงาน หมุนเวียนได้ที่ประมาณ 27% ซึ่งหมายความว่า เมื่อมีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาด 100 MW เชื่อมต่อเข้า มาในระบบจะเสมือนกับว่ามีก าลังการผลิตไฟฟ้าที่สามารถน ามาใช้เสริมความมั่นคงเมื่อระบบมีความต้องการ ได้เพียง 27 MW เท่านั้น ท าให้แม้ว่าในอนาคตจะมีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเข้ามาในระบบมากขึ้น การ ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยก็ยังต้องสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงเชิงพาณิชย์หรือน าเข้าไฟฟ้าจาก ต่างประเทศซึ่งมีสัดส่วนก าลังการผลิตไฟฟ้าพึ่งได้มากกว่า 85% - 90% เพื่อรองรับความมั่นคงของระบบใน ระบบอยู่เช่นเดิม ซึ่งส่งผลให้เป็นภาระต้นทุนกับผู้ใช้ไฟฟ้า
อย่างไรก็ดี หากมีการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดซึ่งจะเน้นที่ความสามารถในการรองรับ พลังงานหมุนเวียนได้มากขึ้น จะสามารถท าให้สัดส่วนก าลังการผลิตไฟฟ้าพึ่งได้ของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน สูงกว่าค่าที่ประเมินโดยคณะท างานฯ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ นอกจากนี้ หากมีการส่งเสริม การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทชีวมวลซึ่งมีสัดส่วนก าลังการผลิตไฟฟ้าพึ่งได้ที่สูง ที่สุด ก็จะท าให้สัดส่วนก าลังการผลิตไฟฟ้าพึ่งได้โดยรวมของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในประเทศมีค่าสูงขึ้น ได้อีก ดังนั้นในเบื้องต้น เมื่อพิจารณาว่าสัดส่วนของก าลังการผลิตไฟฟ้าพึ่งได้เฉลี่ยของโรงไฟฟ้าพลังงาน
หมุนเวียนในปัจจุบันที่ 27% เทียบเท่าระดับการพัฒนา 1.6 และหากก าหนดเป้าหมายของสัดส่วนของก าลังการ ผลิตไฟฟ้าพึ่งได้เฉลี่ยของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่มากกว่า 50% เป็นเกณฑ์ระดับการพัฒนาที่ดีในระดับ โลกที่ระดับ 5 คะแนนแล้ว การแปลผลระดับการพัฒนาของสัดส่วนของก าลังผลิตไฟฟ้าพึ่งได้ของโรงไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียนต่อก าลังผลิตติดตั้งโดยรวมของทั้งประเทศภายใต้โครงการระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจึงเป็น ดังตาราง
ตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา
ระดับการพัฒนา | ความหมาย | %DPC |
0 | ไม่มีแผนเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบัน | น้อยกว่า 20% |
1 | มีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่ม ด าเนินการเป็นรูปธรรม | 20 - 35% |
2 | เริ่มด าเนินการพัฒนาด้านนี้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ทั่วทั้งระบบ | 35% - 40% |
3 | มีการพัฒนาด้านนี้อยู่ในแผนงานปกติ | 40% - 45% |
4 | มีการพัฒนาด้านนี้มากในระดับหนึ่งแล้ว | 45% - 50% |
5 | มีการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบันในระดับแนวหน้าของโลก | มากกว่า 50% |
จากตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนาที่แสดงไว้ข้างต้นจะได้ว่า เป้าหมายระดับการพัฒนา
ของสัดส่วนของก าลังผลิตไฟฟ้าพึ่งได้ของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนต่อก าลังผลิตติดตั้งโดยรวมของทั้ง ประเทศภายใต้โครงการระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในแต่ละกรณี เป็นดังนี้
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): | 41.5 % | (Best case) |
| 39.0 % | (Moderate case) |
| 35.5 % | (Worst case) |
ผลต่างระหว่างโหลดค่ายอด (Peak load) กับโหลดค่าฐาน (Base load) เทียบ กับโหลดค่าฐานที่ศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้ามองเห็น [หน่วย: %] (KAI Code: %Diff Peak)
เป้าประสงค์: เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการก าลังผลิตหลักของประเทศ
ค าอธิบาย:
การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโหลดของประเทศถือเป็นเป้าหมายที่ส าคัญประการหนึ่ง
ของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด การบริหารจัดการให้ผลต่างระหว่างโหลดค่ายอด (Peak load) กับ โหลดค่าฐาน (Base load) หรือโหลดเฉลี่ย (Average load) ที่ศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้ามองเห็นลดลงนั้นจะท า ให้ค่าตัวประกอบโหลด (Load Factor; L.F.) โดยรวมของประเทศเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ลดความจ าเป็นในการ ใช้งานเครื่องก าเนิดไฟฟ้าชนิด Peak-load Units ที่มีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยสูง และช่วยชะลอการ ก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติมในระยะยาวในที่สุด การบริหารจัดการโหลดเพื่อลดผลต่างระหว่างโหลดค่ายอดกับ
โหลดเฉลี่ยนี้ท าได้โดยอาศัยนโยบายและกลไก Demand Response เป็นหลัก ซึ่งอาจด าเนินการโดยอาศัย
การตอบสนองผ่านระบบจัดการพลังงานภายในโรงงาน อาคาร หรือบ้านเรือนที่อยู่อาศัย (FEMS/BEMS/HEMS) รวมถึงการสร้างสมดุลพลังงานภายในไมโครกริดในแต่ละพื้นที่ประกอบด้วย
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน (Existing): 1.4
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 3.3 (Best case)
3.0 (Moderate case)
2.3 (Worst case)
การแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา ภายใต้แผน PDP2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 จะพบว่าลักษณะโหลดจะถูกควบคุมไว้ให้มีตัวประกอบ
โหลดไม่ต่ ากว่า 0.75 หรือคิดเป็นผลต่างระหว่างโหลดค่ายอดและโหลดเฉลี่ยที่ประมาณ 33% และจะมีค่า ลดลงเหลือ 32% ณ โหลดเฉลี่ย 39,585 MW หรือคิดเป็นประมาณ 12,670 MW ในปี 2579 อย่างไรก็ดี หาก พิจาณาว่าการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจะสามารถช่วยบริหารจัดการโหลดท าให้สามารถชะลอการ สร้างโรงไฟฟ้าตามแผน PDP2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 ออกไปได้ โดยหากชะลอการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ขนาด 1,000 MW ออกไปได้ 2 โรงในขณะที่มีโหลดเฉลี่ยที่ปี 2579 เท่าเดิมจะท าให้ผลต่างระหว่างโหลดค่า ยอดและโหลดเฉลี่ยมีค่าประมาณ 27% และหากสามารถชะลอการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 800 MW ออกไปได้อีก 2 โรง จะท าให้ผลต่างระหว่างโหลดค่ายอดและโหลดเฉลี่ยมีค่าประมาณ 23% ซึ่งอาจพิจารณาได้ ว่ากรณีดังกล่าวเป็นการพัฒนาระดับแนวหน้าได้ ดังนั้นในเบื้องต้น เมื่อพิจารณาว่าผลต่างระหว่างโหลดค่ายอดและโหลดเฉลี่ยในปัจจุบันที่ 33%
เทียบเท่าระดับการพัฒนา 1.4 และหากก าหนดเป้าหมายของผลต่างระหว่างโหลดค่ายอดและโหลดเฉลี่ยที่ต่ า ว่า 23% เป็นเกณฑ์ระดับการพัฒนาที่ดีในระดับแนวหน้าที่ระดับ 5 คะแนนแล้ว การแปลผลระดับการพัฒนา ของผลต่างระหว่างโหลดค่ายอด (Peak load) กับโหลดค่าฐานเทียบกับโหลดค่าฐานที่ศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า มองเห็นภายใต้โครงการระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจึงเป็นดังตาราง
ตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา
ระดับการพัฒนา | ความหมาย | %Diff Peak |
0 | ไม่มีแผนเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบัน | มากกว่า 35% |
1 | มีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่ม ด าเนินการเป็นรูปธรรม | 30% - 35% |
2 | เริ่มด าเนินการพัฒนาด้านนี้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ทั่วทั้งระบบ | 27% - 30% |
3 | มีการพัฒนาด้านนี้อยู่ในแผนงานปกติ | 25% - 27% |
4 | มีการพัฒนาด้านนี้มากในระดับหนึ่งแล้ว | 23% - 25% |
5 | มีการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบันในระดับแนวหน้าของโลก | น้อยกว่า 23% |
จากตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนาที่แสดงไว้ข้างต้นจะได้ว่า เป้าหมายระดับการพัฒนา
ของผลต่างระหว่างโหลดค่ายอด (Peak load) กับโหลดค่าฐานเทียบกับโหลดค่าฐานที่ศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า มองเห็นภายใต้โครงการระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในแต่ละกรณี เป็นดังนี้
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): | 26.4 % | (Best case) |
| 27.0 % | (Moderate case) |
| 29.1 % | (Worst case) |
สัดส่วนก าลังผลิตส ารองสูงสุดในการปฏิบัติการ (Maximum Operation reserve) [หน่วย: %] (KAI Code: %OpRsv)
เป้าประสงค์: เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการก าลังผลิตหลักของประเทศ
ค าอธิบาย:
ก าลังผลิตส ารองในการปฏิบัติการ (Operation reserve) โดยเฉพาะ Spinning reserve มีไว้เพื่อ
ช่วยรักษาเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าเนื่องจากสามารถตอบสนองการเพิ่มหรือลดก าลังการผลิตได้อย่างรวดเร็ว เมื่อความต้องการไฟฟ้าโดยรวมเปลี่ยนแปลงขึ้นลงอย่างทันทีทันใด อย่างไรก็ดี การมีก าลังผลิตส ารองส่วนนี้จะ ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเปรียบเสมือนเป็นการเดินเครื่องก าเนิดไฟฟ้าเฉยๆโดย ไม่ได้ท าการจ่ายโหลด เทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดสามารถช่วยท าให้ศูนย์ควบคุมระบบก าลังไฟฟ้า สามารถลดสัดส่วนของ Spinning reserve ได้โดยการท างานผสมผสานกันของระบบพยากรณ์โหลดและก าลัง ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานเหมุนเวียนได้อย่างแม่นย าล่วงหน้า การพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานที่สามารถ ตอบสนองได้อย่างรวดเร็วทดแทน Spinning reserve ได้บางส่วน การมีกลไก Demand response เพื่อเสริม การท างานกับ Spinning reserve และการมีระบบ WAMS/WAPC เพื่อช่วยเพิ่มสมรรถนะในการรักษา เสถียรภาพของระบบโดยการปรับเปลี่ยนทิศทางและปริมาณการส่งจ่ายก าลังไฟฟ้าไปยังส่วนต่างๆของระบบ โครงข่าย
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน (Existing): 1.5
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 3.3 (Best case)
3.0 (Moderate case)
2.0 (Worst case)
การแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา โดยทั่วไปอ้างอิงตามแผน PDP2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 ก าลังผลิตส ารองในเชิงการวางแผน ก าหนดไว้ไม่ต่ ากว่า 15% และเมื่ออ้างอิงข้อมูลในเชิงปฏิบัติการจากศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า คาดว่าสัดส่วน ก าลังผลิตส ารองในการปฏิบัติการสูงสุดน่าจะมีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 15% - 20% เช่นกัน ทั้งนี้ เมื่อมีการ ประยุกต์เทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดเพื่อเพิ่มสมรรถนะของระบบจัดการพลังงาน (EMS) ของศูนย์ ควบคุมระบบไฟฟ้าแล้ว โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้ระบบกักเก็บพลังงานที่ตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว และหาก มีการใช้งาน Demand Response ได้อย่างเต็มที่ คาดว่ากรณีดีที่สุดในระดับสากลน่าจะลดสัดส่วนของก าลัง ผลิตส ารองในการปฏิบัติการสูงสุดลงได้เหลืออยู่ที่ประมาณ 3% หรือต่ ากว่า โดยเทียบเคียงได้กับมาตรฐาน ความแม่นย าในการพยากรณ์โหลดรายชั่วโมง ส าหรับในประเทศไทย เมื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของการน าเทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ท
กริดมาใช้ในอีก 20 ปีข้างหน้า (ถึงปี ค.ศ. 2036) คาดว่าน่าจะลดสัดส่วนก าลังผลิตส ารองในการปฏิบัติการ สูงสุดลงไปที่ระดับต่ ากว่า 10% ได้ ดังนั้นในเบื้องต้น เมื่อพิจารณาว่าก าลังผลิตส ารองในการปฏิบัติการสูงสุดที่
15% - 20% เทียบเท่าระดับการพัฒนา 1.5 และหากก าหนดเป้าหมายของก าลังผลิตส ารองในการปฏิบัติการ สูงสุดที่ต่ าว่า 3% เป็นเกณฑ์ระดับการพัฒนาที่ดีในระดับแนวหน้าที่ระดับ 5 คะแนนแล้ว การแปลผลระดับ การพัฒนาของสัดส่วนก าลังผลิตส ารองในการปฏิบัติการ (Operation reserve) เมื่อคิดเฉพาะ Spinning reserve ภายใต้โครงการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด จึงเป็นดังตาราง
ตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา
ระดับการพัฒนา | ความหมาย | %OpRsv |
0 | ไม่มีแผนเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบัน | 20% ขึ้นไป |
1 | มีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่ม ด าเนินการเป็นรูปธรรม | 15% - 20% |
2 | เริ่มด าเนินการพัฒนาด้านนี้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ทั่วทั้งระบบ | 10% - 15% |
3 | มีการพัฒนาด้านนี้อยู่ในแผนงานปกติ | 5% - 10% |
4 | มีการพัฒนาด้านนี้มากในระดับหนึ่งแล้ว | 3% - 5% |
5 | มีการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบันในระดับแนวหน้าของโลก | น้อยกว่า 3% |
จากตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนาที่แสดงไว้ข้างต้นจะได้ว่า เป้าหมายระดับการพัฒนา
ของสัดส่วนก าลังผลิตส ารองในการปฏิบัติการ (Operation reserve) เมื่อคิดเฉพาะ Spinning reserve ภายใต้โครงการระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในแต่ละกรณี เป็นดังนี้
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 8.5 % (Best case)
10.0 % (Moderate case)
15.0 % (Worst case) สัดส่วนพลังงานไฟฟ้าสูญเสียในระบบส่งและระบบจ าหน่าย [หน่วย: %] (KAI Code: %Loss)
เป้าประสงค์: เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานปฐมภูมิในการผลิตไฟฟ้า
ค าอธิบาย:
การพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดด้วยการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมในระบบส่งและระบบจ าหน่าย
เช่น การติดตั้งอุปกรณ์ EHV/FACTS ในระบบส่ง/ระบบจ าหน่าย การติดตั้งระบบ Energy Management System (EMS) ในระบบส่งหรือระบบDistribution Management System (DMS) ในระบบจ าหน่าย การ ติดตั้งสมาร์ทมิเตอร์ (Smart Meter) พร้อมระบบ AMR/AMI ในส่วนของผู้ใช้ และอาจรวมถึงการติดตั้งระบบ Intelligent Street Lights เป็นต้น จะช่วยท าให้ประสิทธิภาพการใช้พลังงานปฐมภูมิในการผลิตไฟฟ้าของ ประเทศเพิ่มขึ้นได้ โดยจะน าไปสู่การลดลงของพลังงานไฟฟ้าสูญเสียทั้งทางด้านเทคนิค (Technical loss) และพลังงานไฟฟ้าสูญเสียที่ไม่ใช่ทางด้านเทคนิค (Nontechnical loss) และสามารถคาดหวังถึงการปรับปรุง ของสัดส่วนพลังงานไฟฟ้าสูญเสียในระบบส่งและระบบจ าหน่ายได้
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน (Existing): | 2.0 | |
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): | 3.7 | (Best case) |
| 3.2 | (Moderate case) |
| 2.7 | (Worst case) |
การแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา เนื่องจากในสถานการณ์ปัจจุบัน พลังงานไฟฟ้าสูญเสียในระบบส่งไม่ได้เป็นปัญหามากเหมือนในระบบ
จ าหน่าย จึงก าหนดให้การวัดสัมฤทธิผลของการด าเนินกิจกรรมเพื่อปรับปรุงสัดส่วนพลังงานไฟฟ้าสูญเสียเน้น ที่การลดพลังงานไฟฟ้าสูญเสียในระบบจ าหน่ายเป็นส าคัญ แต่หากในอนาคต ถ้าสถานการณ์ของพลังงานไฟฟ้า สูญเสียในระบบส่งเปลี่ยนแปลงไปอาจจะสามารถพิจารณาให้ความส าคัญกับระบบส่งเป็นพิเศษได้ ตามหลักวิชาการทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า โดยปกติแล้ว พลังงานไฟฟ้าสูญเสียในระบบไฟฟ้าที่
ออกแบบถูกต้องตามหลักวิศวกรรมไฟฟ้าควรมีค่าไม่เกิน 3% - 4% อย่างไรก็ดี ในระบบจ าหน่ายไฟฟ้าจะมี พลังงานไฟฟ้าสูญเสียส่วนหนึ่งที่เรียกว่าพลังงานไฟฟ้าสูญเสียที่ไม่ใช่ทางด้านเทคนิค (Nontechnical loss) ซึ่ง มีสาเหตุหลักเกิดจาก การลักลอบใช้ไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้าสูญเสียที่จุดเชื่อมต่อ มิเตอร์ช ารุด ฯลฯ การพัฒนา ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดด้วยการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมในระบบส่งและระบบจ าหน่ายจะช่วยลดพลังงาน ไฟฟ้าสูญเสียในส่วนนี้ได้โดยตรง จากการศึกษาเรื่อง Indian Power Supply Position 2010 โดย Center for Study of Science, Technology and Policy (CSTEP) ได้รายงานไว้ว่า ระบบไฟฟ้าที่มีพลังงานไฟฟ้าสูญเสียต่ าที่สุดในโลกคือ ระบบไฟฟ้าของประเทศเกาหลีซึ่งอยู่ที่ต่ ากว่า 4% ส่วนพลังงานไฟฟ้าสูญเสียเฉลี่ยของประเทศสหรัฐอเมริกา อยู่ที่ 7% ส าหรับเกณฑ์เป้าหมายการประเมินพลังงานไฟฟ้าสูญเสียระดับปกติของ TRIS ที่ใช้ประเมินการ ไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่ายของไทยจะมีค่าอยู่ที่ประมาณ 5% ดังนั้นในเบื้องต้น เมื่อพิจารณาว่าสัดส่วนพลังงานไฟฟ้า สูญเสียในระบบจ าหน่ายที่ 5% เทียบเท่าระดับการพัฒนา 2.0 และหากก าหนดเป้าหมายของสัดส่วนพลังงาน ไฟฟ้าสูญเสียในระบบจ าหน่ายที่ต่ าว่า 2.5% เป็นเกณฑ์ระดับการพัฒนาที่ดีในระดับแนวหน้าที่ระดับ 5 คะแนนแล้ว การแปลผลระดับการพัฒนาของสัดส่วนพลังงานไฟฟ้าสูญเสียในระบบจ าหน่ายภายใต้โครงการ ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจึงเป็นดังตาราง
ตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา
ระดับการพัฒนา | ความหมาย | %Loss |
0 | ไม่มีแผนเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบัน | 10% ขึ้นไป |
1 | มีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่ม ด าเนินการเป็นรูปธรรม | 5% - 10% |
2 | เริ่มด าเนินการพัฒนาด้านนี้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ทั่วทั้งระบบ | 4% - 5% |
3 | มีการพัฒนาด้านนี้อยู่ในแผนงานปกติ | 3% - 4% |
4 | มีการพัฒนาด้านนี้มากในระดับหนึ่งแล้ว | 2.5% - 3% |
5 | มีการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบันในระดับแนวหน้าของโลก | น้อยกว่า 2.5% |
จากตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนาที่แสดงไว้ข้างต้นจะได้ว่า เป้าหมายระดับการพัฒนา
ของสัดส่วนพลังงานไฟฟ้าสูญเสียในระบบจ าหน่ายภายใต้โครงการระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในแต่ละกรณี เป็นดังนี้
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 3.3 % (Best case)
3.8 % (Moderate case)
4.3 % (Worst case) สัดส่วนของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อน ร่วม (Cogeneration, CCHP) ต่อพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้โดยรวม [หน่วย: %] (KAI Code: %CCHP)
เป้าประสงค์: เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานปฐมภูมิในการผลิตไฟฟ้า
ค าอธิบาย:
เป้าหมายหลักที่ส าคัญของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดคือ การพยายามให้มีการใช้พลังงาน
อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อนร่วม รวมถึงระบบผลิตความเย็น (CCHP) เป็น เทคโนโลยีที่สามารถเข้ามาผสานกับการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดเพื่อช่วยส่งเสริมการใช้พลังงานอย่าง มีประสิทธิภาพได้ นโยบายการสนับสนุนจากภาครัฐให้เกิดการพัฒนาระบบ Microgrid การสนับสนุนให้มีการ ใช้งาน HEMS/BEMS/FEMS รวมถึงการติดตั้งระบบ SPP/VSPP Data Communication System และ Microgrid Development จะช่วยให้เกิดการใช้งานระบบ CCHP ได้มากขึ้นในอนาคต
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน (Existing): 1.8
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 3.5 (Best case)
3.2 (Moderate case)
2.7 (Worst case)
การแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา ตามแผน PDP2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 ซึ่งรวมผลการเพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงาน
ไฟฟ้าที่สอดคล้องกับแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (พ.ศ. 2554 – 2579) ของกระทรวงพลังงาน จะพบว่าสัดส่วน พลังงานไฟฟ้าจากระบบ CCHP จะเพิ่มจาก 7% ในปี 2555 เป็น 13% ในปี 2563 และลดลงเหลือ 10% ในปี 2579 อย่างไรก็ดี หากมีการพัฒนาโครงการระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดขึ้น จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา เทคโนโลยีเพื่อรองรับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ จากเอกสารการศึกษาเรื่อง Powering Progress in Combined Heat and Power (CHP) โดย U.S. Department of Energy: Industrial Technologies Program ได้รายงานไว้ว่าประเทศที่มีสัดส่วนการใช้งาน CHP สูงที่สุดคือประเทศเดนมาร์กซึ่งมีสัดส่วนมากกว่า 50% รองลงมาคือ ประเทศ ฟินแลนด์ รัสเซีย ลัตเวียร์ อยู่ในช่วง 30% - 40% ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกามีแผนที่จะเพิ่มสัดส่วนของการใช้งานระบบ CHP เป็น 20% ภายในปี 2036 ดังนั้น ในเบื้องต้น เมื่อพิจารณาว่าสัดส่วนของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบผลิตพลังงาน ไฟฟ้าและความร้อนร่วมที่ประมาณ 7% เทียบเท่าระดับการพัฒนา 1.8 และหากก าหนดเป้าหมายของสัดส่วน ของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อนร่วมที่มากกว่า 25% เป็นเกณฑ์ระดับการ พัฒนาที่ดีในระดับแนวหน้าที่ระดับ 5 คะแนนแล้ว การแปลผลระดับการพัฒนาของสัดส่วนของพลังงานไฟฟ้าที่ ผลิตได้จากระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อนร่วมภายใต้โครงการระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจึงเป็นดัง ตาราง
ตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา
ระดับการพัฒนา | ความหมาย | %CCHP |
0 | ไม่มีแผนเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบัน | 0% |
1 | มีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่ม ด าเนินการเป็นรูปธรรม | น้อยกว่า 10% |
2 | เริ่มด าเนินการพัฒนาด้านนี้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ทั่วทั้งระบบ | 10% - 15% |
3 | มีการพัฒนาด้านนี้อยู่ในแผนงานปกติ | 15% - 20% |
4 | มีการพัฒนาด้านนี้มากในระดับหนึ่งแล้ว | 20% - 25% |
5 | มีการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบันในระดับแนวหน้าของโลก | มากกว่า 25% |
จากตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนาที่แสดงไว้ข้างต้นจะได้ว่า เป้าหมายระดับการพัฒนา ของสัดส่วนของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อนร่วมภายใต้โครงการระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริดในแต่ละกรณี เป็นดังนี้
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 17.5 % (Best case)
16.0 % (Moderate case)
13.5 % (Worst case) สัดส่วนของผลรวมพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ภายในไมโครกริด (Microgrid) ต่อ
พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้โดยรวม [หน่วย: %] (KAI Code: %Microgrid)
เป้าประสงค์: การพัฒนาและใช้งานระบบไฟฟ้าแบบไมโครกริด (Microgrid)
ค าอธิบาย:
หลักการส าคัญของการผลิตไฟฟ้าด้วยไมโครกริดคือการสร้างสมดุลระหว่างการผลิตไฟฟ้าจากระบบ
ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กซึ่งอาจเป็นการผสมผสานระหว่าง ระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อน (CCHP) และ แหล่งก าเนิดพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Source) และระบบไฟฟ้าหลัก (Main grid) ให้พอดีกับ ภาระทางไฟฟ้าภายในไมโครกริด แนวคิดนี้ จะอนุญาตให้ผู้ใช้และผู้ผลิตไฟฟ้าภายในไมโครกริดสามารถผลิต และใช้ไฟฟ้าในขณะที่มีการเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าหลักหรือไมโครกริดอื่นได้ ทั้งนี้ การเปลี่ยนเชื้อเพลิงไปเป็น ทั้งพลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนจะท าให้ประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงขึ้น และเมื่อแหล่งผลิตไฟฟ้า ขนาดเล็กเป็นเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานหมุนเวียนก็จะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย นโยบายจากภาครัฐ เช่น การสนับสนุนให้มีการใช้งาน HEMS/BEMS/FEMS การสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบ Microgrid และ โครงการ Microgrid Development จะช่วยเพิ่มสัดส่วนของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ภายในไมโครกริดภายใต้ โครงการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดได้
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน (Existing): 1.0
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 3.1 (Best case)
2.5 (Moderate case)
2.0 (Worst case)
การแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา เนื่องจากในปัจจุบัน เทคโนโลยีระบบไมโครกริดยังอยู่ในขั้นทดสอบ มีเพียงบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น
เกาหลี และสหรัฐอเมริกา ที่มีการทดสอบระบบไมโครกริดในระดับก้าวหน้า และมีระบบทดสอบขนาดใหญ่ใน ระดับชุมชน หรือระดับเกาะ ส าหรับในประเทศไทยในปัจจุบัน วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับความช่วยเหลือจาก NEDO ประเทศญี่ปุ่น ในการก่อสร้างและติดตั้งระบบต่อเชื่อมเครือข่ายไฟฟ้า พลังงานทดแทน (PV Micro Grid) โดยการต่อเชื่อมเป็นพลังงานชุมชนและต่อเชื่อมกับระบบสายส่งของ ประเทศ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้เริ่มด าเนินการศึกษาโครงการระบบไมโครกริด ที่เกาะกูด และที่ อ.แม่สะ เรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของการน าเทคโนโลยีไมโครกริดมาใช้ในอีก 20 ปีข้างหน้า (ปี 2036) ซึ่งจะเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในอนาคต ในเบื้องต้น การแปลผลระดับการพัฒนาของ สัดส่วนของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ภายในไมโครกริดภายใต้โครงการระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดอาจก าหนดได้ ดังตาราง
ตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา
ระดับการพัฒนา | ความหมาย | %Microgrid |
0 | ไม่มีแผนเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบัน | 0% |
1 | มีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่ม ด าเนินการเป็นรูปธรรม | น้อยกว่า 1% |
2 | เริ่มด าเนินการพัฒนาด้านนี้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ทั่วทั้งระบบ | 1% - 3% |
3 | มีการพัฒนาด้านนี้อยู่ในแผนงานปกติ | 3% - 5% |
4 | มีการพัฒนาด้านนี้มากในระดับหนึ่งแล้ว | 5% - 10% |
5 | มีการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบันในระดับแนวหน้าของโลก | มากกว่า 10% |
จากตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนาที่แสดงไว้ข้างต้นจะได้ว่า เป้าหมายระดับการพัฒนา
ของสัดส่วนของสัดส่วนของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ภายในไมโครกริดภายใต้โครงการระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด ในแต่ละกรณี เป็นดังนี้
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 3.2 % (Best case)
2.0 % (Moderate case)
1.0 % (Worst case)
จ านวนครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับ [หน่วย: ครั้งต่อปี] (KAI Code: SAIFI3)
เป้าประสงค์: การให้บริการผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ค าอธิบาย:
การปรับปรุงระดับความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าโดยการลดจ านวนครั้งที่เกิดไฟฟ้าดับเป็น
เป้าประสงค์ที่ส าคัญประการหนึ่งของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอนาคตซึ่งมี แนวโน้มของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเข้ามาในระบบมากขึ้น การสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบ ไมโครกริด (Microgrid) การใช้งานเทคโนโลยีสายป้อนไฟฟ้าอัตโนมัติ (Distribution/Feeder Automation) การใช้งานเทคโนโลยีสถานีไฟฟ้าอัตโนมัติ (Substation Automation) และอื่นๆ ล้วนเป็นการช่วยลดโอกาส ในการเกิดไฟฟ้าดับทั้งสิ้น ด้วยเทคโนโลยีอัตโนมัติเหล่านี้จะส่งผลให้เมื่อเกิดเหตุขัดข้องในระบบไฟฟ้า ระบบจะ สามารถจ ากัดบริเวณการเกิดเหตุขัดข้องให้มีผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับผลกระทบน้อยลงได้ ส่งผลให้จ านวนครั้งเฉลี่ยที่ เกิดไฟฟ้าดบั ต่อผู้ใช้ไฟฟ้าลดลง ในส่วนสุดท้าย เทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดที่เกี่ยวกับระบบเซนเซอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถท างานในลักษณะการตรวจวัดและควบคุม (Monitor and control) ท าให้ระบบ ไฟฟ้าอยู่ในสภาวะการท างานที่สมดุลและบรรเทาความเสียหายจากการเกิดเหตุขัดข้องทางไฟฟ้าได้ทันท่วงที
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน (Existing): 1.9
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 3.7 (Best case)
3.3 (Moderate case)
2.7 (Worst case)
การแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา จากการส ารวจข้อมูลจ านวนครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับในประเทศต่างๆ ที่ได้รับการพัฒนาระบบไฟฟ้า
เป็นอย่างดี ซึ่งรวบรวมจากเอกสารหลักเรื่อง Electricity Reliability: Problems, Progress and Policy Solution โดย Galvin Electricity Initiative และจากอีกหลายๆบทความในปีใกล้เคียงกัน จะพบว่า จ านวน ครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับเฉลี่ยของกลุ่มประเทศตัวอย่างทั้งหมดมีค่าประมาณ 2.02 ครั้งต่อรายต่อปี ส าหรับ ระบบไฟฟ้าของประเทศไทย ที่ปรึกษาท าการประเมินจ านวนครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับรวมของทั้งระบบจ าหน่าย โดยอาศัยข้อมูลจ านวนการเกิดไฟฟ้าดับและจ านวนผู้ใช้ไฟฟ้าในปี 2552 ของการไฟฟ้าทั้งสองแห่งในการ ประเมิน ซึ่งจะพบว่า จ านวนครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับรวมของทั้งประเทศมีค่าเท่ากับ 8.21 ครั้งต่อรายต่อปี เมื่อพิจารณาข้อมูลตัวอย่างในรายละเอียด ประเทศที่มีจ านวนครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับต่ าที่สุดคือ
ประเทศสิงคโปร์ โดยมีค่าเฉลี่ยประมาณ 0.04 ครั้งต่อรายต่อปี ในขณะที่ประเทศมาเลเซียมีจ านวนครั้งเฉลี่ยที่ เกิดไฟฟ้าดับต่ ากว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศตัวอย่างที่ประมาณ 1.69 ครั้งต่อรายต่อปี นอกจากนี้ยังพบว่า ประเทศในกลุ่มตัวอย่าง 25% แรก มีจ านวนครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับไม่เกิน 0.65 ครั้งต่อรายต่อปี และ ประมาณกึ่งหนึ่งของประเทศในกลุ่มตัวอย่างมีจ านวนครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับ 1.50 ครั้งต่อรายต่อปี ดังนั้นใน เบื้องต้น เมื่อพิจารณาว่าจ านวนครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับของประเทศไทยในปัจจุบันที่ 8.21 ครั้งต่อรายต่อปี เทียบเท่าระดับการพัฒนา 1.9 และหากก าหนดเป้าหมายของจ านวนครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับที่ต่ ากว่า 0.65 ครั้งต่อรายต่อปี เป็นเกณฑ์ระดับการพัฒนาที่ดีในระดับโลกที่ระดับ 5 คะแนนแล้ว การแปลผลระดับการ พัฒนาของจ านวนครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับภายใต้โครงการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจึงเป็นดังตาราง
ตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา
ระดับการพัฒนา | ความหมาย | SAIFI (ครั้งต่อรายต่อปี) |
0 | ไม่มีแผนเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบัน | มากกว่า 13.00 |
1 | มีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่ม ด าเนินการเป็นรูปธรรม | 7.00 – 13.00 |
2 | เริ่มด าเนินการพัฒนาด้านนี้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ทั่วทั้งระบบ | 5.00 – 7.00 |
3 | มีการพัฒนาด้านนี้อยู่ในแผนงานปกติ | 2.50 - 5.00 |
4 | มีการพัฒนาด้านนี้มากในระดับหนึ่งแล้ว | 0.65 - 2.50 |
5 | มีการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบันในระดับแนวหน้าของโลก | ต่ ากว่า 0.65 |
จากตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนาที่แสดงไว้ข้างต้นจะได้ว่า เป้าหมายระดับการพัฒนา
ของจ านวนครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับภายใต้โครงการระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในแต่ละกรณี เป็นดังนี้
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 3.25 ครั้งต่อรายต่อปี (Best case)
4.25 ครั้งต่อรายต่อปี (Moderate case)
5.60 ครั้งต่อรายต่อปี (Worst case) ระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับ [หน่วย: นาทีต่อปี] (KAI Code: SAIDI3)
เป้าประสงค์: การให้บริการผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ค าอธิบาย:
การปรับปรุงระดับความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าโดยการลดระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับเป็น
เป้าประสงค์หลักที่ส าคัญที่สุดของยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับความเชื่อถือได้ภายใต้โครงการพัฒนาระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอนาคตซึ่งมีแนวโน้มของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเข้ามา ในระบบมากขึ้น การสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบไมโครกริด (Microgrid) การพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) การใช้งานเทคโนโลยีสายป้อนไฟฟ้าอัตโนมัติ (Distribution/Feeder Automation) การใช้งานเทคโนโลยีสถานีไฟฟ้าอัตโนมัติ (Substation Automation) และอื่นๆ ล้วนเป็นการ ช่วยลดระยะเวลาในการเกิดไฟฟ้าดับทั้งสิ้น ด้วยเทคโนโลยีอัตโนมัติเหล่านี้จะส่งผลให้เมื่อเกิดเหตุขัดข้องใน ระบบไฟฟ้า ระบบจะสามารถจ ากัดบริเวณการเกิดเหตุขัดข้องให้มีผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับผลกระทบน้อยลงได้ ส่งผลให้ ระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับต่อผู้ใช้ไฟฟ้าลดลง ในส่วนสุดท้าย เทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดที่ เกี่ยวกับระบบเซนเซอร์และอิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถท างานในลักษณะการตรวจวัดและควบคุม (Monitor and control) ท าให้ระบบไฟฟ้าอยู่ในสภาวะการท างานที่สมดุลและบรรเทาความเสียหายจากการเกิด เหตุขัดข้องทางไฟฟ้าได้ทันท่วงที
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน (Existing): 1.8
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 3.7 (Best case)
3.2 (Moderate case)
2.6 (Worst case)
การแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา จากการส ารวจข้อมูลระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับในประเทศต่างๆ ที่ได้รับการพัฒนาระบบไฟฟ้า
เป็นอย่างดี ซึ่งรวบรวมจากเอกสารหลักเรื่อง Electricity Reliability: Problems, Progress and Policy Solution โดย Galvin Electricity Initiative และจากอีกหลายๆบทความในปีใกล้เคียงกัน จะพบว่า ระยะเวลาที่เกิดไฟฟ้าดับเฉลี่ยของกลุ่มประเทศตัวอย่างทั้งหมดมีค่าประมาณ 117.42 นาทีต่อรายต่อปี ส าหรับ ระบบไฟฟ้าของประเทศไทย ที่ปรึกษาท าการประเมินระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับรวมของทั้งระบบจ าหน่าย โดยอาศัยข้อมูลระยะเวลาการเกิดไฟฟ้าดับและจ านวนผู้ใช้ไฟฟ้าในปี 2552 ของการไฟฟ้าทั้งสองแห่งในการ ประเมิน ซึ่งจะพบว่า ระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับรวมของทั้งประเทศมีค่าเท่ากับ 326.86 นาทีต่อรายต่อปี เมื่อพิจารณาข้อมูลตัวอย่างในรายละเอียด ประเทศที่มีระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับต่ าที่สุดคือ
ประเทศสิงคโปร์ โดยมีค่าเฉลี่ยประมาณ 0.76 นาทีต่อรายต่อปี ในขณะที่ประเทศมาเลเซียมีระยะเวลาเฉลี่ยที่ เกิดไฟฟ้าดับประมาณ 167.60 นาทีต่อรายต่อปี นอกจากนี้ยังพบว่า ประเทศในกลุ่มตัวอย่าง 25% แรก มี ระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับไม่เกิน 60 นาทีต่อรายต่อปี และประมาณกึ่งหนึ่งของประเทศในกลุ่มตัวอย่างมี ระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับ 82 นาทีต่อรายต่อปี ดังนั้นในเบื้องต้น เมื่อพิจารณาว่าระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิด ไฟฟ้าดับของประเทศไทยที่ 326.86 นาทีต่อรายต่อปีในปัจจุบันเทียบเท่าระดับการพัฒนา 1.8 และหาก ก าหนดเป้าหมายของจ านวนครั้งเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับที่ต่ ากว่า 60 นาทีต่อรายต่อปี เป็นเกณฑ์ระดับการพัฒนา ที่ดีในระดับโลกที่ระดับ 5 คะแนนแล้ว การแปลผลระดับการพัฒนาของระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับภายใต้ โครงการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจึงเป็นดังตาราง
ตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา
ระดับการพัฒนา | ความหมาย | SAIDI (นาทีต่อรายต่อปี) |
0 | ไม่มีแผนเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบัน | มากกว่า 400 |
1 | มีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่ม ด าเนินการเป็นรูปธรรม | 300 - 400 |
2 | เริ่มด าเนินการพัฒนาด้านนี้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ทั่วทั้ง ระบบ | 200 - 300 |
3 | มีการพัฒนาด้านนี้อยู่ในแผนงานปกติ | 100 -200 |
4 | มีการพัฒนาด้านนี้มากในระดับหนึ่งแล้ว | 60 - 100 |
5 | มีการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบันในระดับแนวหน้าของโลก | ต่ ากว่า 60 |
จากตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนาที่แสดงไว้ข้างต้นจะได้ว่า เป้าหมายระดับการพัฒนา
ของระยะเวลาเฉลี่ยที่เกิดไฟฟ้าดับภายใต้โครงการระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในแต่ละกรณี เป็นดังนี้
