NOTE: Some content may not display correctly, including tables and figures. See PDF for full details.
แผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564)
ตามกรอบแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558-2579
แผนปฏิบตั ิการอนุรักษ์พลังงาน ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔)
คำนำ
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เป็นองค์กรหลักในการน านโยบายด้านการอนุรักษ์
พลังงานไปสู่การขับเคลื่อน ซึ่งการด าเนินงานนอกจากจะพิจารณาประสิทธิภาพภายในองค์กร โดยเฉพาะ โครงสร้างองค์กร หน้าที่ความรับผิดชอบ หน่วยงานภายในองค์กรด้านการอนุรักษ์พลังงาน และสถานการณ์ ปัจจุบันขององค์กรแล้ว ยังต้องพิจารณาปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านของผู้ใช้พลังงาน สังคม และ สิ่งแวดล้อม เพื่อน ามาพิจารณากลยุทธ์ในการด าเนินมาตรการ และโครงการต่าง ๆ ของ พพ.
ภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙ (EEP๒๐๑๕) ฉบับใหม่ของกระทรวงพลังงาน
เมื่อวิเคราะห์กลไกมาตรการอนุรักษ์พลังงานทั้ง ๑๐ มาตรการ และความเชื่อมโยงของวิสัยทัศน์ พันธกิจ และ หน้าที่ของ พพ. แล้ว การด าเนินการให้สอดคล้องกับเป้าหมายในการลดความเข้มการใช้พลังงานของประเทศลง เป็นร้อยละ ๓๐ (๕๑,๗๐๐ ktoe) ในปี พ.ศ. ๒๕๗๙ เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. ๒๕๕๓ จึงเป็นประเด็นส าคัญ ดังนั้น การจัดท าแผนปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์พลังงานของ พพ. ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ฉบับนี้ ซึ่งเป็น แผนปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์พลังงานระยะสั้น จะสามารถตอบสนองเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานของ ประเทศ และเป็นแนวทางในการน าไปจัดท าแผนปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์พลังงานที่ต่อเนื่องของ พพ. ทั้งใน แผนระยะกลาง (ระยะ ๖ - ๑๐ ปี) และแผนระยะยาว (๑๑ – ๒๐ ปี) ต่อไป
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เมษายน ๒๕๕๙
๐ หน้า ก
แผนปฏิบตั ิการอนุรักษ์พลังงาน ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔)
สารบัญ
หน้า
๑. การใช้พลังงานของประเทศไทย ปัญหา และที่มาของการจัดท าแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๑ ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙ (EEP๒o๑๕)
๑.๑ นโยบายการด าเนินการด้านพลังงานของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ๒
(กพช.) ปัจจุบัน
๑.๒ ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนนโยบายและกลยุทธ์การด าเนินงานแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๓ ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙ (EEP๒o๑๕) ของกระทรวงพลังงาน
๑.๓ ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติ ๔
๒. การด าเนินงานด้านอนุรักษ์พลังงานของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ๙ ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๕๙
๓. การจัดท าแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ของกรมพัฒนา ๑๔ พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
๓.๑ ความส าคัญ ๑๔
๓.๒ ความเชื่อมโยงระหว่างกลยุทธ์ภายใต้แผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงานระยะสั้น ๕ ปี ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)
๓.๓ การวิเคราะห์เพื่อท าความเข้าใจมาตรการในแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๑๘ ๒๕๗๙ (EEP๒[1]๑๕)
๓.๔ แนวทางการจัดท าแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ของ ๒๖ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
๓.๕ แผนด าเนินการการอนุรักษ์พลังงานระยะสั้น ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖o - ๒๕๖๔) และโครงการ ๓๑ ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
๔. ความสอดคล้องของแผนการอนุรักษ์พลังงาน กับแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน ๕ ปี ๖๗ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔)
๕. ข้อเสนอแนะในการด าเนินการปรับปรุงแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงานในอนาคต ๖๗
แผนปฏิบัติการอนุรักษพ์ ลังงาน ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษพ์ ลังงาน
๑. การใช้พลังงานของประเทศไทย ปัญหา และที่มาของการจัดท าแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙
(EEP๒o๑๕) การอนุรักษ์พลังงานมีส่วนสําคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ลดค่าใช้จ่ายครัวเรือน ลด
ต้นทุนการผลิตและบริการ ลดการเสียดุลการค้า และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนการลดการ ปล่อยมลพิษและก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ ดังนั้น การอนุรักษ์พลังงานจึงเป็นนโยบายที่สําคัญของรัฐบาลเรื่อยมา โดยเฉพาะตั้งแต่การ ประกาศใช้พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยได้มีการจัดทําแผนการใช้จ่าย เงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานในช่วงระยะเวลา ๕ ปี มาแล้ว ๓ ระยะ และจากข้อมูลสถานการณ์พลังงานของประเทศไทยไตรมาสแรกของปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ซึ่งสรุปโดย พพ. กล่าวว่า “การใช้พลังงานยังคงเพิ่มขึ้นตามการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยที่นํ้ามันสําเร็จรูปยังคงเป็นพลังงานที่ใช้ มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ ๕๐.๘ ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมด รองลงมาประกอบด้วย ไฟฟ้า พลังงาน หมุนเวียน พลังงานหมุนเวียนดั้งเดิม ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน/ลิกไนต์คิดเป็น ร้อยละ ๑๙.๓, ๘.๗, ๘.๑, ๗.๖ และ ๕.๕ ตามลําดับ” ดังแสดงในรูปที่ ๑
ที่มา : สถานการณ์พลังงานของประเทศไทย ไตรมาส ๑/๒๕๕๙
(กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน)
รูปที่ ๑ สัดส่วนการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายระหว่างเดือน ม.ค. – มี.ค. ๕๙ ของประเทศไทย
ทั้งนี้ ความต้องการใช้พลังงานของประเทศไทยจะแปรผันโดยตรงกับการเจริญเติบโตและการพัฒนาใน แต่ละภาคกิจกรรม เช่น ภาคอุตสาหกรรม ภาคขนส่ง ภาคครัวเรือน เป็นต้น ซึ่งปัญหาด้านความมั่นคงด้าน พลังงานนั้น จะสะท้อนมาจากสัดส่วนของการผลิตพลังงานที่ได้ (ไฟฟ้า และเชื้อเพลิง) และสัดส่วนของการใช้
๑
พลังงานว่ามีความเพียงพอต่อความต้องการหรือไม่ ซึ่งหากประเทศไทยไม่สามารถผลิตได้เพียงพอกับความ ต้องการใช้พลังงานในประเทศแล้ว ก็มีความจําเป็นต้องพึ่งพาการนําเข้าพลังงานจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรัฐบาลเล็งเห็นว่า ในอนาคต ปัญหาเรื่องราคาพลังงาน การแย่งชิงทรัพยากร พลังงานระหว่างประเทศ ปัญหาสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นผลพวงของการผลิต และใช้พลังงานจะเป็นปัญหาที่จะมีความรุนแรงยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสวัสดิภาพของประชาชนและ ความสามารถในการแข่งขันเชิงเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ กอปรกับผู้นํารัฐบาลได้ให้สัตยาบันต่อผู้นํากลุ่ม ประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (เอเปค) ว่าประเทศไทยมีการกําหนดเป้าหมายใน การลดความเข้มการใช้พลังงาน (Energy Intensity; EI) ลงร้อยละ ๓๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๗๙ (ค.ศ. ๒๐๓๖) เมื่อ เทียบกับปี พ.ศ. ๒๕๕๓ (ค.ศ. ๒๐๑๐) ซง่ึตระหนักถึงเจตจํานงค์ของ APEC ในการมีเป้าหมายร่วมในการลด EI ลงร้อยละ ๔๕ ในปี พ.ศ. ๒๕๗๘ เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. ๒๕๔๘ (ค.ศ. ๒๐๐๕) โดยมุ่งเน้นสัดส่วนที่ประเทศไทย จะสามารถมีส่วนร่วมได้เป็นหลัก จึงมีความจําเป็นในการจัดทําแผนอนุรักษ์พลังงานฉบับใหม่ขึ้น
๑.๑ นโยบายการด าเนินการด้านพลังงานของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเห็น
ชอบแนวทางการจัดทําแผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๗๙ (PDP๒o๑๕) โดยให้มีระยะเวลาของแผนสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของสํานักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พร้อมทั้งจัดทําแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๗๙ (Energy Efficiency Plan : EEP๒o๑๕) แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงาน ทางเลือก พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๗๙ (Alternative Energy Development Plan : AEDP๒o๑๕) แผนการบริหาร จัดการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๗๙ (Gas Plan ๒o๑๕) และแผนการบริหารจัดการน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๗๙ (Oil Plan ๒o๑๕) ให้มีกรอบระยะเวลาของแผนระหว่างปี ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙ โดย มอบหมายให้กระทรวงพลังงานรับไปดําเนินการ ในการดําเนินการจัดทําแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙ นั้น กระทรวงพลังงานได้
ดําเนินการจัดสัมมนาให้มีการรับฟังความคิดเห็นในเรื่อง “ทิศทางพลังงานไทย” ของประเทศทั้งในส่วนกลาง คือ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๗ ระดับภูมิภาคที่ จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๗ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๗ และจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๗ เพื่อรวบรวมความคิดเห็นที่ได้จากการจัดสัมมนาไปดําเนินการจัดทํากรอบแผนพลังงานประเทศไทยในภาพรวม
(Thailand Integrated Energy Blueprint : TIEB) จะเห็นได้ว่า การจัดทําแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙ มีความสัมพันธ์กับข้อมูลที่ได้จาก แผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙ แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงาน ทางเลือก พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๗๙ แผนการบริหารจัดการน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙ แผนพัฒนา กําลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๗๙ และแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙ อย่างไรก็ตามแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๗๙ ได้ผ่านมติการประชุมคณะกรรมการนโยบาย พลังงานแห่งชาติ (กพช.) อย่างเป็นทางการแล้ว ในคราวประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๘ ในวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๘
๒
๑.๒ ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนนโยบายและกลยุทธ์การด าเนินงานแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๘ –
๒๕๗๙ (EEP๒o๑๕) ของกระทรวงพลังงาน
ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนนโยบายและการดําเนินงานของแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙
ให้ความสําคัญกับเรื่องต่อไปนี้
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การใช้มาตรการแบบผสมผสานทั้งการบังคับและสนับสนุนจูงใจ ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การใช้มาตรการที่จะส่งผลกระทบวงกว้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การให้เอกชนเป็นหุ้นส่วนสําคัญในการส่งเสริมและดําเนินการอนุรักษ์พลังงาน ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การใช้มืออาชีพและบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) เป็นกลไกสําคัญ
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การเพิ่มการพึ่งพาตนเองด้านเทคโนโลยีและเสริมสร้างธุรกิจผลิตสินค้าที่มี ประสิทธิภาพพลังงานสูง
ยุทธศาสตร์ที่ ๖ การยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานทุกภาคเศรษฐกิจให้ทัดเทียมสากล ยุทธศาสตร์ที่ ๗ การผลักดันมาตรการอนุรักษ์พลังงานอย่างเข้มข้นเพื่อช่วยเสริมความมั่นคงด้าน พลังงานในระดับภูมิภาค
ที่มา : ทิศทางและยุทธศาสตร์พลังงานของประเทศ สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน นายชวลิต พิลาชัย (ผู้อํานวยการสํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน), ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานได้ทบทวนแผนอนุรักษ์พลังงานในช่วง ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ - ๒๕๗๓ โดยได้จัด
สัมมนารับฟังความคิดเห็นทั่วประเทศรวม ๔ ครั้ง และนําทุกความเห็นที่ได้รับมาปรับปรุงและจัดทําเป็นแผน อนุรักษ์พลังงานในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙ ที่ยังคงใช้มาตรการผสมผสานทั้งการบังคับ (Push) ด้วย มาตรการกํากับดูแลผ่านพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ และ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ฉบับปรับปรุงแก้ไข) ควบคู่กับการจูงใจ (Pull) ด้วยมาตรการทางการเงินโดยการสนับสนุนช่วยเหลืออุดหนุน จากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ร่วมกับข้อมูลแนวทางในการจัดทําพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้า ในระยะยาวของแผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙ (PDP๒๐๑๕) เพื่อจัดทํา แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP๒๐๑๕) โดยสามารถสรุปสาระสําคัญในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑) ทบทวนการคาดการณ์ปริมาณการใช้พลังงานในอนาคต (พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙) จําแนก
สาขาเศรษฐกิจ ได้แก่ อุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัย อาคารธุรกิจ ขนส่ง และอื่นๆ โดยพิจารณาอัตราการ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) เฉลี่ยร้อยละ ๓.๙๔ ต่อปี และการเจริญเติบโตของประชากรเฉลี่ยร้อยละ ๐.๐๓ ต่อปี
๒) ทบทวนเป้าหมายแผนการอนุรักษ์พลังงาน (พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙) โดยลดความเข้มการใช้
พลังงานลงเป็นร้อยละ ๓๐ ภายในปี ๒๕๗๙ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๓
๓) มีเป้าหมายในการอนุรักษ์พลังงาน (พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙) คิดเป็น ๕๖,๑๔๒ ktoe ซึ่ง
พิจารณาจากผลการอนุรักษ์พลังงานที่ดําเนินการจนถึงปัจจุบัน คิดเป็น ๔,๔๔๒ ktoe และจากมาตรการตาม
๓
แผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙ คิดเป็น ๕๑,๗๐๐ ktoe (จากไฟฟ้า ๗,๖๔๑ ktoe และจากความ ร้อน ๔๔,๐๕๙ ktoe)
๔) จากมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่มีทั้งหมด ๓๔ มาตรการซึ่งนอกจากนโยบาย
หลักของรัฐบาลในการยกเลิก/ทบทวนการอุดหนุนราคาพลังงานเพื่อส่งสัญญาณให้ผู้บริโภคตระหนักเรื่องราคา เป็นไปตามกลไกตลาดแล้ว กระทรวงพลังงานได้ดําเนินการใน ๔ กลุ่มเศรษฐกิจ คือ (๑) ภาคอุตสาหกรรม (๒) ภาคอาคารธุรกิจอาคารของรัฐ (๓) ภาคบ้านอยู่อาศัยและ (๔) ภาคขนส่ง โดยปรับทิศทางด้วยการพิจารณา มาตรการที่สามารถเห็นผลได้เชิงประจักษ์ใน ๓ กลยุทธ์ ๑๐ มาตรการในการขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติได้แก่
(๑) กลยุทธ์ภาคบังคับ (Compulsory Program) จ านวน ๔ มาตรการ
๑.๑ มาตรการบังคับใช้มาตรฐานการอนุรักษ์พลังงานในโรงงาน/อาคารควบคุม (EE๑)
๑.๒ มาตรการบังคับมาตรฐานอาคารก่อสร้างใหม่เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (EE๒)
๑.๓ มาตรการกําหนดมาตรฐานและติดฉลากอุปกรณ์เครื่องจักรและวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (Labeling) (EE๓)
๑.๔ มาตรการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานอนุรักษ์พลังงาน สําหรับผู้ผลิตและจําหน่ายพลังงาน (EERS) (EE๔)
(๒) กลยุทธ์ภาคความร่วมมือ (Voluntary Program) จ านวน ๔ มาตรการ
๒.๑ มาตรการช่วยเหลือ/อุดหนุนการดําเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน (EE๕)
๒.๒ มาตรการส่งเสริมการใช้แสงสว่างเพื่ออนุรักษ์พลังงาน (EE๖)
๒.๓ มาตรการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่ง (EE๗)
๒.๔ มาตรการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอนุรักษ์พลังงาน (EE๘)
(๓) กลยุทธ์สนับสนุน (Complementary Program) จ านวน ๒ มาตรการ
๓.๑ มาตรการพัฒนาบุคลากรด้านอนุรักษ์พลังงาน (EE๙)
๓.๒ มาตรการประชาสัมพันธ์สร้างจิตสํานึกการอนุรักษ์พลังงาน (EE๑๐)
๑.๓ ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติ ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงานระยะ ๒๑ ปี ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙ เน้นการสร้างการมี ส่วนร่วมและปรับปรุงองค์ประกอบด้านพลังงานทั้งระบบอันจะนําไปสู่การอนุรักษ์พลังงานที่ยั่งยืน โดยมีแนว ปฏิบัติ ๑๐ มาตรการ จากกลุ่มเศรษฐกิจเป้าหมาย ๔ กลุ่ม ซึ่งยุทธศาสตร์และมาตรการการอนุรักษ์พลังงาน แสดงดงัตารางที่ ๑
ตารางที่ ๑ ยุทธศาสตร์และมาตรการอนุรักษ์พลังงาน ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๗๙
๔
ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงาน ๒๕๕๘ - ๒๕๗๙ | มาตรการการอนุรักษ์พลังงาน ๒๕๕๘ - ๒๕๗๙ |
๑. การใช้มาตรการแบบผสมผสานทั้งการบังคับและ สนับสนุนจูงใจ ๒. การใช้มาตรการที่จะส่งผลกระทบวงกว้างให้เกิด การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ๓. การให้เอกชนเป็นหุ้นส่วนสําคัญในการส่งเสริมและ ดําเนินการอนุรักษ์พลังงาน ๔. การใช้มืออาชีพและบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) เป็นกลไกสําคัญ ๕. การเพิ่มการพึ่งพาตนเองด้านเทคโนโลยี และ เสริมสร้างธุรกิจผลิตสินค้าที่มีประสิทธิภาพ พลังงานสูง ๖. ยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานทุกภาค เศรษฐกิจให้ทัดเทียมสากล ๗. ผลักดันมาตรการอนุรักษ์พลังงานอย่างเข้มข้นเพื่อ ช่วยเสริมความมั่นคงด้านพลังงานในระดับภูมิภาค | ๑. มาตรการบังคับใช้มาตรฐานการอนุรักษ์พลังงานใน โรงงาน/อาคารควบคุม (EE๑) ๒. มาตรการบังคับมาตรฐานอาคารก่อสร้างใหม่เพื่อการ อนุรักษ์พลังงาน (EE๒) ๓. มาตรการกําหนดมาตรฐานและติดฉลากอุปกรณ์ เครื่องจักรและวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (Labeling) (EE๓) ๔. มาตรการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานอนุรักษ์พลังงาน สําหรับผู้ผลิตและจําหน่ายพลังงาน (EERS) (EE๔) ๕. มาตรการช่วยเหลือ/อุดหนุนการดําเนินงานเกี่ยวกับ การอนุรักษ์พลังงาน (EE๕) ๖. มาตรการส่งเสริมการใช้แสงสว่างเพื่ออนุรักษ์พลังงาน (EE๖) ๗. มาตรการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่ง (EE๗) ๘. มาตรการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอนุรักษ์ พลังงาน (EE๘) ๙. มาตรการพัฒนาบุคลากรด้านอนุรักษ์พลังงาน (EE๙) ๑๐. มาตรการประชาสัมพันธ์สร้างจิตสํานึกการอนุรักษ์ พลังงาน (EE๑๐) |
ที่มา: สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)
การกําหนดกลยุทธ์และมาตรการในการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน
พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙ นั้น ใช้มาตรการที่สามารถเห็นผลได้เชิงประจักษ์ใน ๓ กลยุทธ์ ๑๐ มาตรการ โดยมี รายละเอียดของแต่ละกลยุทธ์ดังนี้
๑.๓.๑ กลยุทธ์ภาคบังคับ (Compulsory Program) ประกอบด้วย
๑) มาตรการบังคับใช้ พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐ กํากับอาคาร/
โรงงานที่ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าขนาดตั้งแต่ ๑,๐๐๐ kW หรือ ๑,๑๗๕ kVA ขึ้นไป หรือใช้ไฟฟ้าจากระบบความ ร้อนจากไอน้ําหรือพลังงานสิ้นเปลืองอื่นตั้งแต่ ๒๐ ล้านเมกะจูลขึ้นไป จํานวน ๗,๘๗๐ อาคาร และ ๑๑,๓๓๕ โรงงาน และอาจนํามาตรการชําระค่าธรรมเนียมพิเศษการใช้ไฟฟ้ามาบังคับใช้ จะลดความต้องการใช้พลังงาน ลงร้อยละ ๒๘ คิดเป็นไฟฟ้า ๑,๖๗๔ ktoe คิดเป็นความร้อน ๓,๔๘๒ ktoe
๒) มาตรการกําหนดมาตรฐานการใช้พลังงานในอาคารใหม่ (Building Code) จํานวน๔,๑๓๐
อาคาร โดยประสานร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงมหาดไทย เพื่อลดความต้องการใช้ พลังงานลงร้อยละ ๓๖ ของความต้องการใช้พลังงานในอาคารใหม่ คิดเป็นไฟฟ้า ๑,๑๖๖ ktoe รวมทั้ง
๕
ดําเนินการส่งเสริมมาตรฐานขั้นสูงให้มีมาตรการสนับสนุน เพื่อยกระดับอาคารที่ก่อสร้างใหม่ให้ได้ระดับการ ประเมินมาตรฐานอาคารเขียวในระดับสากล เช่น มาตรฐาน LEED หรือมาตรฐาน TREES ของสถาบันอาคาร เขียวไทย เป็นต้น
๓) มาตรการกําหนดติดฉลากแสดงประสิทธิภาพการใช้พลังงานกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ๒๒
อุปกรณ์ และอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานความร้อน ๘ อุปกรณ์ จะลดความต้องการใช้พลังงานในอุปกรณ์แต่ละ ประเภท ได้ร้อยละ ๖ - ๓๕ คิดเป็นผลประหยัดพลังงานไฟฟ้า ๒,๐๒๕ ktoe และผลประหยัดพลังงานความ ร้อน ๒,๑๒๕ ktoe
๔) มาตรการกําหนดให้ผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการด้านไฟฟ้าจะต้องช่วยให้ผู้ใช้บริการหรือผู้ใช้
ไฟฟ้าเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ไฟฟ้า Energy Efficiency Resource Standard (EERS) เพื่อลดความต้อง การใช้พลังงานลงร้อยละ ๐.๓ คิดเป็นผลประหยัดพลังงานไฟฟ้า ๕๐๐ ktoe
๑.๓.๒ กลยุทธ์ภาคความร่วมมือ (Voluntary Program) ประกอบด้วย
๑) มาตรการช่วยเหลือและอุดหนุนด้านการเงิน เพื่อเร่งให้มีการตัดสินใจลงทุนเปลี่ยน
อุปกรณ์ และเกิดการบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ จะลดความต้องการใช้พลังงานลง ร้อยละ ๑๐ - ๓๐ คิดเป็นผลประหยัดพลังงานไฟฟ้า ๑,๒๘๕ ktoe และผลประหยัดพลังงานความร้อน ๘,๒๓๔ ktoe โดยมี รูปแบบการสนับสนุน เช่น
๑.๑) การสนับสนุนผ่านองค์กรหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่ดําเนินธุรกิจ เกี่ยวกับการพัฒนาโครงการอนุรักษ์พลังงานแบบครบวงจร (Turnkey) ที่เข้ามา ช่วยรับภาระความเสี่ยง (Risk Retention) การลงทุนและดําเนินการแทนเจ้าของ กิจการ หรือที่เรียกว่า Energy Service Company; ESCO
