บทน า
1. ความส าคัญ
เนื่องจากประเทศไทยมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และพลังงานเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ส าคัญใน
การตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชน และยังเป็นปัจจัยพื้นฐานการผลิตในภาคธุรกิจและ อุตสาหกรรม ดังนั้น จึงต้องมีการจัดหาพลังงาน ให้มีปริมาณที่เพียงพอ มีราคาที่เหมาะสม และมีคุณภาพที่ดี กระทรวงพลังงานจึงได้วางกรอบแผนบูรณาการพลังงานแห่งชาติ ที่ให้ความส าคัญใน 3 ด้าน ประกอบด้วย (1) ด้านความมั่นคงทางพลังงาน (Security) ในการตอบสนองต่อปริมาณความต้องการพลังงานที่สอดคล้อง กับอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราการเพิ่มของประชากร และอัตราการขยายตัวของเขตเมือง (2) ด้านเศรษฐกิจ (Economy) ที่ต้องค านึงถึงต้นทุนพลังงานที่มีความเหมาะสมและไม่เป็นอุปสรรคต่อ การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะยาว การปฏิรูปโครงสร้างราคาเชื้อเพลิงประเภทต่างๆ ให้สอดคล้องกับต้นทุน และให้มีภาระภาษีที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของประเทศไม่ให้เกิด การใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือย รวมถึงส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (3) ด้านสิ่งแวดล้อม (Ecology) ต้องลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยการสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนและการเพิ่ม ประสิทธิภาพในระบบไฟฟ้า (Efficiency) ทั้งด้านการผลิตไฟฟ้าและด้านการใช้ไฟฟ้า โดยพัฒนาระบบโครงข่าย ไฟฟ้าสมาร์ทกริด (Smart grid) เป็นต้น การใช้พลังงานขั้นสุดท้ายของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2560 มีปริมาณ 80,752 ktoe ซึ่งการใช้พลังงาน
ขั้นสุดท้ายในแต่ละภาคเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2560 พบว่า โดยรวมมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นประกอบด้วย การใช้ พลังงานในภาคเกษตรกรรม 2,652 ktoe ภาคอุตสาหกรรม 28,459 ktoe ภาคบ้านอยู่อาศัย 10,867 ktoe ภาคธุรกิจการค้า 6,452 ktoe และภาคขนส่ง 32,322 ktoe ทั้งนี้ เป็นการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายในภาคขนส่ง มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 40 รองลงมาเป็นการใช้ในภาคอุตสาหกรรม ภาคบ้านอยู่อาศัย ภาคธุรกิจการค้า และภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 35.2, 13.5, 8 และ 3.3 ตามล าดับ จากสถานการณ์การใช้พลังงานในปัจจุบัน และความต้องการพลังงานที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ประเทศไทย จึงได้มีการก าหนดแผนหรือนโยบายต่างๆ ที่มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ระยะเวลาครอบคลุม ปี พ.ศ. 2561 – 2580 และจากมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้เห็นชอบแผนพัฒนาก าลัง ผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 (PDP2018) และกระทรวงพลังงานเห็นควรให้ปรับปรุงแผน 4 แผน ได้แก่ (1) แผนอนุรักษ์พลังงาน (2) แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (3) แผนบริหาร จัดการก๊าซธรรมชาติ และ (4) แผนบริหารจัดการน้ ามันเชื้อเพลิงให้สอดคล้องตามแผน PDP2018 เพื่อ การบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรพลังงานที่มีประสิทธิภาพและจะน าไปสู่การแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของ ประเทศ
2. นโยบายที่เกี่ยวข้อง
2.1 นโยบายที่เกี่ยวข้องระหว่างประเทศ
2.1.1 กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC)
การประชุมผู้น ากลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ระหว่างวันที่ 12-13 กันยายน พ.ศ. 2554 ที่ฮอนโนลูลู ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้น า APEC ทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ รวมถึง ประเทศไทยได้ประกาศปฏิญญาในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความมั่นคงทางพลังงานและการ พัฒนาพลังงานสะอาด (APEC Leaders’ Declaration on Climate Change, Energy Security and Clean Development) โดยประกาศเจตจ านงของ APEC ในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีเป้าหมาย ร่วมกันที่จะลดอัตราส่วนของปริมาณพลังงานที่ใช้ต่อผลของกิจกรรมหรือลดความเข้มการใช้พลังงาน (EI) ลงอย่างน้อยร้อยละ 45 ภายในปี พ.ศ. 2578 2.1.2 การลดก๊าซเรือนกระจก
นอกจากนั้นประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ หรือ United Nations Framework Convention on Climate Change และพิธีสารเกียวโต (The Kyoto Protocol: KP) เมื่อปี พ.ศ. 2537 และ ปี พ.ศ. 2545 ตามล าดับ จากมติคณะรัฐมตรี เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เห็นชอบให้ประเทศไทยแสดงเจตจ านงการด าเนินงานลดก๊าซเรือนกระจก ที่เหมาะสมของประเทศ (Nationally Appropriate Mitigation Action : NAMAs) ในการประชุมสมัชชา ประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Conference of Parties: COP) สมัยที่ 20 (COP20) โดยประเมินศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย คือร้อยละ 7-20 ภายในปี พ.ศ. 2563 เทียบกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสภาวะปกติ (Business As Usual: BAU) ในภาคพลังงานและคมนาคมขนส่ง และเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ประเทศไทยได้จัดส่งข้อเสนอการมีส่วน ร่วมของประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจกและการด าเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายหลัง ปี พ.