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 130 นาทีต่อรายต่อปี (Best case)
180 นาทีต่อรายต่อปี (Moderate case)
240 นาทีต่อรายต่อปี (Worst case)
ดัชนีชี้วัดสัมฤทธิผล: จ านวนมิเตอร์แบบอัตโนมัติต่อจ านวนมิเตอร์ทั้งหมดในระบบจ าหน่าย
[หน่วย: %] (KAI Code: %SmtMt)
เป้าประสงค์: การบริการผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างถูกต้องและโปร่งใส
ค าอธิบาย:
มิเตอร์แบบอัตโนมัติในที่นี้หมายถึงมิเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณสมบัติทางด้านการสื่อสารอย่างน้อย
ที่สุด คือ เป็นมิเตอร์ที่การไฟฟ้าสามารถจดหน่วยไฟฟ้า (kWh) ได้จากทางไกลผ่านระบบสื่อสาร โดยที่ไม่ต้อง ส่งพนักงานไปจดหน่วยไฟฟ้าที่ตัวมิเตอร์ซึ่งมีความหมายรวมถึงสมาร์ทมิเตอร์ (Smart Meter) และระบบ มิเตอร์อัตโนมัติ ในปัจจุบันมีมิเตอร์ไฟฟ้าทั่วประเทศประมาณ 18 ล้านตัว และเกือบทั้งหมดเป็นมิเตอร์ไฟฟ้าที่การจด หน่วยไฟฟ้าท าได้วิธีเดียว คือ ส่งพนักงานไปจดหน่วยที่ไฟฟ้าตัวมิเตอร์ (มิเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องส่งพนักงาน ไปจดหน่วยไฟฟ้าที่ตัวมิเตอร์ ไม่ถือว่าเป็นมิเตอร์แบบอัตโนมัติ) ดังนั้น หากสมมุติว่าการไฟฟ้าต้องการจดหน่วย ไฟฟ้าที่มิเตอร์ทุกตัวพร้อมกันในวันสุดท้ายของเดือน และสมมุติว่าพนักงานคนหนึ่งจดหน่วยไฟฟ้าได้ 200 ตัว/ วัน (เพื่อความถูกต้องในการจดหน่วยไฟฟ้า) ก็หมายความว่าต้องใช้พนักงานถึง 90,000 คน ซึ่งเป็นไปได้ยาก ในทางปฏิบัติ และถ้าเร่งให้พนักงานคนหนึ่งจดหน่วยไฟฟ้าได้ 1000 ตัว/วัน (ความถูกต้องในการจดหน่วย ไฟฟ้าลดลง) ก็หมายความว่าต้องใช้พนักงาน 18,000 คน ซึ่งก็ยังมากอยู่ดี วิธีที่ใช้ในการลดจ านวนพนักงานใน การจดหน่วยในปัจจุบัน คือ การให้พนักงานออกไปจดหน่วยไฟฟ้าไม่พร้อมกันในวันสิ้นเดือน ซึ่งก็เป็นการ ก่อให้เกิดปัญหาในทางเทคนิคอื่นๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นการที่การไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่ายไม่สามารถการประเมิน หน่วยขายของตนเองอย่างแม่นย าได้เนื่องจากหน่วยไฟฟ้าที่จดมาเป็นคนละเวลากันท าให้ไม่สามารถรับรู้รายได้ ณ เวลาใดๆ อย่างแม่นย าได้ หรือท าให้ไม่สามารถประเมินหน่วยสูญเสียในระบบของตนเองได้ เนื่องจากหน่วย ซื้อจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และหน่วยขายในระบบของตนถูกบันทึกที่คนละเวลากัน เป็นต้น วิธีที่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าว คือ การใช้มิเตอร์อัตโนมัติร่วมกับสาธารณูปโภคในการวัดชั้นสูง (Advance Metering Infrastructure; AMI) ที่เหมาะสม เพราะนอกจากการไฟฟ้าจะสามารถจดหน่วยการใช้ ไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วและท าได้เกือบพร้อมๆ กันทั่วประเทศในเวลาเดียวกันแล้ว ปัญหาการเร่งรีบจดหน่วยหรือ การจดหน่วยผิดพลาดก็จะลดน้อยลง และที่ส าคัญที่สุดก็คือ เราทราบกันดีว่ามิเตอร์อัตโนมัติสามารถวัดหน่วย ไฟฟ้าได้แม่นย ากว่ามิเตอร์ทางกล และทนทานกว่า เพราะไม่มีส่วนเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่ามิเตอร์ อัตโนมัติโดยเฉพาะสมาร์ทมิเตอร์ต้องได้รับการออกแบบให้ทนต่อสภาพแวดล้อมของเมืองไทยได้เป็นอย่างดี ดังนั้น จ านวนสมาร์ทมิเตอร์ ที่เพิ่มขึ้นในระบบ นอกจะท าให้การบริการผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นไปอย่างแม่นย า
ถูกต้องและโปร่งใสแล้ว ยังจะเป็นประโยชน์ต่อการไฟฟ้าเองอีกด้วย
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน (Existing): | 1.4 | |
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): | 3.6 | (Best case) |
| 3.3 | (Moderate case) |
| 2.7 | (Worst case) |
การแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา ในระดับนานาชาติ EU ได้ตั้งเป้าหมายให้มีสมาร์ทมิเตอร์ 80% ในปี 2020 (ส าหรับประเทศอื่นยังไม่
พบตัวเลขที่แน่นอน) ส าหรับประเทศของเรา การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้จัดท าแผนที่น า ทางด้านระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดขึ้นมาแล้วโดยมีแผนงานหลักส่วนหนึ่งคือ การติดตั้งสมาร์ทมิเตอร์ ดังนั้น การแปลผลจึงควรยึดแผนงานของการไฟฟ้าเป็นเกณฑ์ อย่างไรก็ดี แม้ว่าในที่สุดแล้ว รัฐบาลจะสนับสนุนให้มี การพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในประเทศหรือไม่ ในระยะยาว การไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่ายก็ควรติดตั้งมิเตอร์ อัตโนมัติโดยเฉพาะสมาร์ทมิเตอร์ให้ผู้ใช้ทุกรายเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้ไฟฟ้า ทั้งนี้เพราะค่าใช้จ่ายด้าน ระบบสื่อสารมีแนวโน้มที่จะถูกลงเรื่อยๆ ในอนาคต เพราะทุกคนในประเทศต้องการบริโภคข้อมูลข่าวสารต่างๆ มากขึ้น และข้อมูลที่ต้องการได้รับก็มักเป็นแบบ real-time การสื่อสารระหว่างสมาร์ทมิเตอร์กับการไฟฟ้าจึง อาจใช้ช่องทางดังกล่าวได้ ทั้งนี้ เพื่อให้การด าเนินการลงทุนติดตั้งมิเตอร์อัตโนมัติโดยเฉพาะสมาร์ทมิเตอร์ของ การไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่ายในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดมีความคุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ อาจยังไม่มีความจ าเป็นต้องท าการเปลี่ยนมิเตอร์ของผู้ใช้ไฟฟ้ารายเล็กมากโดยเฉพาะผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีหน่วยการใช้ น้อยกว่า 90 หน่วยต่อเดือนให้เป็นมิเตอร์อัตโนมัติ ดังนั้น ในการประเมินระดับการพัฒนาในหัวข้อนี้ สัดส่วน จ านวนมิเตอร์อัตโนมัติที่ถูกประเมินจะค านวณจากผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งหมดที่ไม่รวมผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีหน่วยการใช้น้อยกว่า
90 หน่วยต่อเดือน ดังนั้นในเบื้องต้น หากก าหนดเป้าหมายของจ านวนมิเตอร์แบบอัตโนมัติต่อจ านวนมิเตอร์ทั้งหมดใน
ระบบจ าหน่ายที่มากกว่า 90% เป็นเกณฑ์ระดับการพัฒนาที่ดีในระดับโลกที่ระดับ 5 คะแนนแล้ว การแปลผล ระดับการพัฒนาของจ านวนมิเตอร์แบบอัตโนมัติต่อจ านวนมิเตอร์ทั้งหมดในระบบจ าหน่ายภายใต้โครงการ พัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจึงเป็นดังตาราง
ตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา
ระดับการพัฒนา | ความหมาย | สัดส่วนจ านวนมิเตอร์ อัตโนมัติ (%) |
DL0 | ไม่มีแผนการใช้มิเตอร์อัตโนมัติ/อัจฉริยะ | 0% |
DL1 | มีการติดตั้งมิเตอร์อัตโนมัติ/อัจฉริยะ ไปบ้างแล้ว | น้อยกว่า 10% |
DL2 | เริ่มด าเนินการติดตั้งมิเตอร์อัตโนมัติ/อัจฉริยะ อย่างเป็นรูปธรรม | 10% - 30% |
DL3 | ใช้มิเตอร์อัตโนมัติ/อัจฉริยะ ในแผนงานปกติ | 30% - 60% |
DL4 | มีมิเตอร์อัตโนมัติ/อัจฉริยะ ครอบคลุมเกือบทั่วประเทศ | 60% - 90% |
DL5 | ผู้ใช้ไฟฟ้าทุกรายใช้มิเตอร์อัตโนมัติ/อัจฉริยะ | มากกว่า 90% |
จากตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนาที่แสดงไว้ข้างต้นจะได้ว่า เป้าหมายระดับการพัฒนา
ของจ านวนมิเตอร์แบบอัตโนมัติต่อจ านวนมิเตอร์ทั้งหมดในระบบจ าหน่ายภายใต้โครงการระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดในแต่ละกรณี เป็นดังนี้
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 48.0 % (Best case)
39.0 % (Moderate case)
24.0 % (Worst case) สัดส่วนของ kWh ที่จ่ายผ่านมิเตอร์อัตโนมัติ ต่อ kWh ทั้งหมดที่จ่ายในระบบ [หน่วย: %] (KAI Code: %KWhSmtMt)
เป้าประสงค์: การบริการผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างถูกต้องและโปร่งใส
ค าอธิบาย: ในดัชนีชี้วัดด้านจ านวนมิเตอร์นั้น การไฟฟ้าฟ้าควรติดตั้งสมาร์ทมิเตอร์ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าทุกรายเพื่อความ แม่นย าถูกต้องและโปร่งใสในการให้บริการ แต่ในความเป็นจริงเมื่อพิจารณาทางด้านการลงทุนติดตั้งสมาร์ท มิเตอร์พร้อมระบบสื่อสารแล้ว จะพบว่า การลงทุนที่เหมาะสมในทางปฏิบัติ คือ การติดตั้งมิเตอร์อัตโนมัติ พร้อมระบบสื่อสารให้กับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ก่อน อย่างไรก็ตาม การติดตั้งสมาร์ทมิเตอร์ พร้อมระบบสื่อสารให้กับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ โดยที่การไฟฟ้า
ทราบข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่แต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่สามารถท าให้ผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ทราบถึง ลักษณะการใช้ไฟฟ้าของตนเองได้ ดังนั้นการไฟฟ้าต้องมีข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่บันทึกไว้ และพร้อมที่จะให้ผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ตรวจสอบสภาพการใช้ไฟฟ้าของตนเองตลอดเวลาผ่านทางระบบบริหาร จัดการข้อมูลมิเตอร์ของผู้ใช้ (Customer/Meter Data Management System; MDMS) ซึ่งการติดต่อกับ การไฟฟ้าไม่จ าเป็นต้องท าผ่านทางมิเตอร์อัตโนมัติ เพราะสามารถท าได้ผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตที่ใช้กันใน ปัจจุบัน นอกจากนั้น การไฟฟ้าอาจต้องสร้าง content เพื่อจูงใจในการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพด้วย เพราะอาจช่วยกระตุ้นให้ผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ตระหนักถึงการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพและหาทางเพิ่ม ประสิทธิภาพในการใช้ไฟฟ้าของตนเองซึ่งนอกจะท าให้การบริการผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นไปอย่างแม่นย าถูกต้องและ โปร่งใสแล้ว ยังส่งเสริมให้เกิดกิจกรรม Demand Response ได้อีกด้วย
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน (Existing): 1.4
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 3.6 (Best case)
3.3 (Moderate case)
2.7 (Worst case)
การแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา ลักษณะการแปลผลของดัชนีนี้จะคล้ายกับดัชนีด้านจ านวนมิเตอร์แต่ก าหนดเป็น %kWh แทน เพื่อ
แสดงถึงจ านวน kWh ที่ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถเข้าถึงข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของตนเองได้ซึ่งสะท้อนการด าเนินการ ติดตั้งมิเตอร์อัตโนมัติพร้อมระบบสื่อสารให้กับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ก่อน ดังนั้นในเบื้องต้น การแปลผลระดับการ พัฒนาของสัดส่วนของ kWh ที่จ่ายผ่านมิเตอร์อัตโนมัติ ต่อ kWh ทั้งหมดที่จ่ายในระบบภายใต้โครงการพัฒนา ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจึงเป็นดังตาราง ทั้งนี้ สัดส่วน kWh ที่ถูกประเมินจะค านวณจากผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งหมดที่ ไม่รวมผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีหน่วยการใช้น้อยกว่า 90 หน่วยต่อเดือน
ตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา
ระดับการพัฒนา | ความหมาย | สัดส่วนจ านวน kWh ที่จ่ายผ่านมิเตอร์ อัตโนมัติ (%) |
0 | ไม่มีแผนการใช้มิเตอร์อัตโนมัติ/อัจฉริยะ | 0% |
1 | ติดตั้งมิเตอร์อัตโนมัติ/อัจฉริยะ ให้ผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ไปบ้างแล้ว | น้อยกว่า 10% |
2 | ติดตั้งมิเตอร์อัตโนมัติ/อัจฉริยะ ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรม | 10% - 30% |
3 | ใช้มิเตอร์อัตโนมัติ/อัจฉริยะ ในแผนงานปกติ | 30% - 60% |
4 | มีมิเตอร์อัตโนมัติ/อัจฉริยะ ครอบคลุมเกือบทั่วประเทศ | 60% - 90% |
5 | ผู้ใช้ไฟฟ้าทุกรายใช้มิเตอร์อัตโนมัติ/อัจฉริยะ | มากกว่า 90% |
จากตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนาที่แสดงไว้ข้างต้นจะได้ว่า เป้าหมายระดับการพัฒนา
ของสัดส่วนของ kWh ที่จ่ายผ่านมิเตอร์อัตโนมัติ ต่อ kWh ทั้งหมดที่จ่ายในระบบภายใต้โครงการระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริดในแต่ละกรณี เป็นดังนี้
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 48.0 % (Best case)
39.0 % (Moderate case)
24.0 % (Worst case) ระยะเวลาในการด าเนินการเมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าร้องขอเพิ่มจุดรับไฟฟ้าใหม่ (ไม่รวม ระยะเวลาในการก่อสร้าง) [หน่วย: วัน] (KAI Code: T_NewCust)
เป้าประสงค์: เพิ่มประสิทธิภาพในการท างาน
ค าอธิบาย:
ระยะเวลาในการด าเนินการเมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าร้องขอเพิ่มจุดรับไฟฟ้าใหม่ หมายถึงระยะเวลาตั้งแต่ผู้ใช้ ไฟฟ้าท าเรื่องร้องขอใช้ไฟฟ้าจนถึงเวลาที่การไฟฟ้าติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าเสร็จสิ้นพร้อมจ่ายไฟให้ผู้ใช้ไฟฟ้า (ไม่รวม เวลาที่การไฟฟ้าต้องใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของระบบไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้า ฯลฯ) ระยะเวลาดังกล่าว มักประกอบด้วย การรับค าร้อง การส ารวจรายละเอียดการจ่ายไฟ แผนผัง และประมาณค่าใช้จ่าย การแจ้งให้ ผู้ขอใช้ไฟฟ้าทราบ ผู้ใช้ไฟฟ้าช าระค่าใช้จ่าย และการไฟฟ้าก่อสร้างจนแล้วเสร็จพร้อมจ่ายไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ในที่นี้จะไม่ค านึงถึงระยะเวลาในการก่อสร้างเนื่องจากเวลาในการก่อสร้างจะแตกต่างกันไปตามตามระดับ แรงดันไฟฟ้าที่จุดเชื่อมต่อ ลักษณะพื้นที่ และภูมิประเทศ เป็นต้น การไฟฟ้าสามารถลดระยะเวลาในการด าเนินการเมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าร้องขอเพิ่มจุดรับไฟฟ้าใหม่ลงได้ หาก
การไฟฟ้ามีระบบ DA/FA (Distribution Automation/Feeder automation) ระบบ SCADA/DMS (Supervisory Control and Data Acquisition /Distribution Management System) และระบบ MDMS (Meter Data Management System) เพราะจะช่วยให้การส ารวจและการจัดท าแผนผังสามารถท าได้ง่าย และรวดเร็วขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น การไฟฟ้าจะทราบได้ทันทีว่าปริมาณการใช้ไฟฟ้าในบริเวณที่ผู้ขอใช้ไฟฟ้ามี จ านวนเท่าใด เกินพิกัดของหม้อแปลงหริอไม่จากระบบ MDMS หากไม่เกินพิกัดของหม้อแปลง ก็สามารถท า การตรวจสอบต่อไปได้ว่าเกินพิกัดของสายจ าหน่ายหรือไม่ หากเกินก็จะพิจารณาต่อได้ว่าสามารถถ่ายโอน โหลดด้วยการใช้ DA/FA ผ่านทาง SCADA/DMS ได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้จะต้องท าอย่างไร และนอกจากการส ารวจ และจัดท าแผนผังจะสามารถท าได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นแล้ว การประมาณค่าใช้จ่ายที่จะแจ้งให้ผู้ใช้ไฟฟ้าทราบก็ จะท าได้ถูกต้องแม่นย ามากขึ้นเช่นกัน ซึ่งก็หมายถึงประสิทธิภาพและความถูกต้องในการท างานของการไฟฟ้า จะเพิ่มสูงขึ้น
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน (Existing): 1.7
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 3.7 (Best case)
3.3 (Moderate case)
3.2 (Worst case)
การแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา
ปัจจุบัน การไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่ายได้แจ้งให้ผู้ขอใช้ไฟฟ้าทราบถึงระยะเวลาในการในการด าเนินการเมื่อ
ผู้ใช้ไฟฟ้าร้องขอเพิ่มจุดรับไฟฟ้าใหม่อยู่แล้ว ดังแสดงในตาราง (www.pea.co.th – ม.ค. 2556)
ขนั้ ตอนการขอใชไฟฟ้ า้ | | ระยะเวลาในการขยายระบบจ าหนา่ ย [วนั] |
400/230 V, < 250 m | 400/230 V, < 1000 m | 22/33 kV, < 250 kVA, < 500 m | 22/33 kV, < 250 kVA, < 5000 m |
1. รบั ค ารอ้ งและนัดวนั ส ารวจ | - | - | - | - |
2. ส ารวจรายละเอยี ด | - | - | - | - |
3. จดั ท าแผนผงั และประมาณการคา่ ใชจา่ ย้ | 7 | 10 | 15 | 25 |
4. อนุมัตแิ ผนผงั และประมาณการคา่ ใชจา่ ย้ | - | - | - | - |
5. แจง้ คา่ ใชจา่ ยใหผ้ ขู้ อใช้ ไฟฟ้าทราบ้ | - | - | - | - |
ระยะเวลา 1 - 5 | 7 | 10 | 15 | 25 |
6. รบั ช าระเงนิ และเตรยี มการกอ่ สรา้ ง | 8 | 20 | 25 | 35 |
7. ด าเนนิ การกอ่ สรา้ งจนแลว้ เสรจ็ | - | - | - | - |
ระยะเวลา 1 - 7 | 15 | 30 | 40 | 60 |
โดยจะสังเกตได้ว่า ระยะเวลาเฉพาะในส่วนของงานที่ กฟภ. ด าเนินการจนถึงการแจ้งให้ผู้ขอใช้ไฟฟ้า ทราบจะใช้เวลาประมาณ 7 – 25 วัน ขึ้นอยู่กับระดับแรงดันที่จุดเชื่อมต่อ ขนาดของก าลังไฟฟ้าที่ขอ และ ระยะทาง อย่างไรก็ดี หากมีการน าระบบ DA/FA ระบบ SCADA/DMS และระบบ MDMS มาใช้ประโยชน์จะ สามารถช่วยให้ระยะเวลาในการในการด าเนินการจนถึงการแจ้งให้ผู้ขอใช้ไฟฟ้าทราบเมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าร้องขอเพิ่ม จุดรับไฟฟ้าใหม่ลดลงได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการท างานของการไฟฟ้าโดยตรง ดังนั้นในเบื้องต้น การแปลผลระดับการพัฒนาของระยะเวลาในการด าเนินการเมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าร้องขอ
เพิ่มจุดรับไฟฟ้าใหม่ไม่รวมระยะเวลาในการก่อสร้าง (เนื่องจากขึ้นกับระดับแรงดันไฟฟ้าที่จุดเชื่อมต่อ ลักษณะพื้นที่ และภูมิประเทศ ฯลฯ ซึ่งก าหนดได้ยากมาก) ภายใต้โครงการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด จึงอาจถูกก าหนดได้ดังตาราง
ตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา (ไม่รวมระยะเวลาในการก่อสร้าง)
ระดับการพัฒนา | ความหมาย | ระยะเวลาในการ ด าเนินการ (วันท าการ) |
0 | ไม่มีแผนเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบัน | 7 - 25 |
1 | มีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่ม ด าเนินการเป็นรูปธรรม | 5 - 7 |
2 | เริ่มด าเนินการพัฒนาด้านนี้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ทั่วทั้งระบบ | 3 - 5 |
3 | มีการพัฒนาด้านนี้อยู่ในแผนงานปกติ | 1 - 3 |
4 | มีการพัฒนาด้านนี้มากในระดับหนึ่งแล้ว | 1 |
5 | มีการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบันในระดับแนวหน้าของโลก | น้อยกว่า 1 |
จากตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนาที่แสดงไว้ข้างต้นจะได้ว่า เป้าหมายระดับการพัฒนา
ของระยะเวลาในการด าเนินการเมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าร้องขอเพิ่มจุดรับไฟฟ้าใหม่ภายใต้โครงการระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดในแต่ละกรณี เป็นดังนี้
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 1.6 วันท าการ (Best case)
2.4 วันท าการ (Moderate case)
2.6 วันท าการ (Worst case) สัดส่วนของเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องทางเทคนิคและเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องที่ไม่ ทราบสาเหตุในระบบจ าหน่าย [หน่วย: % ของ SAIFI] (KAI Code: No_Outage)
เป้าประสงค์: เพิ่มประสิทธิภาพในการท างาน
ค าอธิบาย:
โดยทั่วไป เหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุซึ่งอาจแบ่งออกเป็น (1) เหตุการณ์ไฟฟ้า
ขัดข้องทางเทคนิค เช่น การท างานผิดพลาดของอุปกรณ์ไฟฟ้า สายส่งจ่ายโหลดเกินจนเบรกเกอร์เปิดวงจร ไฟฟ้าลัดวงจรเนื่องจากฟ้าผ่า ไฟฟ้าลัดวงจรเนื่องจากมีกิ่งไม้สัมผัสกับสายไฟ เป็นต้น (2) เหตุการณ์ไฟฟ้า ขัดข้องเนื่องจากเหตุสุดวิสัย เช่น รถชนเสาไฟฟ้า ภัยธรรมชาติ เป็นต้น และ (3) เหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องที่ไม่ ทราบสาเหตุ เหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องทางเทคนิคสามารถป้องกันได้ด้วยการบ ารุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างถูกวิธี การเฝ้าระวังการท างานของระบบไฟฟ้า ตัดต้นไม้ที่อยู่ใกล้กับแนวเดินสายไฟฟ้า และการตัดต่อระบบไฟฟ้า อย่างอัตโนมัติ เป็นต้น ส่วนเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องที่ไม่ทราบสาเหตุสามารถลดลงได้ด้วยการน าระบบ DFR (Digital Fault Recorder) ซึ่งเป็นหนึ่งในระบบ SCADA/EMS หรือระบบ SCADA/DMS แล้วแต่ว่าพิจารณา ในระดับระบบผลิต/ระบบส่งหรือระบบจ าหน่ายมาใช้ โดยอาจใช้ร่วมกับเซ็นเซอร์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ที่ FRTU
(Feeder Remote Terminal Unit) ได้ ระบบ WAMS (Wide Area Monitoring System) ซึ่งประสานการด าเนินงานกับระบบ EMS (ด ู IEC61970 ประกอบ) ท าหน้าที่เฝ้าระวังระบบผลิตก าลังไฟฟ้าขนาดใหญ่รวมถึงระบบส่งและสถานีไฟฟ้าใน ระบบส่ง (Transmission substation) ส่วน DA/DF และ DMS (ดู IEC61968 ประกอบ) ก็ท าหน้าที่คล้ายกัน เพียงแต่ท าหน้าที่เฝ้าระวังความผิดปกติในสายจ าหน่ายและสถานีไฟฟ้าในระบบจ าหน่าย (distribution substation) ทั้ง EMS และ DMS สามารถช่วยให้จ านวนเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องในระบบส่งและระบบจ าหน่าย ลดลงได้ และหากเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องไม่ว่าจะเป็นทางด้านเทคนิคหรือเพราะเหตุสุดวิสัย ระบบ EMS/DMS ก็สามารถจ ากัดบริเวณที่เกิดไฟฟ้าดับให้มีขนาดเล็กลงเพื่อบรรเทาความเสียหายจากการเกิด เหตุขัดข้องทางไฟฟ้าได้
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน (Existing): 2.0
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 3.9 (Best case)
3.6 (Moderate case)
3.1 (Worst case)
การแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา สาเหตุของสัดส่วนเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องต่างๆ ในระบบจ าหน่ายในปี 2554 ของการไฟฟ้านครหลวง
และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจากรายงานการประชุมคณะกรรมการปรับปรุงความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า ครั้งที่ 36/2555 เป็นดังนี้
กลมุ่ | สาเหตุ | สดสั วนของ่ SAIFI [%] |
กฟน | กฟภ |
1 | ไมท่ ราบสาเหตุ | 20 | 24 |
2 | ตน้ ไม้, อปุ กรณ์, สภาพแวดลอ้ ม | 50 | 50 |
3 | คน, สตว์ั , กฟผ, ลกู คา้ | 15 | 16 |
4 | ดบั ไฟ้ปฏบิ ตั งิ าน, อนื่ ๆ | 15 | 10 |
จากข้อมูลดังกล่าว จะพบว่าสาเหตุของเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องในกลุ่มที่ 1 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ไฟฟ้า
ขัดข้องที่ไม่ทราบสาเหตุมีสัดส่วนท าให้เกิดไฟฟ้าดับสูงถึง 20% - 24% ของเหตุการณ์ทั้งหมด ซึ่งถ้าการไฟฟ้าฯ ทราบสาเหตุความผิดพร่องเหล่านี้ก็จะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นซ้ าอีกในอนาคตได้ ส่วนสาเหตุของเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องในกลุ่มที่ 2 ซึ่งถือว่าเป็นเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องทางด้านเทคนิคมีสัดส่วน ท าให้เกิดไฟฟ้าดับสูงถึง 50% ของเหตุการณ์ทั้งหมด ดังนั้นหากสามารถลดเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องทางเทคนิค ในกลุ่มนี้ลงได้บางส่วนก็จะท าให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการท างานของการไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่ายได้โดยตรง ในเบื้องต้น เมื่อพิจารณาว่าสัดส่วนของเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องทางเทคนิคและเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้อง ที่ไม่ทราบสาเหตุในระบบจ าหน่ายที่ประมาณ 70% ในปัจจุบันเทียบเท่าระดับการพัฒนา 2.0 และหาก ก าหนดให้ การประเมินระดับการพัฒนาในระดับดีมาก (ระดับการพัฒนา 5) ครอบคลุมถึงการทราบสาเหตุของ เหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องได้อย่างน้อย 90% ของเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องที่ไม่ทราบสาเหตุและสามารถลด เหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องทางเทคนิคได้อย่างน้อย 75% ของเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องทางเทคนิคทั้งหมด จะท าให้ สัดส่วนของเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องทางเทคนิคและเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องที่ไม่ทราบสาเหตุในระบบจ าหน่าย รวมกันมีสัดส่วนเหลือประมาณ 39% ของเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องทั้งหมดที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นในเบื้องต้น การ แปลผลระดับการพัฒนาของสัดส่วนของเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องทางเทคนิคและเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องที่ไม่ ทราบสาเหตุในระบบจ าหน่ายภายใต้โครงการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจึงเป็นดังตาราง
ตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา
ระดับการพัฒนา | ความหมาย | สัดส่วนเหตุการณ์ไฟฟ้า ขัดข้อง (%) |
0 | ไม่มีแผนเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบัน | มากกว่า 80% |
1 | มีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่ม ด าเนินการเป็นรูปธรรม | 70% - 80% |
2 | เริ่มด าเนินการพัฒนาด้านนี้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ทั่วทั้งระบบ | 60% - 70% |
3 | มีการพัฒนาด้านนี้อยู่ในแผนงานปกติ | 50% - 60% |
4 | มีการพัฒนาด้านนี้มากในระดับหนึ่งแล้ว | 40% - 50% |
5 | มีการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบันในระดับแนวหน้าของโลก | น้อยกว่า 40% |
จากตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนาที่แสดงไว้ข้างต้นจะได้ว่า เป้าหมายระดับการพัฒนา
ของสัดส่วนของเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องทางเทคนิคและเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องที่ไม่ทราบสาเหตุในระบบ จ าหน่ายภายใต้โครงการระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในแต่ละกรณี เป็นดังนี้
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 51.0 % (Best case)
54.0 % (Moderate case)
59.0 % (Worst case)
| | สัดส่วนของสถานีไฟฟ้าที่สามารถสื่อสารได้ตามมาตรฐานการสื่อสารในระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริดที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติต่อสถานีไฟฟ้าทั้งหมดใน ระบบโครงข่ายไฟฟ้า [หน่วย: %] (KAI Code: %StdSub) |
เป้าประสงค์: | | ความสามารถในการอัพเกรดและถ่ายโอนเทคโนโลยีด้านระบบสื่อสารของ อุปกรณ์และมิเตอร์รวมถึงอุปกรณ์ประเภท IED ไปสู่การท างานแบบ Interoperability |
ค าอธิบาย: | | |
สถานีไฟฟ้าถือเป็นองค์ประกอบหลักของระบบโครงข่ายไฟฟ้าที่เชื่อมโยงกับระบบผลิตไฟฟ้าต้นทาง กับโหลดหรือความต้องการใช้ไฟฟ้าปลายทางผ่านสายส่งในระบบส่งและระบบจ าหน่ายไฟฟ้า นอกจากนี้ ยัง เชื่อมโยงกับศูนย์ควบคุมสั่งการของระบบส่งและระบบจ าหน่ายเพื่อท าการตรวจวัดสถานะ เฝ้าสังเกต และ ควบคุมการการท างานของระบบโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อให้เป็นไปตามต้องการได้ ภายในสถานีไฟฟ้าประกอบด้วย อุปกรณ์ไฟฟ้า รีเลย์ และอุปกรณ์ป้องกันหลายชนิดซึ่งอาจผลิตจากบริษัทผู้ผลิตหลายราย และอาจมี คุณลักษณะจ าเพาะทางเทคนิคที่แตกต่างกันไป ดังนั้น การท างานของสถานีไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (Substation Automation) ในบริบทของระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดซึ่งจะต้องสามารถถ่ายโอนแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ท าการวัด คุมกับอุปกรณ์ต่างๆ ภายในสถานีไฟฟ้าไม่ว่าจะมาจากผู้ผลิตรายใด และกับองค์ประกอบอื่นๆ ของระบบ โครงข่ายไฟฟ้า ทั้งในระบบส่ง ระบบจ าหน่าย และศูนย์ควบคุมสั่งการ ตามที่กล่าวถึงข้างต้นได้อย่างมี ประสิทธิภาพนั้นจึงสะท้อนความส าเร็จของการมีมาตรฐานความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ในระบบหรือการท างาน แบบ Interoperability
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน (Existing): 1.8
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 3.9 (Best case)
3.6 (Moderate case)
3.3 (Worst case)
การแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา เนื่องจากสถานีไฟฟ้าเป็นจุดตรวจวัดสถานะที่ส าคัญครอบคลุมทั้งระบบส่งและระบบจ าหน่ายของ
โครงข่ายไฟฟ้าทั้งระบบ ดังนั้น การพัฒนาให้สถานีไฟฟ้าท างานได้แบบอัตโนมัติ (Substation Automation) ถือเป็นกิจการรมหลักที่ถูกพิจารณาให้ความส าคัญเป็นล าดับต้นของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดใน ประเทศต่างๆ ทั่วโลก อย่างไรก็ดี การด าเนินการให้แล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์นั้นอาจต้องใช้ระยะเวลานาน ซึ่ง ตามการคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญในระดับโลกจะต้องใช้เวลาอีกไม่ต่ ากว่า 10 ปี ทั้งนี้ เพื่อให้อุปกรณ์ภายใน สถานีไฟฟ้าสามารถท างานแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ตามมาตรฐานการสื่อสารแบบเปิด ซึ่งอ้างอิงตามมาตรฐาน IEC 61850 เป็นหลัก และจากแผนงานปัจจุบันของทั้ง 3 การไฟฟ้า ในส่วน Substation Automation ที่ อ้างอิงจาก IEC 61850 นี้ การไฟฟ้านครหลวงได้ด าเนินการน าร่องแล้ว 2 สถานี การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอยู่ ระหว่างด าเนินการสร้างสถานีไฟฟ้าอัตโนมัติน าร่องสถานีแรก ส่วนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตยังอยู่ระหว่างการ ออกแบบและเลือกสถานีน าร่อง ดังนั้น ในเบื้องต้น การแปลผลระดับการพัฒนาสัดส่วนของจ านวนสถานีไฟฟ้า ที่สามารถสื่อสารได้ตามมาตรฐานการสื่อสารในระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติ ภายใต้โครงการระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจึงเป็นดังตาราง
ตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา
ระดับการพัฒนา | ความหมาย | %StdSub |
0 | ไม่มีแผนเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบัน | 0% |
1 | มีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่ม ด าเนินการเป็นรูปธรรม | น้อยกว่า 5% |
2 | เริ่มด าเนินการพัฒนาด้านนี้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ทั่ว ทั้งระบบ | 5% - 30% |
3 | มีการพัฒนาด้านนี้อยู่ในแผนงานปกติ | 30% - 60% |
4 | มีการพัฒนาด้านนี้มากในระดับหนึ่งแล้ว | 60% - 80% |
5 | มีการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบันในระดับแนวหน้า ของโลก | 80% - 100% |
จากตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนาที่แสดงไว้ข้างต้นจะได้ว่า เป้าหมายระดับการพัฒนา
สัดส่วนของจ านวนสถานีไฟฟ้าที่สามารถสื่อสารได้ตามมาตรฐานการสื่อสารในระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดที่ ได้รับการยอมรับในระดบั ชาติ ภายใต้โครงการระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในแต่ละกรณี เป็นดังนี้
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 57.0 % (Best case)
48.0 % (Moderate case)
39.0 % (Worst case)
สัดส่วนของจ านวนผู้ใช้ไฟรายสุดท้าย (End-use) ที่สามารถเข้าถึงการขอใช้
บริการการจัดการพลังงานได้ [หน่วย: %] (KAI Code: %EndUse)
ความสามารถเข้าถึงและแลกเปลี่ยน (Accessibility &Interchangeability) ข้อมูลการผลิตและการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟอย่างเป็นมาตรฐานเพื่อใช้ในการ บริหารจัดการพลังงาน
ค าอธิบาย:
จ านวนผู้ใช้ไฟรายสุดท้าย (End-use) ที่สามารถเข้าถึงการขอใช้บริการการจัดการพลังงานได้สะท้อนถึง
ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบสื่อสารและสารสนเทศ มาตรฐานความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ใน ระบบ และความพร้อมในการให้บริการจัดการพลังงานไฟฟ้า ทั้งจากผู้ให้บริการที่เป็นหน่วยงานของการไฟฟ้า เอง และในอนาคตอาจรวมถึงผู้ให้บริการรายอื่นๆ ที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการก ากับกิจการพลังงานให้ สามารถประกอบกิจการดังกล่าวได้ด้วย การจัดการพลังงานถือเป็นความสามารถของระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด ที่มีความส าคัญ และเป็นวัตถุประสงค์หลักอย่างหนึ่งของการประยุกต์ใช้ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดซึ่งจะช่วย เสริมความคุ้มค่าให้กับการลงทุนติดตั้งสมาร์ทมิเตอร์ทั้งในระดับผู้ใช้ไฟรายใหญ่และรายย่อย
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน (Existing): 1.3
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 3.4 (Best case)
3.0 (Moderate case)
2.4 (Worst case)
การแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา นโยบายการอนุรักษ์และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Efficiency) ถือเป็นนโยบาย
หลักด้านพลังงานของประเทศไทย ดังนั้น กิจกรรมที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ใช้ไฟฟ้าได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ พลังงานและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานจึงควรเป็นเป้าหมายที่ส าคัญหนึ่งของการพัฒนาระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริด อีกทั้งเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าของการลงทุนการประยุกต์ใช้ สมาร์ทมิเตอร์ นอกจากนี้ ตลาดใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านการจัดการพลังงาน (DSM) ถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้าง การตระหนักรู้ให้กับสาธารณะได้เป็นอย่างดี ความส าเร็จของกิจกรรมดังกล่าวข้างต้นนี้ สะท้อนความสามารถ เข้าถึงและแลกเปลี่ยนข้อมูลการผลิตและการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟอย่างเป็นมาตรฐาน ดังนั้น การแปลผลระดับ การพัฒนาสัดส่วนของจ านวนผู้ใช้ไฟรายสุดท้าย (End-use) ที่สามารถเข้าถึงการขอใช้บริการการจัด การพลังงานได้ จึงเป็นดังตาราง
ตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา
ระดับการพัฒนา | ความหมาย | %EndUse |
0 | ไม่มีแผนเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบัน | 0% |
1 | มีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่ม ด าเนินการเป็นรูปธรรม | น้อยกว่า 5% |
2 | เริ่มด าเนินการพัฒนาด้านนี้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ทั่วทั้งระบบ | 5% - 20% |
3 | มีการพัฒนาด้านนี้อยู่ในแผนงานปกติ | 20% - 40% |
4 | มีการพัฒนาด้านนี้มากในระดับหนึ่งแล้ว | 40% - 60% |
5 | มีการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบันในระดับแนวหน้าของโลก | มากกว่า 60% |
จากตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนาที่แสดงไว้ข้างต้นจะได้ว่า เป้าหมายระดับการพัฒนา
สัดส่วนของจ านวนผู้ใช้ไฟรายสุดท้าย (End-use) ที่สามารถเข้าถึงการขอใช้บริการการจัดการพลังงานได้ ภายใต้โครงการระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในแต่ละกรณี เป็นดังนี้
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 28.0 % (Best case)
20.0 % (Moderate case)
11.0 % (Worst case) สัดส่วนของ DG (VSPP เป็นหลัก) ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลและควบคุมสถานะได้
แบบ Real time [หน่วย: %] (KAI Code: %DG_Realtime)
ความสามารถเข้าถึงและแลกเปลี่ยน (Accessibility &Interchangeability) ข้อมูลการผลิตและการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟอย่างเป็นมาตรฐานเพื่อใช้ในการ บริหารจัดการพลังงาน
ค าอธิบาย:
การเชื่อมต่อของ Distributed Generation หรือใช้ค าย่อว่า DG เข้าในระบบโครงข่ายไฟฟ้า มี
แนวโน้มจะมีจ านวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้ก าลังผลิตไฟฟ้าและ ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จาก DG ในอนาคต อาจจะอยู่ในระดับที่มีนัยส าคัญต่อเสถียรภาพและความ เชื่อถือได้ของระบบ และเนื่องจากระบบจ าหน่ายไฟฟ้าในปัจจุบันมีขีดจ ากัดด้านเทคนิคในการรองรับการ เชื่อมต่อของ DG ในรูปแบบของผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อนโยบายการส่งเสริมการ ผลิตไฟฟ้าโดยเฉพาะจากพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็ก นอกจากนี้ แหล่งผลิตไฟฟ้าประเภท DG มีข้อจ ากัดและ ขีดความสามารถในการผลิตไฟฟ้าที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลและควบคุม สถานะก าลังการผลิตของ DG ได้แบบ Real time นั้น จะช่วยลดผลกระทบเชิงลบของ DG ต่อเสถียรภาพและ ความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า ท าให้สามารถรองรับและใช้ประโยชน์จาก DG โดยเฉพาะประเภทที่ใช้พลังงาน หมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าได้ในปริมาณสูงขึ้น เป็นไปตามนโยบายภาครัฐ อีกทั้งเป็นคุณสมบัติพื้นฐานส าคัญ ของการพัฒนาระบบไมโครกริดด้วย
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน (Existing): 1.7
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 3.7 (Best case)
3.5 (Moderate case)
3.1 (Worst case)
การแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา จากแนวโน้มจ านวนและปริมาณก าลังผลิตไฟฟ้าจาก DG ที่เชื่อมต่อเข้าในระบบโครงข่ายไฟฟ้าจะเพิ่ม
สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเทศไทย และทั่วโลก และเพื่อให้สามารถรองรับปริมาณก าลังผลิตไฟฟ้าดังกล่าว ได้ตามนโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กทั้งประเภทพลังงานหมุนเวียน (VSPP/Renew) และประเภทผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อนร่วม (VSPP/Co-gen) โดยไม่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อระบบ โครงข่ายไฟฟ้า เช่น ความเชื่อถือได้ของระบบ ความถูกต้องในการท างานของระบบป้องกันทางไฟฟ้าเพื่อความ ปลอดภัย ปัญหาแรงดันตก/แรงดันเกิน และคุณภาพไฟฟ้า ได้นั้น จ าเป็นต้องอาศัยการพัฒนาและประยุกต์ เทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดเข้ามาช่วยจัดการ ผ่านคุณลักษณะความสามารถในการเข้าถึงและ แลกเปลี่ยนข้อมูลการผลิตไฟฟ้าของ DG อย่างเป็นมาตรฐาน ดังนั้น การแปลผลระดับการพัฒนาสัดส่วนของ DG (VSPP เป็นหลัก) ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลและควบคุมสถานะได้แบบ Real time ภายใต้โครงการระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริดจึงเป็นดังตาราง
ตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา
ระดับการพัฒนา | ความหมาย | %DG_Realtime |
0 | ไม่มีแผนเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบัน | 0% |
1 | มีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่ม ด าเนินการเป็นรูปธรรม | น้อยกว่า 5% |
2 | เริ่มด าเนินการพัฒนาด้านนี้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ทั่ว ทั้งระบบ | 5% - 20% |
3 | มีการพัฒนาด้านนี้อยู่ในแผนงานปกติ | 20% - 40% |
4 | มีการพัฒนาด้านนี้มากในระดับหนึ่งแล้ว | 40% - 60% |
5 | มีการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบันในระดับแนวหน้า ของโลก | มากกว่า 60% |
จากตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนาที่แสดงไว้ข้างต้นจะได้ว่า เป้าหมายระดับการพัฒนา
สัดส่วนของ DG (VSPP เป็นหลัก) ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลและควบคุมสถานะได้แบบ Real time ภายใต้ โครงการระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในแต่ละกรณี เป็นดังนี้
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 34.0 % (Best case)
30.0 % (Moderate case)
22.0 % (Worst case) สัดส่วนของผู้ใช้ไฟที่เข้าร่วมโปรแกรม Demand Response ต่อผู้ใช้ไฟทั้งหมด
[หน่วย: %] (KAI Code: %DR)
ความสามารถเข้าถึงและแลกเปลี่ยน (Accessibility &Interchangeability) ข้อมูลการผลิตและการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟอย่างเป็นมาตรฐานเพื่อใช้ในการ บริหารจัดการพลังงาน
ค าอธิบาย:
จ านวนผู้ใช้ไฟฟ้าที่เข้าร่วมในโครงการ Demand Response ถือเป็นดัชนีที่สะท้อนความส าเร็จของ ความสามารถในการเข้าถึงและแลกเปลี่ยน (Accessibility &Interchangeability) ข้อมูลในระบบโครงข่าย สมาร์ทกริด และการบรรลุวัตถุประสงค์ส าคัญขั้นสูงของการประยุกต์ใช้ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด กล่าวคือ ความสามารถในการบริหารจัดการก าลังผลิตและการใช้ไฟฟ้า ตลอดจนการรองรับและพึ่งพาพลังงาน หมุนเวียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จ าเป็นต้องอาศัยปัจจัยส าคัญต่างๆ ประกอบด้วย โครงสร้างราคาพลังงาน แบบ Real Time Pricing (RTP) หรือแรงจูงใจอื่น เช่น ส่วนลดราคาค่าไฟฟ้า ความพร้อมของโครงสร้าง พื้นฐานด้านการตรวจวัด (AMR/AMI) และ สมาร์ทมิเตอร์ รวมถึงระบบสื่อสารข้อมูลและสารสนเทศระหว่าง ผู้ใช้ไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่ายที่เกี่ยวข้อง
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน (Existing): | 1.4 |
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): | 3.4 (Best case) |
| 3.0 (Moderate case) |
| 2.3 (Worst case) |
การแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา การพัฒนา Demand Response ในแต่ละประเทศขึ้นอยู่กับปัจจัยส าคัญ คือ นโยบายและรูปแบบ
ของตลาดซื้อขายไฟฟ้า กลไกราคาที่เปลี่ยนแปลงได้ตามเวลาจริง (Real Time Pricing: RTP) และความ พร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านการตรวจวัด (สมาร์ทมิเตอร์/AMI) รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้ใช้ ไฟถึงประโยชน์ที่จะได้รับทั้งโดยทางตรง และทางอ้อม (เช่น การช่วยชะลอการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ช่วยลดค่าใช้จ่ายของ Spinning Reserve ช่วยรองรับการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่มีความ แปรปรวนสูง (Intermittent Generation – Solar & Wind) ) ส าหรับประเทศไทยแล้ว นโยบาย Demand response นโยบายการพัฒนาตลาดซื้อขายไฟฟ้าแบบเสรีหรือกึ่งเสรี รวมถึงกลไกด้านราคาหรือการสร้าง แรงจูงใจเพื่อให้ผู้ใช้ไฟรายย่อยเข้ามามีส่วนร่วมยังไม่มีความชัดเจน จึงยังคงต้องใช้ระยะเวลาด าเนินการในส่วน นี้อีกพอสมควรจึงจะเห็นผลเป็นรูปธรรม อีกทั้ง ระดับการพัฒนาจะต้องสอดคล้องกับการติดตั้ง สมาร์ทมิเตอร์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบ AMI ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า ดังนั้น การแปลผลระดับการพัฒนาสัดส่วนของผู้ใช้ไฟที่เข้า ร่วมโปรแกรม Demand Response ต่อผู้ใช้ไฟทั้งหมด ภายใต้โครงการระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด จึงเป็นดัง ตาราง
ตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา
ระดับการพัฒนา | ความหมาย | %DR |
0 | ไม่มีแผนเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบัน | 0% |
1 | มีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่ม ด าเนินการเป็นรูปธรรม | น้อยกว่า 1% |
2 | เริ่มด าเนินการพัฒนาด้านนี้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ทั่ว ทั้งระบบ | 1% - 10% |
3 | มีการพัฒนาด้านนี้อยู่ในแผนงานปกติ | 10% - 20% |
4 | มีการพัฒนาด้านนี้มากในระดับหนึ่งแล้ว | 20% - 50% |
5 | มีการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบันในระดับแนวหน้า ของโลก | มากกว่า 50% |
จากตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนาที่แสดงไว้ข้างต้นจะได้ว่า เป้าหมายระดับการพัฒนา
สัดส่วนของผู้ใช้ไฟที่เข้าร่วมโปรแกรม Demand Response ต่อผู้ใช้ไฟทั้งหมด ภายใต้โครงการระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดในแต่ละกรณี เป็นดังนี้
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 14.0 % (Best case)
10.0 % (Moderate case)
3.7 % (Worst case)
จ านวนบุคลากรที่จบการศึกษา/ผ่านการอบรมด้านระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
[หน่วย: คน/ปี] (KAI Code: No_Grad) สามารถพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงข่ายสมาร์ท กริดขึ้นภายในประเทศ
ค าอธิบาย:
การพัฒนาประเทศให้มีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม จ าเป็นต้องมี
บุคลากรที่มีความรู้ทางด้านระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดที่มีจ านวนเพียงพอ บุคลากรเหล่านี้จะท างานทั้งใน หน่วยงานภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม เพื่อท าให้เกิดการติดตั้งใช้งานระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในหน่วยงาน ต่างๆ เช่น การไฟฟ้าทั้งสามแห่ง โรงงานอุตสาหกรรม และสถาบันวิจัยของรัฐและเอกชน เป็นต้น รวมทั้งเป็น ทรัพยากรที่ส าคัญที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดขึ้นภายในประเทศ ด้วย
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน (Existing): 1.4
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 3.4 (Best case)
2.8 (Moderate case)
2.3 (Worst case)
การแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา จากข้อมูลสถิติของส านักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา พบว่า ณ ปัจจุบัน ประเทศไทยมีมหาวิทยาลัย
ของรัฐ 25 แห่ง มหาวิทยาลัยในก ากับของรัฐ 15 แห่ง รวมจ านวนมหาวิทยาลัยของรัฐทั้งหมดประมาณ 40 แห่ง นอกจากนั้นแล้วยังมีจ านวนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 27 แห่ง มหาวิทยาลัยเอกชน 33 แห่ง ใน บรรดาสถาบันการศึกษาทั้งหมดนี้มีอยู่ประมาณ 50 แห่งที่มีการเปิดการเรียนการสอนทางด้าน วิศวกรรมศาสตร์ โดยในคณะวิศวกรรมศาสตร์ของสถาบันเหล่านั้นมักจะมีวิศวกรรมไฟฟ้ารวมอยู่ด้วยเกือบ 100% จึงพอประมาณได้ว่า ณ ปัจจุบันมีภาควิชาหรือหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมไฟฟ้าอยู่ทั่วประเทศ ประมาณ 50 แห่ง (หรือ หลักสูตร) และเมื่อพิจารณาตัวเลขการผลิตนิสิตในระดับปริญญาตรีของภาควิชา วิศวกรรมไฟฟ้าในหลายสถาบัน จะพบว่า ตัวเลขโดยเฉลี่ยของการผลิตนิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาตรี ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ 120 คน/ปี/หลักสูตร ดังนั้นตัวเลขนิสิตนักศึกษาวิศวกรรมไฟฟ้าที่ผลิต ได้ต่อปีรวมทุกหลักสูตรจะอยู่ที่ประมาณ 6,000 คน/ปี (ตัวเลขนี้พิจารณาจากข้อมูลนิสิตนักศึกษาใน มหาวิทยาลัยของรัฐเป็นหลัก) เนื่องจาก (1) สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าก าลังและวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารเป็นสองสาขาหลักที่เกี่ยวข้องกับ
เทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด และ (2) นิสิตนักศึกษาวิศวกรรมไฟฟ้า มักจะเลือกเรียนในสองสาชานี้ เป็นหลักมากกว่า 60% ของจ านวนนิสิตนักศึกษาวิศวกรรมไฟฟ้าทั้งหมด ดังนั้นจึงสามารถประมาณได้ว่า จ านวนนิสิตนักศึกษาวิศวกรรมไฟฟ้าในสาขาไฟฟ้าก าลังและสื่อสารที่ผลิตได้ต่อปีจะมีไม่น้อยกว่า 3,600 คน/ปี ในที่นี้ หากนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่จบทางด้านไฟฟ้าก าลังและสื่อสารมีความรู้ความเข้าใจใน เทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดเกินกว่า 75% ของจ านวนนิสิตนักศึกษาที่จบต่อปี (คิดเป็นมากกว่า 2,700 คน/ปี) จะถือว่า “การพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด” อยู่ในระดับดีมากได้ ส่วน ในระดับอื่น ๆ ก็ให้เทียบเป็นสัดส่วนได้ตามตารางที่แสดงถัดไป
ตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา
ระดับการพัฒนา | ความหมาย | จ านวนบุคลากรที่จบ การศึกษา/ผ่านการอบรม ดา้ นระบบโครงข่าย สมาร์ทกริด [คน/ปี] |
0 | มีจ านวนบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดไม่เพียงพอ อยู่ในระดับน้อยมาก | น้อยกว่า 700 |
1 | มีจ านวนบุคลากรเพียงพอต่อการคิดริเริ่มวางแผนการ ติดตั้งใช้งานระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในบางหน่วยงาน | 700 - 1,200 |
2 | มีจ านวนบุคลากรเพียงพอต่อการด าเนินการใช้ระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริดในบางหน่วยง่านในประเทศ | 1,200 - 1,700 |
3 | มีจ านวนบุคลากรเพียงพอต่อการน าระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดไปใช้อย่างแพร่หลายในหน่วยง่านต่าง ๆ ทั่ว ประเทศ | 1,700 - 2,200 |
4 | มีจ านวนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเพียงพอต่อการ ท าธุรกิจระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค | 2,200 - 2,700 |
5 | มีจ านวนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเพียงพอต่อการ ท าธุรกิจระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ในระดับโลก | มากกว่า 2,700 |
จากตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนาที่แสดงไว้ข้างต้นจะได้ว่า เป้าหมายระดับการพัฒนา
จ านวนบุคลากรที่จบการศึกษา/ผ่านการอบรมด้านระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดภายใต้โครงการระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดในแต่ละกรณี เป็นดังนี้
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 1,900 คน/ปี (Best case)
1,600 คน/ปี (Moderate case)
1,350 คน/ปี (Worst case) สัดส่วนเงินลงทุนค่าอุปกรณ์ที่ผลิตได้ภายในประเทศต่อมูลค่าโครงการที่ เกี่ยวข้องกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด [หน่วย: %] (KAI Code: LcCnt) สามารถพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงข่ายสมาร์ท กริดขึ้นภายในประเทศ
ค าอธิบาย:
การพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศจ าเป็นจะต้องส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาหรือส่งเสริม การกระตุ้นอุตสาหกรรมภายในประเทศด้วยไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด หรือไม่ก็ตาม เนื่องจากหากท าการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดโดยมีแต่การน าเข้าอุปกรณ์จาก ต่างประเทศเพียงอย่างเดียวจะก่อให้เกิดภาระต่อประเทศในระยะยาว ดังนั้น การพัฒนาโครงการระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริดอย่างยั่งยืนจะต้องให้ความส าคัญกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมอื่นๆ ภายในประเทศด้วย โดยภาครัฐจะต้องสนับสนุนให้โครงการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทยมีสัดส่วนเงินลงทุนค่าอุปกรณ์ ที่ผลิตได้ภายในประเทศต่อมูลค่าโครงการในอัตราที่สูงมากพอ ผ่านทางมาตรการสนับสนุนภาครัฐต่างๆ
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน (Existing): 1.5
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 3.1 (Best case)
2.6 (Moderate case)
2.3 (Worst case)
การแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา
จากการสืบค้นข้อมูลสัดส่วนเงินลงทุนค่าอุปกรณ์ที่ผลิตได้ภายในประเทศต่อมูลค่าโครงการในหลายๆ
อุตสาหกรรม จะพบว่ามีการตั้งเป้าหมายการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมยาน ยนต์ในประเทศไทยเคยมีการก าหนดการบังคับใช้ชิ้นส่วนในประเทศ (Local Content) ส าหรับรถปิกอัพสูงถึง 70% ก่อนจะยกเลิกไปด้วยมติคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 ตามพันธกรณีภายใต้ความตกลง Trade-Related Investment Measures (TRIMs) ขององค์การการค้าโลก หรือในความตกลงทางการค้า ระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น (AJCEP) ที่เสริมกับความตกลงทางการค้าระหว่างไทยและญี่ปุ่น (JTEPA) ก็ได้มีการ ก าหนดสินค้าที่มีน าเข้าวัตถุดิบจากกลุ่มอาเซียนแล้วน าไปส่งออกที่ญี่ปุ่น เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยาน ยนต์ เครื่องจักร เครื่องนุ่งห่ม ซึ่งต้องมี local content 40% ที่เป็นของไทยหรืออาเซียนอื่น โดยญี่ปุ่นยกเว้น ภาษีให้ไทย 86% ของรายการค้า เป็นต้น อย่างไรก็ดี ส าหรับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าก าลังซึ่งมีความต้องการใช้
เทคโนโลยีขั้นสูงและต้องน าเข้าจากต่างประเทศเป็นจ านวนมาก อาจจะไม่สามารถมีสัดส่วนเงินลงทุนค่า อุปกรณ์ที่ผลิตได้ภายในประเทศต่อมูลค่าโครงการสูงดังเช่นอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้ อย่างไรก็ดี จากการ เทียบเคียงดังกล่าว หากสามารถท าให้สัดส่วนเงินลงทุนค่าอุปกรณ์ที่ผลิตได้ภายในประเทศต่อมูลค่าโครงการที่ เกี่ยวข้องกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดเทียบเท่ากับสัดส่วนเดียวกันในอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วยสัดส่วนอย่างน้อย 40% ดังเช่นที่เกิดขึ้นในข้อตกลงทางการค้าระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น ก็อาจถือได้ว่าสัดส่วนดังกล่าวเป็นการ พัฒนาในระดับดีมากได้ ดังนั้นในเบื้องต้น การแปลผลระดับการพัฒนาของสัดส่วนเงินลงทุนค่าอุปกรณ์ที่ผลิต ได้ภายในประเทศต่อมูลค่าโครงการที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดภายใต้โครงการระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดจึงเป็นดังตาราง
ตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา
ระดับการพัฒนา | ความหมาย | สัดส่วนเงินลงทุนค่าอุปกรณ์ ที่ผลิตได้ภายในประเทศต่อ มูลค่าโครงการ [%] |
0 | ไม่มีแผนเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบัน | น้อยกว่า 5% |
1 | มีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ แต่ยังไม่ได้ เริ่มด าเนินการเป็นรูปธรรม | 5% - 10% |
2 | เริ่มด าเนินการพัฒนาด้านนี้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ ทั่วทั้งระบบ | 10% - 20% |
3 | มีการพัฒนาด้านนี้อยู่ในแผนงานปกติ | 20% - 30% |
4 | มีการพัฒนาด้านนี้มากในระดับหนึ่งแล้ว | 30% - 40% |
5 | มีการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบันในระดับแนวหน้า ของโลก | มากกว่า 40% |
จากตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนาที่แสดงไว้ข้างต้นจะได้ว่า เป้าหมายระดับการพัฒนา สัดส่วนเงินลงทุนค่าอุปกรณ์ที่ผลิตได้ภายในประเทศต่อมูลค่าโครงการที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด ภายใต้โครงการระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในแต่ละกรณี เป็นดังนี้
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 21.0 % (Best case)
16.0 % (Moderate case)
13.0 % (Worst case)
จ านวนสิทธิบัตรและผลิตภัณฑ์ ด้านระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดที่ได้รับการ พัฒนาในประเทศ [หน่วย: รายการ] (KAI Code: No_Patent)
สามารถพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงข่ายสมาร์ท กริดขึ้นภายในประเทศ
ค าอธิบาย:
หากเราสามารถพัฒนาเทคโนโลยีบางส่วนของระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดขึ้นเองภายในประเทศได้ จะ
ท าให้ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมสูงขึ้น ศักยภาพในด้าน เทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดที่สูงขึ้นนี้ จะช่วยให้ประเทศไม่ต้องพึ่งพาการน าเข้าเทคโนโลยีจาก ต่างประเทศแต่เพียงอย่างเดียว ช่วยลดต้นทุนของโครงการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดภายในประเทศ ช่วยยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ช่วยสร้างงานที่มีมูลค่าสูงที่ต้องมีความเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน และสามารถส่งออกเทคโนโลยีไปยังประเทศใกล้เคียงหรือในภูมิภาค หรือต่างประเทศทั่วโลกได้ ทั้งนี้จ านวนสิทธิบัตรเป็นดัชนีที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงระดับการพัฒนาเทคโนโลยีด้านระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดได้ โดยที่ประเทศที่มีความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา กลุ่มสหภาพยุโรป หรือประเทศออสเตรเลีย จะมีจ านวนสิทธิบัตรทางด้านนี้สูงกว่า ประเทศที่ยังไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านนี้ เช่น ประเทศไทย เป็นต้น
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน (Existing): | 1.3 | |
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): | 2.9 | (Best case) |
| 2.4 | (Moderate case) |
| 1.9 | (Worst case) |
การแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา จากการสืบค้นฐานข้อมูลของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ปี 2555 ในด้านการจด
สิทธิบัตรเกี่ยวกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด โดยอาศัยค าส าคัญ เช่น Smart Grid, Distribution Automation, Advanced Metering, Demand Response, Electric Vehicle, Charging Station เป็นต้น พบว่า มีการจดสิทธิบัตรในประเทศไทยเป็นภาษาไทย 30 ชิ้น เป็นภาษาอังกฤษ 10 ชิ้น รวมเป็นจ านวน สิทธิบัตรทั้งสิ้นประมาณ 40 ชิ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการจดสิทธิบัตรในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมีถึงประมาณ 23,000 ชิ้น และในกลุ่มสหภาพยุโรปมีประมาณ 10,000 ชิ้น จึงถือว่า ยังมีจ านวนสิทธิบัตรที่จดในประเทศ ไทยทางด้านนี้น้อยมาก หากเปรียบเทียบกับประเทศใกล้เคียงเช่น ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีจ านวนสิทธิบัตรที่ จดประมาณ 750 ชิ้น ก็ยังห่างกันถึง 20 เท่า ดังนั้นหากจะตั้งเป้าให้ประเทศไทยมีการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านนี้อย่างจริงจังให้อยู่ในระดับดีมาก (คิดเทียบจากปัจจุบัน) ในอีกประมาณ 20 ปีข้างหน้า (ปี 2579) ก็ควรจะมีจ านวนสิทธิบัตรเกี่ยวกับระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริดรวมที่จดภายในประเทศมากกว่า 1,000 ชิ้นขึ้นไป ส่วนในระดับอื่น ๆ ก็ให้เทียบเป็น สัดส่วนได้โดยสังเขปตามตารางที่แสดงถัดไป
ระดับการพัฒนา | ความหมาย | จ านวนสิทธิบัตรและ ผลิตภัณฑ์ [รายการ] |
0 | ไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดขึ้นภายในประเทศหรือมีในระดับน้อยมาก | 0 - 10 |
1 | มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดขึ้นภายในประเทศในระดับต่ า | 10 - 100 |
2 | มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดขึ้นภายในประเทศในระดับปานกลาง | 100 - 500 |
3 | มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดขึ้นภายในประเทศในระดับสูง | 500 - 750 |
4 | มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดขึ้นภายในประเทศในระดับชั้นน าในภูมิภาค | 750 - 1,000 |
5 | มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดขึ้นภายในประเทศในระดับโลก | มากกว่า 1,000 |
จากตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนาที่แสดงไว้ข้างต้นจะได้ว่า เป้าหมายระดับการพัฒนา
จ านวนสิทธิบัตรและผลิตภัณฑ์ ด้านระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดที่ได้รับการพัฒนาในประเทศภายใต้โครงการ ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในแต่ละกรณี เป็นดังนี้
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): | 460 รายการ | (Best case) |
| 260 รายการ | (Moderate case) |
| 91 รายการ | (Worst case) |
สัดส่วนจ านวนโรงงานอุตสาหกรรม/อาคารส านักงาน/หน่วยงาน ที่ใช้ระบบ บริหารจัดการพลังงาน เช่น FEMS/BEMS เป็นต้น [หน่วย: %] (KAI Code: No_FEMS_BEMS)
เป้าประสงค์: การบริหารจัดการการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ต้นทุนทางด้าน พลังงานของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมสามารถแข่งขันได้
ค าอธิบาย:
การบริหารต้นทุนทางด้านพลังงานของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้อยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้ที่
เป็นรูปธรรมอย่างหนึ่งคือ การใช้ระบบบริหารจัดการพลังงาน โดยหากพิจารณาเฉพาะภาคธุรกิจและ อุตสาหกรรมแล้ว การน าเทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดที่เกี่ยวกับด้านการบริหารจัดการพลังงานของ ผู้ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม/อาคารส านักงานขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า FEMS/BEMS มาใช้ จะช่วยให้ภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมดังกล่าวสามารถบริหารจัดการการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ต้นทุนทางด้าน พลังงานของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมสามารถแข่งขันได้
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน (Existing): | 1.5 |
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): | 3.4 (Best case) |
| 3.1 (Moderate case) |
| 2.6 (Worst case) |
การแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา จากข้อมูลของกรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2555 พบว่า ในปี 2554 มีอาคารควบคุมที่ส่งรายงานการจัดการพลังงานประจ าปีจ านวน 1,825 แห่ง และมีโรงงานควบคุมที่ส่ง รายงานการจัดการพลังงานประจ าปี จ านวน 2,910 โรง รวมเป็น 4,735 แห่ง จากอาคารและโรงงานควบคุม ทั้งประเทศในปัจจุบันรวมประมาณ 5,500 แห่ง คิดเป็นประมาณ 86% ของอาคารและโรงงานควบคุมที่มีใน ปัจจุบัน หากท าการประเมินโดยเทียบเคียงสัดส่วนว่า ภาครัฐโดยกรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานเป็น หลัก สามารถท าความเข้าใจ ส่งเสริม และถ่ายทอดเทคโนโลยีท าให้อาคารและโรงงานในกลุ่มนี้มีการใช้ เทคโนโลยี FEMS/BEMS ได้เกือบทั้งหมด ก็อาจถอื ได้ว่าเป็นการพัฒนาในระดับดีมากได้ ดังนั้นในเบื้องต้น การ แปลผลระดับการพัฒนาของสัดส่วนจ านวนโรงงานอุตสาหกรรม/อาคารส านักงาน/หน่วยงาน ที่ใช้ระบบ บริหารจัดการพลังงาน เช่น FEMS/BEMS ภายใต้โครงการระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจึงเป็นดังตาราง
ระดับการพัฒนา | ความหมาย | สัดส่วนจ านวนโรงงาน/ อาคารที่ใช้ระบบบริหาร จัดการพลังงาน [%] |
0 | ไม่มีแผนเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบัน | 0% |
1 | มีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่ม ด าเนินการเป็นรูปธรรม | น้อยกว่า 10% |
2 | เริ่มด าเนินการพัฒนาด้านนี้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ทั่ว ทั้งระบบ | 10% - 40% |
3 | มีการพัฒนาด้านนี้อยู่ในแผนงานปกติ | 40% - 60% |
4 | มีการพัฒนาด้านนี้มากในระดับหนึ่งแล้ว | 60% - 80% |
5 | มีการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบันในระดับแนวหน้า ของโลก | มากกว่า 80% |
จากตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนาที่แสดงไว้ข้างต้นจะได้ว่า เป้าหมายระดับการพัฒนา
สัดส่วนจ านวนโรงงานอุตสาหกรรม/อาคารส านักงาน/หน่วยงาน ที่ใช้ระบบบริหารจัดการพลังงาน เช่น FEMS/BEMS ภายใต้โครงการระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในแต่ละกรณี เป็นดังนี้
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): | 48.0 % | (Best case) |
| 42.0 % | (Moderate case) |
| 28.0 % | (Worst case) |
จ านวนผู้ประกอบการที่ให้บริการทางด้านการบริหารจัดการพลังงานที่ใช้ เทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด [หน่วย: ราย] (KAI Code: No_SmtESCO)
เป้าประสงค์: เกิดธุรกิจต่อยอดภายในประเทศและมีความสามารถในการส่งออกเทคโนโลยี/
สินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
ค าอธิบาย:
การพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศจ าเป็นจะต้องส่งเสริมให้เกิดธุรกิจต่อยอด
ภายในประเทศและมีความสามารถในการส่งออกเทคโนโลยี/สินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงข่าย สมาร์ทกริด ซึ่งธุรกิจบริการด้านพลังงาน (Energy Service Company; ESCO) ถือเป็นธุรกิจหนึ่งที่สามารถต่อ ยอดให้ครอบคลุมถึงการจ าหน่ายสินค้าและ/หรือให้บริการในด้านการบริหารจัดการพลังงานด้วยเทคโนโลยี ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดได้ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบและด าเนินงานส าหรับโครงการอนุรักษ์พลังงาน การ ให้บริการด้านการจัดหาสาธารณูปโภคด้านพลังงาน โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าและพลังงาน การให้บริการด้าน เงินลงทุนส าหรับโครงการด้านพลังงาน เป็นต้น
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน (Existing): 1.4
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 3.5 (Best case)
3.1 (Moderate case)
2.5 (Worst case)
การแปลผลการประเมินระดับการพัฒนา จากข้อมูลของสถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จะพบว่า ใน
ปัจจุบันมี บริษัทที่ขึ้นทะเบียนด าเนินการธุรกิจบริการด้านพลังงานหรือ ESCO จ านวน 48 บริษัท ในจ านวนนี้ 11 บริษัทไม่ได้ท าการต่อทะเบียนหลังจากหมดอายุท าให้คงเหลือ 37 บริษัทที่ยังด าเนินธุรกิจอยู่ หากท าการ ประเมินว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า บริษัทเหล่านี้จ านวน 37 บริษัท สามารถด าเนินธุรกิจต่อยอดการบริหารจัด การพลังงานโดยใช้เทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดได้ และหากภาครัฐท าการส่งเสริมให้เกิดผู้ให้บริการใน ธุรกิจต่อยอดนี้จ านวนมากขึ้น ในเบื้องต้นก าหนดให้หากมีจ านวนผู้ให้บริการมากกว่า 100 บริษัทถือเป็นการ พัฒนาในระดับดีมาก จะได้ว่า การแปลผลระดับการพัฒนาของจ านวนผู้ประกอบการที่ให้บริการทางด้านการ บริหารจัดการพลังงานที่ใช้เทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดจึงเป็นดังตาราง
ระดับการพัฒนา | ความหมาย | จ านวนผู้ประกอบการ [ราย] |
0 | ไม่มีแผนเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบัน | 0 |
1 | มีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาด้านนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่ม ด าเนินการเป็นรูปธรรม | น้อยกว่า 40 |
2 | เริ่มด าเนินการพัฒนาด้านนี้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ทั่วทั้ง ระบบ | 40 - 60 |
3 | มีการพัฒนาด้านนี้อยู่ในแผนงานปกติ | 60 - 80 |
4 | มีการพัฒนาด้านนี้มากในระดับหนึ่งแล้ว | 80 - 100 |
5 | มีการพัฒนาด้านนี้ในปัจจุบันในระดับแนวหน้าของโลก | มากกว่า 100 |
จากตารางแปลผลการประเมินระดับการพัฒนาที่แสดงไว้ข้างต้นจะได้ว่า เป้าหมายระดับการพัฒนา
จ านวนผู้ประกอบการที่ให้บริการทางด้านการบริหารจัดการพลังงานที่ใช้เทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด ในแต่ละกรณี เป็นดังนี้
เป้าหมายระดับการพัฒนา (Target – Development Level): 70 ราย (Best case)
62 ราย (Moderate case)
50 ราย (Worst case)
เอกสารแนบ ง. กรอบวงเงินและผลประโยชน์ของ กิจกรรมลงทุน
ค าชี้แจง
เอกสารฉบับนี้ น าเสนอประมาณการกรอบวงเงินส าหรับกิจกรรมการลงทุนพัฒนาในระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศ ซึ่งจัดท าขึ้นภายใต้ โครงการศึกษาเพื่อก าหนดนโยบายและแผนการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของไทย โดยส านักงาน นโยบายและแผนพลังงานได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เป็นผู้ด าเนินการหลัก ทั้งนี้ กรอบวงเงินที่ระบุอยู่ในเอกสารฉบับนี้ ถูกประเมินขึ้นมาจากสมมติฐานในกรณีที่มีปัจจัยขับเคลื่อน ความส าเร็จของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดอยู่ในกรณีดีที่สุด (Best case) และเป้าหมายของการ พัฒนาจะครอบคลุมไปถึงปี พ.ศ. 2579 ทั้งนี้ สมมติฐานส่วนใหญ่ที่ใช้ในการประเมิน เป็นการก าหนดร่วมกัน ระหว่างคณะผู้จัดท าและคณะท างานของการไฟฟ้าฯ ทั้งสามแห่ง คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โดยในการประมาณการเงินลงทุน บางส่วน หากเป็นข้อมูลที่ยังไม่มีในประเทศไทย จะอาศัยผลจากการศึกษาเรื่อง “Estimating the Costs and Benefits of the Smart Grid” ที่ท าการศึกษาโดย Electric Power Research Institute (EPRI) ซึ่งเป็น หน่วยงานวิจัยด้านระบบไฟฟ้าก าลังในสหรัฐอเมริกา
เจตนารมย์ในการจัดท าประมาณการกรอบวงเงินส าหรับกิจกรรมการลงทุนพัฒนาในระบบสมาร์ท กริดครั้งนี้ ก็เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาคนโยบายเห็นภาพรวมของปริมาณกรอบวงเงินลงทุน โดยประมาณที่ต้องใช้ในการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศที่ครอบคลุมไปถึงปี พ.ศ. 2579 เพื่อให้ได้แนวทางที่ภาครัฐสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการก าหนดนโยบายและ/หรือโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ อย่างชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้ กรอบวงเงินดังกล่าวมิได้มีผลผูกมัดให้การไฟฟ้าทั้งสามแห่งต้องจัดท าแผนงานฯ ส าหรับการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด และต้องตั้งกรอบงบประมาณผูกพันกับข้อมูลกรอบวงเงินที่ ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ เนื่องจาก หากการไฟฟ้าแต่ละแห่งต้องจัดท าแผนงานฯ และขออนุมัติโครงการ ก็ จะต้องท าการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) เพื่อประเมินเงินลงทุนและความคุ้มค่า ของโครงการโดยละเอียดอีกครั้ง ซึ่งอ านาจในการอนุมัติแผนงานและโครงการดังกล่าวจะอยู่ในความรับผิดชอบ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็น ส าคัญ นอกจากนี้ เนื่องจากแผนยุทธศาสตร์นโยบายการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศจัดเป็น การวางแผนในระยะยาวซึ่งจะมีความไม่แน่นอนสูง ดังนั้น จะต้องมีการทบทวนอย่างสม่ าเสมอ และสามารถ ปรับเปลี่ยนให้มีความเหมาะสมกับสภาวะการณ์ในอนาคตที่เปลี่ยนไปได้ โดยกิจกรรมการลงทุนต่างๆ อาจถูก ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมหากเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ซึ่งอาจจะท าให้ประมาณการ กรอบวงเงินของกิจกรรมต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต
ส าหรับการก าหนดผลประโยชน์ที่เกิดจากการด าเนินกิจกรรมลงทุนพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของ ไทยใน ระบบผลิต ระบบส่ง และระบบจ าหน่าย รวมทั้งสิ้น 22 กิจกรรมนั้น ในเบื้องต้น คณะผู้จัดท าได้ท าการ วิเคราะห์เทียบเคียงกับผลการศึกษาของ EPRI อย่างไรก็ดี จะน าเสนอเฉพาะเพียงประเภทของผลประโยชน์เท่านั้น เนื่องจาก ข้อมูลเชิงปริมาณจากการศึกษาดังกล่าวมีความจ าเพาะต่อคุณลักษณะของระบบไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกา เป็นหลัก จึงอาจจะไม่สามารถน ามาใช้กับกิจกรรมการลงทุนของประเทศไทยได้โดยตรง ดังนั้น การด าเนินการ ในช่วงต่อไป ภาครัฐจะต้องผลักดันให้มีการพัฒนาโครงการน าร่อง (Pilot Project) ของกิจกรรมต่างๆ เพื่อศึกษาถึง ความเป็นไปได้ และเพื่อท าการประเมินผลประโยชน์ที่เป็นตัวเลขอ้างอิงส าหรับแต่ละกิจกรรมที่เกิดจากการพัฒนา ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในประเทศไทยให้ชัดเจนต่อไป
ง.1 สรุปผลประโยชน์และกรอบวงเงินลงทนุ พัฒนาฯ ในระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของการไฟฟ้าฯ
ผลประโยชน์ที่เกิดจากการด าเนินกิจกรรมการลงทุนพัฒนาฯ ในระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด (วิเคราะห์เทียบเคียงกับผลการศึกษาของ EPRI ประเทศสหรัฐอเมริกา)
| Activities | Improved Asset Utilization | T&D Capital Savings | T&D O&M Saving | Energy Efficiency | Electricity Cost Saving | Power Quality | Air Emissions | Productivity | Safety | Environment | Capacity | Cost | Quality | Quality of Life | Security | Reliability |
1 | Wide Area Monitoring System (WAMS)/Wide Area Protection and Control (WAPC) | | O | | | | O | O | O | O | | O | | O | | O | O |
2 | Energy Management System (SCADA/EMS) | O | O | | O | O | | O | O | | O | O | O | | | | O |
3 | EHV/FACTS | | O | | | | | O | O | | | O | O | | | | |
4 | Substation Automation (G&T) | | O | | | | | O | O | O | | O | | O | | O | O |
5 | Energy Storage System (G&T) | O | O | | O | O | O | O | | | O | | | | | O | |
6 | Renewable Energy Forecast System | O | O | | | | O | O | O | | O | O | O | O | O | O | O |
7 | SPP/VSPP Data Communication System (G&T) | | O | | | O | | O | O | O | | O | | O | | O | O |
8 | ICT Integration (G&T) | | O | | | O | | | | | | | | | | | |
9 | Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (G&T) | | O | | | O | | O | | | O | | O | | O | O | O |
10 | Intelligent Charging System/V2G (G&T) | O | O | | | | | O | | | O | | | | O | | |
11 | Distribution/Feeder Automation (DA/FA) | | O | | | O | O | O | O | O | O | O | O | O | O | O | O |
12 | Substation Automation (Distr) | | O | | | O | | O | O | O | | O | O | O | | O | O |
13 | Distribution Management System (SCADA/DMS) | O | O | | O | | | O | O | | O | O | O | | O | O | O |
14 | Smart Meter + AMR/AMI | O | O | O | | O | | | | | | | | | O | O | |
15 | Inteligent Charging System/V2G (Distr) | O | O | | | | | O | | | O | | | | O | | O |
16 | Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (Distr) | | O | | | O | | O | | | O | | O | | O | O | |
17 | Intelligent Street Lights | O | O | | O | O | | O | O | | O | O | O | | O | | |
18 | Meter Data Management System (MDMS) | | O | O | | O | | | | | | | | | O | | |
19 | Microgrid Development | O | O | | | O | O | O | | | O | O | | | | O | O |
20 | Energy Storage System (Distr) | O | O | | O | O | O | O | | | O | | | | | | |
21 | SPP/VSPP Data Communication System (Distr) | | O | | | O | | O | O | O | | O | | O | | O | O |
22 | ICT Integration (Distr) | | O | | | O | | | | | | | | | | | |
ง.1
จากการประชุม “คณะท างานจัดท าแผนงานการศึกษาโครงการเพื่อรองรับการพัฒนาระบบโครงข่าย
สมาร์ทกริด” เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2556 และการประชุมเชิงปฏิบัติการกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ ไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เมื่อวันที่ 29 – 30 พฤษภาคม 2556 เพื่อท าการประมาณการกรอบวงเงินการลงทุนและระยะเวลาด าเนินโครงการส าหรับกิจกรรมการพัฒนา ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของการไฟฟ้าฯ แต่ละแห่ง โดยกรอบวงเงินส าหรับการลงทุนฯ และระยะเวลา ด าเนินโครงการของกิจกรรมการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของการไฟฟ้าฯ แต่ละแห่งนั้นถูกประเมินตั้ง ต้นขึ้นจากสมมติฐานในกรณีปัจจัยขับเคลื่อนความส าเร็จของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดอยู่ในกรณีดี ที่สุด (Best Case) จากนั้น กรอบวงเงินในกรณีกลาง (Moderate Case) และกรณีแย่ที่สุด (Worst Case) จะ ถูกประมาณโดยอาศัยภาพฉายอนาคตที่ได้ก าหนดขึ้น ทั้งนี้ สมมติฐานที่ใช้ในการประเมินกรอบวงเงินในกรณีดีที่สุดเป็นการก าหนดร่วมกันระหว่างที่
ปรึกษาในการจัดท าแผนแม่บทฯ และคณะท างานของการไฟฟ้าทั้งสามแห่ง คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โดยในการประมาณ การเงินลงทุนบางส่วน หากเป็นข้อมูลที่ยังไม่มีในประเทศไทยจะอาศัยผลจากการศึกษาของ EPRI และข้อมูล ราคากลางของบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าของประเทศไทย โดยผลสรุปกรอบวงเงินในกรณีต่างๆ ของ ทั้งสามการไฟฟ้าจะถูกแสดงในตารางที่ ง.1 – ง.3 ดังนี้
ตารางที่ ง.1 ผลสรุปกรอบวงเงินและระยะเวลาด าเนินโครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าสมาร์ทกริดของ กฟผ.