๑.๒) การสนับสนุนการลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้ เช่น เงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ํา (Soft Loan) เงินทุนหมุนเวียน (Revolving funds) การร่วมทุน (Joint Venture) เป็นเงินให้ เปล่า (Grant) เป็นต้น
๒) มาตรการส่งเสริมการใช้แสงสว่างเพื่ออนุรักษ์พลังงาน โดยเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าแสงสว่างใน
อาคารภาครัฐ ๒ ล้านหลอด และทางสาธารณะ ๓ ล้านหลอด เป็น Light Emitting Diode (LED) นอกจากจะ ลดความต้องการใช้พลังงานลงร้อยละ ๕๐ คิดเป็นผลประหยัดพลังงานไฟฟ้า ๙๒๘ ktoe ยังสามารถสร้าง ตลาด LED ทําให้ราคาถูกลงจนประชาชนสามารถซื้อไปใช้ได้แพร่หลาย
๓) มาตรการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่ง ได้แก่
๓.๑) กํากับราคาเชื้อเพลิงในภาคขนส่งให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ส่งผลให้ผู้บริโภค ตระหนัก เรื่องราคาพลังงานและเปลี่ยนลักษณะการใช้พลังงาน คิดเป็นพลังงานที่ ลดลง ๔๕๖ ktoe
๓.๒) สนับสนุนนโยบายของกระทรวงการคลังในการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต รถยนต์ ที่จะเริ่มจัดเก็บตามปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จะลดความ ต้องการใช้พลังงานลงร้อยละ ๒๗ คิดเป็นผลประหยัดพลังงาน ๑๓,๗๓๑ ktoe
๖
๓.๓) เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งน้ํามันของประเทศ โดยพัฒนาระบบขนส่งน้ํามันทางท่อ จะช่วยลดการใช้น้ํามันได้ประมาณ ๔๐ ล้านลิตรต่อปี หรือคิดเป็น ๓๔ ktoe
๓.๔) สนับสนุนนโยบายและแผนงานของกระทรวงคมนาคมในการพัฒนาระบบ โครงสร้าง พื้นฐานการจราจรและขนส่งโดยเฉพาะการเปลี่ยนล้อเป็นราง ที่จะลด ความต้องการใช้พลังงานลงร้อยละ ๗๘ คิดเป็นผลประหยัดพลังงาน ๙,๗๔๕ ktoe
๓.๕) ศึกษา วางแผน และดําเนินการรองรับการใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าจะลด ความ ต้องการใช้พลังงานลง ๑,๑๒๓ ktoe
๓.๖) กระทรวงพลังงานจะช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการขนส่งด้านต่าง ๆ ได้แก่
- ด้านวิศวกรรมเพื่อลดต้นทุนการขนส่ง เช่น การเปลี่ยนอุปกรณ์ การปรับปรุงรถ การเลือกใช้ยางรถยนต์ การจัดการรถเที่ยวเปล่า ฯลฯ ซึ่งจะลดความต้องการใช้ พลังงานลงร้อยละ ๑๐ - ๑๒ คิดเป็นผลประหยัดพลังงาน ๓,๖๓๓ ktoe
- ด้านพัฒนาบุคลากรในการขับขี่เพื่อการประหยัดพลังงาน (ECO Driving) ซึ่งจะ ลดความต้องการใช้พลังงานลงร้อยละ ๒๕ คิดเป็นผลประหยัดพลังงาน ๑,๔๙๑ ktoe
๔) มาตรการส่งเสริมการศึกษา วิจัย พัฒนาเทคโนโลยีอนุรักษ์พลังงาน การป้องกันและแก้ไข
ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงาน และการกําหนดนโยบายและวางแผนพลังงาน
๑.๓.๓ กลยุทธ์สนับสนุน (Complementary Program)
๑) มาตรการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร และสร้างกําลังคนด้านพลังงาน
๒) มาตรการสนับสนุนการรณรงค์สร้างจิตสํานึกใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า และเปลี่ยน
พฤติกรรมการใช้พลังงาน จะเห็นได้ว่าทิศทางของกลยุทธ์และมาตรการที่กําหนดขึ้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของการทําให้เกิดการ
อนุรักษ์พลังงานจากผู้ใช้พลังงานโดยตรงจากการผสมผสานมาตรการบังคับ (Push) ด้วยมาตรการกํากับดูแล ผ่านพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ และ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ฉบับปรับปรุงแก้ไข) ควบคู่กับการจูงใจ (Pull) ด้วยมาตรการทางการเงินโดยการสนับสนุนช่วยเหลืออุดหนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริม การอนุรักษ์พลังงานให้ครอบคลุม ๔ กลุ่มเศรษฐกิจคือ (๑) ภาคอุตสาหกรรม (๒) ภาคอาคารธุรกิจอาคาร ของรัฐ (๓) ภาคบ้านอยู่อาศัยและ (๔) ภาคขนส่ง อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเป้าหมายการประหยัดพลังงานจําแนกรายภาคเศรษฐกิจ ในปี
พ.ศ. ๒๕๗๙ ที่ดําเนินการอนุรักษ์พลังงานในแต่ละมาตรการนั้น สามารถแสดงรายละเอียดได้ดังตารางที่ ๒
๗
ตารางที่ ๒ เป้าหมายการประหยัดพลังงานจําแนกรายภาคเศรษฐกิจ ในปี พ.ศ. ๒๕๗๙
มาตรการ | กลุ่มเศรษฐกิจ | |
อุตสาหกรรม | อาคารธุรกิจ /อาคารรัฐ | ที่อยู่อาศัย | ภาคขนส่ง | รวม (ktoe) |
ความต้องการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย ณ ปี ๒๕๗๙ (กรณีปกติ) | | | | | ๑๘๗,๑๔๒ |
ผลการอนุรักษ์พลังงานที่ผ่านมาทําให้ EI ปี ๒๕๕๖ ลดลงคดิ เป็นพลังงานที่ประหยัดได้ | | | | | ๔,๔๔๒ |
เป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานตามแผนอนุรักษ์ พลังงานในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๗๙ | ๑๔,๕๑๕ (๒๘.๐๘%) | ๔,๘๑๙ (๙.๓๒%) | ๒,๑๕๓ (๔.๑๖%) | ๓๐,๒๑๓ (๕๘.๔๔%) | ๕๑,๗๐๐ (๑๐๐%) |
๑. มาตรการบังคับใช้มาตรฐานการอนุรักษ์พลังงานใน โรงงาน/อาคารควบคุม | ๔,๓๘๘ (๘๕.๑๐%) | ๗๖๘ (๑๔.๙๐%) | - | - | ๕,๑๕๖ (๑๐๐%) |
๒. มาตรการบังคับมาตรฐานอาคารก่อสร้างใหมเ่ พื่อ การอนุรักษ์พลังงาน | - | ๑,๑๖๖ (๑๐๐%) | - | - | ๑,๑๖๖ (๑๐๐%) |
๓. มาตรการกาหนดมาตรฐานและติดฉลากอุปกรณ์ เครื่องจักรและวัสดุเพื่อการอนรุ ักษ์พลังงาน (Labeling) | ๗๔๘ (๑๘.๐๓%) | ๑,๖๔๘ (๓๙.๗๒%) | ๑,๗๕๓ (๔๒.๒๕%) | - | ๔,๑๔๙ (๑๐๐%) |
๔. มาตรการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานอนุรักษ์พลังงาน สําหรับผู้ผลิตและจาํหน่ายพลังงาน (EERS) | ๒๐๒ (๔๐.๔๐%) | ๑๘๔ (๓๖.๘๐%) | ๑๑๔ (๒๒.๘๐%) | - | ๕๐๐ (๑๐๐%) |
๕. มาตรการช่วยเหลือ/อุดหนุนการดําเนินงาน เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน | ๘,๘๙๕ (๙๓.๔๐%) | ๖๒๙ (๖.๖๐%) | - | - | ๙,๕๒๔ (๑๐๐%) |
๖. มาตรการส่งเสริมการใช้แสงสวา่ งเพื่ออนุรักษ์ พลังงาน (LED) | ๒๘๑ (๒๘.๓๖%) | ๔๒๔ (๔๒.๗๙%) | ๒๘๖ (๒๘.๘๕%) | - | ๙๙๑ (๑๐๐%) |
๗. มาตรการอนรุ ักษ์พลังงานภาคขนส่ง | - | - | - | ๓๐,๒๑๓ (๑๐๐%) | ๓๐,๒๑๓ (๑๐๐%) |
๘. มาตรการวิจยั พัฒนาเทคโนโลยแี ละนวัตกรรม อนุรักษ์พลังงาน | - | - | - | - | - |
๙. มาตรการพัฒนาบุคลากรด้านอนุรักษ์พลังงาน | - | - | - | - | - |
๑๐. มาตรการประชาสัมพันธ์สร้างจิตสํานึกการ อนุรักษ์พลังงาน | - | - | - | - | - |
รวมลดความต้องการใช้พลังงานลงได้ (ktoe) | | | | | ๕๖,๑๔๒ |
ความต้องการใช้พลังงาน ณ ปี ๒๕๗๙ (กรณี EE๒๐๑๕) | | | | | ๑๓๑,๐๐๐ |
คิดเป็นลดความเข้มการใช้พลังงานลงได้ (ร้อยละ) | | | | | ๓๐ |
ที่มา: สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)
๘
๒. การด าเนินงานด้านอนุรักษ์พลังงานของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๕๙ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้ดําเนินโครงการด้านอนุรักษ์พลังงานที่ได้รับ
การสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในปีงบประมาณ ๒๕๕๘ – ๒๕๕๙ รวมทั้งสิ้น ๙๘ โครงการ โดยใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น ๑๓,๖๒๓,๓๘๗,๗๒๗.๐๐ บาท โดยแบ่งเป็นงบประมาณปี ๒๕๕๘ จํานวน ๖,๔๗๐,๗๐๗,๐๐๐.๐๐ บาท เพื่อดําเนินงาน ๓๘ โครงการ และงบประมาณปี ๒๕๕๙ จํานวน
๗,๑๕๒,๖๘๐,๗๒๗.๐๐ บาท เพื่อดําเนินงาน ๖๐ โครงการ อย่างไรก็ตาม พพ. ได้ดําเนินโครงการที่มีสถานะการดําเนินการร่วมกันระหว่างด้านอนุรักษ์พลังงาน
และด้านพลังงานทดแทน ในปีงบประมาณ ๒๕๕๘ – ๒๕๕๙ รวมทั้งสิ้น ๒๐ โครงการ โดยมีงบประมาณ ดําเนินการรวมทั้งสิ้น ๕๙๓,๕๓๘,๗๕๕.๐๐ บาท โดยแบ่งเป็นงบประมาณปี ๒๕๕๘ จํานวน ๒๒๕,๔๐๕,๗๐๐.๐๐ บาท เพื่อดําเนินงาน ๑๒ โครงการ และงบประมาณปี ๒๕๕๙ จํานวน ๓๖๘,๑๓๓,๐๕๕.๐๐ บาท เพื่อ ดําเนินงาน ๘ โครงการ สําหรับรายละเอียดโครงการด้านอนุรักษ์พลังงาน และโครงการที่มีการดําเนินการ ร่วมกันระหว่างด้านอนุรักษ์พลังงานและด้านพลังงานทดแทนของ พพ. ในปีงบประมาณ ๒๕๕๘ – ๒๕๕๙ ได้ แสดงไว้ดงัตารางที่ ๓
ตารางที่ ๓ โครงการด้านอนุรักษ์พลังงาน และโครงการมีการดําเนินการร่วมกันระหว่างด้านอนุรักษ์พลังงาน และด้านพลังงานทดแทนของ พพ. ในปีงบประมาณ ๒๕๕๘ – ๒๕๕๙
การด าเนินงาน | งบประมาณ (บาท) | ความสอดคล้อง ตามแผน EEP๒๐๑๕ | ปีที่ดา เนินการ ๒๕๕๘ - ๒๕๕๙ |
๕๘ | ๕๙ |
แผนเพิ่มประสิทธภิ าพการใช้พลังงาน (งบประมาณป ี๒๕๕๘) | ๖,๔๗๐,๗๐๗,๐๐๐.๐๐ | | | |
กลุ่มงานด าเนินงาน | ๕๐,๑๘๔,๙๐๐.๐๐ |
ค่าบริหารโครงการตามแผนงานป ี๒๕๕๘ | ๔๑,๒๒๕,๓๐๐.๐๐ |
๑. โครงการศึกษาและจัดทําข้อมูลการลงทุนด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษพลังงาน | ๗,๗๘๗,๐๐๐.๐๐ | EE๘ | | |
|
๒. โครงการศึกษาจัดทําค่าประสิทธภิ าพการใช้พลังงาน (EI) ในภาคอุตสาหกรรม และ ธุรกิจการค้า | ๖,๘๕๒,๕๐๐.๐๐ | EE๘ | | |
|
๓. โครงการศึกษาและจัดทําระบบรายงานการจัดการพลังงานทางอิเล็กทรอนกิ ส์ | ๗,๙๙๕,๘๐๐.๐๐ | EE๘ | | |
|
๔. โครงการปรับปรุงหลังคาอาคารอนรุ ักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ | ๑๘,๕๙๐,๐๐๐.๐๐ | EE๘ | | |
|
รายจ่ายตามประมาณการรายจ่ายประจ าปี ๒๕๕๘ | ๘,๙๕๙,๖๐๐.๐๐ | | | |
กลุ่มงานค้นคว้าวิจัย ศึกษาเพื่อการพฒั นาและส่งเสรมิ | ๖๙,๓๙๗,๐๐๐.๐๐ | | | |
๕. โครงการศึกษาจัดทํามาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานมอเตอร์เหนี่ยวนาํ เฟสเดียว | ๕,๔๐๗,๐๐๐.๐๐ | EE๓ | | |
|
๖. โครงการออกแบบศึกษาเปรยี บเทียบประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าเมื่อ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยอี ินเวอร์เตอร์ในตู้เย็นตู้แช่สินค้า | ๓,๙๙๐,๐๐๐.๐๐ | EE๓ | | |
|
๗. โครงการพัฒนาศูนย์ต้นแบบการเรียนรู้อาคารที่ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ในโรงเรียน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ (Net Zero Energy Building) (สนับสนุนสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง) | ๖๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ | EE๘ | | |
|
กลุ่มงานโครงการสาธติ หรือริเรมิ่ | ๖,๑๗๗,๒๓๒,๓๐๐.๐๐ | | | |
๘. โครงการศึกษาและส่งเสริมเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการนําความร้อนทิ้งอณุ หภูมิต่ํา ในระบบอุตสาหกรรมกลบั มาใช้ใหม่ | ๙,๙๗๑,๐๐๐.๐๐ | EE๘ | | |
|
๙. โครงการขอรับสิทธิประโยชนย์ กเวน้ ภาษีเงินได้จากกรมสรรพากร ระยะที่ ๔ | ๙,๗๒๖,๔๐๐.๐๐ | EE๕ | | |
|
๑๐. โครงการติดตามการดําเนินงานโครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน | ๑,๗๓๘,๐๐๐.๐๐ | EE๕ | | |
|
๑๑. โครงการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนหม้อไอน้ําเครื่องทําน้ําเย็นและหอผึ่งเย็น ประสิทธิภาพสูง ในอาคารควบคุมภาครฐั | ๓๕๒,๘๗๙,๔๐๐.๐๐ | EE๑ | | |
|
๙
การด าเนินงาน | งบประมาณ (บาท) | ความสอดคล้อง ตามแผน EEP๒๐๑๕ | ปีที่ดา เนินการ ๒๕๕๘ - ๒๕๕๙ |
๕๘ | ๕๙ |
๑๒. งานขึ้นทะเบียนและกํากับดูแลการออกใบอนุญาตในการตรวจสอบและรบั รองการ จัดการพลังงาน | ๔,๓๖๔,๖๐๐.๐๐ | EE๑ | | |
|
๑๓. งานกํากบั ดูแลและส่งเสริมอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายสาํ หรับโรงงานควบคุม | ๗๘,๒๙๗,๐๐๐.๐๐ | EE๑ | | |
|
๑๔. งานกํากบั ดูแลและส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายของอาคารควบคุม เอกชน | ๓๔,๘๓๘,๐๐๐.๐๐ | EE๑ | | |
|
๑๕. งานกํากบั ดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายของอาคารควบคุมภาครัฐ | ๓๕,๓๐๒,๐๐๐.๐๐ | EE๑ | | |
|
๑๖. โครงการบริหารศูนย์ประสานงานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษพ์ ลังงาน | ๖,๙๘๓,๔๐๐.๐๐ | EE๒ | | |
|
๑๗. โครงการส่งเสริมธุรกิจและกระตนุ้ ตลาดการอนุรักษพ์ ลังงานโดยกลไกบรษิ ัทจัด การพลังงาน (ESCO) | ๙,๙๘๗,๐๐๐.๐๐ | EE๕ | | |
|
๑๘. โครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ในสถาน ประกอบการ | ๖,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ | EE๓ | | |
|
๑๙. โครงการสนับสนุนการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนปรับปรุง เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์เพื่อ การอนุรักษพ์ ลังงาน | ๕๒๘,๘๖๘,๐๐๐.๐๐ | EE๕ | | |
|
๒๐. โครงการอนุรักษ์พลังงานและพัฒนาพลังงานทดแทนในเขตพระราชฐาน | ๙๐,๖๐๑,๑๐๐.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
๒๑. โครงการนําร่องการติดฉลากแสดงข้อมูลการใช้พลังงานสําหรับอาคารธุรกิจ | ๔,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ | EE๒ | | |
|
๒๒. โครงการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนด้วยเงินทุน หมุนเวียน (Esco Revolving Fund) | ๕๒๕,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ | EE๕ | | |
|
๒๓. โครงการติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสวา่ ง LED สําหรับอาคารในหน่วยงานราชการ | ๑๔๑,๗๗๙,๐๐๐.๐๐ | EE๖ | | |
|
๒๔. โครงการปรับเปลี่ยนหลอด LED และระบบปรับอากาศในโรงเรียนจิตรลดา | ๑๓,๑๐๐,๐๐๐.๐๐ | EE๖ | | |
|
๒๕. โครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในอาคารภาครัฐ (กองทัพเรือ) | ๓๑๘,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ | EE๑ | | |
|
๒๖. โครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานโดยสถาบันการเงิน | ๑,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ | EE๕ | | |
|
๒๗. โครงการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศชนิด Variable speed/Inverter ทดแทนของเดิมในอาคารควบคุมภาครัฐ | ๒,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ | EE๕ | | |
|
๒๘. โครงการนําร่องเปลี่ยนหลอดประหยัดพลังงานแบบ LED เพื่อเป็นต้นแบบการ อนุรักษ์พลังงานให้กับประชาชน | ๕,๗๙๗,๔๐๐.๐๐ | EE๖ | | |
|
กลุ่มงานโฆษณาประชาสมั พันธ์ และเผยแพร่ | ๙๖,๑๒๖,๕๐๐.๐๐ | | | |
๒๙. โครงการ Thailand Enery Awards ๒๐๑๕ | ๒๕,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
๓๐. โครงการบริหารงานเผยแพร่ขอ้ มลู ข่าวสารด้านพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์ พลังงาน | ๒๖,๑๒๖,๕๐๐.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
๓๑. โครงการส่งเสริมการใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง และวัสดุเพื่อการ อนุรักษ์พลังงานที่ได้รับฉลากประสิทธิภาพสูง | ๒๕,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ | EE๓ | | |
|
๓๒. โครงการผลิตและเผยแพร่สารคดดี ้านอนุรักษ์พลังงานผ่านสื่อโทรทัศน์ | ๒๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
กลุ่มงานพัฒนาบุคลากร | ๗๗,๗๖๖,๓๐๐.๐๐ | | | |
๓๓. โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อเป็นผู้รับผิดชอบด้านพลังงานตามกฎหมาย | ๒๗,๒๕๐,๒๐๐.๐๐ | EE๙ | | |
|
๓๔. โครงการพัฒนาบุคลากรด้านระบบการใช้พลังงานตามประเภทโรงงานและอาคาร ธุรกิจ | ๑๑,๕๔๐,๓๐๐.๐๐ | EE๙ | | |
|
๓๕. โครงการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีการอนุรักษพ์ ลังงาน | ๔,๕๓๗,๔๐๐.๐๐ | EE๙ | | |
|
๓๖. โครงการส่งเสริมเทคโนโลยีอนุรักษ์พลังงานในอาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลมิ พระ เกียรติ | ๑๔,๐๙๐,๐๐๐.๐๐ | EE๘ | | |
|
๓๗. โครงการทีมเทคนิคและอาชีวศึกษาเพื่อการประหยัดพลังงาน (การประกวด สิ่งประดิษฐ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน) | ๑๗,๑๓๒,๖๐๐.๐๐ | EE๘ | | |
|
๓๘. โครงการพัฒนาบุคลากรภาคปฏบิ ัติด้านการตรวจประเมินสมรรถนะเครื่องจักร อุปกรณ์หลักภายใต้ระบบการจัดการพลงั งานตามกฎหมาย | ๓,๒๑๕,๘๐๐.๐๐ | EE๙ | | |
|
แผนเพิ่มประสิทธภิ าพการใช้พลังงาน (งบประมาณป ี๒๕๕๙) | ๗,๑๕๒,๖๘๐,๗๒๗.๐๐ | | | |
กลุ่มงานด าเนินงาน | ๓๖,๘๐๗,๘๖๘.๐๐ | | | |
รายจ่ายตามโครงการ | ๒๗,๑๗๗,๕๐๐.๐๐ | | | |
๑๐
การด าเนินงาน | งบประมาณ (บาท) | ความสอดคล้อง ตามแผน EEP๒๐๑๕ | ปีที่ดา เนินการ ๒๕๕๘ - ๒๕๕๙ |
๕๘ | ๕๙ |
๑. โครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบข้อมูลด้านอนุรักษพ์ ลังงานทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อ รองรับภารกิจตามกฎหมายและภารกิจด้านทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน | ๙,๙๓๓,๘๐๐.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
๒. โครงการบริหารติดตามงานและประเมินผลด้วยวธิ ีการพิสูจน์ผลประหยัดพลังงาน ของโครงการตามแผนเพิ่มประสิทธภิ าพพลังงานของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและ อนุรักษ์พลังงาน | ๑๗,๒๔๓,๗๐๐.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
รายจ่ายตามประมาณการรายจ่ายประจ าปี ๒๕๕๙ | ๙,๖๓๐,๓๖๘.๐๐ | | | |
กลุ่มงานค้นคว้าวิจัย ศึกษาเพื่อการพฒั นาและส่งเสรมิ | ๑๓๓,๑๕๔,๓๔๖.๐๐ | | | |
๓. โครงการศึกษาทบทวนเครื่องดูดฝุ่นชนิดลากพื้นและตแู้ ช่แสดงสินค้าเพื่อจดั ทํา ประสิทธิภาพพลังงานร่างกฎกระทรวงเฉพาะดา้ นตาม พ.ร.บ. การส่งเสริมการ อนุรักษ์พลังงาน (ฉบบั ที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ | ๗,๑๘๙,๖๘๐.๐๐ | EE๓ | | |
|
๔. โครงการศึกษาจัดทํามาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานยางรถจกั รยานยนต์ | ๔,๐๓๐,๖๔๐.๐๐ | EE๓ | | |
|
๕. โครงการศึกษาจัดทํามาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานเครื่องเชื่อมไฟฟ้า | ๓,๙๐๐,๖๔๐.๐๐ | EE๓ | | |
|
๖. โครงการศึกษาเครื่องดูดควันสําหรับเตาหุงต้ม เพื่อจัดทําประสิทธิภาพพลังงานร่าง กฎกระทรวงเฉพาะดา้ น ตาม พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ | ๔,๐๖๑,๐๓๒.๐๐ | EE๓ | | |
|
๗. โครงการศึกษาเครื่องเป่าผมเพื่อจัดทําประสิทธภิ าพพลังงานร่างกฎกระทรวงเฉพาะ ด้าน ตาม พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ | ๓,๕๘๑,๐๓๒.๐๐ | EE๓ | | |
|
๘. โครงการศึกษาทบทวนเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นเพื่อจัดทาํ ประสิทธภิ าพพลังงาน ร่างกฎกระทรวงเฉพาะด้าน ตาม พรบ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ฉบบั ท ี่๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ | ๗,๕๘๙,๖๘๐.๐๐ | EE๓ | | |
|
๙. โครงการจัดทําตัวชว้ี ัดสมรรถนะด้านพลังงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ในอาคารควบคุม | ๒๔,๖๐๕,๘๐๐.๐๐ | EE๘ | | |
|
๑๐. โครงการจัดทําตัวชว้ี ัดสมรรถนะด้านพลังงานเพื่อเพิ่มประสิทธภิ าพการใช้พลังงาน ในโรงงานควบคุม | ๔๓,๘๘๒,๓๕๐.๐๐ | EE๘ | | |
|
๑๑. โครงการศึกษาเทคโนโลยแี ละนวตั กรรมการเพิ่มประสิทธภิ าพของการใชพ้ ลังงาน ในระบบน้ําเสียของโรงงานควบคุม | ๕,๖๒๒,๔๕๐.๐๐ | EE๘ | | |
|
๑๒. โครงการศึกษาเกณฑ์การใช้พลังงานในบ้านพักอาศัยและสร้างต้นแบบบา้ น ประหยัดพลังงาน | ๒๔,๖๓๓,๗๕๐.๐๐ | EE๓ | | |
|
๑๓. โครงการศึกษาแนวทางการส่งเสริมผู้ผลิตและ/หรือผู้จําหนา่ ยผลิตภัณฑ์เครื่องจักร อุปกรณ์ประสิทธภิ าพสูงและวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน | ๔,๐๕๗,๒๙๒.๐๐ | EE๓ | | |
|
กลุ่มงานโครงการสาธติ หรือริเรมิ่ | ๖,๗๒๑,๓๔๕,๐๒๗.๐๐ | | | |
๑๔. งานกํากบั ดูแลและส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายสําหรับอาคารควบคุม เอกชน | ๑๙,๔๙๑,๑๐๐.๐๐ | EE๑ | | |
|
๑๕. งานกํากบั ดูแลและส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายสําหรับอาคารควบคุม ภาครัฐ | ๑๑,๓๗๗,๐๐๐.๐๐ | EE๑ | | |
|
๑๖. โครงการบริหารศูนย์ประสานงานการออกแบบอาคารเพื่ออนุรกั ษ์พลังงาน | ๙,๔๓๐,๐๔๐.๐๐ | EE๒ | | |
|
๑๗. โครงการศึกษาปรับปรุงระดับเกณฑ์มาตรฐาน หลักเกณฑ์และวธิ ีการออกแบบ อาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน | ๑๐,๔๙๑,๖๐๐.๐๐ | EE๒ | | |
|
๑๘. งานกํากบั ดูแลและส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายสําหรับโรงงาน ควบคุม | ๖๒,๐๕๕,๐๐๐.๐๐ | EE๑ | | |
|
๑๙. โครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานโดยสถาบันการเงิน | ๑๓,๗๑๑,๓๑๖.๐๐ | EE๕ | | |
|
๒๐. โครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานโดยสถาบันการเงิน (วงเงินสินเชื่อ เพิ่มเติม) | ๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ | EE๕ | | |
|
๒๑. โครงการส่งเสริมธุรกิจและกระตนุ้ ตลาดการอนุรักษพ์ ลังงานโดยกลไกบรษิ ัทจัด การพลังงาน (ESCO) | ๑๓,๘๓๐,๗๙๐.๐๐ | EE๕ | | |
|
๒๒. โครงการงานขึ้นทะเบียนและกํากบั ดูแลการออกใบอนุญาตในการตรวจสอบและ รับรองการจัดการพลังงาน | ๑๖,๕๓๓,๕๑๐.๐๐ | EE๑ | | |
|
๑๑
การด าเนินงาน | งบประมาณ (บาท) | ความสอดคล้อง ตามแผน EEP๒๐๑๕ | ปีที่ดา เนินการ ๒๕๕๘ - ๒๕๕๙ |
๕๘ | ๕๙ |
๒๓. โครงการส่งเสริมเครื่องจักรอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง และวัสดุเพอื่ การอนรุ ักษ์ พลังงานโดยการติดฉลาก | ๓๙,๓๘๘,๑๐๐.๐๐ | EE๓ | | |
|
๒๔. โครงการเปลี่ยนหลอดประหยัดพลังงาน LED เพื่อเป็นต้นแบบการอนุรกั ษ์พลังงาน ให้กับประชาชน โดยอาคารมูลนิธิรัฐบุรษุ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ | ๗๓๗,๗๓๐.๐๐ | EE๖ | | |
|
๒๕. โครงการสาธิตเทคโนโลยีเชิงลึกเพื่อการอนุรกั ษ์พลังงาน ระยะที่ ๓ | ๓๖,๒๗๗,๙๖๕.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
๒๖. โครงการติดตั้งชุดโคมไฟและหลอดแอลอีดีในหน่วยงานของกองทัพอากาศ | ๓๑๕,๑๒๕,๓๙๐.๐๐ | EE๖ | | |
|
๒๗. โครงการส่งเสริมการดําเนินงานมาตรการอนุรักษพ์ ลังงานด้วยกลไกการตรวจสอบ และรับรองการจัดการพลังงานตามกฏหมาย | ๑๓๗,๒๓๕,๒๘๐.๐๐ | EE๑ | | |
|
๒๘. โครงการอนุรักษ์พลังงานและพัฒนาพลังงานในเขตพระราชฐาน ระยะที่ ๒ | ๙๗,๖๗๑,๒๖๐.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
๒๙. โครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างด้วยการเปลี่ยนโคมไฟเป็นชนิดสะท้อนแสง และเปลี่ยนหลอดไฟฟา้ เป็นชนิด LED ในอาคารของ กอ.รมน.-สวนรื่นฤดี | ๑,๙๒๕,๙๐๐.๐๐ | EE๖ | | |
|
๓๐. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้าในระบบแสงสว่างอาคารศาสนสถาน สําหรับมัสยิด | ๕,๗๕๐,๐๐๐.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
๓๑. โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการพลังงานอัตโนมัติ (Building Energy Management System : BEMS) สําหรับโรงเรียนจิตรลดาโดยมูลนิธิสยามบรม ราชกุมารี | ๔๙,๔๐๐,๕๐๐.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
๓๒. โครงการบริหารจัดการเพื่อการประหยัดพลังงานในอาคารกรมราชองครักษ์ | ๑,๒๑๒,๕๐๐.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