ศ. 2563 (Intended Nationally Determined Contributions : INDC) ไปยังส านักเลขาธิการอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกครอบคลุมทุก สาขาเศรษฐกิจที่ร้อยละ 20-25 จากกรณีปกติในปี พ.ศ. 2573 ทั้งนี้ จากการประชุมรัฐภาคีสัญญาฯ สมัยที่ 21 (COP21) มีมติรับรองข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 โดยการมีส่วนร่วมของประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจก ต่อมามีการประชุมรัฐภาคีสัญญาฯ สมัยที่ 23 (COP23) จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 6 - 17 พฤศจิกายน 2560 โดยมีสาระส าคัญในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ โดยอาศัยความร่วมมือของประชาคมโลกภายใต้อนุสัญญาฯ และความตกลงปารีส รวมถึงการน าเสนอ ความก้าวหน้าในการด าเนินงานของประเทศไทยต่อการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ การ จัดท าแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนศักยภาพการด าเนินงานตามแผนที่น าทางการลดก๊าซเรือนกระจก ของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2564-2573 ซึ่งในการประชุมรัฐภาคีสัญญาฯ มีการประชุมอย่างต่อเนื่องเพื่อติดตาม การด าเนินการในการลดก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 25 (COP25) ที่จัดขึ้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2562 ได้มีผู้แทนจากประเทศ ไทยกล่าวถ้อยแถลงในนามประเทศไทย เพื่อแสดงจุดยืนในการด าเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของประเทศ ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความส าคัญและตระหนักถึงผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จึงได้มีการบูรณาการเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งในวาระการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ มาอย่าง ต่อเนื่อง
2.2 นโยบายที่เกี่ยวข้องในประเทศ
2.2.1 เป้าหมายการลดการใช้พลังงานที่ผ่านมา
กระทรวงพลังงานเริ่มใช้ดัชนีความเข้มการใช้พลังงาน หรือพลังงานที่ใช้พันตันเทียบเท่าน้ ามันดิบ
ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross domestic product; GDP; billion baht) เป็นแนวทาง ก าหนดนโยบายและจัดท าแผนอนุรักษ์พลังงานในระยะยาวของประเทศไทย และคณะรัฐมนตรี ในการประชุม เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ได้ก าหนดเป้าหมายการลด EI ลงร้อยละ 25 ในปี พ.ศ. 2573 เมื่อเทียบกับ ปี พ.ศ. 2553 หรือประมาณ 38,200 ktoe ซึ่งต่อมาภายหลังคณะรัฐมนตรีได้ประชุมเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เห็นชอบเป้าหมายการลด EI ลงร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2579 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2553 หรือประมาณ 51,700 ktoe
2.2.2 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ได้มีประกาศให้ใช้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ระยะเวลาครอบคลุมปี
พ.ศ. 2561 – 2580 ซึ่งการก าหนดแผนหรือนโยบายต่างๆ จะต้องสอดคล้องทั้งเนื้อหาและระยะเวลา โดยการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรพลังงานที่มีประสิทธิภาพ การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม การพัฒนาระบบขนส่งเพื่อลดต้นทุนทางเศรษฐกิจและสังคม น าเทคโนโลยีการจัดการและอนุรักษ์พลังงาน กฎระเบียบ รวมถึงการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในทุก ภาคส่วน
2.2.3 แผนพัฒนาก าลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 (PDP2018)
จากมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2562
ได้เห็นชอบแผนพัฒนาก าลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 (PDP2018) ซึ่งมีการก าหนดเป้าหมาย ก าลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 20,766 MW และจากมาตรการอนุรักษ์พลังงาน 4,000 MW ประกอบกับมติที่ประชุมหารือแนวทางการจัดท าแผนบูรณาการพลังงานระยะยาว เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2562 มีมติให้ปรับปรุงแผน 4 แผน ได้แก่ (1) แผนอนุรักษ์พลังงาน (2) แผนพัฒนาพลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือก (3) แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ และ (4) แผนบริหารจัดการน้ ามันเชื้อเพลิง ให้สอดคล้องตามแผน PDP2018
2.2.4 เป้าหมายการลดการใช้พลังงานปัจจุบัน
กระทรวงพลังงานได้ทบทวนค่าพยากรณ์ความต้องการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายในอนาคต ซึ่งเป็นการ
ใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ เช่น น้ ามันส าเร็จรูป ไฟฟ้า เป็นต้น และพลังงานทดแทน เช่น ไม้ฟืน แกลบ พลังน้ า เป็นต้น ซึ่ง ณ ปี พ.ศ. 2580 อยู่ที่ระดับ 181,238 ktoe และก าหนดเป้าหมายภายใต้กรอบแผนอนุรักษ์พลังงาน ในช่วงปี พ.ศ. 2561-2580 ที่จะลดความเข้มการใช้พลังงานลงร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2580 เมื่อเทียบกับ ปี พ.ศ. 2553 หมายถึง ต้องลดการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ให้ได้ทั้งสิ้น 49,064 ktoe ของปริมาณการใช้พลังงาน ขั้นสุดท้ายทั้งหมดของประเทศในปี พ.ศ. 2580
3. กรอบแนวคิดการจัดทา แผน
การจัดท าแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2561 – 2580 (EEP2018) ได้น าแผนอนุรักษ์พลังงาน