| กิจกรรม | ระยะเวลา (ปี) | กรอบวงเงิน (ล้านบาท) |
Best | Moderate | Worst |
1 | Wide Area Monitoring System (WAMS)/Wide Area Protection and Control (WAPC) | 10 | 543 | 407 | 136 |
2 | Energy Management System (SCADA/EMS) | 10 | 1,240 | 1,240 | 620 |
3 | EHV/FACTS | 10 | 100,000 | 50,000 | - |
4 | Substation Automation (G&T) | 17 | 15,300 | 11,475 | 3,825 |
5 | Energy Storage System (G&T) | 17 | 49,000 | 36,750 | 36,750 |
6 | Renewable Energy Forecast System | 10 | 220 | 165 | - |
7 | SPP/VSPP Data Communication System (G&T) | 10 | 2,913 | 2,185 | 728 |
8 | ICT Integration (G&T) | 10 | 2,000 | 2,000 | 2,000 |
9 | Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (G&T) | 17 | 1,000 | 750 | - |
10 | Intelligent Charging System/V2G (G&T) | 17 | 1,000 | 250 | - |
| Total cost | 173,216 | 105,222 | 44,059 |
*หมายเหตุ ข้อมูลการประมาณเงินลงทุนบางส่วน ได้รับการปรับปรุงโดยอ้างอิงข้อมูลจาก EPRI และราคากลางของบริษัทบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าของ ประเทศไทย
ตารางที่ ง.2 ผลสรุปกรอบวงเงินและระยะเวลาด าเนินโครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าสมาร์ทกริดของ กฟน.
| กิจกรรม | ระยะเวลา (ปี) | กรอบวงเงิน (ล้านบาท) |
Best | Moderate | Worst |
1 | Distribution/Feeder Automation (DA/FA) | 15 | 1,500 | 1,125 | 750 |
2 | Substation Automation (Distr) | 15 | 2,000 | 1,500 | 1,000 |
3 | Distribution Management System (SCADA/DMS) | 15 | 1,500 | 1,125 | 1,125 |
4 | Smart Meter + AMR/AMI | 17 | 5,029 | 3,772 | 2,514 |
5 | Intelligent Charging System/V2G (Distr) | 10 | 1,006 | 503 | - |
6 | Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (Distr) | 10 | 503 | 377 | - |
7 | Intelligent Street Lights | 15 | 4,250 | 1,062 | - |
8 | Meter Data Management System (MDMS) | 15 | 447 | 224 | 224 |
9 | Microgrid Development | - | - | - | - |
10 | Energy Storage System (Distr) | 15 | 100 | 25 | - |
11 | SPP/VSPP Data Communication System (Distr) | 10 | 5 | 1 | - |
12 | ICT Integration (Distr) | 10 | 300 | 300 | 300 |
| Total cost | | 16,640 | 10,014 | 5,913 |
*หมายเหตุ ข้อมูลการประมาณเงินลงทุนบางส่วน ได้รับการปรับปรุงโดยอ้างอิงข้อมูลจาก EPRI และราคากลางของบริษัทบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าของ ประเทศไทย
ตารางที่ ง.3 ผลสรุปกรอบวงเงินและระยะเวลาด าเนินโครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าสมาร์ทกริดของ กฟภ.
| กิจกรรม | ระยะเวลา (ปี) | กรอบวงเงิน (ล้านบาท) |
Best | Moderate | Worst |
1 | Distribution/Feeder Automation (DA/FA) | 15 | 3,000 | 2,250 | 1,500 |
2 | Substation Automation (Distr) | 15 | 6,250 | 4,688 | 3,125 |
3 | Distribution Management System (SCADA/DMS) | 15 | 3,000 | 2,250 | 2,250 |
4 | Smart Meter + AMR/AMI | 17 | 67,500 | 50,625 | 33,750 |
5 | Intelligent Charging System/V2G (Distr) | 10 | 2,025 | 1,012 | - |
6 | Demand Response (DR)/Demand-Side Management (DSM) (Distr) | 10 | 3,375 | 2,531 | - |
7 | Intelligent Street Lights | 15 | 8,500 | 2,125 | - |
8 | Meter Data Management System (MDMS) | 15 | 6,000 | 3000 | 3,000 |
9 | Microgrid Development | 15 | 2,200 | 1,100 | 550 |
10 | Energy Storage System (Distr) | 15 | 3,000 | 750 | 0 |
11 | SPP/VSPP Data Communication System (Distr) | 10 | 2,700 | 675 | 0 |
12 | ICT Integration (Distr) | 10 | 1,600 | 1,600 | 1,600 |
| Total cost | 109,150 | 72,606 | 45,775 |
*หมายเหตุ ข้อมูลการประมาณเงินลงทุนบางส่วน ได้รับการปรับปรุงโดยอ้างอิงข้อมูลจาก EPRI และราคากลางของบริษัทบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าของ ประเทศไทย
ง.2 สมมติฐานในการประเมินกรอบวงเงิน
กรอบวงเงินและผลประโยชน์ของกิจกรรมลงทุนในระบบผลิตและระบบส่ง
กิจกรรม: Wide Area Monitoring System (WAMS)/Wide Area Protection and Control (WAPC)
หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง: การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน: ระดับ 2 - เริ่มด าเนินกิจกรรมบ้างแล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้น/แพร่หลาย
เป้าหมายระดับการพัฒนา ระดับ 4 - มีกิจกรรมนี้ใช้งานและได้รับการพัฒนามากในระดับหนึ่งแล้ว ภายในปี พ.ศ. 2579กรณีดีที่สุด:
เงินลงทุนรวมตลอดโครงการ: 543 ล้านบาท
ระยะเวลาโครงการโดยประมาณ: 10 ปี
ค าอธิบายเงินลงทุน: กิจกรรม WAMS/WAPC มีเป้าหมายยกระดับการพัฒนาจากสถานะปัจจุบัน
ณ. ปี 2558 ซึ่งอยู่ในระดับที่ 2 ไปเป็นระดับที่ 4 ภายในปี พ.ศ. 2579
จากแผนที่น าทางระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของ กฟผ. ซึ่งมีเป้าหมายในการ ติดตั้งระบบ WAMS/WAPC ครอบคลุมสถานีไฟฟ้าแรงสูงทั้งระดับแรงดัน
500 kV และ 230 kV ทุกสถานี(1) รวมทั้งสิ้น 82(2) สถานี โดยอุปกรณ์หลักที่ ส าคัญในระบบ WAMS/WAPC คือ Phasor Measurement Units (PMU)
มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 3.75 ล้านบาท/ระบบ(3) จะท างานร่วมกับ โครงสร้างพื้นฐานระบบสื่อสาร และอื่นๆ ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนในเบื้องต้นรวม
ประมาณ 2.5 ล้านบาท/ระบบ ดังนั้นค่าใช้จ่ายรวมของระบบ WAMS/WAPC จะอยู่ที่ประมาณ 6.25 ล้านบาท/ระบบ นอกจากนี้ หากจะ ต้องการระดับการพัฒนาเป้าหมายที่ระดับ 4 แล้ว จะต้องมีการติดตั้ง โปรแกรมประยุกต์ อุปกรณ์แสดงผล และอุปกรณ์ประกอบเพิ่มเติมที่ศูนย์ ควบคุมแห่งชาติ (NCC) ซึ่งมีการประมาณค่าใช้จ่ายเบื้องต้นไว้ที่ประมาณ 30 ล้านบาท
ดังนั้นจะประมาณได้ว่ากรอบวงเงินส าหรับกิจกรรมการติดตั้งระบบ WAMS/WAPC รวมทั้งสิ้น 82 สถานี จะมีค่าประมาณ 543 ล้านบาท
ค าอธิบายผลประโยชน์: ระบบ WAMS/WAPC จะท าให้ กฟผ. สามารถรับรู้ข้อมูลของสถานะการ ท างานของระบบไฟฟ้า สามารถควบคุมการเปิดปิดวงจรจากระยะไกล และ สามารถป้องกันระบบไฟฟ้าของตนเองได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่ง จะส่งผลประโยชน์แก่การไฟฟ้า และผู้ใช้ไฟฟ้าหลายด้าน อาทิเช่น การ ประหยัดงบประมาณในการลงทุนต่างๆ การปรับปรุงคุณภาพไฟฟ้า การลด การปล่อยก๊าซ CO2 เป็นต้น
โดยสรุปผลประโยชน์ของการลงทุนที่ได้รับ สามารถจ าแนกออกเป็นแต่ละ ด้านได้ดังนี้
- T&D Capital Savings
- Power Quality
- Air Emissions
- Productivity
- Safety
- Capacity - Quality
- Security
- Reliability
ที่มา: (1) แผนที่น าทางระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของ กฟผ., กฟผ.
(2) รายงานประจ าปี 2555, กฟผ.
(3) รายงาน Estimating the Costs and Benefits of the Smart Grid,
Electric Power Research Institute (EPRI): ก าหนดให้ 1USD = 30THB
Energy Management System (SCADA/EMS) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ระดับ 2 - เริ่มด าเนินกิจกรรมบ้างแล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้น/แพร่หลาย
เป้าหมายระดับการพัฒนา ระดับ 4 - มีกิจกรรมนี้ใช้งานและได้รับการพัฒนามากในระดับหนึ่งแล้ว ภายในปี พ.ศ. 2579กรณีดีที่สุด:
เงินลงทุน: 1,240 ล้านบาท
ระยะเวลาโครงการโดยประมาณ: 10 ปี
ค าอธิบายเงินลงทุน: กิจกรรม SCADA/EMS มีเป้าหมายยกระดับการพัฒนาจากสถานะปัจจุบัน
ณ. ปี 2558 ซึ่งอยู่ในระดับที่ 2 ไปเป็นระดับที่ 4 ภายในปี พ.ศ. 2579
จากรายงานประจ าของ กฟผ. ในปี 2555 กฟผ. มีจ านวนสถานีไฟฟ้าที่ระดับ แรงดัน 500 kV 230 kV และ 115 kV รวมทั้งสิ้น 212(1) สถานี ส าหรับการ ติดตั้งระบบ SCADA/EMS นั้น EPRI ได้มีการประเมินเงินลงทุนปรับปรุง สถานีไฟฟ้าเพื่อรองรับการติดต่อสื่อสารกับระบบ SCADA/EMS กับศูนย์ ควบคุมไว้ที่ประมาณ 2.0 ล้านบาท/สถานี(2)นอกจากนี้ จะต้องมีการติดตั้ง โปรแกรมประยุกต์ อุปกรณ์แสดงผล และอุปกรณ์ประกอบเพิ่มเติมที่ศูนย์ ควบคุมแห่งชาติ (NCC) และศูนย์เขต (RCC) อีก 5 แห่งของ กฟผ. ซึ่งมี ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นประมาณการไว้ที่ 150 ล้านบาท/ศูนย์ควบคุม
อย่างไรก็ดี จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ในปัจจุบัน กฟผ. ได้มีการติดตั้งระบบ SCADA/EMS ไว้อยู่แล้วส่วนหนึ่ง (ซึ่งสอดคล้องกับผลการประเมิน สถานะปัจจุบันที่ระดับ 2) ดังนั้น หากประเมินว่าในการพัฒนาระบบ SCADA/EMS ของ กฟผ. ให้มีเป้าหมายเป็นระดับที่ 4 ภายในปี พ.ศ. 2579 แล้ว กฟผ. จะต้องด าเนินการติดตั้งระบบ SCADA/EMS เพิ่มเติมอีก ประมาณ 170 สถานี จะประมาณได้ว่ากรอบวงเงินส าหรับกิจกรรมการติดตั้ง ระบบ SCADA/EMS จะอยู่ที่ประมาณ 1,240 ล้านบาท
ค าอธิบายผลประโยชน์: ความสามารถทางด้านการบริหารจัดการและควบคุมสมรรถนะของระบบ ผลิตและระบบส่งไฟฟ้าแบบเวลาจริง (Real time) การพยากรณ์ความ ต้องการไฟฟ้า การจัดสรรก าลังการผลิตอย่างเหมาะสม การลดก าลังสูญเสีย ในระบบส่งไฟฟ้า และการตรวจจับและก าหนดต าแหน่งที่เกิดความผิดพร่อง ในระบบส่ง (Fault Location Detector) ที่ได้รับจากระบบ SCADA/EMS จะส่งผลประโยชน์แก่การไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้า และสังคม/สิ่งแวดล้อมหลายด้าน อาทิเช่น การใช้สินทรัพย์ของการไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ การประหยัด งบประมาณในการลงทุนต่างๆ การประหยัดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการต่างๆ การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การลดการปล่อยก๊าซ CO2 เป็นต้น โดยสรุปผลประโยชน์ของการลงทุนที่ได้รับ สามารถจ าแนกออกเป็นแต่ละ ด้านได้ดังนี้
- Improve Asset Utilization
- T&D Capital Savings
- Energy Efficiency
- Electricity Cost Saving
- Air Emissions
- Productivity
- Environment
- Capacity
- Cost
- Reliability
ที่มา: (1) รายงานประจ าปี 2555, กฟผ.
(2) รายงาน Estimating the Costs and Benefits of the Smart Grid,
Electric Power Research Institute (EPRI): ก าหนดให้ 1USD = 30THB
EHV/FACTS การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ระดับ 1 - มีแนวคิดเกี่ยวกับกิจกรรมนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่มด าเนินการ
เป้าหมายระดับการพัฒนา ระดับ 3 - มีกิจกรรมนี้ใช้งานตามแผนงานปกติภายในปี พ.ศ. 2579กรณีดีที่สุด:
เงินลงทุน: 100,000 ล้านบาท
ระยะเวลาโครงการโดยประมาณ: 10 ปี
ค าอธิบายเงินลงทุน: กิจกรรม EHV/FACTS มีเป้าหมายยกระดับการพัฒนาจากสถานะปัจจุบัน
ณ. ปี 2558 ซึ่งอยู่ในระดับที่ 1 ไปเป็นระดับที่ 3 ภายในปี พ.ศ. 2579
ในอนาคตนั้นคาดว่าประเทศไทยจะมีการใช้งานอุปกรณ์ประเภท EHV/FACTS เป็นจ านวนมากขึ้น โดยมีแนวโน้มที่จะต้องมีการใช้งานระบบ ส่งไฟฟ้าแบบ HVDC (High Voltage Direct Current) ซึ่งนับเป็นหนึ่งใน อุปกรณ์ FACTS โดยในปัจจุบัน ประเทศไทยใช้ระบบ HVDC เชื่อมต่อไปยัง ประเทศมาเลเซีย โดยมีขนาดการส่งผ่านก าลังไฟฟ้าเท่ากับ 300 MW
จากการประมาณการของ กฟผ. จะพบว่า ภายในปี พ.ศ. 2579 กฟผ. มีแผน จะท าการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้ากับประเทศจีนตอนใต้ผ่านระบบ HVDC ด้วย ระดับแรงดัน +/-500 kV ขนาด 3000 MW แบบ Bi-pole ระยะทาง 850 กิโลเมตร ในวงเงินประมาณ 47,000 MTHB และเชื่อมต่อเพื่อรับไฟฟ้าจาก พม่าผ่านระบบ HVDC ด้วยระดับแรงดัน +/-500 kV ขนาด 3150 MW แบบ Bi-pole ระยะทาง 840 km ในวงเงินอีกประมาณ 53,000 MTHB ดังนั้น จะประมาณได้ว่ากรอบวงเงินส าหรับกิจกรรม EHV/FACTS จะอยู่ที่ ประมาณ 100,000 ล้านบาท
ค าอธิบายผลประโยชน์: คุณสมบัติที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมและการส่งผ่านก าลังไฟฟ้าใน ระบบส่งให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น จะส่งผลประโยชน์แก่การไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้า และสังคม/สิ่งแวดล้อม โดยจะเป็นการประหยัดงบประมาณในการลงทุน ต่างๆ อาทิเช่น งบประมาณในการก่อสร้างสายส่ง และโรงไฟฟ้า งบประมาณ ในการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นการ
ลดการปลดปล่อยก๊าซ CO2 เนื่องจากระบบ EHV/FACTS จะส่งเสริมการใช้ พลังงานหมุนเวียนให้สามารถใช้งานได้ดียิ่งขึ้น
โดยสรุปผลประโยชน์ของการลงทุนที่ได้รับ สามารถจ าแนกออกเป็นแต่ละ ด้านได้ดังนี้
- T&D Capital
- Air Emissions – Storage
- Environment - Capacity
ที่มา: (1) เอกสารการน าเสนอ “Updates on APG Status: Future Projects (as of 17 January 2013)”, กฟผ.
(2) รายงาน Estimating the Costs and Benefits of the Smart Grid,
Electric Power Research Institute (EPRI): ก าหนดให้ 1USD = 30THB
Substation Automation (G&T) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ระดับ 1.5 - อยู่ระหว่างมีแนวคิดเกี่ยวกับกิจกรรมนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่ม ด าเนินการกับเริ่มด าเนินกิจกรรมบ้างแล้วแต่ยังไม่เสร็จสิ้น/แพร่หลาย
เป้าหมายระดับการพัฒนา ระดับ 4 - มีกิจกรรมนี้ใช้งานและได้รับการพัฒนามากในระดับหนึ่งแล้ว ภายในปี พ.ศ. 2579กรณีดีที่สุด:
เงินลงทุน: 15,300 ล้านบาท
ระยะเวลาโครงการโดยประมาณ: 17 ปี
ค าอธิบายเงินลงทุน: กิจกรรม Substation Automation มีเป้าหมายยกระดับการพัฒนาจาก สถานะปัจจุบัน ณ. ปี 2558 ซึ่งอยู่ในระดับที่ 1.5 ไปเป็นระดับที่ 4 ภายในปี พ.ศ. 2579
จากแผนที่น าทางระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของ กฟผ. นั้น กฟผ. มีแผนที่จะ ปรับปรุงสถานีไฟฟ้าทุกระดับแรงดันให้เป็นสถานีไฟฟ้าแบบอัตโนมัติตาม มาตรฐาน IEC 61,850(1) รวมทั้งสิ้น 212 สถานี(2) และจากข้อมูลของ GE Digital Energy ประเทศสหรัฐอเมริกา(3) จะพบว่าระบบ Substation Automation ประกอบไปด้วยอุปกรณ์พื้นฐาน 3 ประเภท ได้แก่ Substation Data Gateway, Remote Terminal Units และ
Replacement Parts ซึ่งมีค่าใช้จ่ายรวมกันประมาณ 90 ล้านบาท/สถานี
อย่างไรก็ดี จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ในปัจจุบัน กฟผ. ยังไม่ได้มีการติดตั้ง ระบบ Substation Automation หรือหากมีก็มีจ านวนน้อยมาก (ซึ่ง สอดคล้องกับผลการประเมินสถานะปัจจุบันที่ระดับ 1.5) ดังนั้น หาก ประเมินว่าในการพัฒนาระบบ Substation Automation (G&T) ของ กฟผ. ให้มีเป้าหมายเป็นระดับที่ 4 ภายในปี พ.ศ. 2579 แล้ว กฟผ. จะต้อง ด าเนินการติดตั้งระบบ Substation Automation (G&T) เป็นจ านวนรวม ทั้งสิ้น 170 สถานี จะประมาณได้ว่ากรอบวงเงินส าหรับกิจกรรมการติดตั้ง ระบบ Substation Automation (G&T) จะอยู่ที่ประมาณ 15,300 ล้าน บาท
ค าอธิบายผลประโยชน์: คุณสมบัติของสถานีไฟฟ้าแบบอัตโนมัติในการเข้าถึงข้อมูลทั้งระยะใกล้และ ระยะไกล การควบคุมการท างานอุปกรณ์จ่ายไฟฟ้าโดยระบบอัตโนมัติและ เป็นตัวกลางในจัดการระบบข้อมูลและควบคุมระหว่างอุปกรณ์จ่ายไฟฟ้าและ ระบบควบคุมและประมวลผลแบบรวมศูนย์ จะส่งผลประโยชน์แก่การไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้า และสังคม/สิ่งแวดล้อม โดยจะเป็นการประหยัดงบประมาณในการ ลงทุนต่างๆ อาทิเช่น งบประมาณในการลงทุนติดตั้งเครื่องก าเนิดไฟฟ้าแบบ
กระจายตัว เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นการลดการปลดปล่อยก๊าซ CO2เนื่องจากระบบ Substation Automation (G&T) จะท าให้มีการใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนให้สามารถ ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น
โดยสรุปผลประโยชน์ของการลงทุนที่ได้รับ สามารถจ าแนกออกเป็นแต่ละ ด้านได้ดังนี้
- T&D Capital Savings
- Air Emissions
- Productivity
- Safety
- Capacity - Quality
- Security
- Reliability
ที่มา: (1) แผนที่น าทางระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของ กฟผ., กฟผ.
(2) รายงานประจ าปี 2555, กฟผ.
(3) https://www.gedigitalenergy.com/index.htm
(4) รายงาน Estimating the Costs and Benefits of the Smart Grid,
Electric Power Research Institute (EPRI): ก าหนดให้ 1USD = 30THB
Energy Storage System (G&T) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ระดับ 2 - เริ่มด าเนินกิจกรรมบ้างแล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้น/แพร่หลาย ระดับ 3 - มีกิจกรรมนี้แล้วในปัจจุบัน อยู่ในแผนงานปกติ
เงินลงทุน: 49,000 ล้านบาท
ระยะเวลาโครงการโดยประมาณ: 17 ปี
ค าอธิบายเงินลงทุน: กิจกรรม Energy Storage System มีเป้าหมายยกระดับการพัฒนาจาก สถานะปัจจุบัน ณ. ปี 2558 ซึ่งอยู่ในระดับที่ 2 ไปเป็นระดับที่ 3 ภายในปี พ.ศ. 2579
การเพิ่มขึ้นของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็นจ านวนมากนั้น ท า ให้ กฟผ. จ าเป็นต้องลงทุนติดตั้ง Energy Storage System ในระบบส่ง เพิ่มเติม โดยอาจติดตั้งที่สถานีไฟฟ้าเพื่อช่วยเพิ่มความมั่นคงต่อระบบไฟฟ้า และลดความผันผวนที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ทั้งนี้ โดยทั่วไปนั้น ระบบ Energy Storage System จะประกอบไปด้วย Battery Inverter และอุปกรณ์ป้องกัน ซึ่งมีราคารวมประมาณ 50 ล้านบาท/MW(2) โดยในปัจจุบัน กฟผ. มีสถานีไฟฟ้าทั้งหมด 212 สถานี (1) หากประเมินว่าใน การพัฒนาระบบ Energy Storage System ของ กฟผ. ให้มีเป้าหมายเป็น ระดับที่ 3 ภายในปี พ.ศ. 2579 แล้ว คาดว่า กฟผ. จะต้องด าเนินการทดลอง ติดตั้ง Energy Storage System เป็นจ านวน 50 สถานี และประมาณการ ในเบื้องต้นว่า 1 สถานีไฟฟ้าควรจะมี Energy Storage System ติดตั้งอย่าง น้อย 10 MW และติดตั้ง Pump storage ที่เขื่อนจุฬาภรณ์ และคีรีธารจะได้ ว่า กรอบวงเงินส าหรับกิจกรรมการติดตั้ง Energy Storage System จะอยู่ ที่ประมาณ 49,000 ล้านบาท
ค าอธิบายผลประโยชน์: ผลประโยชน์ที่ได้จาก Energy Storage System นั้นมีมากมาย อาทิเช่น การใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ของการไฟฟ้าให้ดียิ่งขึ้น การประหยัด งบประมาณในการลงทุนต่างๆ และปรับปรุงคุณภาพไฟฟ้าให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการลดการปลดปล่อยก๊าซ CO2 ทางอ้อมด้วย เนื่องจาก Energy Storage System จะท าให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น และส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนให้สามารถใช้งานได้ดียิ่งขึ้น ซึ่ง ผลประโยชน์ที่ได้นั้นจะครอบคลุมทั้ง กฟผ. ผู้ใช้ไฟฟ้า และ สังคม/ สิ่งแวดล้อม
โดยสรุปผลประโยชน์ของการลงทุนที่ได้รับ สามารถจ าแนกออกเป็นแต่ละ ด้านได้ดังนี้
- Improve Asset Utilization
- T&D Capital Savings
- Energy Efficiency
- Electricity Cost Saving
- Power Quality
- Air Emissions
- Environment - Security
ที่มา: (1) รายงานประจ าปี 2555, กฟผ.