๓๓. โครงการส่งเสริมการลงทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถดา้ นการอนุรักษ์พลังงานใน โรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็ก | ๗๕,๗๔๙,๑๔๖.๐๐ | EE๕ | | |
|
๓๔. โครงการพัฒนาต่อยอดการดําเนนิ การจัดการพลังงานตามกฏหมายประเทศไทย ไปสู่ระบบการจัดการพลังงานในระดับสากล (ISO ๕๐๐๐๑) | ๑๐,๘๓๑,๕๕๐.๐๐ | EE๑ | | |
|
๓๕. โครงการเปลี่ยนหลอด LED ในโรงพยาบาลและสถานศึกษา | ๖๓,๔๖๑,๕๐๐.๐๐ | EE๖ | | |
|
๓๖. โครงการต้นแบบอาคารเรียนอัฉรยิ ะด้านอนุรกั ษ์พลังงาน | ๔๓,๙๖๑,๘๐๐.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
๓๗. โครงการจัดตั้งศูนย์พัฒนาความมนั่ คงทางพลังงานด้วยเทคโนโลยีพลังงานแบบ บูรณาการสําหรับกลุ่มอาคารกรมยุทธโยธาทหารบก | ๔๕,๙๒๔,๒๕๐.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
๓๘. โครงการเปลี่ยนหลอดประหยัดพลังงานแบบ LED เพื่อเป็นต้นแบบการอนุรักษ์ พลังงานให้กับประชาชน โดยกรมป้องกนั และบรรเทาสาธารณภัย (สว่ นกลาง) | ๙,๐๒๔,๕๐๐.๐๐ | EE๖ | | |
|
๓๙. โครงการเปลี่ยนโคมไฟประหยัดพลังงานชนิดหลอด LED เพื่อความมั่นคงในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ | ๑๒๗,๔๐๐,๐๐๐.๐๐ | EE๖ | | |
|
๔๐. โครงการเปลี่ยนหลอดประหยัดพลังงาน LED ในสํานักเลขาธิการนายกรฐั มนตรี | ๓,๓๔๗,๓๐๐.๐๐ | EE๖ | | |
|
๔๑. โครงการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศชนิด Variable speed/Inverter ทดแทนของเดิมในอาคารควบคุมภาครัฐ | ๒,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ | EE๕ | | |
|
กลุ่มงานโฆษณาประชาสมั พันธ์ และเผยแพร่ | ๘๘,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ | | | |
๔๒. โครงการ Thailand Energy Awards ๒๐๑๖ | ๓๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
๔๓. โครงการประสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ประสิทธภิ าพสงู และ วัสดุเพื่อการอนุรกั ษ์พลังาน | ๒๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
๔๔. โครงการบริหารงานเผยแพร่ขอ้ มลู ข่าวสารด้านพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์ พลังงาน | ๒๖,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
๔๕. โครงการประกวดบา้ นจัดสรรอนรุ ักษ์พลังงานดีเด่น | ๑๒,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
กลุ่มงานพัฒนาบุคลากร | ๑๗๓,๓๗๓,๔๘๖.๐๐ | | | |
๔๖. โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อเป็นผู้รับผิดชอบด้านพลังงานตามกฎหมาย | ๒๕,๔๒๐,๓๔๐.๐๐ | EE๙ | | |
|
๔๗. โครงการพัฒนาบุคลากรภาคปฏบิ ัติด้านการตรวจประเมินสมรรถนะเครื่องจักร อุปกรณ์หลักภายใต้ระบบการจัดการพลงั งานตามกฎหมาย | ๒,๔๖๙,๕๗๐.๐๐ | EE๙ | | |
|
๔๘. โครงการพัฒนาบุคลากรในการตรวจประเมินการจัดการพลังงานภายในตามระบบ การจัดการพลังงานตามกฎหมาย | ๔,๘๔๖,๒๒๐.๐๐ | EE๙ | | |
|
๔๙. โครงการพัฒนาผู้ตรวจสอบและรบั รองการจัดการพลังงาน | ๒,๕๐๘,๔๑๐.๐๐ | EE๙ | | |
|
๕๐. โครงการปรับปรุงศูนย์แสดงเทคโนโลยีด้านการอนุรักษพ์ ลังงาน Display Center | ๔๙,๓๒๐,๘๘๑.๐๐ | EE๘ | | |
|
๑๒
การด าเนินงาน | งบประมาณ (บาท) | ความสอดคล้อง ตามแผน EEP๒๐๑๕ | ปีที่ดา เนินการ ๒๕๕๘ - ๒๕๕๙ |
๕๘ | ๕๙ |
๕๑. โครงการพัฒนาหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานและการพัฒนาผู้ตรวจสอบและ รับรองการจัดการพลังงาน ภายใต้พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษพ์ ลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๐) | ๑๒,๔๗๐,๖๐๐.๐๐ | EE๙ | | |
|
๕๒. โครงการพัฒนาบุคลากรด้านระบบการใช้พลังงานตามโรงงานและอาคารธุรกิจ | ๗,๑๖๔,๕๐๐.๐๐ | EE๙ | | |
|
๕๓. โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อนาํ เทคโนโลยีด้านการอนุรักษพ์ ลังงานไปประยุกต์ใช้ งาน | ๗,๔๗๔,๘๐๐.๐๐ | EE๙ | | |
|
๕๔. โครงการขยายผลหลักสูตรการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนสําหรับ คณะกรรมการการอาชีวศึกษา | ๓๓,๑๓๖,๒๐๐.๐๐ | EE๙ | | |
|
๕๕. โครงการส่งเสริมเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานในอาคารอนุรักษพ์ ลังงานเฉลิม พระเกียรติ | ๕,๙๘๓,๒๐๐.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
๕๖. โครงการพัฒนาบุคลากรด้านการอนุรักษ์พลังงานในอาคารประเภทโรงแรม | ๓,๘๘๓,๑๔๐.๐๐ | EE๙ | | |
|
๕๗. โครงการพัฒนาหลักสูตรการประยุกต์ใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติโดยใช้ PCL เพื่อ การประหยัดพลังงาน | ๕,๖๔๘,๒๘๐.๐๐ | EE๙ | | |
|
๕๘. โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในระบบ หม้อไอน้ํา | ๓,๖๘๑,๔๖๕.๐๐ | EE๙ | | |
|
๕๙. โครงการพัฒนาบุคลากรด้านการอนุรักษ์พลังานแบบองค์รวมแยกตามประเภท อุตสาหกรรม | ๓,๑๘๙,๐๘๐.๐๐ | EE๙ | | |
|
๖๐. โครงการสาธิตอุปกรณ์ประหยัดพลังงานในศูนย์บริการวิชาการ | ๖,๑๗๖,๘๐๐.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
แผนงานร่วมด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (งบประมาณป ี๒๕๕๘) | ๒๒๕,๔๐๕,๗๐๐.๐๐ | | | |
๑. โครงการติดตามประเมินผลโครงการด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานแก่ หน่วยงานดา้ นความมั่นคงของประเทศ ระยะที่ ๒ | ๙,๙๘๘,๘๐๐.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
๒. โครงการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเชิงรุกเพื่อสนับสนุนการดาํ เนินงานตามภารกจิ ด้าน พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน | ๘,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
๓. โครงการศึกษาศักยภาพและแนวทางการพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ พลังงาน เพื่อสนับสนุนกิจกรรมศูนย์การศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจาก พระราชดําริ | ๑๙,๙๗๓,๖๐๐.๐๐ | EE๘ | | |
|
๔. โครงการศึกษาสํารวจศักยภาพความเหมาะสมการใช้พลังงานเพื่อสนับสนุนเทคโนโล ยีพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานสําหรับกลุ่มวิสาหกจิ ชุมชน | ๑๐,๖๙๑,๐๐๐.๐๐ | EE๘ | | |
|
๕. โครงการต้นแบบการใช้พลังงานทดแทนแบบผสมผสานและอนุรักษ์พลังงานในโรงสี ข้าวแบบครบวงจรในพื้นที่มูลนิธิชยั พัฒนา | ๒๘,๒๒๘,๐๐๐.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
๖. โครงการจัดทําแผนแม่บทเชิงรุกเพอื่ สนับสนุนการดําเนินงานตามภารกจิ ด้าน พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน | ๒๐,๐๒๙,๑๐๐.๐๐ | EE๘ | | |
|
๗. โครงการพัฒนาประสิทธภิ าพศูนยต์ ้นแบบการเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทนและ อนุรักษ์พลังงาน | ๓๘,๖๒๖,๑๐๐.๐๐ | EE๘ | | |
|
๘. โครงการติดตั้งชุดโคมไฟถนนแอลอีดีพลังงานแสงอาทิตย์ในหน่วยงานของ กองทัพอากาศ | ๑๘,๘๑๖,๓๐๐.๐๐ | EE๖ | | |
|
๙. โครงการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน | ๒๗,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
๑๐. โครงการจัดทําศูนย์แสดงนิทรรศการด้านพลังงานของประเทศ | ๑๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
๑๑. โครงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน แก่หน่วยงานด้านความมั่นคงของประเทศ | ๒๙,๙๙๙,๗๐๐.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
๑๒. โครงการพัฒนาบุคลากรด้านพลังงานทดแทนในโรงงานอุตสาหกรรมและอาคาร ธุรกิจ | ๔,๐๕๓,๑๐๐.๐๐ | EE๙ | | |
|
แผนงานร่วมด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (งบประมาณป ี๒๕๕๙) | ๓๖๘,๑๓๓,๐๕๕.๐๐ | | | |
๑. โครงการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลภูมิสารสนเทศ (Geo Informatics) เพื่อการ พัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน | ๑๒,๘๐๒,๑๘๕.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
๒. โครงการส่งเสริมการดําเนินธุรกิจพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานในอาเซียน (ระยะที่ ๑) | ๑๔,๕๒๒,๓๐๐.๐๐ | EE๘ | | |
|
๑๓
การด าเนินงาน | งบประมาณ (บาท) | ความสอดคล้อง ตามแผน EEP๒๐๑๕ | ปีที่ดา เนินการ ๒๕๕๘ - ๒๕๕๙ |
๕๘ | ๕๙ |
๓. โครงการติดตามประเมินผลสัมฤทธมิ์ าตรการสนับสนุนเทคโนโลยีด้านพลังงาน ทดแทน ภายใต้ภารกิจของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ตาม แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกและแผนอนุรักษ์พลังงาน | ๑๔,๗๗๖,๒๕๐.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
๔. โครงการติดตั้งโคมไฟส่องสว่างด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมหลอดประหยัด พลังงานชนิด LED เพื่อความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ | ๒๗๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ | EE๖ | | |
|
๕. โครงการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน | ๒๗,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
๖. โครงการจัดทําสื่อสิ่งพิมพ์ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษพ์ ลังงานเพื่อการ ประชาสัมพันธ์ | ๑๕,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
๗. โครงการถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านพลังงานตามมิติศาสนาอิสลามใน พื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ | ๑๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ | EE๑๐ | | |
|
๘. โครงการพัฒนาบุคลากรด้านพลังงานทดแทนในโรงงานอุตสาหกรรมและอาคาร ธุรกิจ | ๔,๐๓๒,๓๒๐.๐๐ | EE๙ | | |
|
๓. การจัดท าแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ของกรมพัฒนาพลังงาน ทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
๓.๑ ความส าคัญ แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย และแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งตาม
นโยบายรัฐบาล รวมทั้งการเตรียมการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ส่งผลต่อการใช้พลังงานของประเทศไทยโดยรวม ดังนั้น กระทรวงพลังงานจึงบูรณาการแผนพลังงาน ๕ แผนหลัก ได้แก่ แผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP๒๐๑๕) แผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙ (EEP๒๐๑๕) แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙ (AEDP๒๐๑๕) แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙ (Gas Plan๒๐๑๕) และแผนบริหาร จัดการน้ํามันเชื้อเพลิง (Oil Plan๒๐๑๕) โดยพยากรณ์ความต้องการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายในอนาคต ซึ่งเป็น การใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ เช่น น้ํามันสําเร็จรูป ไฟฟ้า เป็นต้น และพลังงานทดแทน เช่น ชีวมวล พลังน้ํา เป็นต้น โดยคาดว่าในปี พ.ศ. ๒๕๗๙ อยู่ที่ระดับ ๑๘๗,๑๔๒ ktoe และกําหนดเป้าหมายภายใต้กรอบ แผนอนุรักษ์พลังงานในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๗๙ ที่จะลดความเข้มการใช้พลังงานลงร้อยละ ๓๐ ใน ปี พ.ศ. ๒๕๗๙ เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. ๒๕๕๓ หรือ ต้องลดการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ให้ได้ทั้งสิ้น ๕๖,๑๔๒ ktoe ของปริมาณการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมดของประเทศในปี พ.ศ. ๒๕๗๙ โดยประเมินจากอัตรา การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) เฉลี่ยร้อยละ ๓.๙๔ ต่อปี อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร เฉลี่ยร้อยละ ๐.๐๓ ต่อปี ประกอบข้อมูลสถิติย้อนหลังปี พ.ศ. ๒๕๓๗ – ๒๕๕๖ โดยใช้ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นฐาน ซึ่งกําหนดเป้าหมายสําคัญคือ
๑) ลดความเข้มการใช้พลังงาน (Energy Intensity : EI) ลงร้อยละ ๓๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๗๙ (ค.ศ. ๒๐๓๖) เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. ๒๕๕๓ (ค.ศ. ๒๐๑๐)
๒) ตระหนักถึงเจตจํานงของ APEC มีเป้าหมายร่วมในการลด EI ลงร้อยละ ๔๕ ในปี พ.ศ. ๒๕๗๘ เมื่อ เทียบกับปี พ.ศ. ๒๕๔๘ (ค.ศ. ๒๐๐๕) โดยมุ่งเน้นสัดส่วนที่ประเทศไทยจะสามารถมีส่วนร่วมได้ เป็นหลัก
๑๔
๓) ตระหนักถึงเจตจํานงของ UNFCCC ในการประชุม COP ๒๐ ที่ประเทศไทยได้เสนอเป้าหมาย NAMAs ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคขนส่ง และภาคพลังงานให้ได้ ร้อยละ ๗ - ๒๐ จากปริมาณที่ปล่อยในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ในภาวะปกติ (สําหรับกรณีที่ไม่ได้รับความ ช่วยเหลือจากชาติอื่น)
ยุทธศาสตร์และแนวทางส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานของประเทศ จําแนกเป็นระยะสั้น ๑ - ๒ ปี ระยะ
กลาง ๕ ปี และระยะยาว ๒๐ ปี จากเป้าหมายใน ๔ ภาคเศรษฐกิจที่มีการใช้พลังงานมาก ได้แก่ อุตสาหกรรม อาคารธุรกิจ/อาคารรัฐ ที่อยู่อาศัย และภาคขนส่ง โดยมีเป้าหมายการประหยัดพลังงานในปี พ.ศ. ๒๕๗๙ จํานวน ๕๑,๗๐๐ พันตันเทียบเท่าน้ํามันดิบ (ktoe) ดงัตารางที่ ๒ ในการจัดทําแผนปฏิบัติการพลังงานนั้น จะต้องมีการกําหนดกรอบนโยบายและทิศทางพลังงานงาน
ของประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทํายุทธศาสตร์และแผนพลังงานในภาพรวมเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย ที่ตั้งไว้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าประเทศจะต้องมีความมั่นคงด้านพลังงาน ประชาชนมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่ เหมาะสม และการผลิตพลังงานจะต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ พลังงานในฐานะหน่วยงานที่นํานโยบายไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในภาคอุตสาหกรรม ภาค ธุรกิจ และภาคบ้านอยู่อาศัย และบางส่วนของภาคขนส่ง จึงต้องกําหนดกลยุทธ์การอนุรักษ์พลังงานในระยะ ยาว ๒๑ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙) พร้อมกําหนดแผนปฏิบัติการการอนุรักษ์พลังงานในระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ซึ่งเป็นแผนปฎิบัติการระยะสั้น ที่สอดคล้องกับเป้าหมายโดยรวม เพื่อการนําไปสู่การปฏิบัติ ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดได้ตามเป้าหมายที่กําหนด
๓.๒ ความเชื่อมโยงระหว่างกลยุทธ์ภายใต้แผนปฎิบัติการอนุรักษ์พลังงานระยะสั้น ๕ ปี
(พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)
ในฐานะที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อน
นโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานไปสู่การปฏิบัติ ภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙ (EEP๒๐๑๕) เมื่อทําการวิเคราะห์กลไกมาตรการอนุรักษ์พลังงานทั้ง ๑๐ มาตรการ แล้ว การดําเนินการให้ สอดคล้องกับเป้าหมายในการลดความเข้มการใช้พลังงานของประเทศลงเป็นร้อยละ ๓๐ (๕๑,๗๐๐ ktoe) ในปี พ.ศ. ๒๕๗๙ เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. ๒๕๕๓ จึงเป็นประเด็นสําคัญ ดังนั้น การจัดทํากลยุทธ์ของแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ของ พพ.
ได้ถูกจัดทําขึ้น โดยได้นํากลยุทธ์ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงาน ๒๑ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙) ทั้ง ๓ กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ภาคบังคับ (Compulsory Program) กลยุทธ์ภาคความร่วมมือ(Voluntary Program) และกลยุทธ์สนับสนุน (Complementary Program) มาเป็นพื้นฐานในการจัดทํากลยุทธ์ เพื่อวิเคราะห์และ จัดทํากลยุทธ์เชิงลึกเพิ่มเติมในการดําเนินการอนุรักษ์พลังงาน ของ พพ.ที่สามารถแสดงให้เห็นภาพของการ เชื่อมโยงของกลยุทธ์เหล่านี้ อันจะนําไปสู่การบรรลุแผนงานและโครงการที่ต้องดําเนินการได้อย่างสมบูรณ์ โดย มีการกําหนดเป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายของแผน และเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ ดังนี้
วิสัยทัศน์
๑๕
เพิ่มประสิทธิภาพพลังงานเพื่อขับเคลื่อนการผลิตและบริโภคของประเทศไปสู่สังคมคาร์บอนต่ําที่
เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พันธกิจ
เพื่อให้สอดคล้องและสนองรับต่อนโยบายและบทบาทหน้าที่ของกระทรวงพลังงาน จึงได้นํานโยบาย ของกระทรวงพลังงานที่กําหนดไว้เป็นพันธกิจดังนี้
เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานในประเทศที่เป็นรูปธรรม
เป้าหมายของแผน
เป้าประสงค์ที่กําหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙ (EEP๒๐๑๕) ที่วางอยู่บนพันธกิจตามนโยบายของรัฐบาลดังนี้
ลดการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายลง ๕๑ ,๗๐๐ ktoe ในปี พ.ศ. ๒๕๗๙
(ลด EI ลง ๓๐% ในปี ๒๕๗๙ เทียบกับปี พ.ศ. ๒๕๕๓)
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์
แผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน ๕ ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ มีความสอดคล้องกับแผนการอนุรักษ์ พลังงานของประเทศ (แผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๗๙) ซึ่งมีการดําเนินการทั้ง ๓ กลยุทธ์ ดังนี้
๑. กลยุทธ์ภาคบังคับ ซึ่งมีเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงาน ๑๐,๙๗๑ ktoe
๒. กลยุทธ์ภาคความร่วมมือ ซึ่งมีเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงาน ๔๐,๗๒๘ ktoe และ
๓. กลยุทธ์สนับสนุน
จากวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายของแผน และเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ สามารถแสดงมาตรการและ เป้าหมาย รวมทั้งปัจจัยความสําเร็จ (กลไก) เพื่อนําไปสู่แผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงานของกรมพัฒนาพลังงาน ทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ดังแสดงในรูปที่ ๒
๑๖
แผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔)
วิสัยทัศน์ : เพิ่มประสิทธิภาพพลังงานเพื่อขับเคลื่อนการผลิตและบริโภคของประเทศไปสู่สังคมคาร์บอนต่ําที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
รูปที่ ๒ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายของแผน และเป้าหมายเชิงกลยุทธ์
๐หน้า ๑๗
๓.๓ การวิเคราะห์เพื่อท าความเข้าใจมาตรการในแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙
(EEP๒o๑๕)
ในการจัดทําแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) จําเป็นต้องทําความเข้าใจ
และวิเคราะห์มาตรการการอนุรักษ์พลังงานที่กําหนดขึ้นทั้ง ๑๐ มาตรการ ตามแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙ (EEP๒๐๑๕) ที่ได้กําหนดรายละเอียดไว้ในหัวข้อ ๑.๓ แล้วนั้น โดยมีลักษณะของ เป้าหมายและแนวทางการดําเนินมาตรการดังนี้
๓.๓.๑ มาตรการบังคับใช้มาตรฐานการอนุรักษ์พลังงานในโรงงาน/อาคารควบคุม มาตรการบังคับใช้มาตรฐานการอนุรักษ์พลังงานในโรงงาน/อาคารควบคุมนั้นมีแนวทางการ
ดําเนินงาน ๕ อย่าง ได้แก่
๑) กํากับดูแลให้โรงงานควบคุมและอาคารควบคุม มีแนวทางดําเนินการดังนี้
๑.๑) กํากับดูแลให้มีระบบจัดการพลังงานเป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนด เพื่อให้โรงงานและ อาคารสามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้วยตัวเอง
๑.๒) ตรวจสอบข้อมูลการใช้พลังงาน ระดับประสิทธิภาพ ศักยภาพการอนุรักษ์
๑.๓) รายงานระดับประสิทธิภาพ และข้อเสนอแนะไปยังโรงงานและอาคารควบคุม
๒) พัฒนาระบบให้มีผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานมีแนวทางดําเนินการดังนี้
๒.๑) พัฒนาระบบให้มีทีมผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน โดยการฝึกอบรม ทดสอบและขึ้นทะเบียน
๒.๒) ผู้ตรวจสอบฯดําเนินการตรวจสอบการจัดการพลังงานของโรงงานและอาคารควบคุม ให้เป็นไปตามกฎหมายกําหนด
๒.๓) ผู้ตรวจสอบฯ ๑ ทีมมี ๓ คน ประกอบด้วย ระดับผู้เชี่ยวชาญ ๑ คนระดับผู้ช่วย ผู้เชี่ยวชาญ ๒ คน สามารถดูแลได้ ๓๐ แห่ง
๒.๔) พัฒนาหน่วยฝึกอบรมเอกชนทําโดยการจัดขึ้นทะเบียนเอกชนเป็นหน่วยอบรมให้ สามารถบริหารจัดการให้มีการอบรมเอง และ พพ. จัดทดสอบและขึ้นทะเบียน
๓) ขึ้นทะเบียน และอบรมพัฒนาผู้รับผิดชอบด้านพลังงานมีแนวทางดําเนินการดังนี้
๓.๑) ส่งเสริมสนับสนุนให้มีผู้รับผิดชอบด้านพลังงานตามกฎหมายเพื่อดําเนินการอนุรักษ์ พลังงานในโรงงานและอาคารควบคุม
๓.๒) ดําเนินการโดยอบรมพัฒนาและขึ้นทะเบียนผู้รับผิดชอบด้านพลังงานให้เพียงพอกับ จํานวนโรงงานและอาคารควบคุม
๓.๓) การอบรมแบ่งเป็น ๓ กลุ่มเป้าหมาย คือ ๑) ผู้รับผิดชอบฯที่จะขึ้นทะเบียนใหม่และ
๒) ทบทวนเพิ่มเติมผู้รับผิดชอบฯที่ขึ้นทะเบียนแล้ว ทุก ๕ ปี และ ๓) ผู้บริหารโรงงาน และอาคาร
๓.๔) พัฒนาหน่วยฝึกอบรมเอกชน โดยจัดขึ้นทะเบียนเอกชนเป็นหน่วยอบรม ให้สามารถ บริหารจัดการให้มีการอบรมเอง และ พพ. จัดทดสอบและขึ้นทะเบียน
๑๘
๔) ทบทวนปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการกํากับดูแล และแก้ไขกฎระเบียบและกฎหมายมี
แนวทางดําเนินการโดยการทบทวนกลไก กฎระเบียบ กฎหมาย การบังคับใช้ เพื่อปรับปรุงให้ทันต่อ สถานการณ์แก้ไขปัญหาอุปสรรค และพัฒนายกระดับการอนุรักษ์พลังงานทุก ๕ ปี ในประเด็นต่าง เช่น นําระบบ “ค่าธรรมเนียมพิเศษ” มาประยุกต์ใช้กับโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมที่ไม่สามารถลดการใช้ พลังงานตามเป้าหมายได้ เป็นต้น
๕) การพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล และดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพพลังงาน ในการกํากับ
ดูแลมีแนวทางดําเนินการดังนี้
๕.๑) ศึกษาการพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล ขั้นตอนการรายงานการทวนสอบ
ยืนยันข้อมูล และการวิเคราะห์ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพพลังงานในการกํากับดูแลและ ติดตาม ให้ทันต่อสถานการณ์ และเป็นมาตรฐานสากลทุก ๕ ปี
๕.๒) เผยแพร่ข้อมูลและให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
๓.๓.๒ มาตรการบังคับมาตรฐานอาคารก่อสร้างใหม่เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน มาตรการบังคับมาตรฐานอาคารก่อสร้างใหม่เพื่อการอนุรักษ์พลังงานประกอบด้วยการ
ดําเนินงาน ๓ อย่าง ได้แก่
๑) บังคับใช้กฎหมายให้อาคารก่อสร้างใหม่ตามกระทรวงพลังงานกําหนด (อาคารสร้างใหม่ หรือต่อเติม เกิน ๒,๐๐๐ ตรม.)