พ.ศ. 2558 - 2579 (EEP2015) มาทบทวนและปรับปรุง เพื่อยกระดับความเข้มข้นของการขับเคลื่อนแผนอนุ รักษ์พลังงานและสอดรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีด้านพลังงานที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งสมมติฐานที่ใช้ในการจัดท าแผนอนุรักษ์พลังงานได้บูรณาการกับอีก 4 แผนหลักของกระทรวงพลังงาน ได้แก่ (1) แผนพัฒนาก าลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (2) แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (3) แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ และ (4) แผนบริหารจัดการน้ ามันเชื้อเพลิง โดยสมมติฐานการคาดการณ์ ความต้องการพลังงานในอนาคต ประกอบด้วย
- กรอบระยะเวลาของแผนมีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) โดยก าหนดเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานของประเทศทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
- ปรับสมมติฐานอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) และอัตราการเพิ่ม ของประชากร และค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าให้สอดคล้องกับแผน PDP2018
ตารางเปรียบเทียบสมมติฐานที่ใช้ในการคาดการณ์ความต้องการพลังงาน ระหว่างแผน พ.ศ. 2558-2579 กับ พ.ศ. 2561-2580 |
| การจัดท าแผนเดิม ป ีพ.ศ. 2558-2579 | การจัดท าแผนใหม่ ป ีพ.ศ. 2561-2580 |
(1) อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวล รวมของประเทศ (GDP) | เฉลี่ยร้อยละ 3.94 ต่อปี1 | เฉลี่ยร้อยละ 3.8 ต่อปี [1] |
(2) อัตราการเพิ่มของประชากร | เฉลี่ยร้อยละ 0.03 ต่อปี1 | เฉลี่ยร้อยละ -0.2 ต่อปี 2 |
(3) แบบจ าลองที่พัฒนาขึ้นใช้ข้อมูล สถิติย้อนหลังจาก | ปี พ.ศ. 2537 -2556 โดยใช้ ปี พ.ศ. 2553 เป็นปีฐาน | ป ีพ.ศ. 2553 - 2560 โดยใช้ ปี พ.ศ. 2553 เป็นปีฐาน |
ที่มา : 1 แผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558-2579 (EEP2015)
- รักษาระดับเป้าหมาย การลด EI ลงร้อยละ 30 ภายในปี พ.ศ. 2580 เมื่อเทียบกับปีฐาน พ.ศ. 2553 โดยมีเป้าหมายในการลดการใช้ปริมาณพลังงานเชิงพาณิชย์ให้ได้ทั้งสิ้น 49,064 ktoe ของปริมาณการใช้พลังงาน ขั้นสุดท้ายทั้งหมด เมื่อเทียบกับปีฐาน พ.ศ. 2553
แผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2561 – 2580
Energy Efficiency Plan 2018 – 2037
1. เป้าหมาย
ลดความเข้มการใช้พลังงาน (Energy Intensity: EI) ลงร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2580 เมื่อเทียบกับปีฐาน พ.ศ. 2553
2. ตัวชี้วัด
ลดความเข้มการใช้พลังงาน (Energy Intensity: EI) ลงร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2580 เมื่อเทียบกับปีฐาน พ.ศ. 2553
3. การพยากรณ์ความต้องการใช้พลังงาน
ค่าพยากรณ์ความต้องการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายในอนาคตเป็นการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ เช่น
น้ ามันส าเร็จรูป ไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งในระยะ 20 ปี ข้างหน้า (พ.ศ. 2561 – 2580) หากไม่มีมาตรการอนุรักษ์ พลังงาน ความต้องการพลังงานในกรณีปกติ (Business As Usual : BAU) จะเพิ่มขึ้นจาก 90,000 ktoe เป็น 181,238 ktoe ภายใต้สมมติฐานค่าประมาณการอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจระยะยาว (GDP) ปี พ.ศ. 2560 – 2580 ซึ่งจัดท าโดยส านักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เฉลี่ยร้อยละ 3.8 ต่อปี และค่าประมาณการอัตราการขยายตัวของประชากรเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ -0.2 ต่อปี ทั้งนี้ การจัดท า ค่าพยากรณ์ความต้องการใช้พลังงานถึงปี พ.ศ. 2580 โดยใช้สมมติฐานหลักเช่นเดียวกับปี พ.ศ. 2579 เพื่อให้ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) รายละเอียดแสดงดังรูปที่ 3.1
รูปที่ 3.1 ค่าพยากรณ์ความต้องการใช้พลังงานในอดีตและแนวโน้มความต้องการในอนาคตกรณีปกติ
4. การประเมินศักยภาพและแนวทางการจัดหาเชื้อเพลิง
4.1 แนวทางการประเมินศักยภาพ
(1) สถานการณ์การใช้พลังงานขั้นสุดท้ายของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2553-2560 ประเทศไทยมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัย
สนับสนุนการใช้จ่ายและลงทุนภาครัฐ การบริโภคภาคครัวเรือน และการลงทุนภาคเอกชน ส่งผลให้การใช้ พลังงานในปัจจุบันเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2553 เฉลี่ยร้อยละ 1.9 ต่อปี ในปี พ.ศ. 2560 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 3.9 จากปี พ.ศ. 2559
มีปริมาณ 80,752 ktoe เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2559 ร้อยละ 1 และพบว่าการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายเพิ่มขึ้นในเกือบ ทุกสาขาเศรษฐกิจหลัก โดยสัดส่วนการใช้พลังงานในภาคขนส่งคิดเป็นร้อยละ 40 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย ทั้งหมด รองลงมาประกอบด้วย อุตสาหกรรม บ้านอยู่อาศัย ธุรกิจการค้า และเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 35.2,
13.5, 8.0 และ 3.3 ตามล าดับ รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 4.1
ตารางที่ 4.1 การใช้พลังงานขั้นสุดท้ายจ าแนกตามสาขาเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2556-2560
สาขาเศรษฐกจิ | | ปริมาณการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย (ktoe) | | อัตราการปลี่ยนแปลง (2559-2560) |