(2) รายงาน Estimating the Costs and Benefits of the Smart Grid,
Electric Power Research Institute (EPRI): ก าหนดให้ 1USD = 30THB
Renewable Energy Forecast System การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ระดับ 1 - มีแนวคิดเกี่ยวกับกิจกรรมนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่มด าเนินการ ระดับ 3 - มีกิจกรรมนี้แล้วในปัจจุบัน อยู่ในแผนงานปกติ
เงินลงทุน: 220 ล้านบาท
ระยะเวลาโครงการโดยประมาณ: 10 ปี
ค าอธิบายเงินลงทุน: กิจกรรม Renewable Energy Forecast System มีเป้าหมายยกระดับการ พัฒนาจากสถานะปัจจุบัน ณ. ปี 2558 ซึ่งอยู่ในระดับที่ 1 ไปเป็นระดับที่ 3 ภายในปี พ.ศ. 2579
โดยในเบื้องต้น ประมาณการราคาของระบบ Renewable Energy Forecast System จะอยู่ที่ประมาณ 20 ล้านบาท/ศูนย์ควบคุม และมี ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเซนเซอร์ตรวจจับข้อมูลสภาพภูมิอากาศและ ระบบสื่อสารข้อมูลระหว่างเซนเซอร์กับศูนย์ควบคุมอีกภายในวงเงินขั้นต่ า 20 ล้านบาท
หากประเมินว่าในการพัฒนาระบบ Renewable Energy Forecast System ของ กฟผ. ให้มีเป้าหมายเป็นระดับที่ 3 ภายในปี พ.ศ. 2579 แล้ว กฟผ. จะต้องด าเนินการติดตั้ง Renewable Energy Forecast System ที่ ศูนย์ควบคุมแห่งชาติ (NCC) และศูนย์เขต (RCC) ทั้ง 5 เขต และต้องติดตั้ง เซนเซอร์ตรวจจับข้อมูลสภาพภูมิอากาศทั่วประเทศรวมทั้ง 6 เขต จะได้ว่า กรอบวงเงินส าหรับกิจกรรมการติดตั้ง Renewable Energy Forecast System จะอยู่ที่ประมาณ 220 ล้านบาท
ค าอธิบายผลประโยชน์: คุณสมบัติที่สามารถพยากรณ์ก าลังการผลิตไฟฟ้าของพลังงานหมุนเวียนได้ ของ Renewable Energy Forecast System จะส่งผลประโยชน์ต่อการ ไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้า และสังคม/สิ่งแวดล้อมหลายด้าน อาทิเช่น การใช้ประโยชน์ จากสินทรัพย์ของการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นการประหยัดงบประมาณใน การลงทุนต่างๆ การปรับปรุงคุณภาพไฟฟ้า และการลดการปล่อยก๊าซ CO2
โดยสรุปผลประโยชน์ของการลงทุนที่ได้รับ สามารถจ าแนกออกเป็นแต่ละ ด้านได้ดังนี้
- Improve Asset Utilization
- T&D Capital Savings
- Power Quality
- Air Emissions
- Productivity
- Environment
- Capacity
- Cost
- Quality
- Quality of Life
- Security
- Reliability
ที่มา: (1) รายงาน Estimating the Costs and Benefits of the Smart Grid,
Electric Power Research Institute (EPRI): ก าหนดให้ 1USD = 30THB
SPP/VSPP Data Communication System (G&T) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ระดับ 2 - เริ่มด าเนินกิจกรรมบ้างแล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้น/แพร่หลาย
ระดับ 3.5 - อยู่ระหว่าง มีกิจกรรมนี้แล้วในปัจจุบันอยู่ในแผนงานปกติ กับ มีกิจกรรมนี้ใช้งานและได้รับการพัฒนามากในระดับหนึ่งแล้ว
เงินลงทุน: 2,913 ล้านบาท
ระยะเวลาโครงการโดยประมาณ: 10 ปี
ค าอธิบายเงินลงทุน: กิจกรรม SPP/VSPP Data Communication System มีเป้าหมายยกระดับ การพัฒนาจากสถานะปัจจุบัน ณ. ปี 2558 ซึ่งอยู่ในระดับที่ 2 ไปเป็นระดับที่
3.5 ภายในปี พ.ศ. 2579
ปัจจุบันจ านวนของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนประเภท SPP/VSPP มีจ านวนทั้งสิ้น 329 ราย(1) และมีก าลังการผลิตไฟฟ้ารวมประมาณ 4,092MW(2) เมื่อ พิจาณาจากแผนพัฒนาก าลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2555-2573 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3) ซึ่งได้พยากรณ์ก าลังการผลิตไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้า เอกชนประเภท SPP/VSPP ไว้ที่ 12,076 MW(2) จะสามารถประมาณการ จ านวนของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนประเภท SPP/VSPP เบื้องต้นได้เป็น 971 ราย
จากข้อมูลของ EPRI จะพบว่า SPP/VSPP Data Communication System มีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการลงทุนประมาณ 3 ล้านบาท/ราย(3)ซึ่ง ประกอบด้วยระบบ Teleprotection/SDH, STM-1 และหากประเมินว่า ใน การพัฒนา SPP/VSPP Data Communication System ของ กฟผ. ให้มี เป้าหมายเป็นระดับที่ 3.5 ภายในปี พ.ศ. 2579 กฟผ. จะต้องด าเนินการ ตดิ ตง้ั SPP/VSPP Data Communication System ใหม่เป็นจ านวนเท่ากับ จ านวนของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนประเภท SPP/VSPP ซึ่งรวมทั้งสิ้น 971 ราย ดังนั้นกรอบวงเงินการลงทุนของ SPP/VSPP Data Communication System ที่ประเมินได้จะอยู่ที่ประมาณ 2,913 ล้านบาท
ค าอธิบายผลประโยชน์: การพัฒนาความสามารถในการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างโรงไฟฟ้าขนาด เล็กและขนาดเล็กมากกับศูนย์ควบคุมของ กฟผ. ให้มีประสิทธิภาพสูง และมี การใช้งานอย่างแพร่หลายขึ้น จะส่งผลประโยชน์แก่การไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้า และสังคม/สิ่งแวดล้อมหลายด้าน อาทิเช่น การประหยัดงบประมาณในการ ลงทุนต่างๆ การประหยัดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการต่างๆ และการลดการ ปล่อยก๊าซ CO2
โดยสรุปผลประโยชน์ของการลงทุนที่ได้รับ สามารถจ าแนกออกเป็นแต่ละ ด้านได้ดังนี้
- T&D Capital Savings
- Electricity Cost Saving
- Air Emissions
- Productivity
- Safety
- Capacity - Quality
- Security
- Reliability
ที่มา: (1) เอกสารข้อมูลการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP และ VSPP ของ กฟผ., กฟน, และ กฟภ, ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)
(2) แผนพัฒนาก าลังผลิตไฟฟ้าของประเทศพ.ศ. 2555-2573 (ฉบับปรับปรุงครั้ง ที่ 3), กระทรวงพลังงาน
(3) รายงาน Estimating the Costs and Benefits of the Smart Grid, Electric Power Research Institute (EPRI): ก าหนดให้ 1USD = 30THB
ICT integration (G&T) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ระดับ 2.5 - อยู่ระหว่าง เริ่มด าเนินกิจกรรมบ้างแล้วแต่ยังไม่เสร็จสิ้น/ แพร่หลายกับ มีกิจกรรมนี้แล้วในปัจจุบันอยู่ในแผนงานปกติ
เป้าหมายระดับการพัฒนา ระดับ 4 - มีกิจกรรมนี้ใช้งานและได้รับการพัฒนามากในระดับหนึ่งแล้ว ภายในปี พ.ศ. 2579กรณีดีที่สุด:
เงินลงทุน: 2,000 ล้านบาท
ระยะเวลาโครงการโดยประมาณ: 10 ปี
ค าอธิบายเงินลงทุน: | | กิจกรรม ICT integration (G&T) มีเป้าหมายยกระดับการพัฒนาจาก สถานะปัจจุบัน ณ. ปี 2558 ซึ่งอยู่ในระดับที่ 2.5 ไปเป็นระดับที่ 4 ภายในปี พ.ศ. 2579 ในการพัฒนา/ปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น กฟผ. จ าเป็นต้องท า การคัดเลือก Platform ของระบบควบคุมและระบบการจัดการข้อมูลของ Smart Grid และลงทุนด้านเทคโนโลยีทางสารสนเทศ (IT) ระบบ Cyber security การจัดเตรียมระบบ Server รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการซ่อมบ ารุง ซึ่งจะต้องด าเนินการติดตั้งระบบ ICT integration ที่ศูนย์ควบคุมหลักที่ ส่วนกลาง 1 ระบบ และที่ส่วนควบคุมย่อยตามเขตทั้ง 5 เขต ทั้งนี้ เพื่อให้ เกิดการบูรณาการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกันทั้งประเทศ การไฟฟ้าทั้งสาม แห่งควรมีความร่วมมือในการเลือกใช้ Platform ที่เข้ากันได้ โดยเมื่อท าการ พิจารณาร่วมกับข้อมูลการลงทุนส าหรับกิจกรรม ICT integration ของกฟภ. และกฟน. แล้ว ในเบื้องต้น จะประเมินกรอบวงเงินส าหรับการลงทุนใน กิจกรรม ICT integration ของ กฟผ. ที่ประมาณ 2,000 ล้านบาท |
ค าอธิบายผลประโยชน์: | | กิจกรรม ICT integration จะท าให้รูปแบบการท างานของระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดของ กฟผ. ด าเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความต่อเนื่อง และ สามารถท างานร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่ายได้อย่างไม่มีอุปสรรค ซึ่งจะ ส่งผลประโยชน์แก่การไฟฟ้า และผู้ใช้ไฟฟ้าหลายด้าน อาทิเช่น การประหยัด งบประมาณในการลงทุนต่างๆ การประหยัดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการต่างๆ การลดการปล่อยก๊าซ CO2 โดยสรุปผลประโยชน์ของการลงทุนที่ได้รับ สามารถจ าแนกออกเป็นแต่ละ ด้านได้ดังนี้ - T&D Capital Savings - Electricity Cost Savings |
ที่มา: | (1) รายงาน Estimating the Costs and Benefits of the Smart Grid, Electric Power Research Institute (EPRI): ก าหนดให้ 1USD = 30THB |
กิจกรรม: Demand Response/Demand-Side Management (G&T)
หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง: การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน: ระดับ 1 - มีแนวคิดเกี่ยวกับกิจกรรมนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่มด าเนินการ
เป้าหมายระดับการพัฒนา ระดับ 3 - มีกิจกรรมนี้แล้วในปัจจุบัน อยู่ในแผนงานปกติภายในปี พ.ศ. 2579กรณีดีที่สุด:
เงินลงทุน: 1,000 ล้านบาท
ระยะเวลาโครงการโดยประมาณ: 17 ปี
ค าอธิบายเงินลงทุน: กิจกรรม Demand Response/Demand-Side Management (G&T) มี
เป้าหมายยกระดับการพัฒนาจากสถานะปัจจุบัน ณ. ปี 2558 ซึ่งอยู่ในระดับ ที่ 1 ไปเป็นระดับที่ 3 ภายในปี พ.ศ. 2579
โดยทั่วไป กิจกรรม Demand Response/Demand-Side Management ซึ่งด าเนินการกับผู้ใช้ไฟฟ้าโดยตรงจะมีความใกล้ชิดกับการไฟฟ้าฝ่าย จ าหน่ายมากกว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ดังนั้น หน้าที่ของ กฟผ. จึงเป็นเพียงแค่ ลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบการรับส่งข้อมูลต่างๆ กับการ ไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่ายเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จาก Demand Response/Demand-Side Management ร่วมกัน
อย่างไรก็ดี เนื่องจาก ณ ปัจจุบัน กฟผ. ยังไม่มีข้อมูลแผนการลงทุนในส่วนนี้ ที่ชัดเจนมากนัก ในเบื้องต้นจึงท าการประเมินกรอบวงเงินการลงทุนของ กิจกรรมดังกล่าวไว้ที่ประมาณ 1,000 ล้านบาท
ค าอธิบายผลประโยชน์: การมีโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการใช้ประโยชน์จากโปรแกรม Demand Response จะช่วยสร้างความสมดุลระหว่างการจัดหาไฟฟ้ากับความ ต้องการไฟฟ้าและช่วยลดการบริโภคพลังงานไฟฟ้าผ่านปัจจัยต่างๆ เช่น โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าตามเวลาจริง (Real Time Pricing; RTP) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถบริหารจัดการการผลิตและการใช้ไฟฟ้าในช่วงที่มี ความต้องการไฟฟ้าสูงสุด (Peak Demand) และสามารถท าให้ใช้ประโยชน์ จากพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนให้มากที่สุดได้ โดยจะ ส่งผลประโยชน์แก่การไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้า และสังคม/สิ่งแวดล้อมหลายด้าน อาทิเช่น การประหยัดงบประมาณในการลงทุนต่างๆ การประหยัดค่าใช้จ่าย ในการปฏิบัติการต่างๆ การลดการปล่อยก๊าซ CO2 เป็นต้น
โดยสรุปผลประโยชน์ของการลงทุนที่ได้รับ สามารถจ าแนกออกเป็นแต่ละ ด้านได้ดังนี้
- T&D Capital Savings
- Electricity Cost Savings
- Air Emissions
- Environment
- Cost
- Quality of life
- Security
- Reliability
ที่มา: (1) รายงาน Estimating the Costs and Benefits of the Smart Grid,
Electric Power Research Institute (EPRI): ก าหนดให้ 1USD = 30THB
กิจกรรม: | Intelligent Charging System/V2G (G&T) |
หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง: | การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) |
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน: | ระดับ 0.5 - อยู่ระหว่าง ยังไม่มีแผนเกี่ยวกับกิจกรรมนี้อยู่ในปัจจุบัน กับมี แนวคิดเกี่ยวกับกิจกรรมนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่มด าเนินการ |
เป้าหมายระดับการพัฒนา | ระดับ 3 - มีกิจกรรมนี้แล้วในปัจจุบัน อยู่ในแผนงานปกติ |
ภายในปี พ.ศ. 2579กรณีดีที่สุด:
เงินลงทุน: 1,000 ล้านบาท
ระยะเวลาโครงการโดยประมาณ: 17 ปี
ค าอธิบายเงินลงทุน: กิจกรรม Intelligent Charging System/V2G (G&T) มีเป้าหมายยกระดับ
การพัฒนาจากสถานะปัจจุบัน ณ. ปี 2558 ซึ่งอยู่ในระดับที่ 0.5 ไปเป็น ระดับที่ 3 ภายในปี พ.ศ. 2579
การติดตั้ง Intelligent Charging System ในส่วนของระบบผลิตและระบบ ส่งนั้น มีจุดประสงค์เพื่อบริหารจัดการความต้องการใช้พลังงานในการอัด ประจุ หรือคายประจุจากยานพาหนะไฟฟ้าให้เกิดประโยชน์ต่อระบบไฟฟ้า สูงที่สุดและเป็นภาระต่อระบบไฟฟ้าน้อยที่สุด โดยระบบดังกล่าว จะต้อง สามารถติดต่อสื่อสาร Intelligent Charging System ของระบบจ าหน่าย เพื่อจัดล าดับการอัดประจุอย่างชาญฉลาดและบรรเทาปัญหาความต้องการ ไฟฟ้าสูงสุดที่จะเกิดกับระบบไฟฟ้าได้ ดังนั้นอุปกรณ์หลักของระบบ Intelligent Charging System จะประกอบไปด้วย ระบบการจัดสรรการ ชาร์จ ซอฟต์แวร์ ระบบตรวจจับสถานะการชาร์จไฟฟ้า และอื่นๆ
อย่างไรก็ดี เนื่องจาก ณ ปัจจุบัน กฟผ. ยังไม่มีข้อมูลแผนการลงทุนในส่วนนี้ ที่ชัดเจนมากนัก ในเบื้องต้นจึงท าการประเมินกรอบวงเงินการลงทุนของ กิจกรรมดังกล่าวไว้ที่ประมาณ 1,000 ล้านบาท
ค าอธิบายผลประโยชน์: ระบบอัดประจุไฟฟ้าที่ชาญฉลาดนั้นสามารถติดต่อสื่อสารกับระบบไฟฟ้า หลักเพื่อจัดล าดับการอัดประจุอย่างชาญฉลาดและบรรเทาปัญหาความ ต้องการไฟฟ้าสูงสุดที่จะเกิดกับระบบไฟฟ้าได้ นอกจากนี้ ในบางกรณี ระบบ อัดประจุไฟฟ้าที่ชาญฉลาดจะสามารถน าประจุไฟฟ้าที่เก็บสะสมไว้ใน แบตเตอรี่มาจ่ายกลับเข้าสู่ระบบไฟฟ้า (Vehicle to Grid; V2G) เพื่อช่วยลด การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในบางเวลาได้ โดยจะส่งผลประโยชน์ แก่การไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้า และสังคม/สิ่งแวดล้อมหลายด้าน อาทิเช่น การใช้ ประโยชน์จากสินทรัพย์ของการไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การประหยัด งบประมาณในการลงทุนต่างๆ การลดการปล่อยก๊าซ CO2 เป็นต้น
โดยสรุปผลประโยชน์ของการลงทุนที่ได้รับ สามารถจ าแนกออกเป็นแต่ละ ด้านได้ดังนี้
- Improved Asset Utilization
- T&D Capital Savings
- Air Emissions
- Environment
- Quality of life
ที่มา: (1) รายงาน Estimating the Costs and Benefits of the Smart Grid,
Electric Power Research Institute (EPRI): ก าหนดให้ 1USD = 30THB
กรอบวงเงินและผลประโยชน์ของกิจกรรมลงทุนในระบบจ าหน่าย
กิจกรรม: Distribution/Feeder Automation (DA/FA)
หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง: การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
ระดับการพัฒนาในปัจจุบัน: ระดับ 2 - เริ่มด าเนินกิจกรรมบ้างแล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้น/แพร่หลาย
เป้าหมายระดับการพัฒนา ระดับ 4 - มีกิจกรรมนี้ใช้งานและได้รับการพัฒนามากในระดับหนึ่งแล้ว ภายในปี พ.ศ. 2579 กรณีดีที่สุด:
การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เงินลงทุน: 1,500 ล้านบาท เงินลงทุน: 3,000 ล้านบาท
เงินลงทุนรวมตลอดโครงการ: 4,500 ล้านบาท
ระยะเวลาโครงการโดยประมาณ: 15 ปี
ค าอธิบายเงินลงทุน: กิจกรรม Distribution/Feeder Automation (DA/FA) มีเป้าหมาย
ยกระดับการพัฒนาจากสถานะปัจจุบัน ณ. ปี 2558 ซึ่งอยู่ในระดับที่ 2 ไป เป็นระดับที่ 4 ภายในปี พ.ศ. 2579
ในการประเมินเงินลงทุนในกิจกรรม Distribution/Feeder Automation (DA/FA) ของ กฟน. นั้นจะประกอบไปด้วยแผนการติดตั้งระบบ Feeder
Remote Terminal Unit (FRTU) ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนประมาณ 150,000 บาท/ระบบ ตามที่ก าหนดในแผนที่น าทางระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดของ กฟน. โดยในแผนที่น าทางดังกล่าวจะก าหนดกรอบเวลา การด าเนินโครงการทั้งสิ้น 15 ปี ทั้งนี้หากพิจารณาเป้าหมายระดับการ พัฒนาภายในปี พ.ศ. 2579 กรณีดีที่สุดที่ระดับ 4 และพิจารณาระยะเวลา ของการพัฒนากิจกรรมเริ่มตั้งแต่ปี 2014 จะท าการติดตั้งระบบ FRTU ได้ ทั้งสิ้นประมาณ 10,000 ชุด ดังนั้น กรอบวงเงินส าหรับกิจกรรมการติดตั้ง ระบบ Distribution/Feeder Automation (DA/FA) ของกฟน. จะอยู่ที่ ประมาณ 1,500 ล้านบาท
ส าหรับกรอบวงเงินลงทุนติดตั้งระบบ Distribution/Feeder Automation (DA/FA) ของ กฟภ. ได้ท าการประเมินจากโครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบ ศูนย์สั่งการจ่ายไฟซึ่ง ในเบื้องต้น ประมาณาการว่าจะมีการติดตั้ง FRTU จ านวน 20,000 ชุด ดังนั้น กรอบวงเงินส าหรับกิจกรรมการติดตั้งระบบ Distribution/Feeder Automation (DA/FA) ของกฟภ. จะอยู่ที่ประมาณ
3,000 ล้านบาท
ค าอธิบายผลประโยชน์: Distribution/Feeder Automation (DA/FA) จะช่วยให้ กฟภ. และ
กฟน. สามารถท าการเฝ้าระวังความผิดปกติในสายจ าหน่าย และสถานีไฟฟ้า ในระบบจ าหน่าย โดยจะสามารถท างานร่วมกับเทคโนโลยีระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดหรืออุปกรณ์อัตโนมัติอื่นๆ ท าให้เกิดผลประโยชน์แก่การไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้า และสังคม/สิ่งแวดล้อมหลายด้าน อาทิเช่น การประหยัด งบประมาณในการลงทุนต่างๆ การประหยัดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการต่างๆ การปรับปรุงคุณภาพไฟฟ้า การลดการปล่อยก๊าซ CO2 เป็นต้น
โดยสรุปผลประโยชน์ของการลงทุนที่ได้รับ สามารถจ าแนกออกเป็นแต่ละ ด้านได้ดังนี้
- T&D Capital Savings
- Electricity Cost Savings
- Power Quality
- Air Emissions
- Productivity
- Safety
- Environment
- Capacity
- Cost
- Quality
- Quality of Life
- Security
- Reliability
ที่มา: (1) แผนที่น าทางระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของ กฟน., กฟน.
(2) แผนปรับปรุงและขยายระบบจ าหน่ายพลังไฟฟ้าฉบับที่ 11 ปี 2555 – 2559 ของ กฟน., กฟน.
(3) รายงาน Estimating the Costs and Benefits of the Smart Grid,
Electric Power Research Institute (EPRI): ก าหนดให้ 1USD = 30THB
Substation Automation (Distr) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ระดับ 2 - เริ่มด าเนินกิจกรรมบ้างแล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้น/แพร่หลาย
เป้าหมายระดับการพัฒนา ระดับ 4 - มีกิจกรรมนี้ใช้งานและได้รับการพัฒนามากในระดับหนึ่งแล้ว ภายในปี พ.ศ. 2579 กรณีดีที่สุด:
การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
เงินลงทุน: 2,000 ล้านบาท เงินลงทุน: 6,250 ล้านบาท
เงินลงทุนรวมตลอดโครงการ: 8,250 ล้านบาท
ระยะเวลาโครงการโดยประมาณ: 15 ปี
ค าอธิบายเงินลงทุน: กิจกรรม Substation Automation ในระบบจ าหน่าย มีเป้าหมายยกระดับ การพัฒนาจากสถานะปัจจุบัน ณ. ปี 2558 ซึ่งอยู่ในระดับที่ 2 ไปเป็นระดับ ที่ 4 ภายในปี พ.ศ. 2579
แผนที่น าทางระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของ กฟน. มีเป้าหมายในการติดตั้ง ระบบ Substation Automation (SA) ตามมาตรฐาน IEC61850จ านวน ทั้งสิ้น 50(1) สถานี ซึ่งใช้งบประมาณทั้งสิ้น 915 ล้านบาท โดยมีกรอบเวลา ในการด าเนินโครงการ 5 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 โดยกรอบงบประมาณ เฉลี่ยที่ใช้ในการติดตั้งระบบ SA เฉลี่ยเท่ากับ 20 ล้านบาทต่อ 1 สถานีไฟฟ้า ทั้งนี้ หากพิจารณาเป้าหมายระดับการพัฒนาของ กฟน. ภายในปี พ.ศ. 2579 กรณีดีที่สุดที่ระดับ 4 ซึ่งจะต้องท าการติดตั้งระบบ SA กับสถานีไฟฟ้า ของ กฟน. รวมทั้งสิ้น 100 สถานีจากทั้งหมด 143 สถานี ดังนั้น กรอบวงเงิน ลงทุนในการติดตั้งระบบ Substation Automation (Distr) ของ กฟน. จะ อยู่ที่ประมาณ 2,000 ล้านบาท ซึ่งครอบคลุมระยะเวลาโครงการทั้งสิ้น 15 ปี ส าหรับกรณีของ กฟภ. ซึ่งมีแผนการลงทุนกิจกรรม SA จ านวน 250 สถานี จากทั้งหมด 501(2) สถานี ภายในปี พ.ศ. 2579 การพิจารณากรอบวงเงิน ลงทุนการติดตั้งระบบ Substation Automation (Distr) จะอาศัยการ ประมาณงบประมาณเฉลี่ยที่ใช้ในการติดตั้งระบบ SA เฉลี่ยเท่ากับ 25 ล้าน บาทต่อ 1 สถานีไฟฟ้ามากกว่าของกรณี กฟน. เนื่องจากสถานีไฟฟ้าของ กฟภ. มีความหลากหลายของพื้นที่ มีจ านวนเบย์ (Bay) และการจัดเรียบบัส ที่แตกต่างกัน ดังนั้น หากพิจารณาเป้าหมายระดับการพัฒนาภายในปี พ.ศ. 2579 กรณีดีที่สุดที่ระดับ 4 จะสามารถประมาณเงินลงทุนในการติดตั้งระบบ Distribution/Feeder Automation (DA/FA) ของกฟภ. ได้รวมทั้งสิ้น 7,500 ล้านบาท เมื่อก าหนดให้โครงการมีระยะเวลาทั้งสิ้น 15 ปี
ค าอธิบายผลประโยชน์: Substation Automation (Distr) จะมีคุณสมบัติที่ท าให้สามารถ เข้าถึงข้อมูลทั้งระยะไกล และระยะใกล้ การควบคุมการท างานของอุปกรณ์ จ่ายไฟฟ้าโดยบุคคลและโดยระบบอัตโนมัติ และเป็นตัวกลางจัดการระบบ ข้อมูลและการควบคุมระหว่างอุปกรณ์จ่ายไฟฟ้า ซึ่งจะส่งผลประโยชน์แก่ การไฟฟ้า และผู้ใช้ไฟฟ้า หลายด้าน อาทิเช่น การประหยัดงบประมาณใน การลงทุนต่างๆ การประหยัดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการต่างๆ การลดการ ปล่อยก๊าซ CO2 เป็นต้น
โดยสรุปผลประโยชน์ของการลงทุนที่ได้รับ สามารถจ าแนกออกเป็นแต่ละ ด้านได้ดังนี้
- T&D Capital Savings
- Electricity Cost Savings
- Air Emissions
- Productivity
- Safety
- Capacity
- Cost
- Quality
- Security
- Reliability
ที่มา: (1) แผนที่น าทางระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของ กฟน., กฟน.
(2) แผนปรับปรุงและขยายระบบจ าหน่ายพลังไฟฟ้าฉบับที่ 11 ปี 2555 – 2559 ของ กฟภ., กฟภ.
(3) รายงาน Estimating the Costs and Benefits of the Smart Grid,
Electric Power Research Institute (EPRI): ก าหนดให้ 1USD = 30THB
Distribution Management System (SCADA/DMS) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ระดับ 2 - เริ่มด าเนินกิจกรรมบ้างแล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้น/แพร่หลาย
เป้าหมายระดับการพัฒนา ระดับ 4 - มีกิจกรรมนี้ใช้งานและได้รับการพัฒนามากในระดับหนึ่งแล้ว ภายในปี พ.ศ. 2579 กรณีดีที่สุด:
การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
เงินลงทุน: 1,500 ล้านบาท เงินลงทุน: 3,000 ล้านบาท
เงินลงทุนรวมตลอดโครงการ: 4,500 ล้านบาท
ระยะเวลาโครงการโดยประมาณ: 15 ปี
ค าอธิบายเงินลงทุน: กิจกรรม Distribution Management System (SCADA/DMS) มี
เป้าหมายยกระดับการพัฒนาจากสถานะปัจจุบัน ณ. ปี 2558 ซึ่งอยู่ในระดับ ที่ 2 ไปเป็นระดับที่ 4 ภายในปี พ.ศ. 2579
แผนที่น าทางระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของ กฟน. มีเป้าหมายติดตั้งระบบ Distribution Management System (SCADA/DMS) ในทุกพื้นที่การ ให้บริการของ กฟน. รวมทั้งสิ้น 18(1) เขต มีกรอบงบประมาณเงินลงทุน ใน เฟสแรกรวมทั้งสิ้น 518 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาด าเนินโครงการ 5 ปี ทั้งนี้ หากพิจารณาเป้าหมายระดับการพัฒนาภายในปี พ.ศ. 2579 กรณีดีที่สุดที่ ระดับ 4 และพิจารณาระยะเวลาครอบคลุมถึงปี พ.ศ. 2573 จะได้ว่า กฟน. จะต้องลงทุนเพิ่มเติมในการขยายระบบ SCADA/DMS อีก 3 เฟส โดยมีมี ประมาณการเงนิลงทุนเฟสละประมาณ 500 ล้านบาท ดังนั้น จะต้องมีกรอบ งบประมาณทั้งสิ้น 1,500 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถ ของระบบ EMS 500 ล้านบาท ลงทุนปรับปรุงระบบ SCADA เพิ่มเติม (Reinvestment) 500 ล้านบาท และเพิ่มความสามารถของระบบ DMS อีก 500 ล้านบาท และมีระยะเวลาด าเนินโครงการ 15 ปี
ส าหรับการพิจารณาเงินลงทุนการติดตั้งระบบ Distribution Management System (SCADA/DMS) ของ กฟภ. เนื่องจาก ณ ปัจจุบัน กฟภ. ยังไม่ได้มี การก าหนดแผนการลงทุนอย่างชัดเจน จึงจะท าการประมาณกรอบวงเงิน ลงทุนโดยเทียบเคียงกับกรณี ของ กฟน. โดยในเบื้องต้นจะประเมินให้กรอบ วงเงินลงทุนการติดตั้งระบบ SCADA/DMS ของ กฟภ. มีมูลค่าประมาณ 2 เท่าของกฟน. เนื่องจากพื้นที่ในความรับผิดชอบของ กฟภ. จ านวนลูกค้าใน ระบบ จ านวนสายป้อน จ านวนสถานีไฟฟ้า ฯลฯ มีมากกว่าของ กฟน. มาก ดังนั้น จะสามารถประมาณกรอบวงเงินลงทุนของกฟภ. ได้รวมทั้งสิ้น 3,000 ล้านบาท เมื่อก าหนดให้มีระยะเวลาด าเนินโครงการ 15 ปี
ค าอธิบายผลประโยชน์: Distribution Management System (DMS) มีคุณสมบัติในการ บริหารจัดการและควบคุมสมรรถนะของระบบจ าหน่ายไฟฟ้าแบบเวลาจริง (Real time) ให้มีความเหมาะสมที่สุด ซึ่งโดยปกติแล้วจะท างานร่วมกับ ระบบควบคุม และประมวลผลแบบรวมศูนย์ (Supervisory Control and Data Acquisition; SCADA) ซึ่งจะส่งผลประโยชน์แก่การไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้า และสังคม/สิ่งแวดล้อมหลายด้าน อาทิเช่น การใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ ของการไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การประหยัดงบประมาณในการลงทุน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการปลดปล่อย CO2 เป็นต้น
โดยสรุปผลประโยชน์ของการลงทุนที่ได้รับจ าแนกออกเป็นแต่ละด้านดังนี้
- Improved Asset Utilization
- T&D Capital Savings
- Energy Efficiency
- Air Emissions
- Productivity
- Environment
- Capacity
- Cost
- Quality of Life
- Security
- Reliability
ที่มา: (1) แผนที่น าทางระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของ กฟน., กฟน.