๑.๑) กํากับดูแลบังคับใช้กฎหมายให้อาคารก่อสร้างใหม่มีการออกแบบตามเกณฑ์ มาตรฐานด้านพลังงานที่กระทรวงพลังงานกําหนด
๑.๒) ดําเนินการตรวจสอบแบบ รับรอง ติดตามผล และประชาสัมพันธ์ผ่านศูนย์ ประสานงานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
๑.๓) พัฒนาให้มีผู้ตรวจแบบเอกชน โดยจัดทํามาตรฐาน อบรม และขึ้นทะเบียนเพื่อใน อนาคตไม่ต้องพึ่งพาศูนย์ประสานงานฯ
๑.๔) พัฒนายกระดับเกณฑ์มาตรฐานด้านพลังงานในการออกแบบอาคารก่อสร้างใหม่
ให้ดีขึ้นทุก ๖ ปี
๒) ส่งเสริมอาคารก่อสร้างใหม่ดําเนินการตามกระทรวงพลังงานกําหนด
๒.๑) ส่งเสริมการติดฉลากแสดงประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคาร
๒.๒) สนับสนุนสร้างอาคารอนุรักษ์พลังงาน ด้วยเงินทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ํา
๒.๓) สนับสนุนให้อาคารใหม่ได้รับการประเมินมาตรฐานอาคารเขียวในระดับสากล เช่น LEED หรือ TREES
๓) ส่งเสริมการก่อสร้างอาคาร NET ZERO ENERGY BUILDING
๓.๑) ศึกษาความเหมาะสมด้านเทคนิค ความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสภาพ ภูมิอากาศต่อกลุ่มเป้าหมายอาคารประเภทต่าง ๆ
๓.๒) จัดทําแผนการพัฒนาส่งเสริมสนับสนุนการก่อสร้างอาคาร ZEB
๑๙
๓.๓) สนับสนุนการก่อสร้างอาคาร ZEB
๓.๓.๓ มาตรการก าหนดมาตรฐานและติดฉลากอุปกรณ์เครื่องจักรและวัสดุเพื่อการอนุรักษ์ พลังงาน (Labeling) มาตรการกําหนดมาตรฐานและติดฉลากอุปกรณ์เครื่องจักรและวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
(Labeling) ประกอบด้วยมาตรการย่อยจํานวน ๒ มาตรการ ได้แก่
๑) พัฒนาส่งเสริมเครื่องจักร อุปกรณ์ และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงานโดยการติดฉลาก
ต่อเนื่อง
๑.๑) ส่งเสริมเครื่องจักร อุปกรณ์และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงานโดยการติดฉลาก ต่อเนื่อง (เครื่องยนต์ขนาดเล็กเตาหุงต้ม เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ฯลฯ)
๑.๒) ยกระดับเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพของฉลากขั้นสูงเบอร์ ๕ โดยเน้นอุปกรณ์ หลักทางด้านไฟฟ้า และความร้อน ที่มีการใช้พลังงานในสัดส่วนที่สูงและมี ศักยภาพทางเทคโนโลยี
๒) เพิ่มรายการเครื่องจักร อุปกรณ์ และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงานโดยการติดฉลาก
๒.๑) เพิ่มรายการผลิตภัณฑ์ติดฉลากขั้นสูงเบอร์ ๕ โดยเน้นอุปกรณ์หลักทางด้านไฟฟ้า และความร้อนที่มีการใช้พลังงานในสัดส่วนที่สูงและมีศักยภาพทางเทคโนโลยี เช่น ยางรถยนต์ เป็นต้น
๒.๒) ศึกษาทบทวนการเพิ่มรายการผลิตภัณฑ์ติดฉลากขั้นสูงเบอร์ ๕ ที่เหมาะสมอย่าง
ต่อเนื่อง
๓.๓.๔ มาตรการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานอนุรักษ์พลังงานส าหรับผู้ผลิตและจ าหน่ายพลังงาน
(EERS) มาตรการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานอนุรักษ์พลังงานสําหรับผู้ผลิตและจําหน่ายพลังงาน (EERS)
ประกอบด้วยมาตรการย่อยจํานวน ๓ มาตรการ ได้แก่
๑) พัฒนาเกณฑ์มาตรฐานการประหยัดพลังงานให้ผู้ผลิตและจําหน่ายพลังงานไฟฟ้าต้อง ดําเนินการอนุรักษ์พลังงานให้กับลูกค้าของตนเอง
๒) พัฒนากฎหมายรองรับการดําเนินการตามเกณฑ์มาตรฐานการประหยัดพลังงานฯ
๓) ให้ผู้ผลิตและจําหน่ายพลังงานไฟฟ้าต้องดําเนินการอนุรักษ์พลังงานให้กับลูกค้าของตนเอง ทั้งนี้ในช่วงระยะแรกจะเป็นการวิจัย พัฒนารูปแบบและกลไกการใช้ EERS ที่เหมาะสมกับ
ประเทศไทยและนําร่องดําเนินการ EERS รวมถึงพัฒนาระบบฐานข้อมูล และระบบสารสนเทศ พร้อมทั้งพัฒนา กฎหมายและกฎระเบียบรองรับการดําเนินการ EERS โดยในแผนอนุรักษ์พลังงานมีแผนในการบังคับใช้และ ดําเนินการติดตามและวัดผลการดําเนินการ EERS ในปี ๒๕๖๕
๒๐
๓.๓.๕ มาตรการช่วยเหลือ/อุดหนุนการด าเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน มาตรการช่วยเหลือ/อุดหนุนการดําเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานประกอบด้วย
มาตรการย่อยจํานวน ๓ มาตรการ ได้แก่
๑) อุดหนุนผลการประหยัดพลังงานสําหรับเครื่องจักรและอุปกรณ์
๑.๑) ส่งเสริมการดําเนินการอนุรักษ์พลังงานด้วยการอุดหนุนการลงทุนปรับปรุง เครื่องจักรอุปกรณ์ให้ประหยัดพลังงาน
๑.๒) พัฒนาการอุดหนุนผลประหยัดให้เป็นรูปแบบที่อิงตามปริมาณผลประหยัดที่ เกิดขึ้นจริง (Performance Base) มากขึ้น จากเดิมที่อุดหนุนตามปริมาณการ ลงทุน (Cost base)
๑.๓) ขยายกลุ่มเป้าหมายไปสู่ภาคที่อยู่อาศัย และภาคขนส่ง และเพิ่มการสนับสนุน กลุ่มเป้าหมายที่เจาะจง (การนําความร้อนทิ้งกลับมาใช้) และเน้นการเพิ่มระดับ การใช้พลังงานต่อหน่วยผลิต
๑.๔) ดาํ เนินการในรูปแบบโปรแกรมที่ต่อเนื่องเป็นช่วงละ ๓ ปี
๑.๕) ดําเนินการอุดหนุนผลประหยัดในเครื่องจักรและอุปกรณ์มาตรฐาน (SOP) และ อุดหนุนผลประหยัดโดยวิธีประกวดราคา (DSM Bidding) กับเทคโนโลยีหรือ อุปกรณ์ที่ไม่เป็นมาตรฐาน
๑.๖) ดําเนินการควบคู่ระหว่าง DSM Bidding และ SOP เพื่อให้สามารถปรับรายการ อุปกรณ์ที่จะสนับสนุนทําให้ค่าใช้จ่ายในการดําเนินการลดลงได้
๒) เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
๒.๑) ดําเนินการสนับสนุนเงินหมุนเวียนใน ๒ รูปแบบ อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ เงิน หมุนเวียนดอกเบี้ยต่ํา (Soft loan) เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและเงินทุนหมุนเวียน เพื่อการอนุรักษ์พลังงานโดยบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO Revolving Fund)
๒.๒) ขยายกลุ่มเป้าหมายไปสู่ภาคขนส่ง จากเดิมที่มีเพียงภาคอุตสาหกรรมและภาค อาคารธุรกิจ
๓) การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี (Tax Incentive) เพื่อการอนุรักษ์พลังงานโดยดําเนินการ สนับสนุนการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี (Tax Incentive) เพื่อการอนุรักษ์พลังงานอย่าง ต่อเนื่องจากที่เคยดําเนินการมาแล้ว ๒ ระยะ
๓.๓.๖ มาตรการส่งเสริมการใช้แสงสว่างเพื่ออนุรักษ์พลังงาน
มาตรการส่งเสริมการใช้แสงสว่างเพื่ออนุรักษ์พลังงานประกอบด้วยมาตรการย่อยจํานวน ๔ มาตรการ ได้แก่
๑) นําร่องเปลี่ยนหลอดไฟ LED ในอาคารภาครัฐ โดยการเปลี่ยนหลอดไฟเดิมเป็นหลอดไฟ ประหยัดพลังงาน LED
๒๑
๒) สนับสนุนการใช้งานหลอดแอลอีดีด้วยกลไกราคา โดยดําเนินการสนับสนุนการใช้งาน หลอดแอลอีดีด้วยกลยุทธ์ที่จะผลักดันราคาของหลอดไฟ LED ให้มีราคาต่ําลงเพื่อให้ ประชาชน และผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงหลอดไฟ LED ได้ง่ายขึ้น
๓) ใช้โคมไฟถนนหลอด LED โดย กฟภ. เปลี่ยนโคมไฟถนนหลวงจากหลอดแบบ HID เป็น โคม LED
๔) ใช้โคมไฟสาธารณะ LED โดย กฟภ. เปลี่ยนหลอดไฟสาธารณะ FL และ T๘ เป็นหลอด LED
๓.๓.๗ มาตรการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่ง
มาตรการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่งประกอบด้วยมาตรการย่อยจํานวน ๑๑ มาตรการ ได้แก่
๑) การกําหนดราคาพลังงานที่เหมาะสม (ดีเซล) โดยลอยตัวราคาน้ํามันดีเซลให้สะท้อน
ต้นทุนที่แท้จริง
๒) สนับสนุนการใช้ยานยนต์ประหยัดพลังงานภาษีและฉลากแสดงประสิทธิภาพ
๒.๑) สนับสนุนให้ประชาชนเลือกซื้อรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงานโดย การจัดเก็บภาษีตามปริมาณการปล่อย CO๒ ซึ่งสะท้อนถึงการสิ้นเปลืองน้ํามัน โดยตรงและติดฉลากแสดงอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงของรถยนต์ทุกรุ่นเพื่อให้ ประชาชนทราบและใช้เป็นข้อมูลในการเลือกซื้อรถยนต์ที่ประหยัดเชื้อเพลิงได้
๒.๒) ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจฉลากและจูงใจหรือให้เกิดความนิยมในการ
เลือกซื้อรถยนต์ที่ประหยัดเชื้อเพลิง
๓) การติดฉลากแสดงประสิทธิภาพพลังงานในยางรถยนต์โดยการส่งเสริมให้ประชาชน เลือกใช้ยางประหยัดเชื้อเพลิงโดยการติดฉลากแสดงประสิทธิภาพหรือระดับอัตราการ สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่ยางรถยนต์ที่จําหน่ายในตลาดเพื่อให้ประชาชนทราบและใช้เป็น ข้อมูลในการเลือกซื้อยางที่ประหยัดเชื้อเพลิงได้ (กิจกรรมแสดงในข้อ (๒)
๔) การบริหารจัดการขนส่งเพื่อการประหยัดพลังงาน
๔.๑) พัฒนาการจัดการใช้พลังงานของผู้ประกอบการขนส่งโดยสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญให้ ความรู้ และแนะนํามาตรการ ในการจัดการ เทคโนโลยี การขนส่ง และการขับขี่
๔.๒) พัฒนาโปรแกรมรองรับการจัดการพลังงานในการขนส่งระยะยาวทั้งระบบ ด้าน ความรู้ แนะนํามาตรการวิเคราะห์ข้อมูล และการจัดการรถเที่ยวเปล่า
๕) การขับขี่เพื่อการประหยัดพลังงาน (ECO Driving) โดยการส่งเสริม ผลักดัน ให้พนักงาน ขับขี่รถบรรทุกมีความรู้และทักษะในการขับขี่รถบรรทุก และรถโดยสารให้ประหยัด
พลังงาน โดยการอบรมเชิงปฎิบัติการเพื่อให้เข้าใจและมีทักษะ
๖) เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (ภาคขนส่ง) แสดงในข้อ ๔.๒ ๗) อุดหนุนผลการประหยัดพลังงานสําหรับภาคขนส่งแสดงในข้อ ๔.๑
๒๒
๘) การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเป็นการบูรณา การแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงคมนาคม
๙) การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง รถไฟรางคู่เป็นการบูรณการ แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงคมนาคม
๑๐) เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งน้ํามันของประเทศ โดยพัฒนาระบบขนส่งน้ํามันทางท่อเป็น การบูรณาการแผนขยายระบบขนส่งน้ํามันทางท่อ จากภาคกลางไปสู่ภาคเหนือ และ ภาคอีสาน เพื่อลดการขนส่งน้ํามันทางถนน
๑๑) การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) รถไฟฟ้าส่วนบุคคลที่คาดว่าจะมีการนํามาใช้ในอนาคต
โดยในการดําเนินการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) นั้น ในการประชุม คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อ วันที่ ๑๑ มี.ค.๕๙ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์ โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ได้มีการพิจารณาแผนการขับเคลื่อนภารกิจด้าน พลังงานเพื่อส่งเสริมการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทย เพื่อรองรับการพัฒนาและเตรียม ความพร้อมในการส่งเสริมให้เกิดการใช้งานยาน ยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทยอย่างแพร่หลาย กระทรวงพลังงานจึงได้ดําเนินการ ดังนี้
๑) จัดท าแผนการขับเคลื่อนภารกิจด้านพลังงานเพื่อส่งเสริมการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทย โดยให้สอดคล้องกับแนวทางที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรี และบูรณาการการ ดําเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แบ่งออกเป็น ๓ ระยะ ได้แก่ ระยะที่ ๑ : เตรียมความพร้อมการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า มุ่งเน้นการนําร่องการใช้งาน กลุ่มรถโดยสารสาธารณะไฟฟ้า รวมถึงการเตรียมความพร้อมด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ด้าน สาธารณูปโภค การสนับสนุนด้านภาษี และการปรับปรุงกฎหมายหรือกฎระเบียบต่าง ๆ รวมถึงอัตรา ค่าบริการสําหรับยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ ๒ : ขยายผลในกลุ่มรถโดยสารสาธารณะ และเตรียมความพร้อมส าหรับ รถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคล โดย สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับ การกําหนดรูปแบบและ มาตรฐานสถานีอัดประจุไฟฟ้า การกําหนดมาตรการจูงใจให้ภาคเอกชนลงทุน การทบทวนโครงสร้าง อัตราค่าไฟฟ้าและค่าบริการสําหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้า ระยะที่ ๓ : ขยายผลไปสู่การส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคล โดย สนับสนุนการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานของระบบไฟฟ้า พัฒนาระบบบริหารจัดการการอัดประจุไฟฟ้าอัจฉริยะ (EV Smart Charging) และพัฒนาระบบบริหารความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศร่วมกับการใช้งานยานยนต์ ไฟฟ้า (Vehicle to Grid: V๒G)
๒) เตรียมการเพื่อรองรับการด าเนินการตามแผนการขับเคลื่อนฯ ในระยะที่ ๑ ประกอบด้วย
- จัดทําโครงการนําร่องการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้ากลุ่มรถโดยสารสาธารณะ และการ เตรียมความพร้อมด้านสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้อง
๒๓
- จัดทํากรอบแนวทางอัตราค่าบริการชั่วคราวสําหรับยานยนต์ไฟฟ้าในระยะแรก โดย กําหนดให้มีต้นทุนการสิ้นเปลืองพลังงานต่อกิโลเมตรต่ํากว่ายานยนต์ที่ใช้ เชื้อเพลิง NGV
- ดําเนินการจัดทํามาตรการและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสถานี อัดประจุไฟฟ้า
- ศึกษาและจัดทําแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าเพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้า
ทั้งนี้ ที่ประชุม กพช. ได้มีมติเห็นชอบให้ดําเนินการตามแผนการขับเคลื่อนฯ ในระยะที่ ๑ และเห็นชอบกรอบแนวทางการกําหนดอัตราค่าบริการชั่วคราวสําหรับยานยนต์ไฟฟ้าใน ระยะแรก โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดําเนินการต่อไป
๓.๓.๘ มาตรการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอนุรักษ์พลังงาน
มาตรการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอนุรักษ์พลังงานประกอบด้วยมาตรการย่อย จํานวน ๓ มาตรการ ได้แก่
๑) พัฒนางานวิจัยอย่างเป็นระบบเพื่อการพึ่งพาตนเอง และเหมาะสมกับประเทศเริ่มจาก ประเด็นวิจัยไปจนถึงผลักดันไปสู่เชิงพาณิชย์และมีการนําไปใช้อย่างแพร่หลาย
๒) กรอบการวิจัย การศึกษา วิจัย พัฒนาเทคโนโลยีอนุรักษ์พลังงานการป้องกันและแก้ไข ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการอนุรักษ์พลังงานและการกําหนดนโยบายและวางแผนพลังงาน
เพื่อรองรับการดําเนินการตาม ๗ มาตรการหลักโดยเน้น ๒.๑) พัฒนาประสิทธิภาพเครื่องจักรอุปกรณ์ และวัสดุ
๒.๒) พัฒนากระบวนการผลิต การทํางานและการจัดการ
๒.๓) พัฒนานโยบายและวางแผนพลังงาน
๒.๔) พัฒนาระบบติดตามผลการดําเนินการและระบบฐานข้อมูล
๓) มุ่งเน้นงานวิจัยที่มีศักยภาพการพัฒนาไปสู่เชิงพาณิชย์และมีผลกระทบต่อการใช้พลังงาน สูงก่อน
๓.๓.๙ มาตรการพัฒนาบุคลากรด้านอนุรักษ์พลังงาน มาตรการพัฒนาบุคลากรด้านอนุรักษ์พลังงานประกอบด้วยมาตรการย่อยจํานวน ๒ มาตรการ
ได้แก่
๑) สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มด้านความรู้และทักษะด้านการอนุรักษ์พลังงาน ครอบคลุมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และครบทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
๒) กรอบการพัฒนาบุคลากรด้านอนุรักษ์พลังงานเพื่อรองรับการดําเนินการตาม ๗ มาตรการ หลักประกอบด้วย
๒.๑) ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการดําเนินการตามกฎหมาย
๒.๒) เพิ่มความรู้และทักษะการเลือกซื้อและการใช้งานอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงที่ถูกต้อง ให้กับประชาชน
๒๔
๒.๓) ฝึกอบรม เพิ่มความรู้และทักษะการเลือกซื้อ และการขับขี่ยานยนต์อย่างมี ประสิทธิภาพ
๒.๔) พัฒนาบุคลาการทางการศึกษา ทั้งระบบนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ นักวิจัย ทุก ระดับอย่างเหมาะสม
๒.๕) พัฒนาบุคลากรหน่วยงานภาครัฐที่กํากับดูแลด้านอนุรักษ์พลังงาน
๓.๓.๑๐ มาตรการประชาสัมพันธ์สร้างจิตส านึกการอนุรักษ์พลังงาน มาตรการประชาสัมพันธ์สร้างจิตสํานึกการอนุรักษ์พลังงานประกอบด้วยมาตรการย่อย
จํานวน ๓ มาตรการ ได้แก่
๑) สนับสนุนการรณรงค์สร้างจิตสํานึกใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าและเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ พลังงานครอบคลุมทุกภาคส่วน และครบทุกระดับอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
๒) กรอบการประชาสัมพันธ์ กิจกรรมรณรงค์สร้างจิตสํานึกในการอนุรักษ์พลังงานเพื่อ รองรับการดําเนินการตาม ๗ มาตรการหลักประกอบด้วย
๒.๑) การประชาสัมพันธ์รณรงค์สร้างจิตสํานึกในการอนุรักษ์พลังงาน บุคลากรในสถาน ประกอบการตั้งแต่ระดับบริหารถึงพนักงาน
๒.๒) ประชาสัมพันธ์ รณรงค์สร้างค่านิยมในการสร้างอาคารประหยัดพลังงาน
๒.๓) ประชาสัมพันธ์จัดกิจกรรม รณรงค์สร้างความรู้และค่านิยมให้ประชาชนเลือกใช้ อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงเบอร์ ๕ เช่นเ ครื่องปรับอากาศ ยางรถยนต์ และหลอด LED เป็นต้น
๓) ใช้กิจกรรมรณรงค์สร้างจิตสํานึกแบบผสมผสาน และต่อเนื่อง ได้แก่ การโฆษณากิจกรรม การประกวดกิจกรรมการมีส่วนร่วม
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการหลักใน ๘ มาตรการ คือ มาตรการที่ ๑ มาตรการบังคับใช้มาตรฐานการอนุรักษ์พลังงานในโรงงาน/อาคารควบคุม มาตรการที่ ๒ มาตรการบังคับมาตรฐานอาคารก่อสร้างใหม่เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน มาตรการที่ ๓ มาตรการกําหนด มาตรฐานและติดฉลากอุปกรณ์เครื่องจักรและวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (Labeling) มาตรการที่ ๕ มาตรการช่วยเหลือ/อุดหนุนการดําเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน และมาตรการที่ ๖ มาตรการส่งเสริม การใช้แสงสว่างเพื่ออนุรักษ์พลังงาน โดยมีมาตรการที่ ๘ มาตรการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอนุรักษ์ พลังงาน มาตรการที่ ๙ มาตรการพัฒนาบุคลากรด้านอนุรักษ์พลังงาน และมาตรการที่ ๑๐มาตรการ ประชาสัมพันธ์สร้างจิตสํานึกการอนุรักษ์พลังงาน เป็นมาตรการสนับสนุนให้ ๗ มาตรการเกิดผลสําเร็จ
๒๕
๓.๔ แนวทางการจัดท าแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ของกรมพัฒนา พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
เพื่อให้เห็นภาพของทิศทางการพัฒนาด้านการอนุรักษ์พลังงานของประเทศภายใต้แผนปฏิบัติการ อนุรักษ์ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) จะประกอบด้วยเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย กลยุทธ์ รวมทั้งมาตรการที่ใช้ ในการดําเนินการ ซึ่งการกําหนดทิศทางของการจัดทําแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) (ดังแสดงไว้ในรูปที่ ๓) นั้น นอกจากจะยึดยุทธศาสตร์ของกระทรวงพลังงาน แผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙ (Energy Efficiency Plan : EEP๒๐๑๕) ที่ประกอบด้วยกลยุทธ์หลัก ๓ กลยุทธ์ และ ๑๐ มาตรการแล้ว เพื่อให้การจัดทําแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) สามารถ บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานตามแผนอนุรักษ์พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การ จัดทํากลยุทธ์ของ พพ. จึงเป็นสิ่งสําคัญ ซึ่งได้ดําเนินการบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใน พพ. และหน่วยงานภายนอก โดยมีการทบทวนภารกิจของสํานักต่าง ๆ ด้านการอนุรักษ์พลังงานของกรม พัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ รวมทั้งการทําความเข้าใจในแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙
(EEP๒๐๑๕) ถึงแนวทางการดําเนินงานในรายมาตรการต่างๆ โดยขั้นตอนการดําเนินการดังนี้
๑) การศึกษาข้อมูลปฐมภูมิจากการประชุมกลุ่มย่อยทั้งหน่วยงานภายใน พพ. และภายนอก พพ. ได้แก่ การเก็บข้อมูลและระดมความคิดเห็นจากผู้บริหาร/ผู้แทนหน่วยงานย่อย โดยหน่วยงาน ภายใน พพ. มีจํานวน ๕ หน่วยงาน ได้แก่ สํานักกํากับและอนุรักษ์พลังงาน (สกอ.), สํานัก ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (สสอ.), สํานักพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน (สพบ.), สํานัก ถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยี (สถผ.), และกองแผนงาน (กผ.) ส่วนหน่วยงานภายนอก พพ. เป็นหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่มีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการด้านอนุรักษ์ พลังงานร่วมกันกับ พพ. เช่น ที่ปรึกษา พพ. กระทรวงอุตสาหกรรม กรมโยธาธิการและผังเมือง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมต่างๆ เป็นต้น โดยประเด็นในการประชุมกลุ่มย่อย ประกอบด้วย ประเด็นที่ ๑ วิสัยทัศน์และพันธกิจเกี่ยวกับพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานใน ความรับผิดชอบของสํานัก
ประเด็นที่ ๒ พันธกิจของหน่วยงาน (สํานัก)
ประเด็นที่ ๓ การดําเนินงานในมุมมองของสํานักที่รับผิดชอบด้านการอนุรักษ์พลังงาน และปัญหาและอุปสรรคจากการดําเนินงาน
ประเด็นที่ ๔ แนวทางการดําเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อขับเคลื่อนแผนอนุรักษ์ พลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙ ให้มีประสิทธิภาพ
ประเด็นที่ ๕ ข้อเสนอแนะต่างๆ
๒) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเป็นการวิเคราะห์สภาพองค์กร หรือหน่วยงานในปัจจุบันของ พพ. เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดจุดอ่อน โอกาส อุปสรรค (SWOT Analysis)
๒๖
๓) การนําข้อมูล SWOT Analysis ทั้งหมดมาวิเคราะห์ในรูปแบบความสัมพันธ์แบบเมตริกซ์ โดย ใช้ตารางที่เรียกว่า TOWS Matrix เพื่อกําหนดกลยุทธ์ในการดําเนินงานด้านการอนุรักษ์ พลังงานของ พพ.