2556 | 2557 | 2558 | 2559 | 2560 |
1. อุตสาหกรรม* | 27,192 | 28,117 | 28,438 | 29,466 | 28,459 | (3.42) |
2. ธุรกิจการค้า | 5,806 | 5,470 | 5,952 | 6,215 | 6,452 | 3.81 |
3. บ้านอยู่อาศัย | 11,367 | 11,459 | 11,099 | 11,071 | 10,867 | (1.84) |
4. เกษตรกรรม | 3,906 | 3,957 | 3,891 | 2,987 | 2,652 | (11.22) |
5. ขนส่ง | 26,943 | 26,801 | 28,501 | 30,190 | 32,322 | 7.06 |
รวม | 75,214 | 75,804 | 77,881 | 79,929 | 80,752 | 1.03 |
หมายเหตุ *อุตสาหกรรมประกอบด้วย อุตสาหกรรมการผลิต, เหมืองแร่ และก่อสร้าง
ดังนั้น การประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงานของประเทศจึงพิจารณา 5 สาขาเศรษฐกิจหลัก
ได้แก่ (1) อุตสาหกรรม (2) ธุรกิจการค้า (3) บ้านอยู่อาศัย (4) เกษตรกรรม และ (5) ขนส่ง
(2) สถานการณ์การอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทย จากที่ผ่านมาภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โดยได้จัดท าแผน
อนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558-2579 มีเป้าหมายที่จะลดความเข้มการใช้พลังงานลงร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2579 เมื่อเทียบกับปีฐาน พ.ศ. 2553 โดยให้การสนับสนุนด้านการเงินในการด าเนินโครงการด้านอนุรักษ์พลังงาน ตลอดจนการสร้างความเข้าใจ การฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานได้ส่งผลโดยรวมต่อประสิทธิภาพ การใช้พลังงานของประเทศ โดยดัชนีประสิทธิภาพการใช้พลังงานของประเทศในปี พ.ศ. 2560 ลดลงร้อยละ
7.63 เมื่อเทียบกับปีฐาน พ.ศ. 2553
4.2 ผลการประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงาน
แผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2561 – 2580 (EEP2018) มีเป้าหมายลดความเข้มการใช้พลังงาน (Energy Intensity; EI) ลงร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2580 เมื่อเทียบกับปีฐาน พ.ศ. 2553 กล่าวคือ ลดการใช้พลังงาน ขั้นสุดท้ายของประเทศ ณ ปี พ.ศ. 2580 จากระดับ 181,238 ktoe ในกรณีปกติ (Business as usual: BAU) ไปอยู่ที่ระดับ 126,867 ktoe เมื่อด าเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงาน คิดเป็นเป้าหมายผลการประหยัดพลังงาน เท่ากับ 54,371 ktoe อย่างไรก็ตาม ผลการประเมินศักยภาพเชิงเทคนิคพบว่า การด าเนินมาตรการอนุรักษ์ พลังงานด้วยการจัดการการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพและการใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพพลังงานสูงขึ้น ทั้งในรูปของอุปกรณ์/เครื่องใช้ เครื่องจักรและกระบวนการผลิตและระบบควบคุมที่มีประสิทธิภาพ ใน 5 กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งประกอบด้วยสาขา (1) อุตสาหกรรม (2) ธุรกิจการค้า (3) บ้านอยู่อาศัย (4) เกษตรกรรม และ (5) ขนส่ง ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้พลังงาน ซึ่งมีผลการด าเนินงานในช่วงปี พ.ศ. 2554 – 2560 คิดเป็นพลังงานที่ประหยัดได้สะสมอยู่ 5,307 ktoe แล้ว และสามารถลดความเข้มการใช้ พลังงาน (EI) ลงได้ร้อยละ 7.63 ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการลดความเข้มการใช้พลังงาน (EI) ลงร้อยละ 30 ภายในปี พ.ศ. 2580 จึงจะต้องมีเป้าหมายลดการใช้พลังงานจากมาตรการอนุรักษ์พลังงานต่างๆ ในช่วงปี พ.ศ. 2561 – 2580 อีกประมาณ 49,064 ktoe รายละเอียดแสดงดังรูปที่ 4.1 และตารางที่ 4.2
รูปที่ 4.1 เป้าหมายการอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (พ.ศ 2561 – 2580)
ตารางที่ 4.2 เป้าหมายด้านไฟฟ้า และด้านความร้อน
สาขาเศรษฐกจิ | ด้านไฟฟ้า | ด้านความร้อน | รวม (ktoe) |
เป้าหมายภายใต้กรอบแผนอนุรักษ์พลังงานในช่วงปี พ.ศ. 2561 – 2580 | 15,379 | 33,685 | 49,064 |
(1) อุตสาหกรรม | 6,777 | 14,360 | 21,137 |
(2) ธุรกิจการค้า | 5,532 | 886 | 6,418 |
(3) บ้านอยู่อาศัย | 2,923 | 377 | 3,300 |
(4) เกษตรกรรม | 147 | 380 | 527 |
(5) ขนส่ง | - | 17,682 | 17,682 |
จากเป้าหมายการลดความเข้มการใช้พลังงาน (Energy Intensity; EI) ลงร้อยละ 30 ภายในปี
พ.ศ. 2580 แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย เป้าหมายลดการใช้พลังงาน 49,064 ktoe (3 กลยุทธ์ 5 กลุ่มเป้าหมาย) และเป้าหมายลดความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด (Peak) 4,000 MW ซึ่งเป้าหมาย 4,000 MW ถูกก าหนดเป็นเป้าหมายก าลังผลิตไฟฟ้าในแผนพัฒนาก าลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1) ที่สามารถพิสูจน์ความเชื่อมั่นได้ด้วยคุณภาพและ สามารถแข่งขันด้วยราคาไม่เกินกว่า Grid Parity
5. แนวทางแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2561 – 2580
แผนอนุรักษ์พลังงานที่ผ่านมา มีการใช้กลยุทธ์และมาตรการด้านต่างๆ ทั้งภาคบังคับด้วยกฎระเบียบ ภาคการส่งเสริมด้วยการจูงใจทางการเงิน การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค การให้ความรู้ และภาค การสนับสนุนด้วยการพัฒนาบุคลากรและประชาสัมพันธ์รูปแบบต่างๆ เพื่อให้เกิดความตระหนักของสาธารณชน ในด้านอนุรักษ์พลังงาน แผนงานฉบับปรับปรุงนี้ยังเสนอให้ใช้กลยุทธ์และมาตรการต่างๆ ที่มีอยู่เดิม โดยได้ เพิ่มเติมมาตรการด้านนวัตกรรมเพื่อต่อยอดและรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและรูปแบบ การใช้พลังงาน รวมถึงการเพิ่มมาตรการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในภาคเกษตรกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับ นโยบาย Energy for all ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่ฐานรากให้มั่นคงและยั่งยืน ทั้งนี้ การด าเนินงานตามแผนจะแบ่งการด าเนินงานออกเป็น 3 กลยุทธ์ คือ ภาคบังคับ ภาคส่งเสริมและ