(2) รายงาน Estimating the Costs and Benefits of the Smart Grid,
Electric Power Research Institute (EPRI): ก าหนดให้ 1USD = 30THB
Smart Meter and AMR/AMI การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
ระดับ 1.5 - อยู่ระหว่าง มีแนวคิดเกี่ยวกับกิจกรรมนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่ม ด าเนินการกับ เริ่มด าเนินกิจกรรมบ้างแล้วแต่ยังไม่เสร็จสิ้น/แพร่หลาย
เป้าหมายระดับการพัฒนา ระดับ 4 - มีกิจกรรมนี้ใช้งานและได้รับการพัฒนามากในระดับหนึ่งแล้ว ภายในปี พ.ศ. 2579 กรณีดีที่สุด:
การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เงินลงทุน: 5,029 ล้านบาท เงินลงทุน: 67,500 ล้านบาท
เงินลงทุนรวมตลอดโครงการ: 72,529 ล้านบาท
ระยะเวลาโครงการโดยประมาณ: 17 ปี
ค าอธิบายเงินลงทุน: | | กิจกรรม Smart Meter and AMR/AMI มีเป้าหมายยกระดับการพัฒนาจาก สถานะปัจจุบัน ณ. ปี 2558 ซึ่งอยู่ในระดับที่ 1.5 ไปเป็นระดับที่ 4 ภายในปี พ.ศ. 2579 ส าหรับการพิจาณาเงินลงทุนการติดตั้งระบบ Smart Meter and AMR/AMI ของกฟน. นั้น ทางกฟน.มีแผนการจะท าการทยอยติดตั้งมิเตอร์ส าหรับผู้ใช้ ไฟฟ้าที่มีศักยภาพและคุ้มค่าต่อการลงทุนทั้งสิ้นจ านวน 745,000 โดย ค่าใช้จ่ายส าหรับการลงทุนและติดตั้ง Smart Meter นั้นมีมูลค่าประมาณ 4,500 บาท/ราย และต้องมีการลงทุนปรับเปลี่ยนมิเตอร์ (Reinvestment) ทดแทนมิเตอร์เดิมทุกๆ 8 ปี (ครอบคลุมจ านวนมิเตอร์ที่ครบอายุการใช้งาน ประมาณ 50% ของมิเตอร์ทั้งหมดในระบบ) ดังนั้นจึงต้องมีกรอบวงเงิน ลงทุนในการด าเนินโครงการทั้งสิ้นประมาณ 5,029 ล้านบาท ส าหรับกรณีของกฟภ. นั้น ทาง กฟภ. มีแผนการจะท าการติดตั้งมิเตอร์ ส าหรับผู้ใช้ไฟฟ้าจ านวนทั้งสิ้นประมาณ 10 ล้านราย (คิดเป็นประมาณ 50% ของจ านวนลูกค้าทั้งหมดในระบบของ กฟภ.) หากก าหนดให้ ค่าใช้จ่ายใน การติดตั้ง Smart Meter เป็น 4,500 บาท/ราย เช่นเดียวกับกรณีของ กฟน. และต้องมีการลงทุนปรับเปลี่ยนมิเตอร์ (Reinvestment) ทดแทนมิเตอร์เดิม ทุกๆ 8 ปี (ครอบคลุมจ านวนมิเตอร์ที่ครบอายุการใช้งานประมาณ 50% ของมิเตอร์ทั้งหมดในระบบ) ดังนั้น จึงต้องมีกรอบวงเงินลงทุนในการด าเนิน โครงการทั้งสิ้นประมาณ 67,500 ล้านบาท |
ค าอธิบายผลประโยชน์: | | Smart Meter and AMR มีคุณสมบัติขั้นต่ าในการช่วยอ่านหน่วยการใช้ ไฟฟ้าแบบอัตโนมัติผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ โดยข้อมูลต่างๆ จะถูกส่งไป เก็บที่ระบบฐานข้อมูลกลาง และมีการจัดการข้อมูลการใช้ไฟฟ้าซึ่งผู้ใช้ไฟฟ้า สามารถตรวจสอบและดาวน์โหลดข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของตนผ่านทางเวปไซต์ |
ได้ นอกจากนี้ หากพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มเติมในส่วนของ AMI นั้นจะท าให้ สามารถวัดพารามิเตอร์ทางไฟฟ้า และส่งสัญญาณติดต่อกับ Smart Meter และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ได้ ซึ่งจะส่งผลประโยชน์แก่การไฟฟ้า และผู้ใช้ไฟฟ้า หลายประการ อาทิเช่น การใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ของการไฟฟ้าให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การประหยัดงบประมาณการลงทุน การใช้พลังงานอย่าง มีประสิทธิภาพ การประหยัดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการต่างๆ เป็นต้น
โดยสรุปผลประโยชน์ของการลงทุนที่ได้รับจ าแนกออกเป็นแต่ละด้านดังนี้
- Improved Asset Utilization - PEVs as Storage & Load Control
- T&D Capital Savings - Demand Response
- T&D O&M Savings - Operations Savings from AMI
- Energy Efficiency - Enhanced Energy Efficiency
- Electricity Cost Savings - Automatic Meter Reading
- Electricity Cost Savings - Customer Service Costs (Call Center)
- Quality of Life
- Security-customer - Security-utility
ที่มา: (1) รายงาน Estimating the Costs and Benefits of the Smart Grid,
Electric Power Research Institute (EPRI): ก าหนดให้ 1USD = 30THB
(2) รายงาน What to look for in a Smart Grid Network, Silver Spring
Networks
Intelligent Charging System/V2G (Distr) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
ระดับ 1 - มีแนวคิดเกี่ยวกับกิจกรรมนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่มด าเนินการ
เป้าหมายระดับการพัฒนา ระดับ 3 - มีกิจกรรมนี้แล้วในปัจจุบัน อยู่ในแผนงานปกติ ภายในปี พ.ศ. 2579 กรณีดีที่สุด:
การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เงินลงทุน: 1,006 ล้านบาท เงินลงทุน: 2,025 ล้านบาท
เงินลงทุนรวมตลอดโครงการ: 3,031 ล้านบาท
ระยะเวลาโครงการโดยประมาณ: 10 ปี
ค าอธิบายเงินลงทุน: กิจกรรม Intelligent Charging System/V2G (Distr) มีเป้าหมายยกระดับ การพัฒนาจากสถานะปัจจุบัน ณ. ปี 2558 ซึ่งอยู่ในระดับที่ 1 ไปเป็นระดับ ที่ 3 ภายในปี พ.ศ. 2579
มีการคาดการณ์ว่าในอนาคต 10-20 ปีข้างหน้า ยานพาหนะไฟฟ้า (Electric Vehicle; EV) จะกลายเป็นโหลดหลักที่ส าคัญอย่างหนึ่งของระบบไฟฟ้าท า ให้มีปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น โดยหากยานพาหนะไฟฟ้า จ านวนมากต่อเข้ากับระบบจ าหน่ายไฟฟ้าพร้อมกันจะท าให้มีความต้องการ ใช้ไฟฟ้าในบริเวณนั้นสูงมากจนอาจท าให้อุปกรณ์ในระบบจ าหน่าย เช่น สาย ป้อน หม้อแปลงไฟฟ้า และอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ ที่ติดตั้งบริเวณดังกล่าว รับภาระเกินพิกัด (Overloaded) จนเกิดความเสียหายหรือท างานผิดพลาด ได้ ดังนั้น จึงมีความจ าเป็นจะต้องมีการพัฒนาระบบอัดประจุไฟฟ้าที่ชาญ ฉลาด (Intelligent charging system) ขึ้นเพื่อรองรับกับปัญหานี้ในอนาคต โดยระบบอัดประจุไฟฟ้าที่ชาญฉลาดจะท างานประสานกับสมาร์ทมิเตอร์หรือ เป็นความสามารถพิเศษที่ถูกผนวกเข้ากับสมาร์ทมิเตอร์ และสามารถ ติดต่อสื่อสารกับระบบบริหารจัดการระบบจ าหน่ายไฟฟ้า (Distribution Management System; DMS) เพื่อจัดล าดับการอัดประจุอย่างชาญฉลาด และบรรเทาปัญหาอุปกรณ์รับภาระเกินพิกัดได้ นอกจากนี้ ในบางกรณี ระบบอัดประจุไฟฟ้าที่ชาญฉลาดจะสามารถน าประจุไฟฟ้าที่เก็บสะสมไว้ใน แบตเตอรี่มาจ่ายกลับเข้าสู่ระบบไฟฟ้า (Vehicle to Grid; V2G) เพื่อช่วยลด การซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในบางเวลาได้ เมื่อพิจารณาถึงจ านวน สมาร์ทมิเตอร์ที่มีในระบบแล้ว ในเบื้องต้น จะประมาณการว่าค่าใช้จ่ายใน การติดตั้งระบบอัดประจุไฟฟ้าที่ชาญฉลาดเป็น 30% ของค่าใช้จ่ายในการ ลงทุนติดตั้งสมาร์ทมิเตอร์ ดังนั้น หากประมาณการว่าจ านวนสมาร์ทมิเตอร์ ทั้งหมดของ กฟน. สามารถประสานการท างานกับระบบอัดประจุไฟฟ้าที่ ชาญฉลาดได้ จะได้ว่าประมาณการกรอบวงเงินลงทุนระบบ Intelligent Charging System/V2G ของ กฟน. จะเท่ากับ 1,006 ล้านบาท และหาก ประมาณการว่าจ านวนสมาร์ทมิเตอร์ที่สามารถประสานการท างานกับระบบ อัดประจุไฟฟ้าที่ชาญฉลาดได้ของ กฟภ. มีจ านวน 15% ของจ านวนสมาร์ท มิเตอร์ที่ได้ท าการติดตั้ง จะได้ว่าประมาณการกรอบวงเงินลงทุนระบบ
Intelligent Charging System/V2G ของ กฟภ. จะเท่ากับ 2,025 ล้านบาท
ค าอธิบายผลประโยชน์: ระบบ Intelligent Charging System/V2G จะมีคุณสมบัติในการจัดล าดับ การอัดประจุไฟฟ้าอย่างชาญฉลาด และบรรเทาปัญหาอุปกรณ์รับภาระเกิน พิกัดได้ อีกทั้งในบางกรณียังสามารถน าประจุไฟฟ้าที่เก็บสะสมไว้ใน แบตเตอรี่มาจ่ายเข้าสู่ระบบไฟฟ้า ดังนั้นผลประโยชน์ที่ได้รับจะส่งผล ประโยชน์แก่การไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้า และสังคม/สิ่งแวดล้อมหลายประการ อาทิ เช่น การใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ของการไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การ ประหยัดงบประมาณการลงทุน การลดการปล่อยก๊าซ CO2 เป็นต้น
โดยสรุปผลประโยชน์ของการลงทุนที่ได้รับจ าแนกออกเป็นแต่ละด้านดังนี้
- Improved Asset Utilization
- T&D Capital Savings
- Air Emissions
- Environment
- Quality of life
- Reliability
ที่มา: (1) รายงาน Estimating the Costs and Benefits of the Smart Grid,
Electric Power Research Institute (EPRI): ก าหนดให้ 1USD = 30THB
Demand Response/Demand-Side Management (Distr) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
ระดับ 1.5 - อยู่ระหว่าง มีแนวคิดเกี่ยวกับกิจกรรมนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่ม ด าเนินการ กับ เริ่มด าเนินกิจกรรมบ้างแล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้น/แพร่หลาย
เป้าหมายระดับการพัฒนา ระดับ 3 - มีกิจกรรมนี้แล้วในปัจจุบัน อยู่ในแผนงานปกติภายในปี พ.ศ. 2579 กรณีดีที่สุด:
การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เงินลงทุน: 503 ล้านบาท เงินลงทุน: 3,375 ล้านบาท
เงินลงทุนรวมตลอดโครงการ: 3,875 ล้านบาท
ระยะเวลาโครงการโดยประมาณ: 10 ปี
ค าอธิบายเงินลงทุน: | | กิจกรรม Demand Response/Demand-Side Management (Distr) มี เป้าหมายยกระดับการพัฒนาจากสถานะปัจจุบัน ณ. ปี 2558 ซึ่งอยู่ในระดับ ที่ 1.5 ไปเป็นระดับที่ 3 ภายในปี พ.ศ. 2579 |
| | ระบบ Demand Response/Demand-Side Management (Distr) นั้นถือ เป็นหนึ่งในรูปแบบฟังก์ชั่นการท างานที่ส าคัญรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อมีการ พัฒนาระบบ Smart Meter and AMR/AMI ให้มีความสามารถมากขึ้น โดย ในการประเมินเงินลงทุนของระบบ Demand Response/Demand-Side Management (Distr) นั้นจะต้องขึ้นอยู่กับการส่งเสริมนโยบายของทาง ภาครัฐด้วย ในเบื้องต้น จะประมาณการว่าค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบ Demand Response/Demand-Side Management (Distr) เป็น 30% ของค่าใช้จ่ายในการลงทุนติดตั้งสมาร์ทมิเตอร์ ดังนั้น หากประมาณการว่า จ านวนสมาร์ทมิเตอร์ที่สามารถประสานการท างานกับระบบอัดประจุไฟฟ้าที่ ชาญฉลาดได้ของ กฟน. มีจ านวน 50% ของจ านวนสมาร์ทมิเตอร์ที่ได้ท าการ ติดตั้ง จะได้ว่าประมาณการกรอบวงเงินลงทุนระบบ Demand Response/Demand-Side Management (Distr) ของ กฟน. จะเท่ากับ 503 ล้านบาท และหากประมาณการว่าจ านวนสมาร์ทมิเตอร์ที่สามารถ ประสานการท างานกับระบบอัดประจุไฟฟ้าที่ชาญฉลาดได้ของ กฟภ. มี จ านวน 25% ของจ านวนสมาร์ทมิเตอร์ที่ได้ท าการติดตั้ง จะได้ว่าประมาณ การกรอบวงเงินลงทุนระบบ Demand Response/Demand-Side Management (Distr) ของ กฟภ. จะเท่ากับ 3,375 ล้านบาท |
ค าอธิบายผลประโยชน์: | ระบบ Demand Response/Demand-Side Management (Distr) มี คุณสมบัติในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พลังงานหรือลดการใช้พลังงาน ของผู้ใช้ไฟฟ้า และคุณสมบัติในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เพื่อให้เกิดการใช้ |
พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลประโยชน์แก่การไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้า และสังคม/สิ่งแวดล้อมหลายประการ อาทิเช่น การประหยัดงบประมาณการ ลงทุน การประหยัดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการต่างๆ การลดการปล่อยก๊าซ CO2 เป็นต้น
โดยสรุปผลประโยชน์ของการลงทุนที่ได้รับจ าแนกออกเป็นแต่ละด้านดังนี้
- T&D Capital Savings
- Air Emissions
- Environment
- Cost
- Quality of Life - Security
ที่มา: (1) รายงาน West Virginia Smart Grid Implementation Plan ของ
National Energy Technology Laboratory
(2) รายงาน Estimating the Costs and Benefits of the Smart Grid, Electric Power Research Institute (EPRI): ก าหนดให้ 1USD = 30THB Intelligent Street Lights การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
ระดับ 1.5 - อยู่ระหว่าง มีแนวคิดเกี่ยวกับกิจกรรมนี้แต่ยังไม่ได้เริ่ม ด าเนินการกับ เริ่มด าเนินกิจกรรมบ้างแล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้น/แพร่หลาย
เป้าหมายระดับการพัฒนา ระดับ 3 - มีกิจกรรมนี้แล้วในปัจจุบัน อยู่ในแผนงานปกติ ภายในปี พ.ศ. 2579 กรณีดีที่สุด:
การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เงินลงทุน: 4,250 ล้านบาท เงินลงทุน: 8,500 ล้านบาท
เงินลงทุนรวมตลอดโครงการ: 12,750 ล้านบาท
ระยะเวลาโครงการโดยประมาณ: 15 ปี
ค าอธิบายเงินลงทุน: กิจกรรม Intelligent Street Lights มีเป้าหมายยกระดับการพัฒนาจาก สถานะปัจจุบัน ณ. ปี 2558 ซึ่งอยู่ในระดับที่ 1.5 ไปเป็นระดับที่ 3 ภายในปี พ.ศ. 2579
ในการประเมินเงินลงทุนส าหรับกิจกรรม Intelligent Street Lights จะ ประมาณการราคาโคมไฟถนน LED พร้อมการติดตั้งเบื้องต้นที่ราคาชุดละ 6,000 บาทต่อเสาไฟ 1 ต้น และมีราคาของชุดควบคุม ชุดละ 2,500 บาท เมื่อพิจารณาระบบทางหลวงในประเทศไทยซึ่งมีความยาวทั้งสิ้น 64,600 กม. จะมีเสาไฟถนนประมาณ 2.5 ล้านต้น หากก าหนดให้การพัฒนาระดับ 3 จะ มีการติดตั้งชุดโคมไฟอัจฉริยะในเขตพื้นที่ของ กฟน. ประมาณ 500,000 ต้น และในพื้นที่ทางหลวงเขต กฟภ. จ านวน 1,000,000 ต้น ดังนั้น จะต้องมี กรอบวงเงินลงทุนในการติดตั้งโคมไฟถนนอัจฉริยะรวม 12,750 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น กฟน. 4,250 ล้านบาท และ กฟภ. 8,500 ล้านบาท และมี ระยะเวลาด าเนินโครงการในแผนฯ ครอบคลุมระยะเวลาประมาณ 15 ปี
ค าอธิบายผลประโยชน์: คุณสมบัติในการเปิด-ปิด และควบคุมความเข้มของแสงไฟถนนให้เหมาะสม กับสภาพแวดล้อมโดยอัตโนมัติ จะส่งผลประโยชน์แก่การไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้า และสังคม/สิ่งแวดล้อมหลายประการ อาทิเช่น การใช้สินทรัพย์ของการไฟฟ้า อย่างมีประสิทธิภาพ การประหยัดงบประมาณการลงทุน การใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพ การประหยัดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการต่างๆ และการ ลดการปล่อยก๊าซ CO2 เป็นต้น
โดยสรุปผลประโยชน์ของการลงทุนที่ได้รับจ าแนกออกเป็นแต่ละด้านดังนี้
- Improved Asset Utilization
- T&D Capital Savings
- Energy Efficiency
- Electricity Cost Savings
- Air Emissions
- Productivity
- Environment
- Capacity
- Cost
- Quality of Life
ที่มา: (1) รายงาน West Virginia Smart Grid Implementation Plan ของ
National Energy Technology Laboratory
(2) รายงาน Estimating the Costs and Benefits of the Smart Grid, Electric Power Research Institute (EPRI): ก าหนดให้ 1USD = 30THB
Meter Data Management System (MDMS) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
ระดับ 1 - มีแนวคิดเกี่ยวกับกิจกรรมนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่มด าเนินการ ระดับ 3 - มีกิจกรรมนี้แล้วในปัจจุบัน อยู่ในแผนงานปกติ
การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เงินลงทุน: 447 ล้านบาท เงินลงทุน: 6,000 ล้านบาท
เงินลงทุนรวมตลอดโครงการ: 6,447 ล้านบาท
ระยะเวลาโครงการโดยประมาณ: 15 ปี
ค าอธิบายเงินลงทุน: | | กิจกรรม Meter Data Management System (MDMS) มีเป้าหมาย ยกระดับการพัฒนาจากสถานะปัจจุบัน ณ. ปี 2558 ซึ่งอยู่ในระดับที่ 1 ไป เป็นระดับที่ 3 ภายในปี พ.ศ. 2579 จากข้อมูลโครงการน าร่องของ กฟภ. มีการติดตั้งระบบ MDMS เพื่อใช้กับ มิเตอร์ 100,000 เครื่องภายใต้กรอบวงเงิน 60 ล้านบาท คิดเป็นค่าใช้จ่าย เฉลี่ย 600 บาทต่อการบริหารจัดการข้อมูลจากสมาร์ทมิเตอร์ 1 เครื่อง ดังนั้น จากกิจกรรมการติดตั้งสมาร์ทมิเตอร์ (Smart Meter and AMR/AMI) ได้ประมาณการไว้ว่า กฟน. จะต้องท าการติดตั้งสมาร์ทมิเตอร์ จ านวน 745,000 เครื่อง และ กฟภ. จะต้องท าการติดตั้งสมาร์ทมิเตอร์ จ านวน 10,000,000 เครื่อง ดังนั้น จะต้องมีกรอบวงเงินลงทุนในการติดตั้ง Meter Data Management System รวม 6,447 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น กฟน. 447 ล้านบาท และ กฟภ. 6,000 ล้านบาท และมีระยะเวลาด าเนิน โครงการในแผนฯ ครอบคลุมระยะเวลาประมาณ 15 ปี |
ค าอธิบายผลประโยชน์: | | Meter Data Management System มีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล ของผู้ใช้ไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และสามารถน าข้อมูลต่างๆ มาใช้ประโยชน์ในการวางแผน การให้บริการ หรือน าเสนอบริการรูปแบบ ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ไฟฟ้าได้ ซึ่งจะส่งผลประโยชน์แก่การไฟฟ้า และ ผู้ใช้ไฟฟ้าหลายประการ อาทิเช่น การประหยัดงบประมาณการลงทุน การ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการต่างๆ เป็นต้น โดยสรุปผลประโยชน์ของการลงทุนที่ได้รับจ าแนกออกเป็นแต่ละด้านดังนี้ |
- T&D Capital Savings Demand Response
- T&D O&M Savings - Operations Savings from AMI
- Electricity Cost Savings - Automatic Meter Reading
- Electricity Cost Savings - Customer Service Costs (Call Center)
- Quality of Life
ที่มา: (1) รายงาน West Virginia Smart Grid Implementation Plan ของ
National Energy Technology Laboratory
(2) รายงาน Estimating the Costs and Benefits of the Smart Grid, Electric Power Research Institute (EPRI): ก าหนดให้ 1USD = 30THB
Microgrid Development การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
ระดับ 1 - มีแนวคิดเกี่ยวกับกิจกรรมนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่มด าเนินการ ระดับ 3 - มีกิจกรรมนี้แล้วในปัจจุบัน อยู่ในแผนงานปกติ
การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เงินลงทุน: - ล้านบาท เงินลงทุน: 2,200 ล้านบาท
เงินลงทุนรวมตลอดโครงการ: 2,200 ล้านบาท
ระยะเวลาโครงการโดยประมาณ: 17 ปี
ค าอธิบายเงินลงทุน: กิจกรรม Microgrid Development มีเป้าหมายยกระดับการพัฒนาจาก สถานะปัจจุบัน ณ. ปี 2558 ซึ่งอยู่ในระดับที่ 1 ไปเป็นระดับที่ 3 ภายในปี พ.ศ. 2579
ส าหรับ กฟน. นั้น เนื่องจากข้อจ ากัดด้านการใช้พื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และ
ปริมณฑล จึงท าให้คาดว่าอาจจะยังไม่เหมาะสมในการพัฒนาระบบ Microgrid ได้ ดังนั้น ส าหรับแผนการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดใน ส่วนของ กฟน. ที่ครอบคลุมถึงปี พ.ศ. 2573 จึงยังไม่ให้ความส าคัญกับ กิจกรรมนี้
ส าหรับในส่วนของ กฟภ. เมื่อพิจารณาจากแผนที่น าทางระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดของ กฟภ.(1) ที่ได้รับอนุมัติตามแผนฯ 11 ได้จัดท างบประมาณ ส าหรับการพัฒนาระบบ Microgird ในช่วงปี พ.ศ. 2556-2558 เป็นจ านวน 2 โครงการ ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 555 ล้านบาท เมื่อพิจารณาร่วมกับ เป้าหมายระดับการพัฒนาซึ่งต้องยกระดับการพัฒนาจากสถานะปัจจุบัน ณ. ปี 2558 ซึ่งอยู่ในระดับที่ 1 เป็นระดับที่ 3 ในปี พ.ศ. 2573 กฟภ. คาดว่า กฟภ. น่าจะเพิ่มพื้นที่ติดตั้ง Microgrid อีกเป็น 8 โครงการครอบคลุมถึงปี พ.ศ. 2573 ดังนั้นงบประมาณที่ต้องใช้ในส่วนนี้จะประมาณ 2,200 ล้านบาท
ค าอธิบายผลประโยชน์: ปัจจุบัน เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าของ Microgrid ได้รับการพัฒนาจน
สามารถเลือกใช้เชื้อเพลิงได้หลากหลายในการผลิตไฟฟ้ารวมทั้งการใช้ พลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาร่วมในการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ นอกจากนี้ ยังสามารถน าความร้อนเหลือทิ้งจากระบบผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กนี้ไปใช้งานได้ (Combined Heat and Power; CHP) ส่งผลให้สามารถใช้พลังงานจาก แหล่งเชื้อเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การสนับสนุนให้เกิดการใช้ งาน Microgrid จะเป็นการช่วยให้เกิดความหลากหลายของการใช้แหล่ง พลังงานมากขึ้น และส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมาก ขึ้นซึ่งจะน าไปสู่การพัฒนาระบบการผลิตและการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนของ ประเทศในอนาคต ซึ่งจะส่งผลประโยชน์แก่การไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้า และสังคม/ สิ่งแวดล้อมหลายประการ อาทิเช่น การใช้สินทรัพย์ของการไฟฟ้าอย่างมี ประสิทธิภาพ การประหยัดงบประมาณการลงทุน การประหยัดค่าใช้จ่ายใน การปฏิบัติการต่างๆ การปรับปรุงคุณภาพไฟฟ้า การลดการปล่อยก๊าซ CO2 เป็นต้น
โดยสรุปผลประโยชน์ของการลงทุนที่ได้รับจ าแนกออกเป็นแต่ละด้านดังนี้
- Improved Asset Utilization
- T&D Capital
- Electricity Cost Savings
- Power Quality
- Air Emissions
- Environment
- Capacity
- Security
- Reliability
ที่มา: (1) แผนที่น าทางระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของ กฟภ., กฟภ.
(2) รายงาน Estimating the Costs and Benefits of the Smart Grid,
Electric Power Research Institute (EPRI): ก าหนดให้ 1USD = 30THB
Energy Storage System (Distr) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
ระดับ 1 - มีแนวคิดเกี่ยวกับกิจกรรมนี้ แต่ยังไม่ได้เริ่มด าเนินการ ระดับ 3 - มีกิจกรรมนี้แล้วในปัจจุบัน อยู่ในแผนงานปกติ
การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เงินลงทุน: 100 ล้านบาท เงินลงทุน: 3,000 ล้านบาท
เงินลงทุนรวมตลอดโครงการ: 3.100 ล้านบาท
ระยะเวลาโครงการโดยประมาณ: 17 ปี
ค าอธิบายเงินลงทุน: | | กิจกรรม Energy Storage System (Distr) มีเป้าหมายยกระดับการพัฒนา จากสถานะปัจจุบัน ณ. ปี 2558 ซึ่งอยู่ในระดับที่ 1 ไปเป็นระดับที่ 3 ภายใน ปี พ.ศ. 2579 จากผลการศึกษาของ EPRI(1) ต้นทุนในการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงาน ประเภทแบตเตอรี่ จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 20 ล้านบาท/MW ซึ่งสอดคล้อง กับแผนที่น าทางระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของ กฟน.(2) ซึ่งได้จัดท า งบประมาณส าหรับ Energy Storage System ไว้ที่ 20.5 ล้านบาท ทั้งนี้ หากพิจารณาแผนการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดครอบคลุมถึงช่วงปี พ.ศ. 2573 โดยคาดการณ์ว่าเพื่อให้ถึงเป้าหมายระดับการพัฒนาซึ่งต้อง ยกระดับการพัฒนาจากสถานะปัจจุบัน ณ. ปี 2558 ซึ่งอยู่ในระดับที่ 1 เป็น ระดับที่ 3 กฟน. จะท าการติดตั้ง Energy Storage System ขนาดชุดละ 1 MW จ านวน 5 ชุด จะสามารถประมาณกรอบวงเงินการลงทุนในการติดตั้ง Energy Storage System คิดเป็นจ านวนเงินลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 100 ล้านบาท ส าหรับการพิจารณาเงินลงทุนการติดตั้ง Energy Storage System ของ กฟภ. ซึ่งมีแผนจะท าการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานประเภทแบตเตอรี่ขนาด ชุดละ 10 MW จ านวน 15 ชุด แบ่งเป็น ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และใต้ ภาคละ 3 ชุด และภาคกลาง จ านวน 6 ชุด ดังนั้น ประมาณการ กรอบวงเงินลงทุนในการติดตั้ง Energy Storage System ของ กฟภ. จึงคิด เป็นจ านวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 3,000 ล้านบาท |
ค าอธิบายผลประโยชน์: | | ผลประโยชน์ที่ได้จาก Energy Storage System นั้นมีมากมาย อาทิเช่น การใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ของการไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การ ประหยัดงบประมาณในการลงทุนต่างๆ การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นการลดการปลดปล่อยก๊าซ CO2 เนื่องจากระบบ |
Energy Storage System จะท าให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น และส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนให้สามารถใช้งานได้ดียิ่งขึ้น ซึ่ง ผลประโยชน์ที่ได้นั้นจะครอบคลุมทั้ง กฟผ. ผู้ใช้ไฟฟ้า และ สังคม/ สิ่งแวดล้อม
โดยสรุปผลประโยชน์ของการลงทุนที่ได้รับจ าแนกออกเป็นแต่ละด้านดังนี้ - Improved Asset Utilization
- T&D Capital Savings - Storage
- Energy Efficiency
- Electricity Cost Savings
- Power Quality
- Air Emissions - Environment
ที่มา: (1) รายงาน Estimating the Costs and Benefits of the Smart Grid,
Electric Power Research Institute (EPRI): ก าหนดให้ 1USD = 30THB
(2) แผนที่น าทางระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของ กฟน., กฟน.
SPP/VSPP Data Communication System (Distr) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
ระดับ 2.5 - ก้ ากึ่งระหว่าง เริ่มด าเนินกิจกรรมบ้างแล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้น/ แพร่หลาย กับ มีกิจกรรมนี้แล้วในปัจจุบัน อยู่ในแผนงานปกติ
เป้าหมายระดับการพัฒนา ระดับ 3.5 - ก้ ากึ่งระหว่าง มีกิจกรรมนี้แล้วในปัจจุบัน อยู่ในแผนงานปกติ ภายในปี พ.ศ. 2579 กรณีดีที่สุด: กับมีกิจกรรมนี้ใช้งานและได้รับการพัฒนามากในระดับหนึ่งแล้ว
การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เงินลงทุน: 5 ล้านบาท เงินลงทุน: 2,700 ล้านบาท
เงินลงทุนรวมตลอดโครงการ: 2,705 ล้านบาท
ระยะเวลาโครงการโดยประมาณ: 10 ปี
ค าอธิบายเงินลงทุน: กิจกรรม SPP/VSPP Data Communication System (Distr) มีเป้าหมาย ยกระดับการพัฒนาจากสถานะปัจจุบัน ณ. ปี 2558 ซึ่งอยู่ในระดับที่ 2.5 ไป เป็นระดับที่ 3.5 ภายในปี พ.ศ. 2579
เนื่องจากจ านวนผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนประเภท SPP/VSPP ของ กฟน. นั้นมี จ านวนน้อย และผู้ผลิตไฟฟ้าประเภท SPP ส่วนใหญ่ที่อยู่ในระบบของ กฟน. ก็มีการติดตั้งระบบเชื่อมต่อสื่อสารกับ กฟน. อยู่แล้ว ดังนั้น ในการก าหนด กรอบวงเงินลงทุนกิจกรรม SPP/VSPP Data Communication System (Distr) ของ กฟน. จึงท าการประเมินเฉพาะค่าใช้จ่ายในการลากสาย Fiber Optic เพิ่มเติมไปยังระบบสื่อสารที่เชื่อมต่อระหว่าง กฟน. และ SPP/VSPP ประมาณ 5 ล้านบาท เท่านั้น
ส าหรับในกรณีของ กฟภ. นั้น จ านวนผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนประเภท SPP/VSPP ในปัจจุบันมีจ านวนประมาณ 329 ราย เมื่อพิจารณาแนวโน้ม การเติบโตของการผลิตไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าประเภท SPP/VSPP จาก แผนพัฒนาก าลังไฟฟ้าของประเทศจะสามารถประเมินได้ว่า ในภายในปี พ.ศ. 2579 จะมีผู้ผลิตไฟฟ้าประเภท SPP/VSPP รวมประมาณ 900 ราย ทั้งนี้ในเบื้องต้น EPRI ได้ประเมินราคา SPP/VSPP Data Communication System(1) ไว้ที่ประมาณ 3.0 ล้านบาทต่อราย ดังนั้น กรอบวงเงินลงทุน ส าหรับกิจกรรมการติดตั้ง SPP/VSPP Data Communication System
(Distr) ของ กฟภ. จึงอยู่ที่ประมาณ 2,700 ล้านบาท
ค าอธิบายผลประโยชน์: การพัฒนาความสามารถในการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างโรงไฟฟ้าขนาด เล็กและขนาดเล็กมากกับศูนย์ควบคุมขอ กฟภ. ให้มีประสิทธิภาพสูง และมี การใช้งานอย่างแพร่หลายขึ้นนั้น จะส่งผลประโยชน์แก่การไฟฟ้า และผู้ใช้ ไฟฟ้า หลายด้าน อาทิเช่น การประหยัดงบประมาณในการลงทุนต่างๆ การ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการต่างๆ การลดการปล่อยก๊าซ CO2 เป็นต้น
โดยสรุปผลประโยชน์ของการลงทุนที่ได้รับจ าแนกออกเป็นแต่ละด้านดังนี้
- T&D Capital Savings
- Electricity Cost Savings
- Air Emissions
- Productivity
- Safety
- Capacity
- Quality
- Security
- Reliability
ที่มา: (1) รายงาน Estimating the Costs and Benefits of the Smart Grid,
Electric Power Research Institute (EPRI): ก าหนดให้ 1USD = 30THB
(2) รายงาน West Virginia Smart Grid Implementation Plan ของ National Energy Technology Laboratory
ICT integration (Distr)
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
ระดับ 1.5 - อยู่ระหว่าง มีแนวคิดเกี่ยวกับกิจกรรมนี้แต่ยังไม่ได้เริ่ม ด าเนินการ กับ เริ่มด าเนินกิจกรรมบ้างแล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้น/แพร่หลาย
เป้าหมายระดับการพัฒนา ระดับ 4 - มีกิจกรรมนี้ใช้งานและได้รับการพัฒนามากในระดับหนึ่งแล้ว ภายในปี พ.ศ. 2579 กรณีดีที่สุด:
การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เงินลงทุน: 300 ล้านบาท เงินลงทุน: 1,600 ล้านบาท
เงินลงทุนรวมตลอดโครงการ: 1,900 ล้านบาท
ระยะเวลาโครงการโดยประมาณ: 10 ปี
ค าอธิบายเงินลงทุน: กิจกรรม ICT integration (Distr) จะมีเป้าหมายยกระดับการพัฒนาจาก สถานะปัจจุบัน ณ. ปี 2558 ซึ่งอยู่ในระดับที่ 1.5 ไปเป็นระดับที่ 4 ภายในปี พ.ศ. 2579
ส าหรับ กฟน. และ กฟภ. นั้น การพัฒนา/ปรับปรุง ระบบเทคโนโลยี สารสนเทศนั้นจ าเป็นต้องลงทุนด้านเทคโนโลยีทางสารสนเทศ (IT) ระบบ Cyber security การจัดเตรียมระบบ Server รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการซ่อม บ ารุง เนื่องจาก ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลการลงทุนในส่วนนี้มากนัก ในเบื้องต้น กฟน. ได้ช่วยท าการประเมินกรอบวงเงินการลงทุนส าหรับกิจกรรมนี้ไว้ที่ 300 ล้านบาท และ กฟภ. ได้ช่วยท าการประเมินกรอบวงเงินการลงทุน ส าหรับกิจกรรมนี้ไว้ที่ 1,600 ล้านบาท
ค าอธิบายผลประโยชน์: กิจกรรม ICT integration จะท าให้รูปแบบการท างานของระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดของการไฟฟ้าฝ่ายจ าหน่ายด าเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความ ต่อเนื่อง และสามารถท างานร่วมกับ กฟผ. ได้อย่างไม่มีอุปสรรค ซึ่งจะส่งผล ประโยชน์แก่การไฟฟ้า และผู้ใช้ไฟฟ้าหลายด้าน อาทิเช่น การประหยัด งบประมาณในการลงทุนต่างๆ การประหยัดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการต่างๆ การลดการปล่อยก๊าซ CO2
โดยสรุปผลประโยชน์ของการลงทุนที่ได้รับจ าแนกออกเป็นแต่ละด้านดังนี้
- T&D Capital Savings
- Electricity Cost Savings
ที่มา: (1) รายงาน Estimating the Costs and Benefits of the Smart Grid,
Electric Power Research Institute (EPRI): ก าหนดให้ 1USD = 30THB
เอกสารแนบ จ. โครงการน าร่องการพัฒนาระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริด
จ. 1
ค าชี้แจง
เอกสารฉบับนี้ น าเสนอบทสรุปรายละเอียดโครงการน าร่องที่อยู่ภายใต้การด าเนินงานของหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง อันได้แก่ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวง โดยการด าเนินการพัฒนาโครงการน าร่องการ พัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าเป็นการด าเนินงานตามนโยบายของกระทรวงพลังงาน ในการก าหนดตัวชี้วัดผลการด าเนินงานประจ าปี 2557 ของรัฐวิสาหกิจไฟฟ้า เพื่อให้หน่วยงานการไฟฟ้า ได้ด าเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับปรุงและพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าในปัจจุบันให้เป็นระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริดตามบริบทของแต่ละหน่วยงาน โดยมุ่งเน้นในด้านการศึกษา วิจัย และทดสอบ ความสามารถของเทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดทั้งด้านเทคนิคและเศรษฐศาสตร์