จากขั้นตอนดังกล่าว ทําให้ได้กลยุทธ์ในการดําเนินงานด้านอนุรักษ์พลังงานของ พพ. สรุปได้ดังนี้
- กลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง
- กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดแก่ผู้ผลิต
- กลยุทธ์การสนับสนุนการผลิตอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงภายในประเทศ
- กลยุทธ์การสร้างความเข้าใจในการอนุรักษ์พลังงาน
- กลยุทธ์การบูรณาการระหว่างหน่วยงาน - กลยุทธ์การอนุรักษ์พลังงานอย่างเข้มข้น
- กลยุทธ์การกํากับดูแลและการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- กลยุทธ์การบังคับใช้กฎหมายอาคารใหม่
- กลยุทธ์การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
- กลยุทธ์ระบบเครือข่ายการอนุรักษ์พลังงานเชิงรุก
- กลยุทธ์การบูรณาการความร่วมมือภายในองค์กร โดยความสัมพันธ์ของกลยุทธ์หลักของ พพ. ได้แสดงไว้ในรูปที่ ๔ ดังนั้น เป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายกลยุทธ์ รวมทั้งมาตรการที่ใช้ในการดําเนินการของแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ -๒๕๖๔) มี ดังนี้
๑) เป้าหมาย กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานจะนํามาตรการต่าง ๆ มา ทําการศึกษาและวิเคราะห์เพื่อกําหนดแผนอนุรักษ์พลังงาน ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) บนพื้นฐานของแผน อนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙ (EEP๒๐๑๕) ที่ลดพลังงานขั้นสุดท้ายลดลงเท่ากับ ๑๔,๔๔๙.๔๑ พันตันเทียบเท่าน้ํามันดิบ
๒) กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มที่มีศักยภาพในการดําเนินการอนุรักษ์พลังงานสูง เกิดผลการอนุรักษ์พลังงาน
ที่มีนัยสําคัญ ได้แก่
- ภาคอุตสาหกรรม ทั้งที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมในข่ายและนอกข่ายควบคุม
- ภาคอาคารธุกิจ รวมถึงอาคารก่อสร้างใหม่/อาคารปรับปรุง
- ภาครัฐ
- ภาคที่อยู่อาศัย
๓) กลยุทธ์และมาตรการ กลยุทธ์และมาตรการที่ใช้ในการดําเนินการอนุรักษ์พลังงานภายใต้แผนปฏิบัติการอนุรักษ์
พลังงาน ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) แสดงได้ดังตารางที่ ๔
๒๗
แผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔)
วิสัยทัศน์ | เพิ่มประสิทธิภาพพลังงานเพื่อขับเคลื่อนการผลิตและบริโภคของประเทศไปสู่สังคมคาร์บอนต่ําที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
พันธกิจ เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานในประเทศที่เป็นรูปธรรม
เป้าหมายของแผน ลดการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายลง 51,700 ktoe ในปี 2579 (ลด EI ลง 30% ในปี 2579 เทียบกับปี 2553)
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์(ktoe) กลยุทธ์ภาคบังคับ (10,972 ktoe) กลยุทธ์ภาคความร่วมมือ (40,728 ktoe) กลยุทธ์สนับสนุน
มาตรการและ EEEE 2 มาตรการการจัดการโรงงานและอาคารควบคุม มาตรการใช้เกณฑ์มาตรฐานอาคาร (Building Energy (5,156) EEEE56 มาตรการสนับสนุนด้านการเงิน มาตรการส่งเสริมการใช้หลอดแอลอีดี(9,524()991) EE มาตรการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร และสร้างก าลังคนด้านพลังงาน เป้าหมาย EE มาตรการใช้เกณฑ์มาตรฐานและติดฉลากอุปกรณ์Code; BEC) (1,166) (4,150) EEEE78 มาตรการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่ง มาตรการส่งเสริมการศึกษา วิจัย พัฒนาเทคโนโลยีอนุรักษ์(30,213) EE10 มาตรการสนับสนุนการรณรงค์สร้างจิตส านึกใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า และเปลี่ยนพ ติกรรม
(ktoe) EE มาตรการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานการประหยัดพลังงานส าหรับผู้ผลิตและจ าหน่ายพลังงาน (500) พลังงาน การใช้พลังงาน
โรงงาน/อาคารควบคุม อาคารสร้างใหม่ โรงงาน อาคาร การเพิ่มประสิทธิภาพ การส่งเสริม LED
ปัจจัยความส าเร จ การบังคับใช้ พ.ร.บ การบังคับใช้ นอกข่ายควบคุม ของอุปกรณ์ การตลาด การสร้างจิตสํานึก
(กลไก) เพื่อน าไปสู่ (การกํากับดูแลตามกฏหมาย) การวิจัยเชิงBEC การเสริมสร้างสมรรถนะการ มาตรฐานอุปกรณ์การกําหนด ประสิทธิภาพสูงออกสู่ตลาดการผลักดันอุปกรณ์ การปรับเปลียนพฤติ การท าแผนปฏิบัติการ การบังคับใช้ เทคนิคและการ ใช้พลังงาน MEPs HEPs การนําร่องในอาคารภาครัฐ กรรมการใช้พลังงาน
(พพ.) ค่าธรรมเนียมพิเศษ ทดสอบ
EE5, EE8, EE9, EE10, การสร้างเครือข่าย/ IT /การติดตาม&ประเมินผล
แผนปฏิบัติการ แผนปฏิบัติการและโครงการ
รูปที่ ๓ การกําหนดทิศทางของการจัดทําแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงานระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)
๐หน้า ๒๘
แผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔)
รูปที่ ๔ ความสัมพันธ์ของกลยุทธ์หลักกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
๐หน้า ๒๙
ตารางที่ ๔ กลยุทธ์และมาตรการที่ใช้ในการดําเนินการอนุรักษ์พลังงานภายใต้แผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)
กลยุทธ์ | มาตรการ | | | ปี (ktoe สะสม) | |
๒๕๖๐ | ๒๕๖๑ | ๒๕๖๒ | ๒๕๖๓ | ๒๕๖๔ |
กลยุทธภ์ าค บังคับ | ๑. มาตรการบังคับใช้มาตรฐานการ อนุรักษ์พลังงานในโรงงาน/อาคาร ควบคุม | ๘๙๖.๓๑ | ๑,๒๑๙.๐๔ | ๑,๕๕๐.๑๒ | ๑,๘๘๙.๔๑ | ๒,๒๓๖.๖๕ |
๒. มาตรการบังคับมาตรฐานอาคาร ก่อสร้างใหม่เพื่อการอนุรักษ์ พลังงาน | - | - | ๒๐.๗๐ | ๔๒.๕๔ | ๖๕.๖๑ |
๓. มาตรการกาํหนดมาตรฐานและติด ฉลากอุปกรณ์เครื่องจักรและวัสดุ เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (Labeling) | ๓๘๘.๕๗ | ๕๑๔.๐๙ | ๖๖๕.๕๗ | ๙๓๖.๗๓ | ๑,๒๒๗.๐๐ |
๔. มาตรการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐาน อนุรักษ์พลังงานสําหรับผู้ผลิตและ จําหน่ายพลังงาน (EERS) | - | - | - | - | - |
กลยุทธภ์ าค ความร่วมมือ | ๕. มาตรการช่วยเหลือ/อุดหนุนการ ดําเนินงานเกี่ยวกบั การอนุรักษ์ พลังงาน | ๗๐๐.๕๕ | ๑,๐๔๙.๖๕ | ๑,๓๙๗.๗๔ | ๒,๐๒๔.๓๓ | ๒,๔๒๓.๖๐ |
๖. มาตรการส่งเสริมการใช้แสงสว่าง เพื่ออนุรักษ์พลังงาน | ๓๓.๐๖ | ๕๘.๕๔ | ๘๙.๘๙ | ๑๒๒.๙๔ | ๑๕๘.๖๙ |
๗. มาตรการอนุรักษ์พลังงานภาค ขนส่ง | ๓,๓๔๑.๕๕ | ๔,๑๓๘.๑๔ | ๕,๐๗๑.๙๔ | ๗,๓๙๑.๖๙ | ๘,๓๓๗.๘๖ |
๘. มาตรการวจิ ัยพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมอนุรักษ์พลังงาน | - | - | - | - | - |
กลยุทธ์ สนับสนุน | ๙. มาตรการพัฒนาบุคลากรด้าน อนุรักษ์พลังงาน | - | - | - | - | - |
๑๐. มาตรการประชาสัมพันธ์สร้าง จิตสํานึกการอนุรักษ์พลังงาน | - | - | - | - | - |
รวมลดความต้องการใช้พลังงานลงได้ (ktoe) | ๕,๓๖๐.๐๔ | ๖,๙๗๙.๔๖ | ๘,๗๙๕.๙๗ | ๑๒,๔๐๗.๖๕ | ๑๔,๔๔๙.๔๑ |
ที่มา: สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)
ทั้งนี้แผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงานในระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ของกรมพัฒนาพลังงาน
ทดแทนและอนุรักษ์พลังงานจะกําหนดเป็นโครงการเพื่อการนําไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
๓๐
๓.๕ แผนด าเนนิ การการอนุรกั ษ์พลังงานระยะสั้น ๕ ปี (๒๕๖o - ๒๕๖๔) และโครงการของกรมพัฒนา พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
แผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน หากมีการดําเนินมาตรการตามแผนทุกมาตรการจะมีผลการ
ประหยัดพลังงานขั้นสุดท้าย ณ ปี ๒๕๖๔ รวมทั้งสิ้น ๔,๒๗๘.๗๖ ktoe (ดูตารางที่ ๕) หากพิจารณาถึงจํานวน มาตรการ จํานวนโครงการ ประมาณการผลประหยัด (ktoe) และงบประมาณสนับสนุนของแต่ละปี ตั้งแต่ปี ๒๕๖o - ๒๕๖๔ รัฐต้องใช้งบประมาณสนับสนุนรวมทั้งสิ้น ๒๙,๐๒๑.๗๘ ล้านบาท รายละเอียดในตารางที่ ๕ และแยกแต่ละกลยุทธ์และมาตรการแสดงในตารางที่ ๖ โดยกลยุทธ์และมาตรการที่จะใช้ให้ความสําคัญแก่ โครงการที่มีผลสําเร็จมาแล้ว และโครงการใหม่ที่ให้ผลสําเร็จในระยะสั้น หากพิจารณาผลประหยัดที่เกิดขึ้น ณ ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ คาดว่ามีมูลค่าของพลังงานที่ประหยัดได้ประมาณ ๖๔,๑๘๑.๔๐ ล้านบาท (๑๕ ล้านบาท ต่อ ๑ ktoe) อย่างไรก็ตาม มูลค่าจากการประหยัดพลังงานที่ประเมินนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐาน ณ ราคาพลังงานใน ปัจจุบัน (ปี พ.ศ. ๒๕๕๙) แต่จากแนวโน้มของราคาพลังงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมูลค่าดังกล่าวจะสูงกว่าที่ ประเมิน
ตารางที่ ๕ ประมาณการผลประหยัดพลังงานจากการดําเนินการอนุรักษ์พลังงานภายใต้แผนปฏิบัติการอนุรักษ์ พลังงานในระยะ ๕ ปีแรก (พ.ศ. ๒๕๖o - ๒๕๖๔) โดยแยกตามกลยุทธ์
กลยุทธ์ | จ านวน | ประมาณการ ผลประหยัด (ktoe) | งบประมาณสนับสนุน |
มาตรการ | โครงการ | ล้านบาท | ร้อยละ |
๑. กลยุทธ์ภาคบังคับ (Compulsory Program) | ๔ | ๓๔ | ๒,๘๙๖.๕๐ | ๒,๘๐๐.๔๘ | ๙.๖๕ |
๒. กลยุทธ์ภาคความร่วมมือ (Voluntary Program) | ๔ | ๒๔ | ๑,๓๗๘.๘๑ | ๒๒,๘๐๖.๓๐ | ๗๘.๕๘ |
๓. กลยุทธ์สนับสนุน (Complementary Program) | ๒ | ๕๓ | ๓.๔๕ | ๓,๔๑๕.๐๐ | ๑๑.๗๗ |
รวมทั้งหมด | ๑๐ | ๑๑๑ | ๔,๒๗๘.๗๖ | ๒๙,๐๒๑.๗๘ | ๑๐๐.๐๐ |
๓๑
ตารางที่ ๖ ประมาณการผลประหยัดพลังงานจากการดําเนินการอนุรักษ์พลังงานภายใต้แผนปฏิบัติการ อนุรักษ์พลังงานในต่ละปี โดยแยกตามกลยุทธ์และมาตรการ
กลยุทธ์ | มาตรการ | จ านวน โครงการ | ประมาณการผลประหยัดพลังงาน(ktoe) ที่ประหยัดได้ณ ปี พ.ศ. | รวม | ร้อยละ |
๒๕๖๐ | ๒๕๖๑ | ๒๕๖๒ | ๒๕๖๓ | ๒๕๖๔ |
๑. กลยุทธ์ภาค บังคับ (Compulsory Program) | ๑.๑ มาตรการบังคับใช้มาตรฐาน การอนุรักษ์พลังงานในโรงงาน/ อาคารควบคุม (EE๑) | ๒๒ | ๓๒๘.๕๐ | ๓๓๙.๕๐ | ๓๔๘.๕๐ | ๓๕๖.๕๐ | ๓๖๕.๕๐ | ๑,๗๓๘.๕๐ | ๔๐.๖๓ |
๑.๒ มาตรการบังคับมาตรฐาน อาคารก่อสร้างใหม่เพื่อการอนุรักษ์ พลังงาน (EE๒) | ๗ | ๖.๐๐ | ๖.๐๐ | ๘.๐๐ | ๑๗.๐๐ | ๒๑.๐๐ | ๕๘.๐๐ | ๑.๓๕ |
๑.๓ มาตรการก าหนดมาตรฐาน และติดฉลากอุปกรณ์เครื่องจักร และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (Labeling) (EE๓) | ๕ | ๒๐๐.๐๐ | ๒๑๐.๐๐ | ๒๒๐.๐๐ | ๒๓๐.๐๐ | ๒๔๐.๐๐ | ๑,๑๐๐.๐๐ | ๒๕.๗๑ |
๒. กลยุทธ์ภาค ความร่วมมือ (Voluntary Program) | ๒.๑ มาตรการช่วยเหลือ/อุดหนุน การด าเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ พลังงาน (EE๕) | ๑๕ | ๒๓๙.๗๐ | ๒๗๒.๘๔ | ๔๑๒.๓๒ | ๒๐๔.๘๕ | ๒๐๒.๔๐ | ๑,๓๓๒.๑๑ | ๓๑.๑๓ |
๒.๒ มาตรการส่งเสริมการใช้แสง สว่างเพื่ออนุรักษ์พลังงาน (EE๖) | ๑ | ๙.๓๔ | ๙.๓๔ | ๙.๓๔ | ๙.๓๔ | ๙.๓๔ | ๔๖.๗๐ | ๑.๑๐ |
๒.๔ มาตรการวิจัยพัฒนาเทค โนโลยีและนวัตกรรมอนุรักษ์ พลังงาน (EE๘) | ๘ | - | - | - | - | - | - | - |
๓. กลยุทธ์ สนับสนุน (Compleme ntary Program) | ๓.๑ มาตรการพัฒนาบุคลากรด้าน อนุรักษ์พลังงาน (EE๙) | ๑๙ | ๑.๑๕ | - | ๑.๑๕ | - | ๑.๑๕ | ๓.๔๕ | ๐.๐๘ |
๓.๒ มาตรการประชาสัมพันธ์สร้าง จิตส านึกการอนุรักษ์พลังงาน (EE๑๐) | ๓๔ | - | - | - | - | - | - | - |
รวม | ๑๑๑ | ๗๘๔.๖๙ | ๘๓๗.๖๘ | ๙๙๙.๓๑ | ๘๑๗.๖๙ | ๘๓๙.๓๙ | ๔,๒๗๘.๗๖ | ๑๐๐.๐๐ |
จากข้อมูลในตารางที่ ๖ แสดงประมาณการผลประหยัดพลังงาน (ktoe) จากการดําเนินโครงการตาม
มาตรการต่าง ๆ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ เมื่อพิจารณาข้อมูลจาก ๘ มาตรการ ใน ๓ กลยุทธ์หลัก ๑๑ โครงการ ที่ พพ.ใช้ขับเคลื่อนในการดําเนินโครงการต่าง ๆ พบว่า ประมาณการผลประหยัดพลังงาน (ktoe) ใน ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มีค่ามากที่สุด (๙๙๙.๓๑ ktoe) รองลงมาได้แก่ พ.ศ. ๒๕๖๔ (๘๓๙.๓๙ ktoe) พ.ศ. ๒๕๖๑
(๘๓๗.๖๘ ktoe) พ.ศ. ๒๕๖๓ (๘๑๗.๖๙ ktoe) และ พ.ศ. ๒๕๖๐ (๗๘๔.๖๙ ktoe) ตามลําดับ เมื่อพิจารณาจํานวนโครงการ ในกลยุทธ์ภาคบังคับ ที่มีทั้งหมด ๓๔ โครงการ ตามมาตรการที่ ๑.๑ มาตรการบังคับใช้มาตรฐานการอนุรักษ์พลังงานในโรงงาน/อาคารควบคุม (EE๑) มาตรการที่ ๑.๒ มาตรการบังคับมาตรฐานอาคารก่อสร้างใหม่เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (EE๒) และมาตรการที่ ๑.๓ มาตรการ กําหนดมาตรฐานและติดฉลากอุปกรณ์เครื่องจักรและวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (Labeling) (EE๓) พบว่า ประมาณการผลประหยัดพลังงาน (ktoe) ในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ มีค่ามากที่สุด (๖๒๖.๕๐ ktoe) รองลงมาได้แก่
พ.ศ. ๒๕๖๓ (๖๐๓.๕๐ ktoe) พ.ศ. ๒๕๖๒ (๕๗๖.๕๐ ktoe) พ.ศ. ๒๕๖๑ (๕๕๕.๕๐ ktoe) และ พ.ศ. ๒๕๖๐ (๕๓๔.๕๐ ktoe) ตามลําดับ
๓๒
กลยุทธ์ภาคความร่วมมือ ที่มีทั้งหมด ๒๔ โครงการ ตามมาตรการที่ ๒.๑ มาตรการช่วยเหลือ/ อุดหนุนการดําเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน (EE๕) มาตรการที่ ๒.๒ มาตรการบังคับมาตรฐานอาคาร ก่อสร้างใหม่เพื่อการอนุรักษ์พลังงานมาตรการส่งเสริมการใช้แสงสว่างเพื่ออนุรักษ์พลังงาน (EE๖) และ มาตรการที่ ๒.๔ มาตรการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอนุรักษ์พลังงาน (EE๘) จะพบว่า ประมาณการ ผลประหยัดพลังงาน (ktoe) ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มีค่ามากที่สุด (๔๒๑.๖๖ ktoe) รองลงมาได้แก่ พ.ศ. ๒๕๖๑ (๒๘๒.๑๘ ktoe) พ.ศ. ๒๕๖๐ (๒๔๙.๐๔ ktoe) พ.ศ. ๒๕๖๓ (๒๑๔.๑๙ ktoe) และ พ.ศ. ๒๕๖๔ (๒๑๑.๗๔ ktoe) ตามลําดับ กลยุทธ์ภาคสนับสนุน ที่มีทั้งหมด ๕๓ โครงการ ตามมาตรการที่ ๓.๑ มาตรการพัฒนาบุคลากรด้าน
อนุรักษ์พลังงาน (EE๙) และมาตรการที่ ๓.๒ มาตรการประชาสัมพันธ์สร้างจิตสํานึกการอนุรักษ์พลังงาน (EE๑๐) จะพบว่า ประมาณการผลประหยัดพลังงาน (ktoe) ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐, พ.ศ. ๒๕๖๒ และ พ.ศ. ๒๕๖๔ ที่ค่าเท่ากัน คือ ๑.๑๕ ktoe ในขณะที่ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ และ พ.ศ. ๒๕๖๓ ไม่มีการประมาณการผลประหยัด พลังงาน (ktoe)
๓๓
ตารางที่ ๗ ประมาณการงบประมาณในการดําเนินการอนุรักษ์พลังงานภายใต้แผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน ในต่ละปี โดยแยกตามกลยุทธ์และมาตรการ
กลยุทธ์ | มาตรการ | จ านวน โครงการ | งบประมาณ(ล้านบาท) ณ ปี พ.ศ. | รวม | ร้อยละ |
๒๕๖๐ | ๒๕๖๑ | ๒๕๖๒ | ๒๕๖๓ | ๒๕๖๔ |
๑. กลยุทธ์ภาค บังคับ (Compulsory Program) | ๑.๑ มาตรการบังคับ ใช้มาตรฐานการ อนุรักษ์พลังงานใน โรงงาน/อาคาร ควบคุม (EE๑) | ๒๒ | ๔๔๘.๗๒ | ๕๙๙.๔๒ | ๒๗๑.๙๘ | ๒๘๓.๙๘ | ๒๘๐.๙๘ | ๑,๘๘๕.๐๘ | ๖.๕๐ |
๑ .๒ ม า ต ร ก า ร บังคับมาตรฐาน อาคารก่อสร้างใหม่ เพื่อการอนุรักษ์ พลังงาน (EE๒) | ๗ | ๕๕.๔๐ | ๕๑.๔๐ | ๔๕.๔๐ | ๔๑.๔๐ | ๕๑.๙๐ | ๒๔๕.๕๐ | ๐.๘๕ |
๑ .๓ ม า ต ร ก า ร ก าหนดมาตรฐาน แ ล ะ ติ ด ฉ ล า ก อุปกรณ์เครื่องจักร และวัสดุเพื่อการ อนุรักษ์พลังงาน (Labeling) (EE๓) | ๕ | ๑๓๕.๗๐ | ๑๓๓.๖๐ | ๑๒๘.๕๐ | ๑๒๘.๕๐ | ๑๔๓.๖๐ | ๖๖๙.๙๐ | ๒.๓๑ |
๒. กลยุทธ์ภาค ความร่วมมือ (Voluntary Program) | ๒ .๑ ม า ต ร ก า ร ช่วยเหลือ/อุดหนุน การด าเนินงาน เกี่ยวกับการอนุรักษ์ พลังงาน (EE๕) | ๑๕ | ๓,๖๓๑.๖๐ | ๔,๔๔๐.๐๐ | ๔,๗๗๓.๕๐ | ๓,๒๐๒.๗๐ | ๓,๑๙๑.๕๐ | ๑๙,๒๓๙.๓๐ | ๖๖.๒๙ |
๒ .๒ ม า ต ร ก า ร ส่งเสริมการใช้แสง สว่างเพื่ออนุรักษ์ พลังงาน (EE๖) | ๑ | ๖๓๐.๐๐ | ๖๓๐.๐๐ | ๖๓๐.๐๐ | ๖๓๐.๐๐ | ๖๓๐.๐๐ | ๓,๑๕๐.๐๐ | ๑๐.๘๕ |
๒.๔ มาตรการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยี แล ะ น วั ต ก ร ร ม อนุรักษ์พลังงาน (EE๘) | ๘ | ๘๐.๐๐ | ๙๖.๐๐ | ๗๙.๐๐ | ๙๖.๐๐ | ๖๖.๐๐ | ๔๑๗.๐๐ | ๑.๔๔ |
๓. กลยุทธ์สนับสนุน (Complementary Program) | ๓ .๑ ม า ต ร ก า ร พัฒนาบุคลากรด้าน อนุรักษ์พลังงาน (EE๙) | ๑๙ | ๓๗๙.๖๐ | ๒๕๐.๖๐ | ๓๔๕.๖๐ | ๒๕๐.๖๐ | ๓๓๘.๖๐ | ๑,๕๖๕.๐๐ | ๕.๓๙ |
๓ .๒ ม า ต ร ก า ร ประชาสัมพันธ์ สร้างจิตส านึกการ อนุรักษ์พลังงาน (EE๑๐) | ๓๔ | ๓๑๒.๐๐ | ๔๔๔.๐๐ | ๓๘๐.๐๐ | ๓๖๑.๐๐ | ๓๕๓.๐๐ | ๑,๘๕๐.๐๐ | ๖.๓๗ |
รวม | ๑๑๑ | ๕,๖๗๓.๐๒ | ๖,๖๔๕.๐๒ | ๖,๖๕๓.๙๘ | ๔,๙๙๔.๑๘ | ๕,๐๕๕.๕๘ | ๒๙,๐๒๑.๗๘ | ๑๐๐.๐๐ |
จากข้อมูลในตารางที่ ๗ แสดงงบประมาณที่ใช้ในการดําเนินโครงการตามมาตรการต่าง ๆ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ เมื่อพิจารณาข้อมูลจาก ๘ มาตรการ ใน ๓ กลยุทธ์หลัก ๑๑๑ โครงการ ที่ พพ. ใช้ขับเคลื่อนในการดําเนินโครงการต่าง ๆ พบว่า งบประมาณ (ล้านบาท) ที่ใช้ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มีค่ามากที่สุด (๖,๖๕๓.๙๘ ล้านบาท) รองลงมาได้แก่ พ.ศ. ๒๕๖๑ (๖,๖๔๕.๐๒ ล้านบาท) พ.ศ. ๒๕๖๐ (๕,๖๗๓.๐๒ ล้านบาท) พ.ศ. ๒๕๖๔ (๕,๐๕๕.๕๘ ล้านบาท) และ พ.ศ. ๒๕๖๓ (๔,๙๙๔.๑๘ ล้านบาท) ตามลําดับ
๓๔
เมื่อพิจารณาจํานวนโครงการ ในกลยุทธ์ภาคบังคับ ที่มีทั้งหมด ๓๔ โครงการ ตามมาตรการที่ ๑.๑ มาตรการบังคับใช้มาตรฐานการอนุรักษ์พลังงานในโรงงาน/อาคารควบคุม (EE๑) มาตรการที่ ๑.๒ มาตรการบังคับมาตรฐานอาคารก่อสร้างใหม่เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (EE๒) และมาตรการที่ ๑.๓ มาตรการ กําหนดมาตรฐานและติดฉลากอุปกรณ์เครื่องจักรและวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (Labeling) (EE๓) พบว่า งบประมาณที่ใช้ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ มีมากที่สุด (๗๘๔.๔๒ ล้านบาท) รองลงมาได้แก่ พ.ศ. ๒๕๖๐ (๖๓๙.๘๒ ล้านบาท) พ.ศ. ๒๕๖๔ (๔๗๖.๔๘ ล้านบาท) พ.ศ. ๒๕๖๓ (๔๕๓.๘๘ ล้านบาท) และ พ.ศ. ๒๕๖๒ (๔๔๕.๘๘ ล้านบาท) ตามลําดับ กลยุทธ์ภาคความร่วมมือ ที่มีทั้งหมด ๒๔ โครงการ ตามมาตรการที่ ๒.๑ มาตรการช่วยเหลือ/อุดหนุน
การดําเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน (EE๕) มาตรการที่ ๒.๒ มาตรการบังคับมาตรฐานอาคารก่อสร้าง ใหม่เพื่อการอนุรักษ์พลังงานมาตรการส่งเสริมการใช้แสงสว่างเพื่ออนุรักษ์พลังงาน (EE๖) และมาตรการที่ ๒.๔ มาตรการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอนุรักษ์พลังงาน (EE๘) จะพบว่า งบประมาณ (ล้านบาท) ที่ใช้ใน ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มีมากที่สุด (๕,๔๘๒.๕๐ ล้านบาท) รองลงมาได้แก่ พ.ศ. ๒๕๖๑ (๕,๑๖๖.๐๐ ล้านบาท) พ.ศ. ๒๕๖๐ (๔,๓๔๑.๖๐ ล้านบาท) พ.ศ. ๒๕๖๓ (๓,๙๒๘.๗๐ ล้านบาท) และ พ.ศ. ๒๕๖๔ (๓,๘๘๗.๕๐ ล้าน บาท) ตามลําดับ กลยุทธ์ภาคสนับสนุน ที่มีทั้งหมด ๕๓ โครงการ ตามมาตรการที่ ๓.๑ มาตรการพัฒนาบุคลากรด้าน
อนุรักษ์พลังงาน (EE๙) และมาตรการที่ ๓.๒ มาตรการประชาสัมพันธ์สร้างจิตสํานึกการอนุรักษ์พลังงาน (EE๑๐) จะพบว่า งบประมาณ (ล้านบาท) ที่ใช้ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มีค่ามากที่สุด (๗๒๕.๖๐ ล้านบาท) รองลงมา ได้แก่ พ.ศ. ๒๕๖๑ (๖๙๔.๖๐ ล้านบาท) พ.ศ. ๒๕๖๐ และ พ.ศ. ๒๕๖๔ (ปีละ ๖๙๑.๖๐ ล้านบาท) และ พ.ศ. ๒๕๖๓ (๖๑๑.๖๐ ล้านบาท) ตามลําดับ
ตารางที่ ๘ ประมาณการผลประหยัดพลังงานและมูลค่าของพลังงานที่ประหยัดได้ภายใต้แผนปฏิบัติการ อนุรักษ์ พลังงาน ณ ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ โดยแยกตามมาตรการ
มาตรการ | ประมาณการผล ประหยัด (ktoe) | มูลค่าผลประหยัด (ล้านบาท) | ร้อยละ |
๑. กลยุทธภ์ าคบังคับ (Compulsory Program) | | | |
๑.๑ มาตรการบังคับใช้มาตรฐานการอนุรักษ์พลังงานใน โรงงาน/อาคารควบคุม (EE๑) | ๑,๗๓๘.๕๐ | ๒๖,๐๗๗.๕๐ | ๔๐.๖๓ |
๑.๒ มาตรการบังคับมาตรฐานอาคารก่อสร้างใหม่เพื่อ การอนุรักษ์พลังงาน (EE๒) | ๕๘.๐๐ | ๘๗๐.๐๐ | ๑.๓๖ |
๑.๓ มาตรการก าหนดมาตรฐานและติดฉลากอุปกรณ์ เครื่องจักรและวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (Labeling) (EE๓) | ๑,๑๐๐.๐๐ | ๑๖,๕๐๐.๐๐ | ๒๕.๗๑ |
รวม กลยุทธ์ภาคบังคับ (Compulsory Program) | ๒,๘๙๖.๕๐ | ๔๓,๔๔๗.๕๐ | |
๒. กลยุทธภ์ าคความร่วมมือ (Voluntary Program) | | | |
๒.๑ มาตรการช่วยเหลือ/อุดหนุนการด าเนินงาน เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน (EE๕) | ๑,๓๓๒.๑๑ | ๑๙,๙๘๑.๗๐ | ๓๑.๑๓ |
๓๕
มาตรการ | ประมาณการผล ประหยัด (ktoe) | มูลค่าผลประหยัด (ล้านบาท) | ร้อยละ |
๒.๒ มาตรการส่งเสริมการใช้แสงสว่างเพื่ออนุรักษ์ พลังงาน (EE๖) | ๔๖.๗๐ | ๗๐๐.๕๐ | ๑.๐๙ |
๒.๔ มาตรการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม อนุรักษ์พลังงาน (EE๘) | - | - | - |
รวม กลยุทธ์ภาคบังคับ (Compulsory Program) | ๑,๓๗๘.๘๑ | ๒๐,๖๘๒.๒๐ | |
๓. กลยุทธส์ นับสนนุ (Complementary Program) | | | |
๓.๑ มาตรการพัฒนาบุคลากรด้านอนุรักษ์พลังงาน (EE๙) | ๓.๔๕ | ๕๑.๗๕ | ๐.๐๘ |
๓.๒ มาตรการประชาสัมพันธ์สรา้ งจิตส านึกการอนุรักษ์ พลังงาน (EE๑๐) | - | - | - |
รวม กลยุทธ์สนับสนนุ (Complementary Program) | ๓.๔๕ | ๕๑.๗๕ | |
รวมทั้งหมด | ๔,๒๗๘.๗๖ | ๖๔,๑๘๑.๔๕ | ๑๐๐.๐๐ |
จากข้อมูลในตารางที่ ๘ แสดงประมาณการผลประหยัดและมูลค่าของพลังงานที่ประหยัดได้ในการ
ดําเนินโครงการตามมาตรการต่าง ๆ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ เมื่อพิจารณาข้อมูลจาก ๘ มาตรการ ใน ๓ กลยุทธ์หลัก ๑๑๑ โครงการ ที่ พพ. ใช้ขับเคลื่อนในการดําเนินโครงการต่าง ๆ พบว่าประมาณการผล ประหยัดและมูลค่าของพลังงานที่ประหยัดได้รวม ๔,๒๗๘.๗๖ ktoe ซึ่งคิดเป็นมูลค่า ๖๔,๑๘๑.๔๕ ล้านบาท โดยเป็นของมาตรการบังคับใช้มาตรฐานการอนุรักษ์พลังงานในโรงงาน/อาคารควบคุม (EE๑) มีค่ามากที่สุด (๑,๗๓๘.๕๐ ktoe ซึ่งคิดเป็นมูลค่า ๒๖,๐๗๗.๕๐ ล้านบาท) รองลงมาคือ มาตรการช่วยเหลือ/อุดหนุน การดําเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน (EE๕) (๑,๓๓๒.๑๑ ktoe ซึ่งคิดเป็นมูลค่า ๑๙,๙๘๑.๗๐ ล้าน บาท) มาตรการกําหนดมาตรฐานและติดฉลากอุปกรณ์เครื่องจักรและวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (Labeling) (EE๓) (๑,๑๐๐.๐๐ ktoe ซึ่งคิดเป็นมูลค่า ๑๖,๕๐๐.๐๐ ล้านบาท) มาตรการบังคับมาตรฐาน อาคารก่อสร้างใหม่เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (EE๒) (๕๘.๐๐ ktoe ซึ่งคิดเป็นมูลค่า ๘๗๐.๐๐ ล้านบาท) มาตรการส่งเสริมการใช้แสงสว่างเพื่ออนุรักษ์พลังงาน (EE๖) (๔๖.๗๐ ktoe ซึ่งคิดเป็นมูลค่า ๗๐๐.๕๐ ล้าน บาท) และมาตรการพัฒนาบุคลากรด้านอนุรักษ์พลังงาน (EE๙) (๓.๔๕ ktoe ซึ่งคิดเป็นมูลค่า ๕๑.๗๕ ล้านบาท) ตามลําดับ
๓๖
ตารางที่ ๙ จํานวนเป้าหมายในการดําเนินโครงการตามมาตรการต่าง ๆ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔
กลยุทธ์ | มาตรการ | จ านวน โครงการ | เป้าหมาย | |
๒๕๖๐ | ๒๕๖๑ | ๒๕๖๒ | ๒๕๖๓ | ๒๕๖๔ |
๑. กลยุทธ์ภาค บังคับ (Compulsory Program) | ๑.๑ มาตรการบังคบั ใช้ มาตรฐานการอนุรักษ์พลังงาน ในโรงงาน/อาคารควบคุม (EE๑) | ๒๒ | ๙,๖๔๗ แห่ง ๘,๔๐๐ คน | ๑๐,๑๕๕ แห่ง ๘,๔๐๐ คน | ๑๐,๖๕๔ แห่ง ๗,๒๐๐ คน | ๑๑,๑๕๓ แห่ง ๗,๒๐๐ คน | ๑๑,๖๖๒ แห่ง ๗,๒๐๐ คน |
๑.๒ มาตรการบังคบั มาตรฐาน อาคารก่อสร้างใหม่เพื่อการ อนุรักษ์พลังงาน (EE๒) | ๗ | ๑๑๐ แห่ง ผู้ตรวจแบบ ๑๐ ทีม | ๑๒๐ แห่ง ๒,๒๐๐ คน ผู้ตรวจแบบ ๑๐ ทีม | ๑๕๐ แห่ง ๒,๒๐๐ คน ผู้ตรวจแบบ ๑๐ ทีม | ๓๐๐ แห่ง ๒,๒๐๐ คน ผู้ตรวจแบบ ๑๐ ทีม | ๓๕๐ แห่ง ๒,๒๐๐ คน ผู้ตรวจแบบ ๑๐ ทีม |
๑.๓ มาตรการก าหนดมาตรฐาน และตดิ ฉลากอุปกรณ์เครื่องจักร และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์ พลังงาน (Labeling) (EE๓) | ๕ | ฉลาก ๖ ล้านใบ | ฉลาก ๖ ล้านใบ | ฉลาก ๗ ล้านใบ | ฉลาก ๗ ล้านใบ | ฉลาก ๘ ล้านใบ |
๒. กลยุทธ์ภาค ความร่วมมือ (Voluntary Program) | ๒.๑ มาตรการช่วยเหลือ/ อุดหนุนการด าเนินงานเกี่ยวกบั การอนุรักษ์พลังงาน (EE๕) | ๑๕ | ๑,๖๒๐ แห่ง | ๓,๔๗๐ แห่ง | ๓,๔๗๐ แห่ง | ๓,๓๕๐ แห่ง | ๓,๓๕๐ แห่ง |
๒.๒ มาตรการส่งเสรมิ การใช้ แสงสว่างเพื่ออนุรักษ์พลังงาน (EE๖) | ๑ | ๑๕๐ แห่ง | ๑๕๐ แห่ง | ๑๕๐ แห่ง | ๑๕๐ แห่ง | ๑๕๐ แห่ง |
๒.๔ มาตรการวิจัยพัฒนา เทคโนโลยีและนวัตกรรม อนุรักษ์พลังงาน (EE๘) | ๘ | ๘๐๐ แห่ง | ๘๐๐ แห่ง | ๘๐๐ แห่ง | ๘๐๐ แห่ง | ๘๐๐ แห่ง |
๓. กลยุทธ์สนับสนุน (Complementary Program) | ๓.๑ มาตรการพัฒนาบุคลากร ด้านอนุรักษ์พลังงาน (EE๙) | ๑๙ | ๑,๗๑๐ แห่ง ๒๒,๖๓๐ คน | ๑,๘๑๐ แห่ง ๓๑,๗๗๐ คน | ๒,๑๑๐ แห่ง ๓๑,๘๓๐ คน | ๑,๘๑๐ แห่ง ๓๑,๗๗๐ คน | ๒,๑๑๐ แห่ง ๓๑,๔๓๐ คน |
๓.๒ มาตรการประชาสมั พันธ์ สร้างจิตสา นึกการอนุรักษ์ พลังงาน (EE๑๐) | ๓๔ | ๑๔๒ แห่ง ๒,๖๔๐ คน | ๔๙๒ แห่ง ๕,๒๓๐ คน | ๔๙๒ แห่ง ๕,๒๓๐ คน | ๔๙๒ แห่ง ๕,๒๓๐ คน | ๔๙๒ แห่ง ๕,๒๓๐ คน |
ในการดําเนินการอนุรักษ์พลังงานเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน ๕ ปี
ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ จําเป็นต้องมีกลุ่มเป้าหมายสําคัญในจํานวนที่เหมาะสมเพื่อดําเนินการอนุรักษ์ พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะจํานวนโรงงานอุตสาหกรรม จํานวนอาคารธุรกิจ จํานวนฉลากที่ต้อง ติดผลิตภัณฑ์ รวมทั้งจํานวนบุคคลเป้าหมายในแต่ละโครงการ เป็นต้น จากข้อมูลใน ตารางที่ ๙ ที่แสดง จํานวนเป้าหมายในการดําเนินโครงการตามมาตรการต่าง ๆ จาก ๘ มาตรการ ใน ๓ กลยุทธ์หลัก ๑๑๑ โครงการ ที่ พพ. ใช้ขับเคลื่อนระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ พบว่า ในกลยุทธ์ภาคบังคับที่มีจ านวนทั้งหมด ๓๔ โครงการ นั้น ในมาตรการที่ ๑.๑ มาตรการบังคับใช้มาตรฐานการอนุรักษ์พลังงานในโรงงาน/อาคาร ควบคุม (EE๑) ซึ่งมีจํานวน ๒๒ โครงการจะมีกลุ่มเป้าหมายโรงงานและอาคารควบคุมที่มีจํานวนเพิ่มขึ้น เรื่อย ๆ โดยมี ๙,๖๔๗ แห่ง ๑๐,๑๕๕ แห่ง ๑๐,๖๕๔ แห่ง ๑๑,๑๕๓ แห่ง และ ๑๑,๖๖๒ แห่ง ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ ตามลําดับ ส่วนมาตรการที่ ๑.๒มาตรการบังคับมาตรฐานอาคารก่อสร้างใหม่เพื่อการอนุรักษ์ พลังงาน (EE๒) ซึ่งมีจํานวน ๗ โครงการ จะมีกลุ่มเป้าหมายอาคารควบคุมที่สร้างใหม่ที่มีจํานวนเพิ่มขึ้น เรื่อย ๆ โดยมี ๑๑๐ แห่ง ๑๒๐ แห่ง ๑๕๐ แห่ง ๓๐๐ แห่ง และ ๓๕๐ แห่ง ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔
๓๗
ตามลําดับ และ มาตรการที่ ๑.๓ มาตรการกําหนดมาตรฐานและติดฉลากอุปกรณ์เครื่องจักรและวัสดุเพื่อการ อนุรักษ์พลังงาน (Labeling) (EE๓) ซึ่งมีจํานวน ๕ โครงการ มีจํานวนฉลากที่ติดผลิตภัณฑ์จํานวน ๖ ล้านใบ
๖ ล้านใบ ๗ ล้านใบ ๗ ล้านใบ และ ๘ ล้านใบ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ ตามลําดับ กลยุทธ์ภาคความร่วมมือ ที่มีจ านวนทั้งหมด ๒๔ โครงการ พบว่ามาตรการที่ ๒.๑ มาตรการ
ช่วยเหลือ/อุดหนุนการดําเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน (EE๕) ซึ่งมีจํานวน ๑๕ โครงการ มีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรม อาคารธุรกิจ และบ้านที่อยู่อาศัย ซึ่งมีจํานวนกลุ่มเป้าหมายเพิ่ม ขึ้นทุกปี โดยในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ มีเป้าหมาย ๑,๖๒๐ แห่ง ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ มีเป้าหมาย ๓,๔๗๐ แห่ง ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มีเป้าหมาย ๓,๔๗๐ แห่ง ปี พ.ศ. ๒๕๖๓ มีเป้าหมาย ๓,๓๕๐ แห่ง และ ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ มีเป้าหมาย ๓,๓๕๐ แห่ง มาตรการที่ ๒.๒ มาตรการส่งเสริมการใช้แสงสว่างเพื่ออนุรักษ์พลังงาน (EE๖) มีเพียง ๑ โครงการ โดยมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนหลอดแอลอีดีในอาคารที่เป็นหน่วยงานภาครัฐโดยในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ –๒๕๖๔ มี เป้าหมาย ปีละ ๑๕๐ แห่ง สําหรับมาตรการที่ ๒.๔ มาตรการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอนุรักษ์ พลังงาน (EE๘) ซึ่งมีจํานวน ๘ โครงการ มีเป้าหมายในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ ปีละ ๑๕๐ แห่ง กลยุทธ์ภาคสนับสนุน ที่มีจ านวนทั้งหมด ๕๓ โครงการ พบว่า มาตรการที่ ๓.๑ มาตรการพัฒนา
บุคลากรด้านอนุรักษ์พลังงาน (EE๙) ที่มีจํานวน ๑๙ โครงการนั้น มีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ จํานวน ๑,๗๑๐ แห่ง, ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ จํานวน ๑,๘๑๐ แห่ง, ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ จํานวน ๒,๑๑๐ แห่ง , ปี พ.ศ. ๒๕๖๓ จํานวน ๑,๘๑๐ แห่ง และ ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ จํานวน ๒,๑๑๐ แห่ง ส่วนมาตรการที่ ๓.๒ มาตรการประชาสัมพันธ์สร้างจิตสํานึกการอนุรักษ์พลังงาน (EE๑๐) ซึ่งมีจํานวน ๓๔ โครงการ มีกลุ่มเป้าหมาย ที่สําคัญ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม อาคารธุรกิจ อาคารภาครัฐ และบ้านที่อยู่อาศัย เป็นต้น โดยในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ มีเป้าหมาย ๑๔๒ แห่ง และ ปีพ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๔ มีจํานวนกลุ่มเป้าหมายเท่ากัน คือ ปีละ
๔๙๒ แห่ง นอกจากจํานวนสถานประกอบการที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการดําเนินการอนุรักษ์พลังงานในมาตรการ
ต่าง ๆ แล้ว ในแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ ยังให้ความสําคัญกับจํานวนบุคคลที่ เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานในสถานประกอบการและในหน่วยงาน โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายของมาตรการในกลยุทธ์ภาคบังคับและกลยุทธ์ภาคสนับสนุน ซึ่งหากพิจารณากลยุทธ์ ภาคบังคับ โดยในมาตรการที่ ๑.๑ มาตรการบังคับใช้มาตรฐานการอนุรักษ์พลังงานในโรงงาน/อาคารควบคุม (EE๑) ซึ่งมีจํานวน ๒๒ โครงการ ที่มีกลุ่มเป้าหมายที่สําคัญ เช่น ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานของสถาน ประกอบการ ผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน และผู้บริหารของโรงงานและอาคารควบคุม โดยในปี
พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๑ มีจํานวนกลุ่มเป้าหมายเท่ากัน คือ ปีละ ๘,๔๐๐ คน และปีพ.ศ. ๒๕๖๒ – ๒๕๖๔ มีจํานวนกลุ่มเป้าหมายเท่ากัน คือ ปีละ ๗,๒๐๐ คน ส่วนมาตรการที่ ๑.๒ มาตรการบังคับมาตรฐานอาคาร ก่อสร้างใหม่เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (EE๒) ซึ่งมีจํานวน ๗ โครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่สําคัญ เช่น เจ้าของ อาคาร สถาปนิค และผู้ตรวจแบบเอกชน เป็นต้น โดยมีจํานวนกลุ่มเป้าหมายในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ – พ.ศ. ๒๕๖๔ เท่ากัน คือ ปีละ ๒,๒๐๐ คน
๓๘
กลยุทธ์ภาคสนับสนุน ซึ่งมีจ านวนทั้งหมด ๕๓ โครงการ พบว่า มาตรการที่ ๓.๑ มาตรการพัฒนา
บุคลากรด้านอนุรักษ์พลังงาน (EE๙) ซึ่งมีจํานวน ๑๙ โครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่สําคัญ คือ บุคลากรของ สถานประกอบการทั้งที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจ หน่วยงานภาครัฐ และบ้านที่อยู่อาศัย เป็นต้น โดยในปีพ.ศ. ๒๕๖๐ มีจํานวนกลุ่มเป้าหมาย ๒๒,๖๓๐ คน ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ มีจํานวนกลุ่มเป้าหมาย ๓๑,๗๗๐ คน ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มีจํานวนกลุ่มเป้าหมาย ๓๑,๘๓๐ คน ปี พ.ศ. ๒๕๖๓ มีจํานวนกลุ่มเป้าหมาย ๓๑,๗๗๐ คน และปี พ.ศ. ๒๕๖๔ มีจํานวนกลุ่มเป้าหมาย ๓๑,๔๓๐ คน ส่วนมาตรการที่ ๓.๒ มาตรการ ประชาสัมพันธ์สร้างจิตสํานึกการอนุรักษ์พลังงาน (EE๑๐) ซึ่งมีจํานวน ๓๔ โครงการ และมีกลุ่มเป้าหมาย ในมาตรการหลักที่จะสนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานทั้ง ๗ มาตรการ ตามแผนอนุรักษ์พลังงานของกระทรวง พลังงาน ปี พ.ศ. ๒๔๕๘ – ๒๕๗๙ (มาตรการที่ ๑ ถึงมาตรการที่ ๗ โดยในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ มีจํานวนกลุ่ม เป้าหมาย ๒,๖๔๐ คน และปี พ.ศ. ๒๕๖๒ – ๒๕๖๔ และมีจํานวนกลุ่มเป้าหมายเท่ากัน คือ ปีละ ๕,๒๓๐ คน โดยโครงการที่ต้องดําเนินการตามแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน ๒๐ ปี ในช่วง พ.ศ. ๒๕๖๐–2๕๖๔
แสดงในตารางที่ ๑๐ ส่วนรายละเอียดด้านงบประมาณที่ต้องใช้ดําเนินการตามผลประหยัดที่คาดว่าจะได้รับ (ktoe) และกลุ่มเป้าหมายของแต่ละโครงการตามแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน ๒๐ ปี ในระยะ ๕ ปีแรก
(พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ได้แสดงได้ดังตารางที่ ๑๑ นอกจากการดําเนินงานด้านอนุรักษ์พลังงานภายใต้ภารกิจของ พพ. แล้ว ยังมีการดําเนินงานด้านการ
อนุรักษ์พลังงานที่นอกเหนือจากภารกิจของ พพ. ซึ่งได้แก่ การดําเนินการอนุรักษ์พลังงานในมาตรการที่ ๔ ภายใต้กลยุทธ์ภาคบังคับ คือ มาตรการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานอนุรักษ์พลังงานสําหรับผู้ผลิตและจําหน่าย พลังงาน (EERS) และในมาตรการที่ ๗ ภายใต้กลยุทธ์ภาคความร่วมมือ คือ มาตรการอนุรักษ์พลังงานภาค ขนส่ง โดยมีรายละเอียดแนวทางการดําเนินงาน เป้าหมายการอนุรักษ์พลังงาน และงบประมาณที่ใช้ในแต่ละปี ดังแสดงในตารางที่ ๑๒และตารางที่ ๑๓ ตามลําดับ
๓๙
ตารางที่ ๑๐ โครงการที่ต้องดําเนินการตามแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน ๒๐ ปี ในช่วงพ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ แยกตามกลยุทธ์และมาตรการดําเนินการ
๔๐
กลยุทธ์ | มาตรการดา เนินการ | โครงการหลัก | แผนการด าเนินงาน ปี ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ |
๖๐ | ๖๑ | ๖๒ | ๖๓ | ๖๔ |
(๑) กลยุทธ์ภาคบังคับ (Compulsory Program) | ๑.๑ มาตรการการจดั การโรงงานและ อาคารควบคุม | โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อเป็นผู้รับผิดชอบด้านพลังงานตามกฎหมาย (เก็บค่าใช้จ่าย ตั้งแต่ปี ๒๕๖๒-๒๕๖๔) | | | | | |
| | | | |
โครงการพัฒนาขีดความสามารถผู้รับผิดชอบด้านพลังงานในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพ วัสดุ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในโรงงานและอาคารควบคุม (Refresh PRE) | | | | | |
| | | | |
โครงการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้านการจัดการพลังงานสําหรับผู้บริหารโรงงานและ อาคารควบคุม | | | | | |
| | | | |
โครงการพัฒนาบุคลากรภาคปฏิบัติด้านการตรวจประเมินสมรรถนะเครื่องจักรอุปกรณ์ หลักภายใต้ระบบการจัดการพลังงานตามกฎหมาย | | | | | |
| | | | |
โครงการพัฒนาผู้ตรวจประเมินการจัดการพลังงานภายในองค์กร | | | | | |
| | | | |
โครงการพัฒนาผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน (เก็บค่าใช้จ่ายตั้งแต่ปี ๒๕๖๒-๒๕๖๔) | | | | | |
| |
โครงการพัฒนาหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานและผู้ตรวจสอบและรับรองการจัด การพลังงานภายใต้ พ.ร.บ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ | | | | | |
| | |
โครงการพัฒนาบุคลากรในการใช้และบํารุงรักษาเครื่องปรับอากาศในอาคารภาครัฐ | | | | | |
| |
๑.๒ มาตรการใช้เกณฑ์มาตรฐานอาคาร | โครงการบริหารศูนย์ประสานงานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน | | | | | |
| | | | |
โครงการศึกษาและนําร่องกลยุทธ์ BEC เชิงรุก | | | | | |
| |
โครงการศึกษาปรับปรุงระดับเกณฑ์มาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธีการออกแบบอาคาร เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน | | | | | |
|
โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและโปรแกรม BEC | | | | | |
|
โครงการส่งเสริมเพื่อจูงใจให้อาคารนิยมติดฉลากสําหรับอาคารก่อสร้างใหม่ | | | | | |
| | | | |
โครงการจัดทําแนวทางการกําหนดหลักเกณฑ์การฝึกอบรมเพื่อขึ้นทะเบียนผู้ตรวจแบบ เอกชน | | | | | |
| | | | |
๔๑
| | โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อการออกแบบอาคารตามกฎหมาย (BEC) สําหรับ ผู้ประกอบการธุรกิจ สถาบันวิชาชีพ สถาบันการศึกษาและผู้ตรวจแบบ | | | | | |
| | | |
กลยุทธ์ | มาตรการด าเนินการ | โครงการหลัก | แผนการด าเนินงาน ปี ๒๕๖๐-๒๕๖๔ |
๖๐ | ๖๑ | ๖๒ | ๖๓ | ๖๔ |
(๑) กลยุทธ์ภาคบังคับ (Compulsory Program) | ๑.๓ มาตรการใช้เกณฑ์มาตรฐานและติด ฉลากอุปกรณ์ | โครงการศึกษาหรือทบทวนค่ามาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานของผลิตภัณฑ์ | | | | | |
| | | | |
โครงการส่งเสริมเครื่องจักรอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงและวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน โดยการติดฉลาก | | | | | |
| | | | |
โครงการสนับสนุนหน่วยงานทดสอบเพื่อยกระดับห้องทดสอบผลิตภัณฑ์สู่ มาตรฐานสากล และเพิ่มขีดความสามารถผู้ผลิตในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ | | | | | |
| | | | |
โครงการศึกษาแนวทางการบังคับใช้การติดฉลากประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ และสํารวจ ผลิตภัณฑ์ที่จะติดฉลากเพิ่มเติม | | | | | |
|
โครงการจัดทําการประเมินผลและการทวนสอบการติดฉลากของอุปกรณ์ประสิทธิภาพ สูง | | | | | |
| | | |
(๒) กลยุทธ์ภาคความร่วมมือ (Voluntary Program) | ๒.๑ มาตรการสนับสนุนด้านการเงิน | โครงการศึกษาและนําร่องการสนับสนุน SOP ให้กับ SMEs และ/หรือ บ้านอยู่อาศัย | | | | | |
|
โครงการสนับสนุน SOP ให้กับ SMEs และ/หรือ บ้านอยู่อาศัย | | | | | |
| | | |
โครงการศึกษาศักยภาพการประหยัดพลังงานและแนวทางส่งเสริมสําหรับอาคาร ภาครัฐนอกข่ายควบคุม | | | | | |
|
โครงการการเพิ่มประสิทธิภาพการอนุรักษ์พลังงานอย่างเข้มข้น สําหรับโรงงานและ อาคาร SMEs | | | | | |
| | | | |
โครงการสาธิตการใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงานในอาคารภาครัฐนอกข่ายควบคุม | | | | | |
| | | |
โครงการสนับสนุนทางการเงินเพื่อส่งเสริมบ้านประหยัดพลังงาน | | | | | |
| | | |
โครงการการเพิ่มประสิทธิภาพการอนุรักษ์พลังงานด้วยเงินหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ํา (Soft loan) | | | | | |
| | |
โครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานโดยสถาบันการเงิน | | | | | |
| | | | |
โครงการส่งเสริมธุรกิจและกระตุ้นตลาดการอนุรักษ์พลังงานโดยกลไกบริษัทจัด การพลังงาน (ESCO) | | | | | |
| | | | |
๔๒
| | โครงการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนด้วยเงินทุน หมุนเวียน (ESCO Revolving Fund) | | | | | |
| |
กลยุทธ์ | มาตรการด าเนินการ | โครงการหลัก | แผนการด าเนินงาน ปี ๒๕๖๐-๒๕๖๔ |
๖๐ | ๖๑ | ๖๒ | ๖๓ | ๖๔ |
(๒) กลยุทธ์ภาคความร่วมมือ (Voluntary Program) | ๒.๑ มาตรการสนับสนุนด้านการเงิน | โครงการสาธิตเทคโนโลยีเชิงลึกเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ ๓ | | | | | |
| | |
โครงการสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน | | | | | |
| |
โครงการการสนับสนุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักร อุปกรณ์ในภาครัฐ (Block Grant) | | | | | |
| | | | |
โครงการพัฒนาศักยภาพการมีส่วนร่วมแบบบูรณาการเพื่อการอนุรักษ์พลังงานอย่าง ยั่งยืนสําหรับโรงพยาบาลชุมชน | | | | | |
| | |
โครงการอุดหนุนผลประหยัดโดยวิธีประกวดราคา (DSM Bidding) | | | | | |
| | | | |
๒.๒ มาตรการส่งเสรมิ การใช้หลอดแอลอีดี | โครงการสนับสนุนการปรับเปลี่ยนหลอด LED ในหน่วยงานภาครัฐ (Block Grant) (อาคารควบคุมและอาคารต่ํากว่าอาคารควบคุม) | | | | | |
| | | | |
๒.๓ มาตรการส่งเสรมิ การศึกษา วิจยั พัฒนาเทคโนโลยีอนุรักษ์พลังงาน | โครงการบริหารติดตามงานและประเมินผลด้วยวิธีการพิสูจน์ผลประหยัดพลังงานของ โครงการตามแผนเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานของกรมพัฒนาพลังงานและอนุรักษ์ พลังงาน | | | | | |
| | | | |
การตรวจสอบและออกใบอนุญาตผลิตพลังงานควบคุมตามพระราชบัญญัติการพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ (การผลิตไฟฟ้า) | | | | | |
| | | |
การตรวจสอบและออกใบอนุญาตผลิตพลังงานควบคุมตามพระราชบัญญัติการพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ (การผลิตก๊าซชีวภาพ) | | | | | |
| | |
โครงการการศึกษาความเหมาะสมเทคโนโลยีท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์พลังงานที่ยั่งยืน | | | | | |
|
โครงการการพัฒนาเทคโนโลยีท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์พลังงานที่ยั่งยืน | | | | | |
| | |
โครงการบริหารจัดการแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนเชิงรุก | | | | | |
| | | | |
โครงการจัดทําระบบสารสนเทศในการติดตามประเมินผลโครงการอนุรักษ์พลังงานและ พลังงานทดแทน | | | | | |
| |
โครงการส่งเสริมการดําเนินธุรกิจพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานในอาเซียน | | | | | |
| |
๔๓
(๓) กลยุทธ์สนับสนุน (Complementary Program) | ๓.๑ มาตรการพัฒนาบุคลากรด้านอนุรักษ์ พลังงาน | โครงการศึกษาและจัดตั้งศูนย์วิเคราะห์และเผยแพร่ข้อมูลการอนุรักษ์พลังงานสําหรับ โรงงานและอาคารควบคุม | | | | | |
| | | | |
โครงการเพิ่มขีดความสามารถด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานให้กับบุคลากร ของ พพ. | | | | | |
| | | | |
กลยุทธ์ | มาตรการด าเนินการ | โครงการหลัก | แผนการด าเนินงาน ปี ๒๕๖๐-๒๕๖๔ |
๖๐ | ๖๑ | ๖๒ | ๖๓ | ๖๔ |
(๓) กลยุทธ์สนับสนุน (Complementary Program) | ๓.๑ มาตรการพัฒนาบุคลากรด้านอนุรักษ์ พลังงาน | โครงการพัฒนาบุคลากรด้านการอนุรักษ์พลังงานแยกตามประเภทอาคาร | | | | | |
| | | | |
โครงการพัฒนาบุคลากรด้านการอนุรักษ์พลังงานจากกรณีตัวอย่างที่ประสบ ความสําเร็จสําหรับโรงงานและอาคารควบคุม | | | | | |
| | | | |
โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อการตรวจวิเคราะห์ด้านพลังงาน (Energy audit) | | | | | |
| | | | |
โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อนําเทคโนโลยีด้านการอนุรักษ์พลังงานไปประยุกต์ใช้งาน | | | | | |
| | | | |
โครงการส่งเสริมเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานในอาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระ เกียรติ | | | | | |
| | | | |
โครงการปรับปรุงศูนย์แสดงเทคโนโลยีด้านการอนุรักษ์พลังงาน Display Center | | | | | |
|
โครงการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมที่เหมาะสมสําหรับอุปกรณ์ที่ใช้กับ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) | | | | | |
| | | | |
โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มศักยภาพในการสาธิตอาคารภาครัฐนอกข่ายควบคุม | | | | | |
| | | |
โครงการพัฒนาบุคลากรด้านเทคนิคการตรวจวัดวิเคราะห์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน | | | | | |
| | | |
โครงการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีและมาตรการอนุรักษ์พลังงาน | | | | | |
| | | |
โครงการพัฒนาการให้บริการวิชาการด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานผ่าน ศูนย์บริการวิชาการด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ ๒ | | | | | |
| | | | |
โครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (งบประมาณแผ่นดิน) | | | | | |
| | | | |
โครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในอาคารขนาดกลางและขนาดย่อม (งบประมาณ แผ่นดิน) | | | | | |
| | | | |
โครงการเพิ่มศักยภาพการถ่ายทอดและเผยแพร่การอนุรักษ์พลังงานของศูนย์บริการ วิชาการ | | | | | |
| | | | |
๔๔
| | โครงการเตรียมความพร้อมผู้นําคลื่นยุคใหม่ (new wave leadership) เพื่อตอบสนอง การพัฒนาการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนของ พพ. | | | | | |
| | |
โครงการทีมเทคนิคและอาชีวศึกษาเพื่อการประหยัดพลังงาน (การประกวดสิ่งประดิษฐ์ เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน) | | | | | |
| | | | |
กลยุทธ์ | มาตรการด าเนินการ | โครงการหลัก | แผนการด าเนินงาน ปี ๒๕๖๐-๒๕๖๔ |
๖๐ | ๖๑ | ๖๒ | ๖๓ | ๖๔ |
(๓) กลยุทธ์สนับสนุน (Complementary Program) | ๓.๑ มาตรการพัฒนาบุคลากรด้านอนุรักษ์ พลังงาน | โครงการสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในอาคาธุรกิจ (นอกข่ายควบคุม) | | | | | |
| | |
๓.๒ มาตรการประชาสมั พันธ์สร้าง จิตส านึกการอนุรักษ์พลังงาน | โครงการพัฒนาหลักสูตรการสร้างพฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงานสําหรับเจ้าหน้าที่ ภาครัฐ และประชาชนที่สนใจทั่วไป | | | | | |
|
โครงการพัฒนาหลักสูตรการสร้างจิตสํานึกด้านการอนุรักษ์พลังงาน | | | | | |
|
โครงการ Energy Smart Use ใช้พลังงานอย่างชาญฉลาด | | | | | |
| | | |