ภาคสนับสนุน โดยการด าเนินงานจะมุ่งเน้นไปที่เป้าหมาย 5 สาขาเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ (1) อุตสาหกรรม
(2) ธุรกิจการค้า (3) บ้านอยู่อาศัย (4) เกษตรกรรม และ (5) ขนส่ง ดังนี้
(1) กลยุทธ์ภาคบังคับ มีการก ากับดูแลให้ผู้ใช้พลังงานรายใหญ่ในภาคส่วนต่างๆ ต้องมีการใช้พลังงานเป็นไปตามมาตรฐาน มาตรการ/วิธีการที่ก าหนดขึ้นอย่างเหมาะสม โดยกลยุทธ์ภาคบังคับจะลดความต้องการใช้ พลังงานลงร้อยละ 38 ของเป้าหมายการอนุรักษ์รวม คิดเป็นไฟฟ้า 6,517 ktoe คิดเป็นความร้อน 11,899 ktoe ประกอบด้วย มาตรการที่ส าคัญ ดังนี้
- มาตรการบังคับใช้มาตรฐานการอนุรักษ์พลังงาน การด าเนินการตาม พ.ร.บ. การส่งเสริม
การอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550) เพื่อให้เกิดระบบการจัดการพลังงานที่มีการรายงาน และการตรวจสอบส าหรับโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม
- เกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Code) โดยจะมุ่งเน้นให้มีการผลักดันและ
บังคับใช้กฎหมายที่ก าหนดประเภทหรือขนาดของโรงงานและอาคารให้มีมาตรการบังคับมาตรฐานโรงงานและ อาคารก่อสร้างใหม่เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน รวมถึงหลักเกณฑ์วิธีการมาตรฐานในการออกแบบโรงงานและ อาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานให้มีความเหมาะสม
- มาตรการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานอนุรักษ์พลังงานส าหรับผู้ผลิตและจ าหน่ายพลังงาน (Energy Efficiency Resource Standard: EERS) ซึ่งจะเป็นกลไกที่ส าคัญในการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค แก่ผู้ประกอบการ
- มาตรการใช้เกณฑ์มาตรฐานอุปกรณ์/เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพ มีนัยส าคัญเหมาะสมเพื่อให้เกิด
การอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นการส่งเสริมการลดการใช้พลังงานโดยการใช้อุปกรณ์/เครื่องใช้ที่มีประสิทธิภาพ ที่มี นัยส าคัญและเหมาะสม เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานส าหรับโรงงาน ธุรกิจการค้า บ้านอยู่อาศัย และภาค เกษตรกรรม
- การใช้มาตรการด้านภาษีในภาคขนส่ง โดยการบังคับใช้โครงสร้างอัตราสรรพสามิตภาษีใหม่ตาม
ปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ท าให้ค่าประสิทธิภาพของรถสูงขึ้น ซึ่งมีผลให้ค่าอัตราการสิ้นเปลือง เชื้อเพลิง (Fuel Economy) จะลดลงทุกปี
(2) กลยุทธ์ภาคส่งเสริม มีมาตรการสนับสนุนทางด้านการเงินการลงทุนเพื่อเร่งรัดให้มีการตัดสินใจลงทุนปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง การส่งเสริมการน าเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงาน มีมาตรการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะในภาคขนส่ง ซึ่งเป็นสาขาเศรษฐกิจที่มีการใช้พลังงานสูง และภาคเกษตร ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่เพิ่มเติมมาตามนโยบาย Energy for all โดยกลยุทธ์ภาคส่งเสริมจะลดความต้องการใช้พลังงานลงร้อยละ 62 ของเป้าหมายการอนุรักษ์ รวมคิดเป็นไฟฟ้า 8,862 ktoe คิดเป็นความร้อน 21,786 ktoe ประกอบด้วย มาตรการส าคัญ ดังนี้
- มาตรการสนับสนุนและจูงใจให้มีการติดฉลากแสดงประสิทธิภาพพลังงานแบบสมัครใจส าหรับอุปกรณ์ เครื่องใช้ และการติดฉลากในภาคอาคาร การผลักดันมาตรฐานบ้านอยู่อาศัยที่ก่อสร้างใหม่เพื่อการอนุรักษ์ พลังงาน
- มาตรการเปลี่ยนอุปกรณ์และส่งเสริมเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อเป็นการส่งเสริมมาตรฐาน ประสิทธิภาพพลังงานส าหรับอุปกรณ์ ที่มีนัยส าคัญเหมาะสม
- มาตรการสนับสนุนด้านการเงินในการช่วยเหลือและอุดหนุนด้านการเงินเพื่อกระตุ้นให้เกิด การตัดสินใจลงทุนเปลี่ยนอุปกรณ์และเกิดการบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการกระตุ้น ตลาดเพื่อให้เกิดการแข่งขันด้านราคา
- มาตรการส่งเสริมด้านนวัตกรรมโดยการส่งเสริมการน าระบบการจัดการนวัตกรรมและการบูรณา การเทคโนโลยีและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลด้านอนุรักษ์พลังงาน การพัฒนาระบบฐานข้อมูลและ การบริการจัดการข้อมูลด้วย Big Data ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะจัดการฐานข้อมูลให้เป็นระบบ รวมถึงการพัฒนา ระบบสารสนเทศมาวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ
- ภาคขนส่งเป็นสาขาเศรษฐกิจที่มีการใช้พลังงานสูงจึงมีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานทั้งทางบก ทางราง ทางน้ า และทางอากาศ เช่น มาตรการการขับขี่เพื่อ การประหยัดพลังงาน ECO Driving มาตรการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า มาตรการการบริหารจัดการขนส่งเพื่อ การประหยัดพลังงาน และมาตรการติดฉลากแสดงประสิทธิภาพพลังงานอุปกรณ์ยานยนต์ (ยางรถยนต์ รถบรรทุกและรถโดยสาร) เป็นต้น
- ภาคเกษตรในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่ฐานราก จึงสนับสนุนเกษตรกร ผู้ประกอบอาชีพ เกษตรกรรมในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โดยใช้ เครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์ ประหยัดพลังงานร่วมกับ การใช้พลังงานทดแทนอย่างเหมาะสม