จ. 2
โครงการน าร่องการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
ความส าคัญและความจ าเป็นส าหรับระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดบนเกาะสมุย
เกาะสมุยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีอัตราการเติบโตค่อนข้างสูงและมีความต้องการพลังงานไฟฟ้า เพิ่มมากขึ้นโดยเฉลี่ย 9-10% ต่อปี ปัจจุบันความต้องการใช้ไฟฟ้าบนเกาะสมุยมีปริมาณสูงสุดรวมประมาณ 100-120 เมกะวัตต์ โดยได้รับไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (Provincial Electricity Authority, PEA) ซึ่งมี ภาระหน้าที่ในการให้บริการกระแสไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอและเพื่อสร้างความมั่นคงในระบบจ าหน่ายไฟฟ้า เชื่อมโยงระบบจ าหน่ายไฟฟ้าด้วยสายเคเบิลใต้น้ า ระบบ 33 กิโลโวลต์ (ปี พ.ศ. 2530) เป็นระยะทาง 24 กิโลเมตร สามารถรองรับการจ่ายกระแสไฟฟ้าได้สูงสุด 17 เมกะวัตต์ และได้มีการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าขึ้น 1 แห่ง (สถานีไฟฟ้าเกาะสมุย 1) วางสายเคเบิลใต้น้ า ระบบ 115 กิโลโวลต์ (วงจรที่ 1) ในปี พ.ศ. 2539 ที่สามารถรองรับการจ่ายกระแสไฟฟ้าได้สูงสุด 55 เมกะวัตต์ และระบบ 115 กิโลโวลต์ (วงจรที่ 2) ระยะทาง ประมาณ 27 กิโลเมตร ปัจจุบันการขยายตัวของธุรกิจท่องเที่ยวรวมถึงชุมชนบนเกาะสมุยที่เพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่องมีปริมาณความต้องการกระแสไฟฟ้าสูงสุดถึง 100 เมกะวัตต์ต่อวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูกาล ท่องเที่ยวที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงท าให้เกิดปัญหาไฟตกไฟดับ จึงได้มีก่อสร้างสายเคเบิลใต้น้ าระบบ 115 เควี (วงจรที่ 3) โดยด าเนินการวางสายเคเบิลระยะทางทั้งหมด 54 กิโลเมตรและก่อสร้างสถานีไฟฟ้าสมุย 2 เพิ่มอีก 1 แห่งในปี พ.ศ.2556 สามารถรองรับการจ่ายกระแสไฟฟ้าได้สูงสุด 100 เมกะวัตต์ รวมเป็นปริมาณ ก าลังไฟฟ้าที่เกาะสมุยสามารถจ่ายได้จากสถานีไฟฟ้าจ านวน 2 สถานี เท่ากับ 200 เมกะวัตต์ อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นแค่บรรเทาการขาดแคลนไฟฟ้าได้ในระยะสั้นเท่านั้น การผลิต
พลังงานและการบริหารจัดการพลังงานที่มีประสิทธิภาพยังจ าเป็นต้องด าเนินการอยู่ ดังนั้นการปรับปรุง ประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้าเดิมและเพิ่มเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าในพื้นที่ และเป็นยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน ของประเทศที่จะน าระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการใช้พลังงาน โดยการ เพิ่มสัดส่วนการผลิตพลังงานทดแทนในพื้นที่บนเกาะและนอกจากนี้ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดยังสามารถ สนับสนุนการการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานส าหรับการน าระบบรถไฟฟ้า (Electric Vehicles, EV) มา ประยุกต์ใช้ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส าคัญประการหนึ่งในการขับเคลื่อนเกาะสมุยสู่เมืองคาร์บอนต่ า
จ.1
โครงการต่างๆ ที่ด าเนินการในพื้นที่เกาะสมุยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
ชื่อโครงการ | ผู้สนับสนุนโครงการ | | วัตถุประสงค์โครงการ | | รายละเอียดการด าเนินงาน | ระยะเวลาด าเนิน โครงการ |
APEC Low Carbon Model Town (LCMT) Project Phase 2 at SAMUI Island (การศึกษาความ เป็นไปได้ในการพัฒนาเกาะสมุยสู่ เมืองคาร์บอนต่ า) | Asia Pacific Economic Cooperation (APEC) | 1. 2. 3. 4. 5. | เพื่อที่จะพัฒนาแนวทางส าหรับการออกแบบเมือง คาร์บอนต่ าที่มรี ูปแบบต่างๆ กันไป ซึ่งแนวทางนี้จะ ใช้เป็นหลักในการด าเนินงานส าหรับการออกแบบ เมืองต้นแบบคาร์บอนต่ าทั่วทั้งกลมุ่ ประเทศสมาชิก อเปค เพื่อให้ได้ข้อแนะน าหรือแนวทางในการออกแบบที่ เหมาะสมและเป็นนวตั กรรมใหมส่ า หรับแผนพัฒนา เมืองคาร์บอนต่ า ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับเจ้าหน้าที่ ของรัฐบาลประเทศไทย เจ้าหน้าทอ้ งถิ่น รวมถึงผู้ที่ จะพัฒนาโครงการฯบนเกาะสมุย เพื่อผลักดันแนวคิดของเมืองต้นแบบคาร์บอนต่ า จากการจัดท าการศึกษาความเป็นไปได้ของ โครงการฯ และการทบทวนนโยบายต่างๆ เพื่อก าหนดมาตรการส าหรับแตล่ ะหมวดหลักของ การออกแบบเมืองคาร์บอนต่ ารูปแบบต่างๆ เพื่อส่งเสริมแนวคิดของการพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ า ไปสู่เมืองต่างๆ ในกลุ่มประเทศสมาชิกของเอเปค | 1. 2. 3. 4. | ศึกษารายละเอียดของมาตรการตา่ งๆ ใน การพัฒนาเกาะสมุยสู่เมืองคาร์บอนต่ า 9 ด้านได้แก่ ด้านผังเมือง ด้านการผลิต พลังงานเชิงพื้นที่ ด้านบริหารจัด การพลังงาน ด้านพลังงานทดแทน ด้านพลังงานที่ยังไม่ถูกน ามาใช้ ด้านอาคาร คาร์บอนต่ า ด้านคมนาคมขนส่ง ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการใช้วิตที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม ก าหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกทั้งระยะกลาง (ปี พ.ศ. 2563) และระยะยาว (ปี พ.ศ.2573) ของแต่ละ มาตรการในแตล่ ะด้าน วิเคราะหม์ ูลคา่ การลงทุนของแต่ละ มาตรการ วิเคราะหป์ ริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงได้ เทียบกับเงินลงทุน | พ.ศ. 2554-2555 |
จ.2
ชื่อโครงการ | ผู้สนับสนุนโครงการ | | วัตถุประสงค์โครงการ | | รายละเอียดการด าเนินงาน | ระยะเวลาด าเนิน โครงการ |
โครงการจดั ท าแผนปฏิบัติการการ พัฒนาเมืองคาร์บอนต่ า (SAMUI Low Carbon Action Plan) | กรมพัฒนาพลังงาน ทดแทนและอนุรักษ์ พลังงาน (พพ.) | 1. 2. 3. 4. | เพื่อจัดท าแผนปฏิบัติการ ประกอบด้วย แนวทาง วิธีการ รายละเอียดและระยะเวลาในการ ด าเนินการ และงบประมาณในการด าเนินการ ที่ชัดเจน เพื่อจัดท าข้อก าหนดและแบบรายละเอียด ที่จ าเป็นต้องใช้ในการด าเนินการ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเกาะสมุยสู่ เมืองคาร์บอนต่ า เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และศักยภาพ การลดกา๊ ซเรือนกระจก | 1. 2. 3. 4. | จัดท าแผนปฏิบัติการการพัฒนาเกาะสมยุ สู่ เมืองคาร์บอนต่ าของแตล่ ะมาตรการที่ได้ ศึกษาไว้ใน "การศึกษาความเป็นไปได้ใน การพัฒนาเกาะสมุยสู่เมืองคาร์บอนต่ า" ออกแบบแนวคิดเบื้องต้นส าหรับโครงข่าย สมาร์ทกริด (Smart Grid) และโครงสร้าง พื้นฐานส าหรับรองรับการใช้งานรถยนต์ ไฟฟ้า (Electric Vehicle-EV) ส าหรับ เกาะสมุย ก าหนดพื้นที่น าร่องส าหรับการด าเนินการ โครงข่ายสมาร์ทกริดจ านวน 1 แห่งบน เกาะสมุย พร้อมทั้งออกแบบโครงข่าย สมาร์ทกริดเฉพาะพื้นที่ (Micro Grid) จัดท าข้อก าหนดรายละเอียดส าหรบั อุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งในระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดส าหรับพื้นที่น าร่อง | มี.ค. 2557-ก.พ. 2558 |
Realization of APEC Low Carbon Model Town through Smart Grid Development (LCMT-SGD) (การศึกษาออกแบบ เพื่อพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด ในพื้นที่เกาะสมุย) | Asia Pacific Economic Cooperation (APEC) | 1. 2. 3. | เมืองต้นแบบของการน าระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด มาประยุกต์ใช้ ระบุปัญหาและอุปสรรคของการประยุกต์ใช้ระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริดพร้อมแนวทางการแก้ปัญหา เพื่อเป็นแนวทางในกลุ่มของ APEC เพื่อแลกเปลยี่ นความรู้และประสบการณเ์ กี่ยวกับ การประยุกต์ใช้ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดใน กลุ่มของ APEC | 1. 2. | ออกแบบโดยละเอียดส าหรับโครงข่าย สมาร์ทกริด (Smart Grid) และโครงสร้าง พื้นฐานส าหรับรองรับการใช้งานรถยนต์ ไฟฟ้า (Electric Vehicle-EV) ส าหรับ เกาะสมุย จัดท าข้อก าหนดรายละเอียดส าหรบั อุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งในระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดส าหรับเกาะสมุย | พ.ศ. 2558-2559 |
จ.3
โครงการน าร่องการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ด าเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดท าโครงการ
น าร่องการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด (Feasibility Study in Smart Grid Pilot Project) ซึ่งเป็น ตัวชี้วัดหนึ่งส าหรับประเมินผลการด าเนินงานของรัฐวิสาหกิจในกลุ่มพลังงาน (ไฟฟ้า) ประจ าปี 2557 โดยเป็น การด าเนินงานสืบเนื่องจากปี 2556 ตามที่ กฟผ. ได้เสนอแผนงานโครงการน าร่องการพัฒนาระบบโครงข่าย สมาร์ทกริด จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นโครงการน าร่องทางด้านระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด (Smart Grid) ใน ระดับประเทศของกระทรวงพลังงาน (พน.) ซึ่งส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2556 โครงการน าร่องดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นสถานที่ส าหรับศึกษาเรียนรู้ วิจัยและพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ก่อนที่จะขยายผลการด าเนินงานระบบ โครงข่ายสมาร์ทกริดไปยังพื้นที่ส่วนต่างๆ ของประเทศต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมถึงเพื่อให้ ประเทศไทยเป็นผู้น าในด้านเทคโนโลยี Smart Grid และการประยุกต์ใช้งานได้อย่างเหมาะสม ในระดับ ภูมิภาคอาเซียน การด าเนินงานในปี 2557 จะเป็นการเตรียมการก่อนเริ่มด าเนินการก่อสร้างโครงการน าร่อง ในพื้นที่ อ าเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยในเดือนมีนาคม 2557 กฟผ. ได้จัดการประชุมร่วมกันระหว่างส านักงาน จังหวัดแม่ฮ่องสอน สนพ. กฟผ. กฟภ. และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดย ได้รับเกียรติจากผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน (นายสุรพล พนัสอ าพล) เป็นประธานการประชุม และได้มีการ น าเสนอแผนงานโครงการน าร่องดังกล่าวในที่ประชุม ตลอดจนได้มีการหารือและรับฟังความคิดเห็น ค าแนะน า จากทางจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อร่วมกันพัฒนาโครงการดังกล่าวให้ประสบความส าเร็จ สอดคล้องกับนโยบาย จังหวัดสีเขียว พร้อมทั้งใช้เป็นสถานที่เรียนรู้ วิจัยและพัฒนา ร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อจังหวัดแม่ฮ่องสอนและประเทศไทยในท้ายที่สุด นอกจากนี้ คณะผู้บริหาร สนพ. กฟผ. กฟภ. และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังได้ลงพื้นที่ส ารวจร่วมกัน เพื่อพิจารณาความเหมาะสม ศักยภาพในการพัฒนา ตลอดจนความเป็นไปได้ในเบื้องต้นของการพัฒนาโครงการน าร่องดังกล่าวในพื้นที่ อ าเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จากการประชุมและการลงพื้นที่ในครั้งนั้น ทางจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้ให้ความ ร่วมมือเป็นอย่างดีและยินดีให้การสนับสนุนการพัฒนาโครงการน าร่องระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด ในพื้นที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน นอกจากนี้ กฟผ. ยังได้รับข้อมูลเพิ่มเติมทั้งในมุมมองทางด้านเทคนิคและมุมมองอื่นๆ เช่น ด้านสังคม วัฒนธรรม การมีส่วนร่วมของชุมชน การถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี Smart Grid ให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่ง กฟผ. ได้น ามาปรับปรุงในรายละเอียดของ องค์ประกอบย่อยต่างๆ ในโครงการน าร่องนี้ต่อไป
จ.4
- บทน า
1.1 ที่มาและความส าคัญของปัญหา เนื่องด้วยสภาพภูมิประเทศของจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่มีลักษณะเป็นป่าเขาและมีการสงวนพื้นที่ส่วนใหญ่
ไว้เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ แม่ฮ่องสอนจึงเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่ระบบส่งไฟฟ้าของ กฟผ. ยังเข้าไม่ถึง แหล่งพลังงานภายในจังหวัดแม่ฮ่องสอนมาจากโรงไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกับระบบจ าหน่ายแรงดัน 22 กิโลโวลต์ ส่วน ใหญ่เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ า พลังแสงอาทิตย์และพลังงานดีเซล นอกจากนี้ พลังงานไฟฟ้าบางส่วนถูกจ่ายมาจาก ระบบจ าหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ที่รับไฟฟ้ามาจากสถานีไฟฟ้าแรงสูงของ กฟผ. จังหวัด เชียงใหม่ ด้วยสายจ าหน่าย 115 และ 22 กิโลโวลต์ ซึ่งมีระยะทางไกล ผ่านพื้นที่ป่าซึ่งมีต้นไม้หนาแน่น ประกอบกับสภาพภูมิอากาศมีพายุฝนฟ้าคะนอง มีดินโคลนถล่มในช่วงฤดูฝน และมีปัญหาไฟป่าในช่วงฤดูแล้ง จึงเป็นเหตุให้เกิดกระแสไฟฟ้าขัดข้องบ่อยครั้งเนื่องจากต้นไม้ล้มพาดสายไฟ อีกทั้งสภาพการจราจรยังเป็น ทางลาดชัน จึงท าให้การเดินทางไปยังจุดเกิดเหตุล่าช้า ดังนั้นปัญหาความเชื่อถือได้และคุณภาพของไฟฟ้าจึง เป็นปัญหาหลักที่ส่งผลในเชิงลบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และควรได้รับการแก้ไขเป็น อันดับแรก จากปัญหาดังกล่าว ท าให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทางด้านพลังงานทุกภาคส่วน อาทิ ส านักงานนโยบาย และแผนพลังงาน (สนพ.), กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กฟผ., กฟภ. ร่วมกัน พิจารณาหาแนวทางการพัฒนาโครงการเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศร้อยละ 88 ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนถูกประกาศเป็นพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งส่วนใหญ่ถูก ประกาศเป็นพื้นที่ป่าไม้ลุ่มน้ าชั้น 1A ดังนั้น การก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูง 115 กิโลโวลต์ ของ กฟผ. เพื่อส่ง พลังงานไฟฟ้าจากจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งต้องมีแนวสายพาดผ่านไปในพื้นที่ป่าจึงไม่สามารถด าเนินการได้ด้วย เหตุผลทางด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบกับมีแนวความคิดที่ต้องการพัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นต้นแบบของ จังหวัดสีเขียว (Green Province) สอดรับกับแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัด ดังนั้น โครงการพัฒนา ระบบไฟฟ้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอนจึงมีทิศทางไปในลักษณะการพึ่งพาแหล่งพลังงานสีเขียวในพื้นที่เป็นหลัก โดย ยังคงมีโครงการก่อสร้างสายส่ง 115 กิโลโวลต์ ซง่ึ ดา เนนิ การโดย กฟภ. รบั ไฟฟ้าจาก สฟ.แม่แตง ของ กฟผ. ท่ี จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านอ าเภอปายเพื่อจ่ายไฟฟ้าไปให้อ าเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างจะต้อง ด าเนินการโดยการปักเสาพาดสายไปตามแนวถนน เพื่อไม่ให้กระทบเขตพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งระบบการจ่ายไฟฟ้าใน ลักษณะนี้จะมีความเชื่อถือได้ต่ ากว่าระบบส่งไฟฟ้า 115 กิโลโวลต์ ของ กฟผ. ดังนั้น การพัฒนาระบบไฟฟ้าใน จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตอ าเภอเมือง ซึ่งอยู่ห่างไกลจากระบบไฟฟ้าหลักของ กฟผ. จึงยัง ควรให้ความส าคัญกับการพึ่งพาแหล่งพลังงานในพื้นที่เป็นหลัก จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีพื้นที่การปกครองประกอบด้วย 7 อ าเภอ ได้แก่ อ าเภอปาย อ าเภอปางมะผ้า
อ าเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อ าเภอขุนยวม อ าเภอแม่ลาน้อย อ าเภอแม่สะเรียง และ อ าเภอสบเมย พื้นที่การ จ่ายไฟในจังหวัดแม่ฮ่องสอนแบ่งออกเป็น 3 เขต แสดงดังรูปที่ 1 พื้นที่การจ่ายไฟที่ 1 ครอบคลุมอ าเภอปาย
จ.5
และอ าเภอปางมะผ้า ส าหรับพื้นที่การจ่ายไฟที่ 2 รับผิดชอบในเขตอ าเภอเมืองและอ าเภอขุนยวม ส่วนพื้นที่ การจ่ายไฟที่ 3 คลอบคลุมอ าเภอแม่ลาน้อย อ าเภอแม่สะเรียง และอ าเภอสบเมย
รูปที่ 1 พื้นที่การจ่ายไฟในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
หากพิจารณาสภาพปัจจุบันของการจ่ายไฟฟ้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีประเด็นส าคัญที่ควรพิจารณา
ดังนี้
1) ปัจจุบัน โครงการสายจ าหน่าย 115 กิโลโวลต์ แม่แตง – ปาย – แม่ฮ่องสอน ด าเนินการแล้วเสร็จ สามารถจ่ายไฟได้ถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอนแล้ว โดยมีระยะทางประมาณ 192 กิโลเมตร แม้ว่าโครงการดังกล่าวจะ ช่วยแก้ปัญหาเสถียรภาพทางด้านแรงดันไฟฟ้าและสามารถเพิ่มความสามารถในการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอนมากขึ้นก็ตาม อย่างไรก็ตาม ปัญหาความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอนก็ ยังคงเป็นปัญหาส าคัญที่ยังไม่สามารถแก้ไขให้หมดไปได้ เนื่องจากการก่อสร้างสายจ าหน่าย 115 กิโลโวลต์ ใช้แนวสายเดิมของสาย 22 กิโลโวลต์ ซง่ึ เดนิ ไปตามแนวถนนทม่ี ลี กั ษณะลาดชนั และมตี น้ ไมห้ นาแนน่
2) พื้นที่การจ่ายไฟที่ 1 ซึ่งมีความต้องการไฟฟ้าส่วนใหญ่อยู่ที่อ าเภอปาย รับไฟฟ้าจากจังหวัด เชียงใหม่ด้วยสายจ าหน่าย 115 กิโลโวลต์ ระยะทางประมาณ 82 กิโลเมตร มีก าลังผลิตไฟฟ้าในพื้นที่จากเขื่อน แม่ปาย ความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าในพื้นที่การจ่ายไฟที่ 1 จัดว่าอยู่ในระดับที่สูงกว่าพื้นที่การจ่ายไฟที่ 2
3) ส าหรับพื้นที่การจ่ายไฟที่ 3 ซึ่งมีความต้องการไฟฟ้าส่วนใหญ่อยู่ที่อ าเภอแม่สะเรียง กฟภ. มี แผนงานพัฒนาโครงการไมโครกริดในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว ซึ่งภายหลังโครงการแล้วเสร็จ ระดับความเชื่อถือได้ ของระบบไฟฟ้าในอ าเภอแม่สะเรียงจะเพิ่มขึ้น
จากประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น กฟผ. จึงเห็นว่าการพัฒนาโครงการน าร่องระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
จังหวัดแม่ฮ่องสอน ควรเริ่มด าเนินการในพื้นที่การจ่ายไฟที่ 2 (อ าเภอเมืองแม่ฮ่องสอน) ก่อน ซึ่งมีความ เหมาะสมมากที่สุดในการพัฒนาเป็นโครงการน าร่องฯ ระดับประเทศ (National Smart Grid Pilot Project) ทั้งนี้ การน าเทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดมาประยุกต์ใช้งานจะท าให้ระบบไฟฟ้าในเขตอ าเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีความมั่นคงสูงขึ้น นอกจากนี้ หากพิจารณาที่ตั้งทางภูมิศาสตร์แล้ว พื้นที่การจ่ายไฟที่ 2 สามารถเชื่อมโยงระบบไฟฟ้ากับพื้นที่การจ่ายไฟที่ 1 และพื้นที่การจ่ายไฟที่ 3 ได้ทั้งสองพื้นที่ ซึ่งในอนาคตหาก สามารถพัฒนาให้ระบบไฟฟ้าในพื้นที่จ่ายไฟที่ 2 ให้เป็นระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด ก็จะสามารถควบคุมและ ปฏิบัติการระบบ ให้ท างานร่วมกับไมโครกริดที่อ าเภอแม่สะเรียง รวมทั้งยังสามารถแลกเปลี่ยนพลังงาน ระหว่างพื้นที่การจ่ายไฟที่ 1 ด้วยสายจ าหน่าย 115 กิโลโวลต์ ได้อีกด้วย
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการน าร่องระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด จังหวัดแม่ฮ่องสอน ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดเมืองแม่ฮ่องสอน แบ่งออกเป็น 4 ดา้ น ดังนี้ 1) การพัฒนาการผลิตและกักเก็บพลังงานอย่างชาญฉลาด (Smart Energy) ยุทธศาสตร์นี้เป็นการพัฒนาระบบในด้านการจัดหาไฟฟ้า โดยพึ่งพาพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่เป็นหลัก
ซึ่งจากการส ารวจข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีศักยภาพของพลังงานหมุนเวียนอยู่ในระดับ ที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าส าหรับใช้ในพื้นที่ได้ นอกจากนี้ ยังเสริมสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้า ด้วยการติดตั้งระบบเก็บกักพลังงานประเภทแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System: BESS) ซึ่งจะท า หน้าที่เสมือนเป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าส ารองให้แก่อ าเภอเมืองแม่ฮ่องสอนในยามฉุกเฉิน 2) การพัฒนาการจัดการพลังงานอย่างชาญฉลาด (Smart System) ระบบควบคุมและปฏิบัติการทางไฟฟ้าเป็นตัวกลางที่ประสานงานและเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิต
และผู้ใช้ไฟฟ้า ดังนั้น เพื่อให้สามารถรองรับพลังงานหมุนเวียนที่มีคุณลักษณะของการผลิตที่ไม่แน่นอน รวมทั้ง เพื่อรองรับการมีส่วนร่วมจากภาคผู้ใช้ไฟฟ้าผ่านทางมาตรการ Demand Response ระบบปฏิบัติการไฟฟ้า จึงควรมีความยืดหยุ่นและมีการบริหารจัดการก าลังผลิตไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ในเวลาที่ระบบ ไฟฟ้าในเขตอ าเภอเมืองแม่ฮ่องสอนแยกตัวออกจากระบบหลัก ระบบปฏิบัติการจะต้องสามารถควบคุมสมดุล ระหว่างก าลังการผลิตกับความต้องการใช้ไฟฟ้าได้โดยอัตโนมัติ โดยไม่ให้มีผลกระทบกับความถี่ทางไฟฟ้า
3) การพัฒนาการตระหนักรู้และใช้พลังงานอย่างชาญฉลาด (Smart City)
ส าหรับในด้านการใช้ไฟฟ้า การมีส่วนร่วมของผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นปัจจัยหลักที่ส าคัญอย่างหนึ่งของความส าเร็จ ในการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด บทบาทของผู้ใช้ไฟฟ้ามีผลต่อการรักษาระดับความมั่นคงในระบบไฟฟ้า และประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ รวมทั้งการรักษาสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การพัฒนาระบบเพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้าเกิด ความตะหนักรู้ซึ่งจะท าให้เกิดการตอบสนองในพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า จึงเป็นสิ่งที่จ าเป็นในการพัฒนาโครงการ น าร่องระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด ในพื้นที่อ าเภอเมืองแม่ฮ่องสอน
4) การพัฒนาศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Smart Learning) การพัฒนาองค์ความรู้ของประชาชนในเรื่อง Smart Grid นับเป็นปัจจัยที่ส าคัญยิ่งต่อผลส าเร็จใน
โครงการ Smart Grid เนื่องจากความรู้ความเข้าใจของผู้ใช้ไฟฟ้าจะช่วยส่งเสริมให้การมีส่วนร่วมของภาค ประชาชนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้คู่ชุมชน จะท าให้ประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัด แม่ฮ่องสอนตลอดจนนักท่องเที่ยวและผู้สนใจทั่วไปสามารถเรียนรู้เทคโนโลยี Smart Grid ได้โดยง่ายผ่านทางสื่อ การเรียนรู้ที่ทันสมัย นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างเสริมศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาโครงการ Smart Grid ของ จังหวัดแม่ฮ่องสอนในอนาคตอีกด้วย ยุทธศาสตร์การพัฒนาศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- แผนพัฒนาการผลิตและกักเก็บพลังงานอย่างชาญฉลาด (Smart Energy) แผนพัฒนาการผลิตและกักเก็บพลังงานอย่างชาญฉลาด มุ่งเน้นที่การจัดหา รองรับ และพึ่งพาแหล่ง พลังงานหมุนเวียน เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าตอบสนองต่อความต้องการของพื้นที่ได้อย่างเพียงพอและมีความ เชื่อถือได้สูง สอดรับกับยุทธศาสตร์การเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาด (Green Supply Portfolio) ภายใต้แผนที่ น าทางระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของ กฟผ.
ในโครงการน าร่องระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด เมืองแม่ฮ่องสอนนี้ จะประกอบด้วยการผลิตไฟฟ้าจาก
พลังน้ าขนาดเล็ก การผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ทั้งแบบฟาร์มและแบบบนหลังคา ระบบกักเก็บพลังงาน ด้วยแบตเตอรี่ โรงไฟฟ้าชีวะมวล และการแปลงขยะไปเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อช่วยเสริมความมั่นคงด้าน พลังงานให้กับพื้นที่ในช่วงฤดูแล้ง (ฤดูน้ าน้อย) นอกจากนี้ ยังมีโครงการย่อยเพิ่มเติมเพื่อช่วยเสริมการท างาน ของระบบโดยรวม ได้แก่ ชุดเครื่องก าเนิดไฟฟ้าเครื่องยนต์ดีเซล ใช้ส าหรับการเริ่มเดินเครื่องและจ่ายไฟให้กับ ระบบหลังจากเกิดไฟฟ้าดับบริเวณกว้าง (Black Start) หรือช่วยส ารองจ่ายไฟฟ้าชั่วขณะกรณีฉุกเฉิน และการ พัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก ทั้งจากพลังน้ า พลังลม และพลังแสงอาทิตย์ ที่อาจจะเพิ่มเติมการเชื่อมโยงเข้ามาในระบบโครงข่ายไฟฟ้าได้อีก ต่อไปในอนาคต แผนพัฒนาการผลิตและกักเก็บพลังงานอย่างชาญฉลาด (Smart Energy) ประกอบด้วยโครงการย่อย ต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้
1) การติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์แบบฟาร์มและแบบบนหลังคา (Component: Solar PV Farm
& Solar PV Rooftop) เซลล์แสงอาทิตย์แบบฟาร์ม
ขนาดพิกัด : 3 เมกาวัตต์ วัตถุประสงค์ : เพิ่มสัดส่วนก าลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
สถานที่ติดตั้ง : โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ผาบ่อง (กฟผ.) จ านวน 1 เมกาวัตต์ โดย ปรับปรุงจากขนาดเดิม 500 กิโลวัตต์ และ ติดตั้งใหม่บริเวณพื้นที่จัดหาใหม่ จ านวน 2 เมกาวัตต์
เซลล์แสงอาทิตย์แบบบนหลังคา
ขนาดพิกัด : 200 กิโลวัตต์ (รวมทุกหลังคา) จ านวน : 5 แห่ง 8 หลังคา (ส ารองเพิ่มเติม 2 แห่ง 5 หลังคา) วัตถุประสงค์ : เพิ่มสัดส่วนก าลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน สถานที่ติดตั้ง :
- อาคารส านักงานเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน (ก าลังผลิตประมาณ 20 กิโลวัตต์)
- อาคารจอดรถส านักงานเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน (ก าลังผลิตประมาณ 20 กิโลวัตต์)
- ตลาดสดเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน (ก าลังผลิตประมาณ 30 กิโลวัตต์)
- โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ (4 หลังคา ก าลังผลิตรวมประมาณ 90 กิโลวัตต์)
- สถานีต ารวจภูธรเมืองแม่ฮ่องสอน (ก าลังผลิตประมาณ 40 กิโลวัตต์)
2) การติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System, BESS) ขนาดพิกัด : 4 เมกะวัตต์, 1 เมกะวัตต์-ชั่วโมง
วัตถุประสงค์ : รองรับความแปรปรวนของก าลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ รักษา ระดับแรงดัน และเป็น Spinning Reserve เมื่อเกิดเหตุขัดข้องในระบบ
สถานที่ติดตั้ง : บริเวณเดียวกับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และโรงไฟฟ้าดีเซล ผาบ่อง (กฟผ.)
3) โรงไฟฟ้าชีวมวล (Biomass Power Plant) ขนาดพิกัด : 1 เมกะวัตต์
วัตถุประสงค์ : เพิ่มสัดส่วนก าลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะในช่วงฤดู
น้ าแล้ง และเพิ่มมูลค่าของ เศษใบไม้ กิ่งไม้ และเศษวัสดุการเกษตรที่มีเป็น
จ านวนมาก อีกทั้งจะช่วยลดผลกระทบปัญหาควันไฟในพื้นที่
สถานที่ติดตั้ง : บริเวณพื้นที่ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด าริ ท่าโป่งแดง
4) เครื่องก าเนิดไฟฟ้าดีเซล (Diesel Generating Units) ขนาดพิกัด : 1 เมกะวัตต์ จ านวน 5 ชุด
วัตถุประสงค์ : เป็นแหล่งก าเนิดไฟฟ้าในภาวะฉุกเฉิน และช่วยเสริมความมั่นคงของระบบ ไฟฟ้าขณะท างานเป็นไมโครกริดแบบแยกโดด
สถานที่ติดตั้ง : โรงไฟฟ้าดีเซลผาบ่อง (กฟผ.)
- แผนพัฒนาการจัดการพลังงานอย่างชาญฉลาด (Smart System) แผนพัฒนาการจัดการพลังงานอย่างชาญฉลาด มุ่งเน้นที่การ มีระบบพยากรณ์และจัดการพลังงาน
ภายในพื้นที่ ที่ทันสมัย พร้อมด้วยระบบสื่อสารเพื่อรองรับการท างานของระบบโครงข่ายไฟฟ้าแบบสมาร์ทกริด สอดรับกับยุทธศาสตร์การปฏิบัติการอย่างชาญฉลาด ผ่านระบบสื่อสารและสารสนเทศที่บูรณาการกัน (Smart Operation and Integrated ICT) ภายใต้แผนที่น าทางระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของ กฟผ.
ในโครงการน าร่องระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด เมืองแม่ฮ่องสอนนี้ จะประกอบด้วย ระบบการจัดการ
พลังงานขนาดเล็ก (Micro-EMS) สามารถบริหารจัดการการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ าขนาดเล็ก โรงไฟฟ้า พลังแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าชีวมวล โรงไฟฟ้าดีเซล ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานภายในพื้นที่ ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ คุ้มค่าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยโมดูลการพยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน หมุนเวียน และการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้า การเชื่อมต่อประสานการท างานร่วมกับสถานีไฟฟ้าย่อย และระบบจัดการจ าหน่ายไฟฟ้าของ กฟภ. (PEA-DMS) ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานด้านระบบสื่อสารและ สารสนเทศที่เหมาะสม (ICT Infrastructure) แผนพัฒนาการจัดการพลังงานอย่างชาญฉลาด (Smart System) ประกอบด้วยโครงการย่อยต่างๆ มี รายละเอียดดังนี้
1) ระบบการจัดการพลังงานขนาดเล็ก (Micro-EMS) วัตถุประสงค์ : เพื่อบริหารจัดการสมดุลพลังงานระหว่างการผลิตกับความต้องการใช้ไฟฟ้า ภายในพื้นที่ และเฝ้าสังเกตและแจ้งสถานการณ์การท างานของอุปกรณ์ ต่างๆ ภายในระบบแก่ผู้ดูแล พร้อมทั้งรักษาเสถียรภาพระบบไมโครกริด ในสภาวะแยกโดด (Islanding Mode)
สถานที่ติดตั้ง : บริเวณเดียวกับโรงไฟฟ้าดีเซลแม่ฮ่องสอน (กฟผ.)
2) การบูรณาการระบบสื่อสารและสารสนเทศ (Communication and IT System Integration) วัตถุประสงค์ : เป็นโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้องค์ประกอบต่างๆ ในระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด น าร่องสามารถท างานร่วมกันได้
สถานที่ติดตั้ง :
- ใช้ระบบ IT ระบบ Data Communication และระบบโทรศัพท์ของผู้ให้บริการ บริษัท TOT ในพื้นที่เมืองแม่ฮ่องสอน
- กฟผ. ติดตั้งระบบโครงข่ายสาย Optic Fiber บริเวณโรงไฟฟ้าดีเซลผาบ่อง (พื้นที่ดูแล รับผิดชอบโดย กฟผ.) ซึ่งจะเป็นที่ตั้งของระบบ Micro-EMS, BESS, และอาคารศูนย์ เรียนรู้ฯ ด้วย
3) ระบบทดสอบการท างานของ Micro-EMS จากระยะไกล (Test bed at CU) วัตถุประสงค์ : เพื่อเป็นสถานที่วิจัย พัฒนา และสาธิต การท างานของระบบ Micro-EMS จากระยะไกล และใช้ส าหรับเฝ้าสังเกตจากระยะไกล การท างานโดย องค์รวมของการพัฒนา Smart Energy, Smart System (รวมถึง Demand Response ต่อไปได้ในอนาคต) เมืองแม่ฮ่องสอน ติดตั้งระบบ ฐานข้อมูลเพื่อจัดเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์ส าหรับการวิจัยและพัฒนา ต่อยอดด้านสมาร์ทกริด
สถานที่ติดตั้ง : คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- แผนพัฒนาการตระหนักรู้และใช้พลังงานอย่างชาญฉลาด (Smart City) แผนการด าเนินงานและขอบเขตงานในกลุ่ม Smart City มุ่งเน้นที่กลไกการสร้างความตระหนักรู้ ให้แกผ่ ู้ใช้ไฟ เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และผู้ใช้ไฟมีส่วนร่วมเชิงรุกในการจัดการพลังงาน สามารถตอบสนองต่อขีดจ ากัดด้านการผลิตได้อย่างเหมาะสมในบางช่วงเวลา สอดรับกับยุทธศาสตร์การสร้าง กลไกท าให้เกิดการตอบสนองจากฝั่งอุปสงค์ เพื่อช่วยในการจัดการพลังงานของระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Enabling Demand Response) ภายใต้แผนที่น าทางระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของ กฟผ.