โครงการถ่ายทอดความรู้ด้านอนุรักษ์พลังงานผ่านอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง | | | | | |
| | | | |
โครงการถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านพลังงานตามมิติศาสนาอิสลาม | | | | | |
| | | | |
โครงการค่ายเยาวชนรักษ์พลังงาน | | | | | |
| | | | |
โครงการอนุรักษ์พลังงานในศาสนสถาน | | | | | |
| | | | |
โครงการเผยแพร่ ถ่ายทอดและจัดนิทรรศการเครื่องจักรวัสดุ อุปกรณ์และ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพพลังงานสูง | | | | | |
| | | |
โครงการถ่ายทอดและเผยแพร่การสร้างบ้านประหยัดพลังงานในศูนย์บริการวิชาการ | | | | | |
| | | |
โครงการสํารวจและจัดทําฐานข้อมูลประสิทธิภาพพลังงานและแผนงานสําหรับโรงงาน อุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจการค้าขนาดกลางและขนาดเล็ก | | | | | |
| | |
โครงการจัดทําฐานข้อมูลอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง | | | | | |
|
โครงการจัดทําฐานข้อมูลศูนย์บริการวิชาการ | | | | | |
|
โครงการบริหารงานเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน | | | | | |
| | | | |
โครงการผลิตและเผยแพร่สารคดีด้านอนุรักษ์พลังงานผ่านสื่อวีดีทัศน์ | | | | | |
| | | | |
โครงการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์การสร้างเครือข่ายด้านการอนุรักษ์พลังงาน | | | | | |
| | | | |
๔๕
| | โครงการ Thailand Energy Awards | | | | | |
| | | | |
โครงการประกวดบ้านจัดสรรอนุรักษ์พลังงานดีเด่น | | | | | |
| | | | |
โครงการถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีด้านอนุรักษ์พลังงานในกลุ่มอุตสาหกรรม วิสาหกิจชุมชน | | | | | |
| | | | |
กลยุทธ์ | มาตรการด าเนินการ | โครงการหลัก | แผนการด าเนินงาน ปี ๒๕๖๐-๒๕๖๔ |
๖๐ | ๖๑ | ๖๒ | ๖๓ | ๖๔ |
(๓) กลยุทธ์สนับสนุน (Complementary Program) | ๓.๒ มาตรการประชาสมั พันธ์สร้าง จิตส านึกการอนุรักษ์พลังงาน | โครงการเผยแพร่และส่งเสริมการใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงและวัสดุเพื่อ การอนุรักษ์พลังงาน | | | | | |
| | | | |
โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานผ่านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและ การแสดง | | | | | |
| | | |
โครงการวิทยากรตัวคูณพลังงานสําหรับผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบ | | | | | |
| | | |
โครงการถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีอนุรักษ์พลังงานแบบเชิงรุก | | | | | |
โครงการส่งเสริมโรงเรียนอนุรักษ์พลังงานตัวอย่าง | | | | | |
โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการที่บํารุงรักษาเครื่องปรับอากาศให้ได้ตาม มาตรฐาน | | | | | |
| | | |
โครงการถ่ายทอดและเผยแพร่การอนุรักษ์พลังงานในบ้านอยู่อาศัยและสํานักงานใน เขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์บริการวิชาการ | | | | | |
| | | | |
โครงการพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานสําหรับ ผู้บริหาร (DOC) | | | | | |
| |
โครงการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลภูมิสารสนเทศ (Geo Informatics) เพื่อการพัฒนา พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน | | | | | |
| |
โครงการเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องบ้านประหยัดพลังงาน | | | | | |
| | | | |
โครงการพัฒนาระบบวางแผนและติดตามการดําเนินงานโครงการด้านอนุรักษ์พลังงาน | | | | | |
| | |
โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศพลังงานควบคุม | | | | | |
| |
โครงการพัฒนาปรับปรุงศูนย์ข้อมูลองค์ความรู้พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน | | | | | |
| |
โครงการประชาสัมพันธ์การอนุรักษ์พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ | | | | | |
| | | | |
๔๖
| | โครงการพัฒนาปรับปรุงฐานข้อมูลการลงทุนโครงการพัฒนาพลังงานทดแทนและ อนุรักษ์พลังงานเชิงพื้นที่ | | | | | |
| |
โครงการปรับปรุงฐานข้อมูลศักยภาพพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานเชิงพื้นที่ | | | | | |
|
๔๗
ตารางที่ ๑๑ รายละเอียดด้านงบประมาณ ผลประหยัดที่คาดว่าจะได้รับ และกลุ่มเป้าหมายของแต่ละโครงการตามแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน ๒๐ ปี ในช่วง พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔
ล าดับ | ชื่อโครงการ | รายการ | | แผนการด าเนินงาน ป ี๒๕๖๐-๒๕๖๔ | |
๒๕๖๐ | ๒๕๖๑ | ๒๕๖๒ | ๒๕๖๓ | ๒๕๖๔ |
๑) กลยุทธ์ภาคบังคับ มาตรการที่ ๑ มาตรการบังคับใช้มาตรฐานการอนุรักษ์พลังงานในโรงงาน/อาคารควบคุม | | | |
๑.๑ | งานกํากับดูแลและส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมาย สําหรับโรงงานควบคุม | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๘๐.๐๐ | ๘๓.๐๐ | ๘๖.๐๐ | ๘๙.๐๐ | ๙๑.๐๐ |
ผลประหยัด (ktoe) | ๒๘๙.๐๐ | ๒๙๙.๐๐ | ๓๐๖.๐๐ | ๓๑๓.๐๐ | ๓๒๐.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๖,๑๒๕ แห่ง | ๖,๔๑๕ แห่ง | ๖,๖๙๗ แห่ง | ๖,๙๗๖ แห่ง | ๗,๒๖๑ แห่ง |
๑.๒ | งานกํากับดูแลและส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมาย สําหรับอาคารควบคุมเอกชน | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๕๐.๗๖ | ๕๔.๑๑ | ๕๘.๒๒ | ๖๑.๕๘ | ๖๕.๖๙ |
ผลประหยัด (ktoe) | ๑๕.๙๕ | ๑๖.๘๒ | ๑๘.๔๒ | ๑๙.๒๙ | ๒๐.๙๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๒,๕๕๔ แห่ง | ๒,๗๓๕ แห่ง | ๒,๙๑๖ แห่ง | ๓,๐๙๙ แห่ง | ๓,๒๘๕ แห่ง |
๑.๓ | งานกํากับดูแลและส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมาย สําหรับอาคารควบคุมภาครัฐ | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๙.๒๔ | ๑๙.๘๙ | ๒๐.๗๘ | ๒๑.๔๒ | ๒๒.๓๑ |
ผลประหยัด (ktoe) | ๖.๐๕ | ๖.๑๘ | ๖.๕๘ | ๖.๗๑ | ๗.๑๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๙๖๘ แห่ง | ๑,๐๐๕ แห่ง | ๑,๐๔๑ แห่ง | ๑,๐๗๘ แห่ง | ๑,๑๑๖ แห่ง |
๑.๔ | โครงการงานขึ้นทะเบียนและกํากับดูแลการออกใบอนุญาตในการ ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๖.๕๐ | ๑๖.๕๐ | ๑๖.๕๐ | ๑๖.๕๐ | ๑๖.๕๐ |
๑.๕ | โครงการจัดทําตัวชี้วัดสมรรถนะดา้ นพลงั งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ใช้พลังงานในโรงงานและอาคารควบคุม | ปีด าเนินการ | ● | ● | | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๘๐.๐๐ | ๑๕๐.๐๐ | | | |
๑.๖ | โครงการปรับปรุงกฎระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง | ปีด าเนินการ | ● | | | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๕.๐๐ | | | | |
๑.๗ | | ปีด าเนินการ | | ● | | ● | |
๔๘
ล าดับ | ชื่อโครงการ | รายการ | แผนการด าเนินงาน ป ี๒๕๖๐-๒๕๖๔ |
๒๕๖๐ | ๒๕๖๑ | ๒๕๖๒ | ๒๕๖๓ | ๒๕๖๔ |
| โครงการพัฒนาต่อยอดการดําเนินการจัดการพลังงานตาม กฎหมายประเทศไทยไปสู่ระบบการจัดการพลังงานในระดับสากล (ISO ๕๐๐๐๑) | งบประมาณ (ล้านบาท) | | ๑๐.๐๐ | | ๑๐.๐๐ | |
กลุ่มเป้าหมาย | | ๑๐๐ แห่ง | | ๑๐๐ แห่ง | |
๑.๘ | โครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบข้อมูลด้านอนุรักษ์พลังงานทาง อิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับภารกิจตามกฎหมายและภารกิจด้าน ทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | +๑ ฐานฯ | | | | |
๑.๙ | โครงการส่งเสริมการดําเนินงานมาตรการอนุรักษ์พลังงานด้วย กลไกการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานตามกฎหมาย | ปีด าเนินการ | ● | ● | | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๗๘.๕๐ | ๑๔๘.๒๐ | | | |
กลุ่มเป้าหมาย | ๔,๗๒๑ แห่ง | ๗,๙๒๔ แห่ง | | | |
๑.๑๐ | โครงการที่ปรึกษาบริหารกํากับดูแลอาคาร โรงงานควบคุมและ ผู้ตรวจสอบพลังงาน | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ |
๑.๑๑ | โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงานในระบบผลิตและใช้ ไอน้ําสําหรับโรงงานควบคุม | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๕.๐๐ | ๑๕.๐๐ | ๑๕.๐๐ | ๑๕.๐๐ | ๑๕.๐๐ |
ผลประหยัด (ktoe) | ๗.๕๐ | ๗.๕๐ | ๗.๕๐ | ๗.๕๐ | ๗.๕๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๒๐๐ แห่ง | ๒๐๐ แห่ง | ๒๐๐ แห่ง | ๒๐๐ แห่ง | ๒๐๐ แห่ง |
๑.๑๒ | โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงานในระบบอัดอากาศ สําหรับโรงงานควบคุม | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ |
ผลประหยัด (ktoe) | ๕.๐๐ | ๕.๐๐ | ๕.๐๐ | ๕.๐๐ | ๕.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๒๐๐ แห่ง | ๒๐๐ แห่ง | ๒๐๐ แห่ง | ๒๐๐ แห่ง | ๒๐๐ แห่ง |
๑.๑๓ | โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงานในระบบทําน้ําเย็น (chiller) สําหรับอาคารควบคุม | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ |
ผลประหยัด (ktoe) | ๕.๐๐ | ๕.๐๐ | ๕.๐๐ | ๕.๐๐ | ๕.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๕๐ แห่ง | ๕๐ แห่ง | ๕๐ แห่ง | ๕๐ แห่ง | ๕๐ แห่ง |
๑.๑๔ | | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
๔๙
ล าดับ | ชื่อโครงการ | รายการ | | แผนการด าเนินงาน ป ี๒๕๖๐-๒๕๖๔ | |
๒๕๖๐ | ๒๕๖๑ | ๒๕๖๒ | ๒๕๖๓ | ๒๕๖๔ |
| โครงการพัฒนาหลักสูตรการจัดทํารายงานการจัดการพลังงาน โดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Form) | งบประมาณ (ล้านบาท) | ๕.๐๐ | ๔.๐๐ | ๔.๐๐ | ๔.๐๐ | ๔.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๔๐๐ คน | ๔๐๐ คน | ๔๐๐ คน | ๔๐๐ คน | ๔๐๐ คน |
๑.๑๕ | โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อเป็นผู้รับผิดชอบด้านพลังงานตาม กฎหมาย (เก็บค่าใช้จ่ายตั้งแต่ปี ๒๕๖๒-๒๕๖๔) | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๗.๖๑ | ๑๗.๖๑ | ๔.๘๗ | ๔.๘๗ | ๔.๘๗ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๑,๘๐๐ คน | ๑,๘๐๐ คน | ๑,๘๐๐ คน | ๑,๘๐๐ คน | ๑,๘๐๐ คน |
๑.๑๖ | โครงการพัฒนาขีดความสามารถผู้รับผิดชอบด้านพลังงานในด้าน การเพิ่มประสิทธิภาพ วัสดุ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในโรงงาน และอาคารควบคุม (Refresh PRE) | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๕.๖๑ | ๕.๖๑ | ๕.๖๑ | ๕.๖๑ | ๕.๖๑ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๒,๕๐๐ คน | ๒,๕๐๐ คน | ๒,๕๐๐ คน | ๒,๕๐๐ คน | ๒,๕๐๐ คน |
๑.๑๗ | โครงการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้านการจัดการพลังงานสําหรับ ผู้บริหารโรงงานและอาคารควบคุม | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๔.๐๐ | ๔.๐๐ | ๔.๐๐ | ๔.๐๐ | ๔.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๓๐๐ คน | ๓๐๐ คน | ๓๐๐ คน | ๓๐๐ คน | ๓๐๐ คน |
๑.๑๘ | โครงการพัฒนาบุคลากรภาคปฏิบัติด้านการตรวจประเมิน สมรรถนะเครื่องจักรอุปกรณ์หลักภายใต้ระบบการจัด การพลังงานตามกฎหมาย | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๕.๐๐ | ๕.๐๐ | ๕.๐๐ | ๕.๐๐ | ๕.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๔๐๐ คน | ๔๐๐ คน | ๔๐๐ คน | ๔๐๐ คน | ๔๐๐ คน |
๑.๑๙ | โครงการพัฒนาผู้ตรวจประเมินการจัดการพลังงานภายในองค์กร | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๗.๐๐ | ๗.๐๐ | ๗.๐๐ | ๗.๐๐ | ๗.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๑,๕๐๐ คน | ๑,๕๐๐ คน | ๑,๕๐๐ คน | ๑,๕๐๐ คน | ๑,๕๐๐ คน |
๑.๒๐ | โครงการพัฒนาผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน (เก็บ ค่าใช้จ่ายตั้งแต่ปี ๒๕๖๒-๒๕๖๔) | ปีด าเนินการ | ● | ● | | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๓.๕๐ | ๓.๕๐ | - | - | - |
กลุ่มเป้าหมาย | ๓๐๐ คน | ๓๐๐ คน | ๓๐๐ คน | ๓๐๐ คน | ๓๐๐ คน |
๑.๒๑ | | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | | |
๕๐
ล าดับ | ชื่อโครงการ | รายการ | | แผนการด าเนินงาน ป ี๒๕๖๐-๒๕๖๔ | |
๒๕๖๐ | ๒๕๖๑ | ๒๕๖๒ | ๒๕๖๓ | ๒๕๖๔ |
| โครงการพัฒนาหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานและผู้ ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานภายใต้ พ.ร.บ.การ ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ | งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ | ๕.๐๐ | | |
กลุ่มเป้าหมาย | ๔ หลักสูตร | เอกสารและข้อสอบ ๘ ชุด | ๑ รายงานส าหรับ การประเมินผลฯ ๘ หลักสูตร | | |
๑.๒๒ | โครงการพัฒนาบุคลากรในการใช้และบํารุงรักษา เครื่องปรับอากาศในอาคารภาครัฐ | ปีด าเนินการ | ● | ● | | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๖.๐๐ | ๖.๐๐ | | | |
กลุ่มเป้าหมาย | ๔๐๐ แห่ง ๑๒๐๐ คน | ๔๐๐ แห่ง ๑๒๐๐ คน | | | |
๑) กลยุทธ์ภาคบังคับ มาตรการที่ ๒ มาตรการบังคับมาตรฐานอาคารก่อสร้างใหม่เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน | | | |
๒.๑ | โครงการบริหารศูนย์ประสานงานการออกแบบอาคารเพื่อการ อนุรักษ์พลังงาน | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๕.๐๐ | ๑๕.๐๐ | ๑๕.๐๐ | ๑๕.๐๐ | ๑๕.๐๐ |
ผลประหยัด (ktoe) | ๖.๐๐ | ๖.๐๐ | ๘.๐๐ | ๑๗.๐๐ | ๒๑.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๑๐๐ แห่ง | ๑๐๐ แห่ง | ๑๕๐ แห่ง | ๓๐๐ แห่ง | ๓๕๐ แห่ง |
๒.๒ | โครงการศึกษาและนําร่องกลยุทธ์ BEC เชิงรุก | ปีด าเนินการ | ● | ● | | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ | | | |
กลุ่มเป้าหมาย | ๑๐ แห่ง | ๒๐ แห่ง | | | |
๒.๓ | โครงการศึกษาปรับปรุงระดับเกณฑ์มาตรฐาน หลักเกณฑ์และ วิธีการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน | ปีด าเนินการ | | | | | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | | | | | ๑๐.๕๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | | | | | ๑ เกณฑ์ |
๒.๔ | โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและโปรแกรม BEC | ปีด าเนินการ | ● | | | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๐.๐๐ | | | | |
กลุ่มเป้าหมาย | ๑ ฐานฯ | | | | |
| | | | | | | |
๒.๕ | | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
๕๑
ล าดับ | ชื่อโครงการ | รายการ | | แผนการด าเนินงาน ป ี๒๕๖๐-๒๕๖๔ | |
๒๕๖๐ | ๒๕๖๑ | ๒๕๖๒ | ๒๕๖๓ | ๒๕๖๔ |
| โครงการส่งเสริมเพื่อจูงใจให้อาคารนิยมติดฉลากสําหรับอาคาร ก่อสร้างใหม่ | งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ |
๒.๖ | โครงการจัดทําแนวทางการกําหนดหลักเกณฑ์การฝึกอบรมเพื่อ ขึ้นทะเบียนผู้ตรวจแบบเอกชน | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๐.๔๐ | ๐.๔๐ | ๐.๔๐ | ๐.๔๐ | ๐.๔๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | +๑๐ ทีม | +๑๐ ทีม | +๑๐ ทีม | +๑๐ ทีม | +๑๐ ทีม |
๒.๗ | โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อการออกแบบอาคารตามกฎหมาย (BEC) สําหรับผู้ประกอบการธุรกิจ สถาบันวิชาชีพ สถาบันการศึกษาและผู้ตรวจแบบ | ปีด าเนินการ | | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | | ๑๖.๐๐ | ๒๐.๐๐ | ๑๖.๐๐ | ๑๖.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | | ๒๒๐๐ | ๒๒๐๐ | ๒๒๐๐ | ๒๒๐๐ |
๑) กลยุทธ์ภาคบังคับ มาตรการที่ ๓ มาตรการกาหนดมาตรฐานและติดฉลากอุปกรณ์เครื่องจักรและวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (Labeling) | | |
๓.๑ | โครงการศึกษาหรือทบทวนค่ามาตรฐานประสิทธิภาพพลังงาน ของผลิตภัณฑ์ | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๓๕.๐๐ | ๒๘.๐๐ | ๒๘.๐๐ | ๒๘.๐๐ | ๒๘.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ศึกษาและ/หรือ ทบทวน ๕ | ศึกษาและ/หรือ ทบทวน ๔ | ศึกษาและ/หรือ ทบทวน ๔ | ศึกษาและ/หรือ ทบทวน ๔ | ศึกษาและ/หรือ ทบทวน ๔ |
๓.๒ | โครงการส่งเสริมเครื่องจักรอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงและวัสดุเพื่อ การอนุรักษ์พลังงานโดยการติดฉลาก | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๔๕.๐๐ | ๔๕.๐๐ | ๕๐.๐๐ | ๕๐.๐๐ | ๖๐.๐๐ |
ผลประหยัด (ktoe) | ๒๐๐.๐๐ | ๒๑๐.๐๐ | ๒๒๐.๐๐ | ๒๓๐.๐๐ | ๒๔๐.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๖ ล้านใบ | ๖ ล้านใบ | ๗ ล้านใบ | ๗ ล้านใบ | ๘ ล้านใบ |
๓.๓ | โครงการสนับสนุนหน่วยงานทดสอบเพื่อยกระดับห้องทดสอบ ผลิตภัณฑ์สู่มาตรฐานสากล และเพิ่มขีดความสามารถผู้ผลิตใน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๕.๒๐ | ๓๐.๓๐ | ๓๐.๓๐ | ๓๐.๓๐ | ๓๐.๓๐ |
๕๒
ล าดับ | ชื่อโครงการ | รายการ | | แผนการด าเนินงาน ป ี๒๕๖๐-๒๕๖๔ | |
๒๕๖๐ | ๒๕๖๑ | ๒๕๖๒ | ๒๕๖๓ | ๒๕๖๔ |
๓.๔ | โครงการศึกษาแนวทางการบังคับใช้การติดฉลากประสิทธิภาพ ผลิตภัณฑ์ และสํารวจผลิตภัณฑ์ที่จะติดฉลากเพิ่มเติม | ปีด าเนินการ | ● | | | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๐.๒๐ | | | | |
๓.๕ | โครงการจัดทําการประเมินผลและการทวนสอบการติดฉลากของ อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๓๐.๓๐ | ๓๐.๓๐ | ๒๐.๒๐ | ๒๐.๒๐ | ๒๕.๓๐ |
๒) | กลยุทธ์ภาคความร่วมมือ มาตรการที่ ๕ มาตรการช่วยเหลือ/อุดหนุนการด าเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน | | | |
๕.๑ | โครงการศึกษาและนําร่องการสนับสนุน SOP ให้กับ SMEs และ/ หรือ บ้านอยู่อาศัย | ปีด าเนินการ | ● | | | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๒๒๐.๐๐ | | | | |
ผลประหยัด (ktoe) | ๑๐.๐๐ | | | | |
กลุ่มเป้าหมาย | ๔๐๐ แห่ง | | | | |
๕.๒ | โครงการสนับสนุน SOP ให้กับ SMEs และ/หรือ บ้านอยู่อาศัย | ปีด าเนินการ | | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | | ๕๔๐.๐๐ | ๕๔๐.๐๐ | ๕๔๐.๐๐ | ๕๔๐.๐๐ |
ผลประหยัด (ktoe) | | ๒๕.๐๐ | ๒๕.๐๐ | ๒๕.๐๐ | ๒๕.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | | ๑๐๐๐ แห่ง | ๑๐๐๐ แห่ง | ๑๐๐๐ แห่ง | ๑๐๐๐ แห่ง |
๕.๓ | โครงการศึกษาศักยภาพการประหยัดพลังงานและแนวทาง ส่งเสริมสําหรับอาคารภาครัฐนอกข่ายควบคุม | ปีด าเนินการ | ● | | | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๔๐.๐๐ | | | | |
กลุ่มเป้าหมาย | ๑ ผลการศึกษา | | | | |
๕.๔ | โครงการการเพิ่มประสิทธิภาพการอนุรักษ์พลังงานอย่างเข้มข้น สําหรับโรงงานและอาคาร SMEs | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๕๘๐.๐๐ | ๕๘๐.๐๐ | ๕๘๐.๐๐ | ๕๘๐.๐๐ | ๕๘๐.๐๐ |
ผลประหยัด (ktoe) | ๓๐.๐๐ | ๓๐.๐๐ | ๓๐.๐๐ | ๓๐.๐๐ | ๓๐.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๑๐๐๐ แห่ง | ๑๐๐๐ แห่ง | ๑๐๐๐ แห่ง | ๑๐๐๐ แห่ง | ๑๐๐๐ แห่ง |
๕.๕ | โครงการสาธิตการใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงานในอาคารภาครัฐ นอกข่ายควบคุม | ปีด าเนินการ | | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | | ๕๔๐.๐๐ | ๕๔๐.๐๐ | ๕๔๐.๐๐ | ๕๔๐.๐๐ |
๕๓
ล าดับ | ชื่อโครงการ | รายการ | | แผนการด าเนินงาน ป ี๒๕๖๐-๒๕๖๔ | |
๒๕๖๐ | ๒๕๖๑ | ๒๕๖๒ | ๒๕๖๓ | ๒๕๖๔ |
| | ผลประหยัด (ktoe) | | ๒๐.๐๐ | ๒๐.๐๐ | ๒๐.๐๐ | ๒๐.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | | ๒๕๐ แห่ง | ๒๕๐ แห่ง | ๒๕๐ แห่ง | ๒๕๐ แห่ง |
๕.๖ | โครงการสนับสนุนทางการเงินเพื่อส่งเสริมบ้านประหยัดพลังงาน | ปีด าเนินการ | | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | | ๕๔๐.๐๐ | ๕๔๐.๐๐ | ๕๔๐.๐๐ | ๕๔๐.๐๐ |
ผลประหยัด (ktoe) | | ๘.๐๐ | ๘.๐๐ | ๘.๐๐ | ๘.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | | ๑๐๐๐ แห่ง | ๑๐๐๐ แห่ง | ๑๐๐๐ แห่ง | ๑๐๐๐ แห่ง |
๕.๗ | โครงการการเพิ่มประสิทธิภาพการอนุรักษ์พลังงานด้วยเงิน หมุนเวียนดอกเบี้ยต่ํา (Soft loan) | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑,๑๙๑.๐๐ | ๑,๑๙๑.๐๐ | ๒๖๑.๐๐ | | |
ผลประหยัด (ktoe) | ๕๔.๐๐ | ๕๔.๐๐ | ๑๗.๐๐ | | |
๕.๘ | โครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานโดยสถาบัน การเงิน | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๒.๕๐ | ๑๒.๕๐ | ๑๒.๕๐ | ๑๓.๗๐ | ๑๒.๕๐ |
๕.๙ | โครงการส่งเสริมธุรกิจและกระตุ้นตลาดการอนุรักษ์พลังงานโดย กลไกบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๔.๐๐ | ๑๔.๐๐ | ๑๔.๐๐ | ๑๔.๐๐ | ๑๔.๐๐ |
ผลประหยัด (ktoe) | ๑๕.๐๐ | ๑๕.๐๐ | ๑๕.๐๐ | ๑๕.๐๐ | ๑๕.๐๐ |
๕.๑๐ | โครงการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงาน ทดแทนด้วยเงินทุนหมุนเวียน (ESCO Revolving Fund) | ปีด าเนินการ | ● | | ● | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๕๒๕.๐๐ | | ๕๒๕.๐๐ | | |
ผลประหยัด (ktoe) | ๑๐.๐๐ | | ๑๐.๐๐ | | |
๕.๑๑ | โครงการสาธิตเทคโนโลยีเชิงลึกเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ ๓ | ปีด าเนินการ | ● | | | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๓๖.๖๐ | | | ๔๐.๐๐ | ๔๐.๐๐ |
ผลประหยัด (ktoe) | ๒.๓๐ | | | ๒.๕๖ | ๒.๕๖ |
๕.๑๒ | โครงการสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน | ปีด าเนินการ | ● | ● | | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๗.๕๐ | ๗.๕๐ | | | |
ผลประหยัด (ktoe) | ๑๖.๐๐ | ๑๖.๐๐ | | | |
๕.๑๓ | โครงการการสนับสนุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักร อุปกรณ์ในภาครัฐ (Block Grant) | ปีด าเนินการ งบประมาณ (ล้านบาท) | ● ๕๒๕.๐๐ | ● ๕๒๕.๐๐ | ● ๕๒๕.๐๐ | ● ๕๒๕.๐๐ | ● ๕๒๕.๐๐ |
๕๔
ล าดับ | ชื่อโครงการ | รายการ | | แผนการด าเนินงาน ป ี๒๕๖๐-๒๕๖๔ | |
๒๕๖๐ | ๒๕๖๑ | ๒๕๖๒ | ๒๕๖๓ | ๒๕๖๔ |
| | ผลประหยัด (ktoe) | ๔.๐๐ | ๔.๐๐ | ๔.๐๐ | ๔.๐๐ | ๔.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๑๐๐ แห่ง | ๑๐๐ แห่ง | ๑๐๐ แห่ง | ๑๐๐ แห่ง | ๑๐๐ แห่ง |