(3) กลยุทธ์ภาคสนับสนุน เป็นกลยุทธ์ที่ไปช่วยเสริมการด าเนินกลยุทธ์ภาคบังคับและกลยุทธ์ภาคส่งเสริม ให้เกิดผลประหยัดด้านพลังงานอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ การพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้านพลังงาน การรณรงค์สร้างจิตส านึกใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า และเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พลังงาน รวมถึง การสนับสนุนเทคโนโลยีที่ท าวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมทั้งมาตรการในการเสริมสร้าง
การอนุรักษ์พลังงาน เพื่อปรับมาตรการให้ทันตามกระแสการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จากแผนการด าเนินงานทั้ง 3 กลยุทธ์ ในการขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติ ได้แก่ (1) ภาคบังคับ
(2) ภาคส่งเสริม และ (3) ภาคสนับสนุน ซึ่งผลการประเมินเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานทั้งหมดประมาณ 49,064 ktoe โดยในภาคบังคับมีศักยภาพคิดเป็นร้อยละ 38 หรือประมาณ 18,416 ktoe และภาคส่งเสริมมี ศักยภาพคิดเป็นร้อยละ 62 หรือประมาณ 30,648 ktoe โดยจะด าเนินการในสาขาเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ (1) อุตสาหกรรม (2) ธุรกิจการค้า (3) บ้านอยู่อาศัย (4) เกษตรกรรม และ (5) ขนส่ง ตามข้อจ ากัดและแนวทาง ต่างๆ ตามข้อมูลข้างต้น รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 5.1
ตารางที่ 5.1 เป้าหมายของแผนการอนุรักษ์พลังงาน
สาขาเศรษฐกิจ | ภาคบังคับ (ktoe) | ภาคส่งเสริม (ktoe) | รวม (ktoe) |
(1) อุตสาหกรรม | 11,291 | 9,846 | 21,137 |
(2) ธุรกิจการค้า | 3,165 | 3,253 | 6,418 |
(3) บ้านอยู่อาศัย | 114 | 3,186 | 3,300 |
(4) เกษตรกรรม | 37 | 490 | 527 |
(5) ขนส่ง | 3,809 | 13,873 | 17,682 |
รวม | 18,416 | 30,648 | 49,064 |
ร้อยละ | 38 | 62 | 100 |
ปัจจัยสู่ความส าเร็จ
1. ประเด็นที่ต้องเร่งขบั เคลื่อน
ประเด็นที่ต้องขับเคลื่อน | ระยะสั้น (1-2 ปี) | ระยะกลาง (3-10 ปี) |
ด้านการก ากับดูแล | - ความเข้มข้นของการบังคับใช้ กฎหมายและกฎระเบียบที่
เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงาน - การบูรณาการการจัดการพลังงาน ตามกฎหมายกับมาตรฐานการจัด การพลังงานในระดับสากล การปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย ต่อสถานการณ์ปัจจุบันและสากล
- ก าหนดมาตรการควบคุมการใช้
งานเครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์ ที่ต่ า กว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ก าหนด | - เพิ่มความเข้มข้นของการบังคับใช้ กฎหมายระเบียบที่เกี่ยวข้องกับ การอนุรักษ์พลังงาน
- การปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย ต่อสถานการณ์ปัจจุบันและสากล ปรับปรุงราคาโครงสร้างพลังงาน ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง เป็น ธรรม และพัฒนากลไกด้านภาษี เพื่อน ามาใช้ในการสร้างแรงจูงใจ ให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้พลังงานอย่างประหยัด
|
ด้านส่งเสริมสนับสนุน | - ช่องทางการสื่อสารที่เข้าถึง กลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะผู้มีอ านาจ และผู้ตัดสินใจ
- สร้างกระบวนการให้การเข้าร่วม มาตรการและด าเนินการมีความ สะดวก รวดเร็ว ไม่เป็นภาระต่อ กลุ่มเป้าหมาย
- การจัดสรรทรัพยากรให้แก่ผู้ ด าเนินมาตรการให้เพียงพอและ ยืดหยุ่นเพื่ออ านวยความสะดวกให้ กลุ่มเป้าหมาย
- ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ภาครัฐ และเอกชน เช่น สถาบัน การเงิน กรมสรรพากร BOI
เป็นต้น | - การศึกษาความต้องการการ ส่งเสริมสนับสนุนของ กลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง (เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทั้ง ด้านการเงินและเทคโนโลยี)
- การจัดสรรทรัพยากรให้แก่ผู้ ด าเนินมาตรการให้เพียงพอและ ยืดหยุ่นเพื่ออ านวยความสะดวกให้ กลุ่มเป้าหมาย
- ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ภาครัฐ และเอกชน เช่น สถาบัน การเงิน กรมสรรพากร BOI เป็น ตน้
- การให้ข้อมูลด้านพลังงานที่เป็น ประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมายอย่าง ต่อเนื่อง
|
ประเด็นที่ต้องขับเคลื่อน | ระยะสั้น (1-2 ปี) | ระยะกลาง (3-10 ปี) |
| - การให้ข้อมูลด้านพลังงานที่เป็น ประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมาย เช่น ข้อมูลเปรียบเทียบการใช้พลังงาน กับมาตรฐาน ข้อมูลมาตรการ/ เทคนิคการอนุรักษ์พลังงานที่ ปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เป็นต้น
- รูปแบบมาตรการทางการเงินใหม่ที่ สามารถตอบสนองต่อความ ต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และ สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมั่นคง และยั่งยืน (ทั้งด้านงบประมาณ และระยะเวลา)
| การปรับปรุงรูปแบบมาตรกา รการส่งเสริมให้ทันสมัยและ ตอบสนองต่อความต้องการของ กลุ่มเป้าหมาย |
ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี และองค์ความรู้ | - ข้อมูลความต้องการด้านเทคโนโลยีของกลุ่มเป้าหมาย
- สนับสนุนการวิจัย สาธิต เทคโนโลยีใหม่ๆ ให้ทันต่อสากล
- บูรณาการระหว่างภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา ด้านการศึกษาวิจัย การจัดสรรทรัพยากรให้แก่ผู้ด าเนินมาตรการให้เพียงพอและยืดหยุ่นเพื่อ อ านวยความสะดวกให้กลุ่มเป้าหมาย
|