ในโครงการน าร่องระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด เมืองแม่ฮ่องสอนนี้ จะประกอบด้วย ระบบจัดการพลังงาน
ในอาคารแบบผู้ใช้ไฟฟ้ามีส่วนร่วม (Building Energy Management System, BEMS) ป้ายอัจฉริยะ (Smart Billboard) ติดตั้งในจุดส าคัญต่างๆ ของเมือง รถยนต์-รถบัสไฟฟ้า พร้อมทั้งสถานีอัดประจุ (E-Transportation) และไฟถนนชาญฉลาด (Smart Streetlight) ที่มีระบบไฟฟ้าส ารองพร้อมจ่ายในกรณีฉุกเฉิน นอกจากนี้ ยังมี องค์ประกอบเสริม ได้แก่ รถจักรยาน-รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ความเป็นเมืองสีเขียว สังคมคาร์บอนต่ า โดยทั้งหมดนี้ จะใช้พิพิธภัณฑ์มีชีวิต(สีเขียว) เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ในเมืองแม่ฮ่องสอน เพื่อสร้างการตระหนักรู้ให้กับผู้อยู่อาศัยในเมือง รวมถึงนักท่องเที่ยว
แผนพัฒนาการตระหนักรู้และใช้พลังงานอย่างชาญฉลาด ประกอบด้วยโครงการย่อยต่างๆ มี รายละเอียดดังนี้
1) ป้ายอัจฉริยะ (Smart Billboard) จ านวน : 4 ป้าย
วัตถุประสงค์ : แสดงข้อมูลเพื่อการตระหนักรู้ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม (เช่น ปัญหาควันไฟ มลพิษทางอากาศ) และสภาพภูมิอากาศ พร้อมแจ้งเตือนการมีส่วนร่วมใน การจัดการพลังงานให้กับเมือง (Demand Response) และเตือนภัยพิบัติ
(น้ าหลาก โคลนถล่ม ไฟป่า)
สถานที่ติดตั้ง :
- ศาลากลางเมืองแม่ฮ่องสอน
- ไปรษณีย์เมืองแม่ฮ่องสอน
- ตลาดสายหยุด เทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน
- โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
2) ระบบการจัดการพลังงานในอาคารแบบผู้ใช้ไฟฟ้ามีส่วนร่วม (BEMS) จ านวน : 5 ระบบ
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ผู้ใช้ไฟตระหนักรู้ และปรับพฤติกรรมการใช้พลังงานในแต่ละช่วงเวลา ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม
สถานที่ติดตั้ง :
- อาคารส านักงานเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน
- อาคารโรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน
- พิพิธภัณฑ์มีชีวิต (Green Living Museum)
- อาคารตลาดสายหยุด เทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน
- อาคารของโรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
3) ยานพาหนะไฟฟ้า สถานีอัดประจุ และไฟถนนชาญฉลาด (E-Transportation and Smart
Streetlight)
จ านวน :
- รถบัสไฟฟ้า จ านวน 2 คัน
- รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า จ านวน 10 คัน
- รถจักรยานไฟฟ้า จ านวน 20 คัน
- สถานีอัดประจุแบบเร็ว จ านวน 2 แท่น วัตถุประสงค์ : เพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้ยานพาหนะไฟฟ้า ตามนโยบายเมืองสีเขียว และ
ปรับปรุงหลอดไฟถนนให้ประหยัดพลังงาน และสามารถส่องสว่างได้กรณีที่ ระบบจ าหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่เกิดเหตุขัดข้อง
สถานที่ติดตั้ง :
- รถบัสไฟฟ้า 1 คัน ส าหรับวิ่งให้บริการในเมือง จอดที่สถานีขนส่งผู้โดยสารแม่ฮ่องสอน พร้อมสถานีอัดประจุแบบเร็ว
- รถบัสไฟฟ้า 1 คัน ส าหรับวิ่งให้บริการระหว่างศูนย์เรียนรู้ฯ ผาบ่อง และในเมือง จอดที่ศูนย์เรียนรู้ฯ ผาบ่อง พร้อมสถานีอัดประจุแบบเร็ว
- รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ส าหรับใช้งานตามภารกิจของเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน
- รถจักรยานไฟฟ้า ส าหรับให้บริการนักท่องเที่ยว ผ่านการด าเนินการของพิพิธภัณฑ์ มีชีวิต(สีเขียว)
- ไฟถนนชาญฉลาดติดตั้งบริเวณถนนขุนลุมประพาส บริเวณในเมืองแม่ฮ่องสอน ระยะทางยาวประมาณ 2 กิโลเมตร (ประมาณ 60 โคม LED พร้อมระบบไฟฟ้าส ารอง UPS) บริเวณสวนสาธารณะจองค า (วัดจองกลาง/วัดจองค า) และบริเวณพระธาตุดอย กองมู
- แผนพัฒนาศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Smart Learning) แผนงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ความรู้ นวัตกรรมทางด้านระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด
ตลอดจนเพื่อสร้างความตระหนักรู้และจิตส านักรู้รักษ์พลังงาน และเป็นแหล่งเรียนรู้ของประเทศและภูมิภาค อาเซียนอาเซียน สอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร เพื่อให้สามารถพึ่งพา เทคโนโลยีบางส่วนด้วยตนเอง ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักแห่งความส าเร็จของการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด ให้กับประเทศไทย ได้อย่างยั่งยืนต่อไป ขอบเขตงานประกอบด้วยการก่อสร้าง Smart Learning Center บนพื้นที่โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์
ผาบ่องของ กฟผ. โดยใช้เนื้อที่ประมาณ 400 ตารางเมตร พื้นที่จัดแสดงในศูนย์เรียนรู้แบ่งออกเป็น 4 โซน ได้แก่
1) ความยั่งยืนด้านพลังงาน (Sustainable Energy)
2) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Sustainable Environment
3) ความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ (Sustainable Economy)
4) ความยั่งยืนด้านการด ารงชีวิต (Sustainable Living) นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ส าหรับใช้เป็นห้องประชุม ฝึกอบรม และเอนกประสงค์ โดยมีความจุประมาณ
100 คน
- การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์
7.1 ค่าใช้จ่ายในการลงทุน โครงการน าร่องการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีกรอบระยะเวลา
ด าเนินการ 3 ปี ค่าใช้จ่ายในการลงทุนรวมทั้งสิ้น 780 ล้านบาท
7.2 ผลประโยชน์ของโครงการ
ผลประโยชน์ที่สามารถประเมินเป็นตัวเงินจากโครงการนี้ สรุปได้ดังนี้
1) ชะลอการลงทุนในการเพิ่ม Capacity ให้กับระบบไฟฟ้า ทั้งการก่อสร้างโรงไฟฟ้าและการพัฒนา ระบบส่งและระบบจ าหน่าย จากการสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนในการใช้พลังงานไฟฟ้า อย่างคุ้มค่า การใช้งานโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าชีวมวล และระบบกักเก็บพลังงาน
2) เพิ่มความเชื่อถือได้ให้กับระบบส่งจ่ายไฟฟ้าในพื้นที่อ าเภอเมืองแม่ฮ่องสอน
3) ลดค่าใช้จ่ายในการผลิตไฟฟ้าโดยใช้น้ ามันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง เนื่องจากมีระบบการจัดการ การผลิตไฟฟ้าโดยอัตโนมัติเพื่อให้เลือกผลิตไฟฟ้าจากแหล่งที่มีต้นทุนต่ าเป็นล าดับแรก
4) ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ด้วยการผลิตไฟฟ้าภายในพื้นที่แทนการรับจากระบบส่งจ่ายไฟฟ้าจาก สถานีไฟฟ้าต้นทาง จังหวัดเชียงใหม่ เช่น การใช้พลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ การผลิตไฟฟ้าจากเศษวัสดุทางการเกษตรและขยะ
5) จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่น การท่องเที่ยวเชิง อนุรักษ์ การท่องเที่ยวและเรียนรู้เชิงการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทังในด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิต ในพื้นที่
7.3 การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงิน การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงิน หรือการวิเคราะห์ความเหมาะสมในการลงทุนทางการเงินของ
โครงการ พิจารณาจากการเปรียบเทียบมูลค่าปีปัจจุบัน (Present Value) ระหว่างค่าใช้จ่าย (Cost Stream)
ได้แก่ เงินลงทุน ค่าใช้จ่ายในการด าเนินการ และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน กับ ผลตอบแทนที่ได้รับได้รับจาก โครงการ (Benefit Stream) เพื่อหาผลตอบแทนจากการลงทุนในการด าเนินโครงการ โดยวิเคราะห์ที่ ระยะเวลาโครงการ 20 ปี การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงิน ใช้ตัวชี้วัดผลตอบแทนทางการเงิน 3 ตัว และใช้อัตราคิดลด
(Discount Rate) ที่ 7.32% ซึ่งเป็นค่าต้นทุนเฉลี่ยการลงทุน (WACC) ที่ กฟผ.ใช้วิเคราะห์โครงการ สรุปผลได้ ดังนี้
1) มูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนทางการเงินสุทธิ (NPV) 242.3 ล้านบาท
2) ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) 15 ปี
3) อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการ (EIRR) 11.19%
โครงการน าร่องการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA Smart Grid)
ในขณะที่ความต้องการด้านพลังงานของมนุษย์ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากการสรรหาแหล่ง พลังงานทางเลือกใหม่ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ า เป็นต้น การใช้พลังงานที่มีอยู่อย่าง จ ากัดให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถือเป็นสิ่งส าคัญ พลังงานไฟฟ้าถือเป็นสาธารณูปโภคที่มีความต้องการใช้ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นอย่างมากในทุกๆ ปี ระบบไฟฟ้ารูปแบบเดิมๆ ในปัจจุบันอาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการในอนาคต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นรัฐวิสาหกิจสาขาสาธารณูปโภค ในสังกัดกระทรวงมหาดไทยมี
หน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดหา จัดส่งและจัดจ าหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านพักอาศัย ธุรกิจ และอุตสาหกรรมต่างๆ ในพื้นที่ 74 จังหวัด ทั่วประเทศ (ยกเว้น กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และ สมุทรปราการ) ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 510,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 99% ของพื้นที่ทั้งประเทศ ดังนั้นหนึ่งในนโยบายที่ส าคัญของ กฟภ. จึงต้องการก้าวไปสู่โครงข่ายสมาร์ทกริด (Smart Grid) เพื่อ
ตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และรองรับการให้บริการระบบจ าหน่ายที่มี ประสิทธิภาพและความมั่นคงสูง ระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด (Smart Grid) เป็นโครงข่ายไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสารมาบริหารจัดการ ควบคุมการผลิต ส่ง และจ าหน่ายพลังงานไฟฟ้า ซึ่งความอัจฉริยะของโครงข่าย ไฟฟ้านี้ เกิดจากการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า ระบบสารสนเทศ ระบบสื่อสาร เข้าไว้ด้วยกันเป็นโครงข่าย ซึ่ง โครงข่ายดังกล่าวจะสนับสนุนการท างานซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพื่อเตรียมการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนาของ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการด าเนินงานของ กฟภ. ในอนาคตข้างหน้า นอกจากนั้นผู้ใช้ ไฟฟ้ายังต้องการระบบเข้าถึงบริการด้านไฟฟ้าที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ต้องการข้อมูลด้านพลังงานเพื่อ บริหารจัดการที่เหมาะสม รวมทั้งต้องการมีส่วนร่วมในการผลิต ส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า ในขณะที่สังคมแห่ง อนาคตต้องการระบบไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น มูลเหตุเหล่านี้ถือว่าเป็น แรงขับเคลื่อนในการเปลี่ยนแปลงของ กฟภ. ที่จ าเป็นต้องศึกษาและเร่งด าเนินงานพัฒนาระบบโครงข่าย สมาร์ทกริดให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง กฟภ. จึงได้ก าหนดแนวทางการพัฒนาระบบโครงข่าย สมาร์ทกริด 3 ระยะดังนี้
1) ระยะที่ 1 (ปี พ.ศ. 2556 – 2559) : ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อศึกษาและทดสอบการใช้งานระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดด้านต่างๆ รวมถึงระบบ Microgrid ส าหรับเป็นแนวทางในการพัฒนาโครงข่ายสมาร์ทกริดในพื้นที่อื่นๆ โดยระยะนี้ กฟภ. 3 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาโครงข่ายสมาร์ทกริด (Smart Grid) ในพื้นที่เมืองพัทยา จ.ชลบุรี โครงการพัฒนาระบบไฟฟ้า แบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Micro Grid) ที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน และโครงการพัฒนาระบบผลิต ไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนบนพื้นที่เกาะกูด เกาะหมาก จ.ตราด อีกทั้ง กฟภ. ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับระบบ Smart Grid อีกด้วย ได้แก่ งานวิจัยพัฒนา Smart Meter ต้นแบบส าหรับระบบ AMI, โครงการสาธิต รถโดยสารไร้มลพิษส าหรับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, โครงการวิจัยสถานีบริการอัดประจุแบตเตอรี่ต้นแบบส าหรับ รถยนต์ไฟฟ้า รองรับมาตรฐาน CHAdeMO
2) ระยะที่ 2 (ปี พ.ศ. 2560 – 2564) : ด าเนินการขยายงานให้ผู้ใช้ไฟทุกประเภทในพื้นที่ต่างๆ ของ กฟภ. เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3) ระยะที่ 3 (ปี พ.ศ. 2565 – 2569) : ด าเนินการปรับปรุงคุณภาพไฟฟ้าและการให้บริการให้มี ประสิทธิภาพ ส าหรับความพร้อมในการด าเนินโครงการน าร่องของ กฟภ. นั้น กฟภ. ได้ด าเนินการรวบรวมข้อมูล
โดยได้จัดท าเป็นรายงานศึกษาความเหมาะสมได้แก่ โครงการพัฒนาโครงข่ายสมาร์ทกริด (Smart Grid) ใน พื้นที่เมืองพัทยา จ.ชลบุรี, โครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าแบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Micro Grid) ที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน, โครงการพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนบนพื้นที่เกาะกูด เกาะหมาก จ.ตราด โดยได้ประเมินถึงศักยภาพในแต่ละพื้นที่ การประเมินผลที่ได้รับจากการติดตั้งระบบ ซึ่ง คาดว่าจะช่วยเพิ่มคุณภาพ ความเชื่อถือได้ และความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าในพื้นที่ได้ ดังนั้น กฟภ. จึงได้ เลือกให้พื้นที่ดังกล่าว ในการด าเนินโครงการน าร่องต่อไป ส าหรับรายละเอียดรายงานทั้ง 3 โครงการ เป็นดังนี้
- โครงการพัฒนาโครงข่ายสมาร์ทกริด (Smart Grid) ในพื้นที่เมืองพัทยา จ.ชลบุรี โครงการพัฒนาโครงข่ายสมาร์ทกริด (Smart Grid) ในพื้นที่เมืองพัทยา จ.ชลบุรี (โครงการ คอพ.) เป็นโครงการพัฒนา Smart Grid โครงการแรกของ กฟภ. เพื่อเป็นต้นแบบโครงการน าร่องทางด้าน Smart Grid โดย กฟภ. คัดเลือกพื้นที่เมืองพัทยา จ.ชลบุรี เนื่องจาก กฟภ. มีความเห็นว่าเมืองพัทยามีความเหมาะสม และความพร้อมในหลายๆ ซง่ึสามารถสรุปได้ ดังนี้
- เมืองพัทยาเป็นเมืองส าคัญทางเศรษฐกิจจึงมีความต้องการไฟฟ้าสูง ท าให้สามารถเห็น ประโยชน์ของระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดได้ชัดเจน
- เมืองพัทยามีการกระจายของผู้ใช้ไฟฟ้าหลายกลุ่ม เช่น ทั้งบ้านพักอาศัย, อาคารส านักงาน, โรงแรม, ภาคธุรกิจ และโรงงานอุตสาหกรรม
- ลักษณะชุมชนมีทั้งพื้นที่หนาแน่น พื้นที่เบาบาง พื้นที่ชนบท รวมถึงพื้นที่เกาะ คือ เกาะล้าน
จึงเหมาะสมกับการทดสอบการผสมผสานกันของเทคโนโลยีการสื่อสารหลายๆรูปแบบ ส าหรับระบบสมาร์ทมิเตอร์
- มีความร่วมมือจากพื้นที่ ซึ่งเมืองพัทยามีนโยบายที่จะพัฒนาเป็น Smart City จึงเป็นเมือง ที่รองรับโครงการน าร่องหลายๆ โครงการ จึงเหมาะสมในการสาธิตเทคโนโลยีใหม่ๆ
- เมืองพัทยามีโครงสร้างพื้นฐานของโครงข่ายสื่อสารค่อนข้างพร้อมอยู่แล้ว
- เป็นเมืองที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจ ธุรกิจและการท่องเที่ยว จึงเหมาะสมส าหรับการ ประชาสัมพันธ์
โดยจะติดตั้ง Smart Meter ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วพื้นที่เมืองพัทยา ประมาณ 116,308 ราย (ยกเว้น ผู้ใช้
ทตี่ ิดตั้ง มิเตอร์ Automatic meter reading: AMR ตามโครงการพัฒนาการอ่านหน่วยไฟฟ้าอัตโนมัติ ส าหรับ ผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่) และติดตั้งระบบ Smart Grid อื่น ๆ ในพื้นที่สถานีไฟฟ้าที่จ่ายไฟให้กับพื้นที่เมืองพัทยา จ านวน 3 สถานีไฟฟ้า คือ สถานีไฟฟ้าพัทยาเหนือ สถานีไฟฟ้าพัทยาใต้ และสถานีไฟฟ้าจอมเทียน เพื่อให้ สามารถทดสอบได้ครบถ้วนทุกประเด็นตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
1.1 รายละเอียดโครงการ
1.1.1 ระยะเวลาด าเนินการ : 3 ปี (2558 - 2560)
1.1.2 วัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาเทคโนโลยีและทดสอบการออกแบบ และการใช้งานระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดใน ด้านต่างๆ ส าหรับรองรับการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในพื้นที่อื่นๆต่อไป
2) เพื่อศึกษาประโยชน์ที่จะได้รับในแต่ละระบบของโครงข่ายสมาร์ทกริด
3) พัฒนาระบบไฟฟ้า เพิ่มประสิทธิภาพและความมั่นคงให้กับระบบจ าหน่าย และเพิ่ม ประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อกับแหล่งผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก รวมทั้งลดปัญหาและค่าใช้จ่ายใน ด้านการปฏิบัติการต่างๆ
4) เพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนพัฒนาระบบจ าหน่าย
1.1.3 ปริมาณงาน
ตามมติของ สศช. เมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2557 ได้เห็นชอบโครงการ คอพ. แล้ว แต่ให้ชะลอในส่วน ของ EV Charging Station และรถยนต์ไฟฟ้า วงเงินลงทุน 46 ล้านบาท
และตามมติ สกพ. เมื่อวันที่ ได้เห็นชอบโครงการ คอพ. แต่ให้ชะลอในส่วนของการลงทุน Energy Storage, Solar Rooftop, EV Charging Station และรถยนต์ไฟฟ้า วงเงินลงทุน 416 ล้านบาท ท าให้วงเงินลงทุนโครงการฯ จาก 1,485 ล้านบาท เป็น 1,069 ล้านบาท ดังนั้น กฟภ. จึงปรับ ปริมาณเพื่อให้สอดคล้องกับความเห็นของ 2 หน่วยงาน ดังนี้
1) ติดตั้งระบบสมาร์ทมิเตอร์ (Smart meter) 116,308 เครื่อง
2) ติดตั้งระบบแก้ไขปัญหาไฟฟ้าขัดข้องอัจฉริยะ 1 ระบบ
3) ติดตั้งระบบสถานีไฟฟ้าอัตโนมัติ (Substation Automation) 3 สถานี
4) ติดตั้งระบบเชื่อมโยงเทคโนยีสารสนเทศ (IT Integration System) 1 ระบบ
1.1.4 เงินลงทุน โครงการ คอพ. มีระยะเวลาด าเนินการ 3 ปี วงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,069 ล้านบาท แบ่งเป็น รายละเอียดการลงทุนในแต่ละระบบ ดังนี้
ที่ | รายการ | เงินลงทุน (ล้านบาท) |
1 | ระบบสมาร์ทมิเตอร์ | 917 |
2 | ระบบแก้ไขปัญหาไฟฟ้าขัดข้องอัจฉริยะ | 12 |
3 | ระบบ Substation Automation | 104 |
4 | IT Integration System | 36 |
| รวมทั้งสิ้น (ล้านบาท) | 1,069 |
1.1.5 แหล่งเงินทุน
เงินกู้ในประเทศ | 800 | ล้านบาท |
เงินรายได้ กฟภ. | 269 | ล้านบาท |
รวม 1,069 ล้านบาท
1.1.6 ผลตอบแทนของโครงการ การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ และ การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินของ โครงการสรุปได้ดังนี้
ผลตอบแทน | NPV (ล้านบาท) | อัตราผลตอบแทน |
ทางเศรษฐศาสตร์ Discount Rate 10% | 82 | 11.17% |
ทางการเงิน Discount Rate 7% | -354 | 3.81% |
1.1.7 ผลประโยชน์จากโครงการ
โครงการ คอพ. จัดท าขึ้นเพื่อทดสอบการใช้งานระบบต่างๆของโครงข่ายสมาร์ทกริด เพื่อให้
กฟภ. ได้ศึกษาประโยชน์จากการใช้งานระบบเหล่านี้ และศึกษาข้อด้อย และข้อจ ากัดต่างๆ เพื่อน าไปหาทาง แก้ไขส าหรับการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดในพื้นที่อื่นๆต่อไปในอนาคต จากการด าเนินโครงการ ทั้งหมด สามารถสรุปผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นได้ดังนี้
1) สามารถศึกษาการออกแบบ การใช้งานระบบต่างๆของโครงข่ายสมาร์ทกริด และข้อดี ข้อจ ากัด เพื่อน าผลการประเมินจากแผนน าร่องไปวางแผนขยายผลสู่พื้นที่เป้าหมายอื่น ๆ ต่อไป
2) ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจ้างเหมาจดหน่วยมิเตอร์ และค่าใช้จ่ายในการออกไปด าเนินการ ตดั-ต่อมิเตอร์
3) ลดการสูญเสียรายได้เนื่องจากการละเมิดใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ช ารุด (Non-technical Loss) และช่วยลดต้นทุนเนื่องจากก าลังสูญเสียในขดลวดของมิเตอร์จานหมุน และ ความคลาดเคลื่อน ในการอ่านหน่วยของมิเตอร์ (Technical Loss)
4) ช่วยลดความต้องการไฟฟ้าสูงสุด (Peak Load) ของระบบ ท าให้สามารถชะลอการลงทุน ในการเพิ่มก าลังการผลิตให้กับระบบไฟฟ้า
5) เพิ่มสภาพคล่องด้านกระแสเงินสด (Cash Flow) ให้ กฟภ. จากการเก็บค่าไฟฟ้าได้เร็วขึ้น และการให้บริการมิเตอร์แบบเติมเงิน (Prepayment Meter)
6) เพิ่มโอกาสในการขายไฟฟ้า และลดความเสียหายจากไฟฟ้าดับที่มีต่อผู้ใช้ไฟฟ้า เนื่องจาก กฟภ. สามารถลดเวลาในการแก้ไขปัญหา และสามารถทราบเหตุการณ์ไฟฟ้าดับได้ทันที
7) ลดค่าใช้จ่ายในการออกไปแก้ไขปัญหาในระบบจ าหน่าย และการบ ารุงรักษา
8) เพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผน และการเชื่อมต่อกับแหล่งผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก
9) ท าให้ผู้ใช้ไฟฟ้าเกิดความเชื่อมั่นในการอ่านหน่วยเพื่อเรียกเก็บค่าไฟฟ้ารายเดือน เนื่องจาก ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถตรวจสอบข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของตนเองได้ตลอดเวลา
- โครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าแบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Micro Grid) ที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ปัจจุบันระบบไฟฟ้าในพื้นที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ได้รับการจ่ายไฟจากสถานีไฟฟ้าฮอด วงจรที่ 9
ซึ่งมีระยะทางประมาณ 110 กิโลเมตร เดินระบบจ าหน่ายแรงสูงระบบ 22 เควี ผ่านพื้นที่ป่าเขา และมีการ จ่ายไฟจากแหล่งผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ได้แก่ โรงจักรดีเซลของ กฟภ. โรงจักรพลังน้ าของกระทรวงพลังงาน โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก และ โรงจักรดีเซลส ารองฉุกเฉินของผู้ใช้ไฟราย ใหญ่ เช่น โรงพยาบาลแม่สะเรียงซึ่งมีขนาดก าลังผลิต ไม่แน่นอนและเพียงพอ ท าให้เกิดปัญหาคุณภาพไฟฟ้า และเกิดเหตุขัดข้องบ่อยครั้ง นอกจากนี้ กฟภ. ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายจ านวนมากในการเดินเครื่องก าเนิดไฟฟ้า เพื่อจ่ายไฟให้โหลดในพื้นที่เมื่อเกิดไฟฟ้าดับหรือช่วงโหลดสูง
ส าหรับศักยภาพแหล่งผลิตไฟฟ้า และปริมาณการใช้ไฟฟ้าในปัจจุบันของ อ.แม่สะเรียง ดังตาราง
แหล่งผลิต | ชนิด | ขนาด (MW) | หน่วยงาน |
ระบบไฟฟ้าจาก Grid | ระบบจ าหนา่ ย 22 kV | 10 MW (Max) | กฟภ. |
โรงจักรแมส่ ะเรียง (จ่าย เฉพาะ Peak และIslanding) | Diesel Generator | 4 MW (Max 2.8 MW) | กฟภ. |
โรงไฟฟ้าพลังน้ าแมส่ ะเรียง | พลังน้ า | 1.25 MW (จ่ายได้ 0.4 MW) | กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน |
VSPP | PV | 2 MW (จ่ายได้ 1.6 MW) | เอกชน |
โรงพยาบาลแม่สะเรยี ง | Diesel Generator | 0.5 MW | กระทรวงสาธารณสุข |
ค่าความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของสถานีไฟฟ้าฮอด วงจรที่ 9 (ปี 2556) มีค่าประมาณ 9.3 MW
2.1 รายละเอียดโครงการ
2.1.1 ระยะเวลาด าเนินการ : 3 ปี (2557 - 2559)
2.1.2 วัตถุประสงค์
ศึกษาและพัฒนาระบบควบคุมโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Micro Grid Controller) เพื่อ
การวางแผนและปฏิบัติการระบบไฟฟ้าที่มีแหล่งผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กประเภทต่างๆ ให้สามารถใช้ศักยภาพของ ระบบได้สูงสุด เป็นการเพิ่มความมั่นคง ความเชื่อถือได้และคุณภาพของระบบไฟฟ้าโดยรวม ลดระยะเวลาและ ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการและบ ารุงรักษา ลดหน่วยสูญเสียในระบบผลิตและจ าหน่ายที่มีระยะทางไกล รวมถึง เป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาระบบไฟฟ้าในพื้นที่ให้เป็นโครงข่ายสมาร์ทกริด (Smart Grid) และการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทน
2.1.3 พื้นที่ด าเนินการ : อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
2.1.4 ปริมาณงาน
1) ติดตั้ง Micro-Grid Controller
2) ตดิ ตง้ั Battery Storage 3MW/1.5MWh
3) ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า (Skidding)
4) Diesel Generator 3 MW
5) ระบบสื่อสาร
6) อุปกรณ์ Switching 2.1.5 เงินลงทุน โครงการฯ มีระยะเวลาด าเนินการ 3 ปี วงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 320 ล้านบาท
2.1.6 แหล่งเงินทุน
เงินกู้ในประเทศ | | 240 | ล้านบาท |
เงินรายได้ กฟภ. | | 80 | ล้านบาท |
รวม | | 320 | ล้านบาท |
2.1.7 ผลตอบแทนของโครงการ การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ และ การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินของ โครงการสรุปได้ดังนี้
ผลตอบแทน | NPV (ล้านบาท) | อัตราผลตอบแทน |
ทางเศรษฐศาสตร์ | 45.43 | 10.28% |
ทางการเงิน | -57.2 | 1.52% |
2.1.8 ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1) พัฒนาและปรับปรุงระบบไฟฟ้าในพื้นที่ด้วยรูปแบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Micro Grid) ที่สามารถรองรับเทคโนโลยีและพัฒนาให้เป็นโครงข่ายสมาร์ทกริด(Smart Grid) ที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
2) ระบบผลิตและจ าหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่มีประสิทธิภาพ มั่นคงและเชื่อถือได้ ลดปัญหาไฟฟ้า ขัดข้อง และเพิ่มความพึงพอใจในคุณภาพและบริการให้กับลูกค้า
3) ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม
4) ลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากเครื่องยนต์ดีเซล ลดปัญหาการปฏิบัติการและบ ารุงรักษา
5) ลดหน่วยสูญเสียในระบบสายส่งและจ าหน่ายไฟฟ้า
- โครงการพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนบนพื้นที่เกาะกูด เกาะหมาก จ.ตราด โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการผลิตและจาหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่อย่างมี
ประสิทธิภาพ โดยมีแหล่งจ่ายพลังงานทดแทนเพิ่มเป็นแหล่งพลังงานในพื้นที่ การศึกษาจะเน้นแนวทางการ เพิ่มความเชื่อถือได้ (Reliability) และคุณภาพ (Quality) ของระบบไฟฟ้าในพื้นที่และศึกษาการลดหน่วย สูญเสียที่เกิดขึ้นในระบบจาหน่ายที่มีระยะไกล การศึกษาการใช้ระบบไมโครกริดที่เหมาะสมนับเป็น วัตถุประสงค์หลักอย่างหนึ่งของโครงการนี้
ระบบไมโครกริด เป็นแนวคิดใหม่ ซึ่งจะหมายถึงระบบไฟฟ้าก าลังขนาดเล็ก ที่ประกอบด้วยกลุ่มของ โหลดชนิดต่างๆ เครื่องก าเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กแบบกระจายตัว อุปกรณ์สะสมพลังงาน ทั้งหมดท างานร่วมกัน โดยมีระบบการจัดการพลังงาน ระบบควบคุม อุปกรณ์ป้องกันและซอฟแวร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อุปกรณ์ส าคัญที่ เกี่ยวข้องในไมโครกริด ได้แก่ อุปกรณ์ควบคุมที่เป็น FACTS (Flexible AC Transmission System) เช่น ตัวควบคุมการไหลก าลังไฟฟ้า (Power flow controller) ตัวควบคุมแรงดัน (Voltage regulator) และ อุปกรณ์รีเลย์ป้องกันและเซอร์กิตเบรกเกอร์ เป็นต้น ในการทางานของระบบไมโครกริด จะมองตัวเองว่า ประกอบด้วย กลุ่มโหลดต่างๆ รวมเป็นโหลดสุทธิและเครื่องก าเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กต่างๆ รวมเป็นแหล่งก าเนิด กาลังไฟฟ้าสุทธิ ซึ่งเมื่อรวมโหลดสุทธิและแหล่งก าเนิดไฟฟ้าสุทธิเข้าด้วยกัน ระบบไมโครกริดก็จะแสดง พฤติกรรมเฉพาะตัวของระบบออกมาการส ารวจแหล่งพลังงานหมุนเวียนบนเกาะกูด
- ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ด้วยข้อจ ากัดเรื่องพื้นที่ในการติดตั้งซึ่งตั้งอยู่บริเวณโรงจักรผลิตไฟฟ้าของ กฟภ. ขนาดของ
แผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่สามารถรองรับได้จะมีขนาด 200 kW
- ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานน้ า บนพื้นที่เกาะกูดมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ า จากการประมาณการการผลิต
ไฟฟ้าโดยใช้ข้อมูลปริมาณน้ าและอัตราการไหลของน้ า จึงมีความเป็นไปได้ที่จะสามารถสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ า ได้ 2 แห่ง โดยแห่งแรกมีขนาดก าลังการผลิตที่เหมาะสมประมาณ 200 kW ต าแหน่งที่ตั้งบริเวณน้ าตกคลองเจ้า และแห่งที่ 2 ประมาณ 400 kW ตา แหน่งที่ตั้งบริเวณน้ าตก Secret Water Fall
- ระบบสะสมพลังงาน ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนร่วมกับระบบส่งจ่ายก าลังไฟฟ้าของ กฟภ.
จ าเป็นต้องมีระบบแบตเตอรี่เป็นระบบสะสมพลังงานไฟฟ้าเพื่อช่วยให้ไฟฟ้าของเกาะกูดและเกาะหมาก มีเสถียรภาพสูง โดยขนาดของแบตเตอรี่พิจารณาจาก MW และ MJ จากการประมาณการในเบื้องต้นแบตเตอรี ควรจะจ่ายพลังงานไฟฟ้าส ารองได้นานประมาณ 1 ชั่วโมง ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เพียงพอที่การไฟฟ้าจะ ดา เนินการซ่อมแซมความผิดปกติต่างๆในระบบไฟฟ้าหรือการหาแหล่งจ่ายไฟอื่น การส ารวจแหล่งพลังงานหมุนเวียนบนเกาะหมาก
- ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ พื้นที่ในการติดตั้งซึ่งตั้งอยู่บริเวณโรงจักรผลิตไฟฟ้าของ กฟภ. บนเกาะหมาก ขนาดของ
แผงเซลล์แสงอาทิตย์สามารถรองรับการติดตั้งได้ถึง 800 kW ส าหรับค่าความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (ปี 2555) ของเกาะกูดประมาณ 820 kW และเกาะหมาก
ประมาณ 850 kW
3.1 รายละเอียดโครงการ
3.1.1 ระยะเวลาด าเนินการ : 2 ปี (2559 - 2560)
3.1.2 วัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการผลิตและจ าหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีแหล่งจ่ายพลังงานทดแทนเพิ่มเป็นแหล่งพลังงานในพื้นที่
2) เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มความเชื่อถือได้ (Reliability) และคุณภาพ (Quality) ของระบบ ไฟฟ้าในพื้นที่
3) เพื่อศึกษาการลดหน่วยสูญเสียที่เกิดขึ้นในระบบจ าหน่ายที่มีระยะไกล
3.1.3 พื้นที่ด าเนินการ : เกาะกูด เกาะหมาก จ.ตราด
3.1.4 ขอบเขตงาน
เกาะกูด
1) ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 200 kW
2) ตดิ ตง้ั Hydro Power Plant 400 kW
3) ติดตั้งระบบเก็บสะสมพลังงาน (Energy Storage) 1.5 MW/1.5 MWh 4) ติดตั้งระบบ Micro grid Energy Management System เกาะหมาก
1) ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ 200 kW
3.1.5 เงินลงทุน โครงการฯ มีระยะเวลาด าเนินการ 2 ปี วงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 374.22 ล้านบาท
3.1.6 แหล่งเงินทุน
เงินกู้ในประเทศ | | 281.12 | ล้านบาท |
เงินรายได้ กฟภ. | | 93.1 | ล้านบาท |
รวม | | 374.22 | ล้านบาท |
3.1.7 ผลตอบแทนของโครงการ การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ และ การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินของ
โครงการสรุปได้ดังนี้
ผลตอบแทน | NPV (ล้านบาท) | อัตราผลตอบแทน |
ทางเศรษฐศาสตร์ | 45.6 | 8.61% |
ทางการเงิน | -261 | -6.78% |
3.1.8 ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1) ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและใช้พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ าในการผลิตไฟฟ้า
2) ลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากเครื่องก าเนิดไฟฟ้าดีเซล ซึ่ง กฟภ. ต้องจ่ายในพื้นที่เกาะห่างไกล
3) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน
โครงการน าร่องการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด การไฟฟ้านครหลวง
บทน า การไฟฟ้านครหลวงได้น าเสนอแนวทางการจัดท าแผนด าเนินงานของโครงการจัดการการจ่ายพลังไฟฟ้า ในระบบจ าหน่าย (Distribution Management System - DMS) จากการด าเนินการศึกษาพื้นที่ที่มีศักยภาพใน การด าเนินโครงการน าร่อง Smart Grid การไฟฟ้านครหลวงได้ศึกษาและวิเคราะห์ผลการส ารวจพื้นที่ พบว่าพื้นที่ การไฟฟ้าจ านวน 4 เขต ได้แก่ ได้แก่ การไฟฟ้าเขตสามเสน, การไฟฟ้าเขตคลองเตย, การไฟฟ้าเขตบางกะปิ และ การไฟฟ้าเขตราษฏร์บูรณะ มีความเหมาะสมในการด าเนินงาน โดย กฟน. มี3 เป้าหมายหลักดังนี้
- เป้าหมายด้านระบบไฟฟ้า
- เป้าหมายด้านการให้บริการ
- เป้าหมายด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น กฟน. จึงด าเนินการท าแผนงานส าหรับโครงการน าร่องพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด หรือ
โครงการจัดการการจ่ายพลังไฟฟ้าในระบบจ าหน่าย ส าหรับ 4 การไฟฟ้าเขตน าร่อง ซึ่งประกอบด้วย รายละเอียดโดยสังเขปดังนี้ หลักการและเหตุผล ในปัจจุบันการไฟฟ้านครหลวงมีการน าระบบควบคุมทางไกลอัตโนมัติและระบบจัดการพลังไฟฟ้าใน
ระบบส่ง (SCADA/EMS) มาประยุกต์ใช้แต่ยังไม่มีระบบควบคุมทางไกลอัตโนมัติส าหรับระบบจ าหน่ายที่ สมบูรณ์และครอบคลุมพื้นที่จ าหน่ายทั้งหมด 18 เขต ในอดีตการไฟฟ้านครหลวงได้น าระบบอัตโนมัติสายป้อน (Distribution Automation System) มาใช้เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของระบบไฟฟ้า แต่ระบบดังกล่าวยังขาด ฟังก์ชั่นส าคัญต่อเป้าหมายของระบบไฟฟ้าที่มั่นคงของ กฟน. เช่น การวิเคราะห์ Distribution Power Flow (DPF) เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการจ่ายพลังไฟฟ้าในสายป้อน, การใช้งาน Fault Isolation and Service Restoration (FISR) เพื่อความรวดเร็วในการแยกจุดลัดวงจรและแก้ไขปัญหาไฟดับได้รวดเร็ว, การใช้งาน Automatic Feeder Reconfiguration (AFR) เพื่อปรับปรุงรูปแบบการจ่ายพลังไฟฟ้าในระบบจ าหน่ายให้มี การสูญเสียน้อยที่สุด เป็นต้น นอกจากฟังก์ชั่นส าคัญต่อเป้าหมายของระบบไฟฟ้าที่มั่นคงแล้ว กฟน. มีแผนด าเนินงานเพื่อ ตอบสนองการบริการระบบจ าหน่ายที่ดีกว่า โดยมีเป้าหมายจะด าเนินการใช้งานระบบจัดการการจ่ายพลัง ไฟฟ้าในระบบจ าหน่ายในพื้นที่ 4 การไฟฟ้าเขตน าร่อง ได้แก่ การไฟฟ้าเขตสามเสน, การไฟฟ้าเขตคลองเตย, การไฟฟ้าเขตบางกะปิ และ การไฟฟ้าเขตราษฏร์บูรณะ อย่างทั่วถึง บุคลกรของการไฟฟ้าเขตสามารถใช้ข้อมูล จากระบบ DMS เช่น Switching Management System, Planned Outage Management System (POMS), Fault Isolation and Service Restoration (FISR) เป็นต้น เพื่อตัดสินใจขั้นตอนการปฏิบัติงาน และลดเวลาการแก้ไขไฟฟ้าขัดข้องทั้งในรูปแบบ Automatic และ Manual การน าระบบ DMS มาประยุกต์ใช้ในการไฟฟ้านครหลวงจะท าให้การแก้ไขปัญหาไฟฟ้าขัดข้องท าได้
อย่างรวดเร็ว ลดระยะเวลาการเกิดไฟฟ้าดับ การเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบ SCADA/EMS และ ระบบ DMS รวมทั้งการน าฟังก์ชันของระบบ DMS มาใช้งานเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพงานบริการและควบคุม การจ่ายพลังไฟฟ้าของระบบจ าหน่ายให้มีความถูกต้องและเชื่อถือได้มากขึ้น และช่วยลดความสูญเสียในการ จ่ายพลังไฟฟ้าในระบบจ าหน่ายเป็นการลดต้นทุนในการจ่ายพลังไฟฟ้า วัตถุประสงค์
- เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก้ไขเหตุการณ์ไฟฟ้าขัดข้องลดระยะเวลาการเกิดไฟฟ้าดับ และลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นต่อผู้ใช้ไฟ
- เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการการจ่ายพลังไฟฟ้าในระบบจ าหน่าย ลดความสูญเสียในระบบ จ าหน่าย
- เพื่อเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบ SCADA/EMS และระบบ DMS อันจะเพิ่ม ประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และวางแผนด้วยข้อมูลระบบไฟฟ้าที่ครบถ้วนสมบูรณ์
- เพื่อให้บริการข้อมูลในระบบจ าหน่าย แก่หน่วยงานภายใน กฟน. เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งในระดับ ปฏิบัติการและฝ่ายบริหาร ทราบข้อมูล เพื่อใช้ในการวางแผน และแก้ไขสถานการณ์ได้อย่าง ทันท่วงที
ขอบเขตการด าเนินงาน ระบบจัดการการจ่ายพลังไฟฟ้าในระบบจ าหน่าย (DMS) มีส่วนประกอบส าคัญอยู่ 3 ส่วนได้แก่
- ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องแม่ข่าย หรือ เครื่อง Workstation ส าหรับการค านวณทาง ไฟฟ้าต่างๆ ระบบเชื่อมต่อกับระบบงานอื่นเช่น SCADA/EMS
- ระบบสื่อสารต่างๆเช่น สายใยแก้วน าแสงที่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ภาคสนาม กับ ระบบ คอมพิวเตอร์ในระบบ DMS
- อุปกรณ์ภาคสนามที่จ าเป็น ได้แก่ Load Break Switch และ FRTU ในส่วนของการด าเนินงานติดตั้งระบบ DMS นั้น การไฟฟ้านครหลวงจะด าเนินการจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ
ที่มีความจ าเป็นดังนี้
ระบบ | จุดประสงค์ | สถานที่ใช้งาน/ติดตั้ง |
Server and Workstation | - เพื่อใช้เก็บข้อมูลในระบบจ าหน่าย ส าหรับการวิเคราะห์ข้อมูลภายหลัง หรือ การวิเคราะห์ Distribution Power Flow เก็บข้อมูล Schematic และ Geographic และ เป็นข้อมูล พื้นฐานให้กับโปรแกรมประยุกต์ต่างๆใน ระบบ DMS - เพื่อใช้แสดงวงจรไฟฟ้าในระบบจ าหน่าย ทดแทนการใช้กระดาษ ในการอัพเดท สถานะอุปกรณ์ต่างๆในระบบจ าหน่าย - เพื่อให้ผู้สั่งการและบุคลกรจากการ ไฟฟ้าเขตสามารถสั่งการปลดสับ LBS จากระยะไกลได้ และ สามารถแก้ไข ปัญหาไฟฟ้าขัดข้องได้รวดเร็ว | 4 การไฟฟ้าเขตน าร่อง ศูนย์สั่ง การชิดลม ศูนย์สั่งการแจ้ง วัฒนะและ ห้อง Data Center ของ กฟน. |
ระบบเชื่อมต่อกับ SCADA/EMS (EMS Interface) | เพื่อใช้เชื่อมต่อกับระบบบริหารจัดการ ในระบบส่งเพื่อให้มีข้อมูลในการจ่าย พลังไฟฟ้าได้สมบูรณ์ | ศูนย์สั่งการชิดลม และ ศูนย์สั่ง การแจ้งวัฒนะ |
โปรแกรมประยุกต์ต่างๆเช่น FISR, BLS, DPF เป็นต้น | เพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการ ระบบจ าหน่าย ความมั่นคงของระบบ ไฟฟ้าและคุณภาพบริการ | 4 การไฟฟ้าเขตน าร่อง และ ศูนย์สั่งการชิดลม และ ศูนย์สั่ง การแจ้งวัฒนะ |
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก | ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ |
ผู้ใช้ไฟฟ้า, ชุมชนและ สิ่งแวดล้อม | - เพิ่มประสิทธิภาพงานบริการและควบคุมการจ่ายพลังไฟฟ้าของ ระบบจ าหน่ายให้มีความถูกต้องและเชื่อถือได้มากขึ้น
- ช่วยลดความสูญเสียในการจ่ายพลังไฟฟ้าในระบบจ าหน่ายเป็น การลดต้นทุนในการจ่ายพลังไฟฟ้า
|
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก | ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ |
การไฟฟ้านครหลวง | - สามารถให้บริการข้อมูลระบบจ าหน่าย แก่หน่วยงานภายใน กฟน. เพื่อใช้ในการบริหาร และแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
- ท าให้พนักงานที่ปฏิบัติงานที่ศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้ามีข้อมูลที่ ครบถ้วนเกี่ยวกับสถานะของอุปกรณ์ในระบบจ าหน่ายซึ่งเป็น ข้อมูลที่จ าเป็นในการประสานงานกับพนักงานสนามในการ ปฏิบัติงาน
- รูปแบบการจัดการเป็นแบบรวมศูนย์ลดจ านวนบุคลากรและ ค่าใช้จ่ายในการดูแลและบ ารุงรักษาเครื่อง Server และ Software
- ท าให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลของระบบ SCADA/EMS และระบบ DMS เพื่อการจัดการการจ่ายพลังไฟฟ้าในระบบจ าหน่าย
- ช่วยในการจัดเตรียมเอกสารล าดับการปลด/สับอุปกรณ์เพื่อใช้ใน การดับไฟเพื่อปฏิบัติงาน ลดความผิดพลาดและอุบัติเหตุ
|
ภาพรวมของประเทศ | - ตอบสนองนโยบายภาครัฐเรื่องประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้า
- พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะ เทียบเท่าระดับสากล
|
การวิเคราะห์ความคุ้มค่าการซื้อระบบ DMS
การวิเคราะห์ | NPV (ลบ.) | IRR (%) | อัตราคิดลด (%) |
การเงิน | -28.14 | 3.97 | 6.06 |
เศรษฐศาสตร์ | 31.57 | 9.71 | 7.4 |
โดยสรุปพบว่าสามารถสร้างความคุ้มค่าในการลงทุนได้โดยมีอัตราผลตอบแทนของการลงทุนเชิง
เศรษฐศาสตร์ (Economic Internal Rate of Return: EIRR) ร้อยละ 9.71 และมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) ในปี 2555 เป็นเงิน 31.57 ล้านบาท