ด้านการพัฒนาบุคลากร การสร้างความเข้าใจและ ความตระหนัก | - พัฒนาให้ภาครัฐเป็นแบบอย่างที่ดีในการด าเนินงานด้านอนุรักษ์พลังงาน เช่น การด าเนินงานตามกฎหมาย การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานใน หน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น
- สร้างแรงจูงใจในการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการอนุรักษ์ พลังงาน
- พัฒนาบุคลากรให้มีความมีความรู้และเชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นผู้รับผิดชอบด้านการจัดการและปฏิบัติการ ด้านการตรวจสอบ ติดตาม ด้านการให้ค าปรึกษาและวิศวกรรม รวมถึงให้ก้าวทันต่อเทคโนโลยีที่ เปลี่ยนแปลง
- ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานแก่ประชาชนทั่วไป เช่น การปลูกจิตส านึกของเยาวชนผ่านกิจกรรมต่างๆ การใช้สื่อประชา สัมพันธ์ในการตระหนักรู้ด้านอนุรักษ์พลังงาน การณรงค์สร้างจิตส านึกในการ อนุรักษ์พลังงาน
|
2. แนวทางการบริหารความเสี่ยง
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น | แนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยง |
การเพิ่มขึ้นของจ านวนประชากรในบางพื้นที่ และ การเข้าสู่สังคมสูงอายุของประเทศไทย ส่งผลต่อ ปริมาณและพฤติกรรมการใช้พลังงานเปลี่ยนแปลง ไปจากเดิม ข้อมูลที่มีอยู่เดิมอาจไม่สามารถ วิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม ท าให้การก าหนด เป้าหมาย นโยบาย แผนงาน โครงการ ผิดพลาด | ภาครัฐมีเครือข่ายที่หลากหลาย สามารถขอความ ร่วมมือในการด าเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น การ รวบรวมข้อมูล การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น เพื่อเตรียมพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงได้ อย่างรวดเร็ว |
กฎหมายและข้อก าหนดที่เกี่ยวข้องด้านพลังงาน ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับรูปแบบและลักษณะ การใช้พลังงานที่เปลี่ยนไป ท าให้การบังคับใช้ อาจท าไม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ | ติดตามการเปลี่ยนแปลง/พัฒนาของรูปแบบ ลักษณะ รวมถึงมาตรฐานที่เกี่ยวข้องด้านพลังงาน เทคโนโลยี สังคม พร้อมปรับปรุง กฎหมายให้ก้าว ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ |
การก าหนดนโยบายอนุรักษ์พลังงานต้องสนองต่อ ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย | - รวบรวมข้อมูลด้านพลังงานจากผู้เกี่ยวข้องจัดท า ฐานข้อมูล เช่น Big Data เพื่อน ามาวิเคราะห์ ข้อมูลที่ส่งผลต่อการก าหนดนโยบายที่เกี่ยวข้อง ด้านอนุรักษ์พลังงาน
- บูรณาการความร่วมมือข้อมูลพลังงานระหว่าง หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน สถาบันการศึกษา เพื่อให้มีข้อมูลเพียงพอและ ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาและเกิดความร่วมมือ ด้านอนุรักษ์พลังงานจากทุกภาคส่วน
|
เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สร้างความ สะดวกสบายในการด ารงชีวิต อาจมีผลกระทบกับ การใช้พลังงานได้ทั้งทางบวกและลบ | ภาครัฐต้องปรับตัวให้รู้เท่ากันและส่งเสริม นวัตกรรมและเทคโนโลยี ด้านอนุรักษ์พลังงานให้ เกิดความเชื่อมั่นและเข้าถึงได้ |
ความผันผวนทางเศรษฐกิจ ที่เกิดจากปัจจัย หลายๆ ด้าน เช่น ความขัดแย้งของประเทศกลุ่ม ผู้ผลิตน้ ามัน ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของราคา พลังงาน, สงครามการค้า และโรคระบาด สิ่ง เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจและการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงาน ตลอดจนพฤติกรรมการใช้พลังงานของ กลุ่มเป้าหมาย | รณรงค์ สร้างความเข้าใจ ความตระหนัก เรื่องการ อนุรักษ์พลังงานอย่างสม่ าเสมอ โดยวิธีการสื่อสาร หรือเครื่องมือที่ใช้จะต้องทันสมัยและเข้าถึง กลุ่มเป้าหมาย |
การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ด้านอนุรักษ์ พลังงาน ไม่เข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมายในทุกประดับ |
ประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน
1. ผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและลดการใช้พลังงานของประเทศ
ตามกรอบแผนการด าเนินการของแผนอนุรักษ์พลังงาน จะส่งผลให้เกิดการประหยัดพลังงานรวม 54,371
ktoe หากคิดเป็นมูลค่าทางการเงิน จะส่งผลให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ทั้งนี้ แผนอนุรักษ์ พลังงานยังมีส่วนของเป้าหมายลด Peak 4,000 MW ถูกก าหนดเป็นเป้าหมายก าลังผลิตไฟฟ้าในแผนพัฒนาก าลัง ผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1) ที่ สามารถพิสูจน์ความเชื่อมั่นได้ด้วยคุณภาพและสามารถแข่งขันด้วยราคาไม่เกินกว่า Grid Parity โดยจะส่งผลให้ เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายส าหรับการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้า อีกทั้งหากมีการด าเนินการตามมาตรการอนุรักษ์ พลังงานจะสามารถกระตุ้นให้เกิดการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงส่งผลให้เกิดการสร้างงานให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง ในทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้มีการขยายตัวทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลกเพื่อเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันเชิงเศรษฐกิจ
2. ผลประโยชน์ด้านสังคม
การขับเคลื่อนนโยบายและแผนอนุรักษ์พลังงานจะก่อให้เกิดความตระหนักด้านการอนุรักษ์พลังงาน และ
สร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ใช้พลังงาน โดยผ่านกระบวนการให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ และ การรณรงค์สร้างจิตส านึกในการอนุรักษ์พลังงาน แก่ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป เพื่อผลักดันให้เกิดการอนุรักษ์ พลังงานในทุกภาคส่วน ทั้งยังส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านการอนุรักษ์พลังงาน โดยให้มีการกระจายองค์ความรู้ ด้านการอนุรักษ์พลังงานในทุกระดับ เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อความผันผวนของทิศทางและสถานการณ์ด้านพลังงาน ที่เปลี่ยนแปลง
3. ผลประโยชน์ทางด้านการพัฒนาเทคโนโลยี
แผนอนุรักษ์พลังงานมีเป้าหมายที่จะยกระดับการพัฒนาด้านพลังงานในทุกมิติ โดยการประยุกต์และ ผสมผสานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งประกอบด้วยการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ พลังงานและลดต้นทุนของเทคโนโลยี การสนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์ เพื่อเพิ่มโอกาสการ เข้าถึงเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพพลังงานสูงและเกิดการใช้อย่างแพร่หลาย
4. ผลประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม
การแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นส าคัญที่มีการค านึงใน แผนอนุรักษ์พลังงาน โดยมุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านขั้นตอนการด าเนินมาตรการตาม แผนอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งส่งผลให้เกิดการหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากการใช้พลังงาน อย่างมีนัยส าคัญ รวมถึงการสร้างแรงจูงใจต่างๆ ที่สนับสนุนการด าเนินการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของ สถานการณ์พลังงาน พร้อมทั้งพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ อันน าไปสู่ความ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการสร้างความยั่งยืนต่อไปในอนาคต
บรรณานุกรม
ส านักนายกรัฐมนตรี. ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่
82 ก, 13 ตุลาคม 2561 ส านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ, คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. 2561. ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580. กรุงเทพฯ
ส านักนายกรัฐมนตรี. การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 24 ก,
6 เมษายน 2561 กระทรวงพลังงาน, คณะกรรมการปฏิรูประเทศด้านพลังงาน. 2561. แผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน. กรุงเทพฯ กระทรวงพลังงาน, กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. 2560. รายงานการอนุรักษ์พลังงาน ของประเทศไทย. กรุงเทพฯ
กระทรวงพลังงาน, ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน. 2562. แผนพัฒนาก าลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย
พ.ศ. 2561-2580 (PDP2018). กรุงเทพฯ
กระทรวงพลังงาน, กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. 2561. โครงการการว่าจ้างที่ปรึกษา โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการและอนุรักษ์พลังงานในการขนส่งสินค้าและ ผู้โดยสารทางน้ าในประเทศไทย. กรุงเทพฯ กระทรวงพลังงาน, กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. 2560. คูมือพัฒนาและสงเสริมระบบการจัด การพลังงานมาตรฐานสากล ISO 50001 ส าหรับโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม. กรุงเทพฯ
กระทรวงพลังงาน, กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. 2560. คู่มือแนวทางการออกแบบอาคาร เพื่ออนุรักษ์พลังงาน. กรุงเทพฯ กระทรวงพลังงาน, ส านักงานนโยบายและแผนพลังงาน. 2559. โครงการสาธิตระบบการบริหารจัดการพลังงาน ในภาคขนส่ง. กรุงเทพฯ
กระทรวงคมนาคม, ส านักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. 2560. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบ โลจิสติกส์ของประเทศไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ
กระทรวงคมนาคม, ส านักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. 2560. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบ คมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ
กระทรวงคมนาคม, ส านักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. 2559. โครงการศึกษาแนวทางการติดตาม ประเมิน (Tracking) การใช้พลังงานที่ลดได้จากมาตรการภาคขนส่ง. กรุงเทพฯ กระทรวงคมนาคม, ส านักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. 2562. โครงการศึกษาและพัฒนาเครื่องมือ วิเคราะห์ต้นทุนส่วนเพิ่มในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมาตรการและนโยบายด้านการขนส่ง เพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ
กระทรวงคมนาคม, ส านักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. 2561. โครงการศึกษาแนวทางการ พัฒนาการบริหารจัดการและอนุรักษ์พลังงาน ในการขนส่งทางอากาศในประเทศ. กรุงเทพฯ ส านักงานเลขาธิการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ, คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้าน พลังงาน. 2559. รายงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านพลังงาน เรื่อง การอนุรักษ์ พลังงานโดยใช้ข้อบัญญัติเกณฑ์มาตรฐานอาคาร ด้านพลังงาน (Building Energy Code : BEC).
กรุงเทพฯ
ภาคผนวก
ภาคผนวก 1 สมมติฐานในการจัดท าแผน EEP2018