๕.๑๔ | โครงการพัฒนาศักยภาพการมีส่วนร่วมแบบบูรณาการเพื่อการ อนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืนสําหรับโรงพยาบาลชุมชน | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๘๐.๐๐ | ๘๐.๐๐ | ๘๐.๐๐ | | |
ผลประหยัด (ktoe) | ๐.๕๕ | ๐.๕๕ | ๐.๕๕ | | |
กลุ่มเป้าหมาย | ๑๒๐ แห่ง | ๑๒๐ แห่ง | ๑๒๐ แห่ง | | |
๕.๑๕ | โครงการอุดหนุนผลประหยัดโดยวิธีประกวดราคา (DSM Bidding) | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๔๐๐.๐๐ | ๔๑๐.๐๐ | ๑,๑๕๖.๐๐ | ๔๑๐.๐๐ | ๔๐๐.๐๐ |
ผลประหยัด (ktoe) | ๙๗.๘๕ | ๑๐๐.๒๙ | ๒๘๒.๗๗ | ๑๐๐.๒๙ | ๙๗.๘๕ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๑๒๐ แห่ง | ๑๒๐ แห่ง | ๑๒๐ แห่ง | | |
๓) กลยุทธ์ภาคความร่วมมือ มาตรการที่ ๖ มาตรการส่งเสริมการใช้แสงสว่างเพื่ออนุรักษ์พลังงาน | | | |
๖.๑ | โครงการสนับสนุนการปรับเปลี่ยนหลอด LED ในหน่วยงาน ภาครัฐ (Block Grant) (อาคารควบคุมและอาคารต่ํากว่าอาคาร ควบคุม) | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๖๓๐.๐๐ | ๖๓๐.๐๐ | ๖๓๐.๐๐ | ๖๓๐.๐๐ | ๖๓๐.๐๐ |
ผลประหยัด (ktoe) | ๙.๓๔ | ๙.๓๔ | ๙.๓๔ | ๙.๓๔ | ๙.๓๔ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๑๕๐ แห่ง | ๑๕๐ แห่ง | ๑๕๐ แห่ง | ๑๕๐ แห่ง | ๑๕๐ แห่ง |
๒) กลยุทธ์ภาคความร่วมมือ มาตรการที่ ๘ มาตรการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอนุรักษ์พลังงาน | | | |
๘.๑ | โครงการบริหารติดตามงานและประเมินผลด้วยวิธีการพิสูจน์ผล ประหยัดพลังงานของโครงการตามแผนเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน ของกรมพัฒนาพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๓๕.๐๐ | ๓๕.๐๐ | ๓๕.๐๐ | ๓๕.๐๐ | ๓๕.๐๐ |
๘.๒ | การตรวจสอบและออกใบอนุญาตผลิตพลังงานควบคุมตาม พระราชบัญญัติการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ (การผลิตไฟฟ้า) | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๕.๐๐ | ๑๖.๐๐ | ๑๗.๐๐ | ๑๘.๐๐ | |
๕๕
ล าดับ | ชื่อโครงการ | รายการ | | แผนการด าเนินงาน ป ี๒๕๖๐-๒๕๖๔ | |
๒๕๖๐ | ๒๕๖๑ | ๒๕๖๒ | ๒๕๖๓ | ๒๕๖๔ |
๘.๓ | การตรวจสอบและออกใบอนุญาตผลิตพลังงานควบคุมตาม พระราชบัญญัติการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ (การผลิตก๊าซชีวภาพ) | ปีด าเนินการ | | ● | ● | ● | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | | ๑๐.๐๐ | ๑๑.๐๐ | ๑๒.๐๐ | |
๘.๔ | โครงการการศึกษาความเหมาะสมเทคโนโลยีท้องถิ่นเพื่อการ อนุรักษ์พลังงานที่ยั่งยืน | ปีด าเนินการ | | ● | | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | | ๑๐.๐๐ | | | |
กลุ่มเป้าหมาย | | ๑ ผลการศึกษา | | | |
๘.๕ | โครงการการพัฒนาเทคโนโลยีท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์พลังงานที่ ยั่งยืน | ปีด าเนินการ | | | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | - | - | ๖.๐๐ | ๖.๐๐ | ๖.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | | | ๑ ผลิตภัณฑ์ | ๑ ผลิตภัณฑ์ | ๑ ผลิตภัณฑ์ |
๘.๖ | โครงการบริหารจัดการแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงานและ พลังงานทดแทนเชิงรุก | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ |
๘.๗ | โครงการจัดทําระบบสารสนเทศในการติดตามประเมินผล โครงการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน | ปีด าเนินการ | ● | | | | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๒๐.๐๐ | | | | ๑๕.๐๐ |
๘.๘ | โครงการส่งเสริมการดําเนินธุรกิจพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ พลังงานในอาเซียน | ปีด าเนินการ | | ● | | ● | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | | ๑๕.๐๐ | | ๑๕.๐๐ | |
๓) กลยุทธ์ภาคความร่วมมือ มาตรการที่ ๙ มาตรการพัฒนาบุคลากรด้านอนุรักษ์พลังงาน | | | | |
๙.๑ | โครงการศึกษาและจัดตั้งศูนย์วิเคราะห์และเผยแพร่ข้อมูลการ อนุรักษ์พลังงานสําหรับโรงงานและอาคารควบคุม | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๐.๐๐ | ๓.๐๐ | ๓.๐๐ | ๓.๐๐ | ๓.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๑ ระบบ | บ ารุงรักษาระบบฐานข้อมูล | |
๙.๒ | โครงการเพิ่มขีดความสามารถด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ พลังงานให้กับบุคลากรของ พพ. | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๓.๕๐ | ๓.๕๐ | ๓.๕๐ | ๓.๕๐ | ๓.๕๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๓๐๐ คน | ๓๐๐ คน | ๓๐๐ คน | ๓๐๐ คน | ๓๐๐ คน |
๕๖
ล าดับ | ชื่อโครงการ | รายการ | แผนการด าเนินงาน ป ี๒๕๖๐-๒๕๖๔ |
๒๕๖๐ | ๒๕๖๑ | ๒๕๖๒ | ๒๕๖๓ | ๒๕๖๔ |
๙.๓ | โครงการพัฒนาบุคลากรด้านการอนุรักษ์พลังงานแยกตาม ประเภทอาคาร | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๕.๒๐ | ๑๕.๒๐ | ๑๕.๒๐ | ๑๕.๒๐ | ๑๕.๒๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๑,๒๐๐ คน | ๑,๒๐๐ คน | ๑,๒๐๐ คน | ๑,๒๐๐ คน | ๑,๒๐๐ คน |
๙.๔ | โครงการพัฒนาบุคลากรด้านการอนุรักษ์พลังงานจากกรณี ตัวอย่างที่ประสบความสําเร็จสําหรับโรงงานและอาคารควบคุม | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๗.๒๐ | ๗.๒๐ | ๗.๒๐ | ๗.๒๐ | ๗.๒๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๑,๐๐๐ คน | ๑,๐๐๐ คน | ๑,๐๐๐ คน | ๑,๐๐๐ คน | ๑,๐๐๐ คน |
๙.๕ | โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อการตรวจวิเคราะห์ด้านพลังงาน (Energy audit) | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๒๗.๗๐ | ๒๗.๗๐ | ๒๗.๗๐ | ๒๗.๗๐ | ๒๗.๗๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๑,๒๑๐ คน | ๑,๒๑๐ คน | ๑,๒๑๐ คน | ๑,๒๑๐ คน | ๑,๒๑๐ คน |
๙.๖ | โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อนําเทคโนโลยีด้านการอนุรักษ์ พลังงานไปประยุกต์ใช้งาน | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๕.๐๐ | ๑๕.๐๐ | ๑๕.๐๐ | ๑๕.๐๐ | ๑๕.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๘๐๐ คน ๑๐ แห่ง | ๘๐๐ คน ๑๐ แห่ง | ๘๐๐ คน ๑๐ แห่ง | ๘๐๐ คน ๑๐ แห่ง | ๘๐๐ คน ๑๐ แห่ง |
๙.๗ | โครงการส่งเสริมเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานในอาคารอนุรักษ์ พลังงานเฉลิมพระเกียรติ | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๖.๐๐ | ๑๓.๐๐ | ๑๓.๐๐ | ๑๓.๐๐ | ๑๓.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๗,๐๐๐ คน | ๑,๕๐๐๐ คน | ๑,๕๐๐๐ คน | ๑,๕๐๐๐ คน | ๑,๕๐๐๐ คน |
๙.๘ | โครงการปรับปรุงศูนย์แสดงเทคโนโลยีด้านการอนุรักษ์พลังงาน Display Center | ปีด าเนินการ | ● | | | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๔๐.๐๐ | | | | |
๙.๙ | โครงการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมที่เหมาะสม สําหรับอุปกรณ์ที่ใช้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๒.๐๐ | ๒.๐๐ | ๒.๐๐ | ๒.๐๐ | ๒.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๔๐ คน | ๔๐ คน | ๔๐ คน | ๔๐ คน | ๔๐ คน |
๙.๑๐ | โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มศักยภาพในการสาธิตอาคาร ภาครัฐนอกข่ายควบคุม | ปีด าเนินการ | | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | | ๖.๐๐ | ๖.๐๐ | ๖.๐๐ | ๖.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | | ๔๐๐ แห่ง ๑,๒๐๐ คน | ๔๐๐ แห่ง ๑,๒๐๐ คน | ๔๐๐ แห่ง ๑,๒๐๐ คน | ๔๐๐ แห่ง ๑,๒๐๐ คน |
๕๗
ล าดับ | ชื่อโครงการ | รายการ | | แผนการด าเนินงาน ป ี๒๕๖๐-๒๕๖๔ | |
๒๕๖๐ | ๒๕๖๑ | ๒๕๖๒ | ๒๕๖๓ | ๒๕๖๔ |
๙.๑๑ | โครงการพัฒนาบุคลากรด้านเทคนิคการตรวจวัดวิเคราะห์เพื่อ การอนุรักษ์พลังงาน | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๓.๕๐ | ๓.๕๐ | ๓.๕๐ | ๓.๕๐ | |
กลุ่มเป้าหมาย | ๒๐๐ คน | ๒๐๐ คน | ๒๐๐ คน | ๒๐๐ คน | |
๙.๑๒ | โครงการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีและมาตรการอนุรักษ์ พลังงาน | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๓.๕๐ | ๓.๕๐ | ๓.๕๐ | ๓.๕๐ | |
กลุ่มเป้าหมาย | ๒๐๐ คน | ๒๐๐ คน | ๒๐๐ คน | ๒๐๐ คน | |
๙.๑๓ | โครงการพัฒนาการให้บริการวิชาการด้านพลังงานทดแทนและ อนุรักษ์พลังงานผ่านศูนย์บริการวิชาการด้านพลังงานทดแทนและ อนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ ๒ | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๖.๐๐ | ๖.๐๐ | ๖.๐๐ | ๖.๐๐ | ๖.๐๐ |
๙.๑๔ | โครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม ขนาดกลางและขนาดย่อม(งบประมาณแผ่นดิน) | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๐๐.๐๐ | ๑๐๐.๐๐ | ๑๐๐.๐๐ | ๑๐๐.๐๐ | ๑๐๐.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๑๐๐๐ แห่ง | ๑๐๐๐ แห่ง | ๑๐๐๐ แห่ง | ๑๐๐๐ แห่ง | ๑๐๐๐ แห่ง |
๙.๑๕ | โครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในอาคารขนาดกลางและ ขนาดย่อม(งบประมาณแผ่นดิน) | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๒๐.๐๐ | ๒๐.๐๐ | ๒๐.๐๐ | ๒๐.๐๐ | ๒๐.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๔๐๐ แห่ง | ๔๐๐ แห่ง | ๔๐๐ แห่ง | ๔๐๐ แห่ง | ๔๐๐ แห่ง |
๙.๑๖ | โครงการเพิ่มศักยภาพการถ่ายทอดและเผยแพร่การอนุรักษ์ พลังงานของศูนย์บริการวิชาการ | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๕.๐๐ | ๕.๐๐ | ๕.๐๐ | ๕.๐๐ | ๕.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๑๒๐ คน | ๑๒๐ คน | ๑๒๐ คน | ๑๒๐ คน | ๑๒๐ คน |
๙.๑๗ | โครงการเตรียมความพร้อมผู้นําคลื่นยุคใหม่ (new wave leadership) เพื่อตอบสนองการพัฒนาการอนุรักษ์พลังงานและ พลังงานทดแทนของ พพ. | ปีด าเนินการ | ● | | ● | | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๓๕.๐๐ | | ๓๕.๐๐ | | ๓๕.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๖๐ คน | | ๖๐ คน | | ๖๐ คน |
๙.๑๘ | โครงการทีมเทคนิคและอาชีวศึกษาเพื่อการประหยัดพลังงาน (การประกวดสิ่งประดิษฐ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน) | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๒๐.๐๐ | ๒๐.๐๐ | ๒๐.๐๐ | ๒๐.๐๐ | ๒๐.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๑๐๐ ผลงาน ๕๐๐ คน | ๑๐๐ ผลงาน ๕๐๐ คน | ๑๐๐ ผลงาน ๕๐๐ คน | ๑๐๐ ผลงาน ๕๐๐ คน | ๑๐๐ ผลงาน ๕๐๐ คน |
๕๘
ล าดับ | ชื่อโครงการ | รายการ | | แผนการด าเนินงาน ป ี๒๕๖๐-๒๕๖๔ | |
๒๕๖๐ | ๒๕๖๑ | ๒๕๖๒ | ๒๕๖๓ | ๒๕๖๔ |
๙.๑๙ | โครงการสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในอาคาร ธุรกิจ (นอกข่ายควบคุม) | ปีด าเนินการ | ● | | ● | | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๖๐.๐๐ | | ๖๐.๐๐ | | ๖๐.๐๐ |
ผลประหยัด (ktoe) | ๑.๑๕ | | ๑.๑๕ | | ๑.๑๕ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๓๐๐ แห่ง | | ๓๐๐ แห่ง | | ๓๐๐ แห่ง |
๔) กลยุทธ์ภาคความร่วมมือ มาตรการที่ ๑๐ มาตรการประชาสัมพันธ์สร้างจิตสานึกการอนุรักษ์พลังงาน | | | |
๑๐.๑ | โครงการพัฒนาหลักสูตรการสร้างพฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงาน สําหรับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ และประชาชนที่สนใจทั่วไป | ปีด าเนินการ | ● | | | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๔.๐๐ | | | | |
กลุ่มเป้าหมาย | ๒ หลักสูตร | | | | |
๑๐.๒ | โครงการพัฒนาหลักสูตรการสร้างจิตสํานึกด้านการอนุรักษ์ พลังงาน | ปีด าเนินการ | ● | | | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๕.๐๐ | | | | |
กลุ่มเป้าหมาย | ๓ หลักสูตร | | | | |
๑๐.๓ | โครงการ Energy Smart Use ใช้พลังงานอย่างชาญฉลาด | ปีด าเนินการ | | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | | ๑๕.๐๐ | ๑๕.๐๐ | ๑๕.๐๐ | ๑๕.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | | ๑,๐๐๐ คน | ๑,๐๐๐ คน | ๑,๐๐๐ คน | ๑,๐๐๐ คน |
๑๐.๔ | โครงการถ่ายทอดความรู้ด้านอนุรักษ์พลังงานผ่านอุปกรณ์ ประสิทธิภาพสูง | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๗.๐๐ | ๗.๐๐ | ๗.๐๐ | ๗.๐๐ | ๗.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๙๐๐ คน | ๙๐๐ คน | ๙๐๐ คน | ๙๐๐ คน | ๙๐๐ คน |
๑๐.๕ | โครงการถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านพลังงานตามมิติ ศาสนาอิสลาม | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๒๐.๐๐ | ๒๐.๐๐ | ๒๐.๐๐ | ๒๐.๐๐ | ๒๐.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๓๐ มัสยิด | ๓๐ มัสยิด | ๓๐ มัสยิด | ๓๐ มัสยิด | ๓๐ มัสยิด |
๑๐.๖ | โครงการค่ายเยาวชนรักษ์พลังงาน | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๖.๐๐ | ๑๘.๐๐ | ๑๘.๐๐ | ๑๘.๐๐ | ๑๘.๐๐ |
๕๙
ล าดับ | ชื่อโครงการ | รายการ | | แผนการด าเนินงาน ป ี๒๕๖๐-๒๕๖๔ |
๒๕๖๐ | ๒๕๖๑ | ๒๕๖๒ | ๒๕๖๓ | ๒๕๖๔ |
| | กลุ่มเป้าหมาย | ๑๐๐ โรงเรียน (๓๐๐ คน + ขยาย ผล) | ๓๐๐ โรงเรียน (๙๐๐ คน + ขยาย ผล) | ๓๐๐ โรงเรียน (๙๐๐ คน + ขยาย ผล) | ๓๐๐ โรงเรียน (๙๐๐ คน + ขยาย ผล) | ๓๐๐ โรงเรียน (๙๐๐ คน + ขยาย ผล) |
๑๐.๗ | โครงการอนุรักษ์พลังงานในศาสนสถาน | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๖.๐๐ | ๖.๐๐ | ๖.๐๐ | ๖.๐๐ | ๖.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๑๒ วัด | ๑๒ วัด | ๑๒ วัด | ๑๒ วัด | ๑๒ วัด |
๑๐.๘ | โครงการเผยแพร่ ถ่ายทอดและจัดนิทรรศการเครื่องจักรวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพพลังงานสูง ในเขต พื้นที่รับผิดชอบของศูนย์บริการวิชาการ | ปีด าเนินการ | | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | | ๑๐ ครั้ง | ๑๐ ครั้ง | ๑๐ ครั้ง | ๑๐ ครั้ง |
๑๐.๙ | โครงการถ่ายทอดและเผยแพร่การสร้างบ้านประหยัดพลังงานใน ศูนย์บริการวิชาการ | ปีด าเนินการ | | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | | ๑๕.๐๐ | ๘.๐๐ | ๘.๐๐ | ๘.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | | ๑,๐๐๐ คน | ๑,๐๐๐ คน | ๑,๐๐๐ คน | ๑,๐๐๐ คน |
๑๐.๑๐ | โครงการสํารวจและจัดทําฐานข้อมูลประสิทธิภาพพลังงานและ แผนงานสําหรับโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจการค้า ขนาดกลางและขนาดเล็ก | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๒๐.๐๐ | ๒๐.๐๐ | ๒๐.๐๐ | | |
กลุ่มเป้าหมาย | | ๑ ฐานฯ | | |
๑๐.๑๑ | โครงการจัดทําฐานข้อมูลอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง | ปีด าเนินการ | | ● | | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | | ๒๐.๐๐ | | | |
กลุ่มเป้าหมาย | | ๑ ฐานฯ | | | |
๑๐.๑๒ | โครงการจัดทําฐานข้อมูลศูนย์บริการวิชาการ | ปีด าเนินการ | | ● | | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | | ๒๐.๐๐ | | | |
กลุ่มเป้าหมาย | | ๑ ฐานฯ | | | |
๑๐.๑๓ | โครงการบริหารงานเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๒๗.๐๐ | ๒๗.๐๐ | ๒๗.๐๐ | ๒๗.๐๐ | ๒๗.๐๐ |
๖๐
ล าดับ | ชื่อโครงการ | รายการ | | แผนการด าเนินงาน ป ี๒๕๖๐-๒๕๖๔ | |
๒๕๖๐ | ๒๕๖๑ | ๒๕๖๒ | ๒๕๖๓ | ๒๕๖๔ |
๑๐.๑๔ | โครงการผลิตและเผยแพร่สารคดีด้านอนุรักษ์พลังงานผ่านสื่อวีดี ทัศน์ | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๒๐.๐๐ | ๒๐.๐๐ | ๒๐.๐๐ | ๒๐.๐๐ | ๒๐.๐๐ |
๑๐.๑๕ | โครงการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์การสร้างเครือข่ายด้านการ อนุรักษ์พลังงาน | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๒๕.๐๐ | ๒๕.๐๐ | ๒๕.๐๐ | ๒๕.๐๐ | ๒๕.๐๐ |
๑๐.๑๖ | โครงการ Thailand Energy Awards | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๓๐.๐๐ | ๓๐.๐๐ | ๓๐.๐๐ | ๓๐.๐๐ | ๓๐.๐๐ |
๑๐.๑๗ | โครงการประกวดบ้านจัดสรรอนุรักษ์พลังงานดีเด่น | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๕.๐๐ | ๑๕.๐๐ | ๑๕.๐๐ | ๑๕.๐๐ | ๑๕.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๐ | ๐ | ๐ | ๐ | ๐ |
๑๐.๑๘ | โครงการถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีด้านอนุรักษ์พลังงานใน กลุ่มอุตสาหกรรมวิสาหกิจชุมชน | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๕.๐๐ | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๒๔๐ คน | ๑๐๐ แห่ง | ๑๐๐ แห่ง | ๑๐๐ แห่ง | ๑๐๐ แห่ง |
๑๐.๑๙ | โครงการเผยแพร่และส่งเสริมการใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ ประสิทธิภาพสูงและวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๒๕.๐๐ | ๒๕.๐๐ | ๓๐.๐๐ | ๓๐.๐๐ | ๓๐.๐๐ |
๑๐.๒๐ | โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานผ่าน ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและการแสดง | ปีด าเนินการ | | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | | ๕.๐๐ | ๕.๐๐ | ๕.๐๐ | ๕.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | | ๕ ครั้ง | ๕ ครั้ง | ๕ ครั้ง | ๕ ครั้ง |
๑๐.๒๑ | โครงการวิทยากรตัวคูณพลังงานสําหรับผู้ได้รับผลกระทบจาก เหตุการณ์ไม่สงบ | ปีด าเนินการ | | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | | ๕.๐๐ | ๕.๐๐ | ๕.๐๐ | ๕.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | | วิทยากร ๓๐ | วิทยากร ๓๐ | วิทยากร ๓๐ | วิทยากร ๓๐ |
๑๐.๒๒ | โครงการถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีอนุรักษ์พลังงานแบบเชิง รุก | ปีด าเนินการ | | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ | ๑๕.๐๐ | ๑๕.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | | ๒ คัน | ๒ คัน | ๓ คัน | ๓ คัน |
๖๑
ล าดับ | ชื่อโครงการ | รายการ | | แผนการด าเนินงาน ป ี๒๕๖๐-๒๕๖๔ | |
๒๕๖๐ | ๒๕๖๑ | ๒๕๖๒ | ๒๕๖๓ | ๒๕๖๔ |
๑๐.๒๓ | โครงการส่งเสริมโรงเรียนอนุรักษ์พลังงานตัวอย่าง | ปีด าเนินการ | | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | | ๘.๐๐ | ๘.๐๐ | ๘.๐๐ | ๘.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | | ๕๐ แห่ง | ๕๐ แห่ง | ๕๐ แห่ง | ๕๐ แห่ง |
๑๐.๒๔ | โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการที่บํารุงรักษา เครื่องปรับอากาศให้ได้ตามมาตรฐาน | ปีด าเนินการ | | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | | ๖.๐๐ | ๖.๐๐ | ๖.๐๐ | ๖.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | | ๒๐๐ คน | ๒๐๐ คน | ๒๐๐ คน | ๒๐๐ คน |
๑๐.๒๕ | โครงการถ่ายทอดและเผยแพร่การอนุรักษ์พลังงานในบ้านอยู่ อาศัยและสํานักงานในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์บริการ วิชาการ | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๓.๐๐ | ๓.๐๐ | ๓.๐๐ | ๓.๐๐ | ๓.๐๐ |
กลุ่มเป้าหมาย | ๑,๒๐๐ คน | ๑,๒๐๐ คน | ๑,๒๐๐ คน | ๑,๒๐๐ คน | ๑,๒๐๐ คน |
๑๐.๒๖ | โครงการพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลด้านพลังงานทดแทนและ อนุรักษ์พลังงานสําหรับผู้บริหาร(DOC) | ปีด าเนินการ | | ● | | ● | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | | ๑๐.๐๐ | | ๑๐.๐๐ | |
๑๐.๒๗ | โครงการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลภูมิสารสนเทศ (Geo Informatics) เพื่อการพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ พลังงาน | ปีด าเนินการ | | ● | | ● | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | | ๔.๐๐ | | ๔.๐๐ | |
๑๐.๒๘ | โครงการเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องบ้านประหยัดพลังงาน | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๒๕.๐๐ | ๒๕.๐๐ | ๓๐.๐๐ | ๓๐.๐๐ | ๓๐.๐๐ |
๑๐.๒๙ | โครงการพัฒนาระบบวางแผนและติดตามการดําเนินงานโครงการ ด้านอนุรักษ์พลังงาน | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๕.๐๐ | ๑๕.๐๐ | ๑๕.๐๐ | | |
๑๐.๓ | โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศพลังงานควบคุม | ปีด าเนินการ | ● | ● | | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๐.๐๐ | ๑๐.๐๐ | | | |
๑๐.๓๑ | โครงการพัฒนาปรับปรุงศูนย์ข้อมูลองค์ความรู้พลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน | ปีด าเนินการ | ● | | | ● | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๙.๐๐ | | | ๙.๐๐ | |
๑๐.๓๒ | โครงการประชาสัมพันธ์การอนุรักษ์พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ | ปีด าเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๒๕.๐๐ | ๒๕.๐๐ | ๒๕.๐๐ | ๒๕.๐๐ | ๒๕.๐๐ |
๖๒
ล าดับ | ชื่อโครงการ | รายการ | | แผนการด าเนินงาน ป ี๒๕๖๐-๒๕๖๔ | |
๒๕๖๐ | ๒๕๖๑ | ๒๕๖๒ | ๒๕๖๓ | ๒๕๖๔ |
๑๐.๓๓ | โครงการพัฒนาปรับปรุงฐานข้อมูลการลงทุนโครงการพัฒนา พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานเชิงพื้นที่ | ปีด าเนินการ | | ● | | | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | | ๑๕.๐๐ | | | ๑๕.๐๐ |
๑๐.๓๔ | โครงการปรับปรุงฐานข้อมูลศักยภาพพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ พลังงานเชิงพื้นที่ | ปีด าเนินการ | | | ● | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | | | ๑๒.๐๐ | | |
๖๓
ตารางที่ ๑๒ แนวทางการดําเนินการ ในช่วง พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔ ของมาตรการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานอนุรักษ์พลังงานสําหรับผู้ผลิตและจําหน่ายพลังงาน (EERS) และ มาตรการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่ง
กลยุทธ์ | มาตรการด าเนินการ | แนวทางการด าเนินการ | แผนการด าเนินงาน ปี ๒๕๖๐-๒๕๖๔ |
๖๐ | ๖๑ | ๖๒ | ๖๓ | ๖๔ |
(๑) กลยุทธ์ภาคบังคับ (Compulsory Program) ๑.๔ มาตรการบังคบั ใช้เกณฑ์มาตรฐาน อนุรักษ์พลังงานส าหรับผู้ผลิตและ จ าหน่ายพลังงาน (EERS) | การบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานอนุรักษ์พลงั งานสําหรับผู้ผลิต และจําหนา่ ยพลังงาน (EERS) | ปรับปรุงรูปแบบและกลไกการใช้ EERS ที่เหมาะสมกับประเทศไทย | | | | | |
|
ปรับปรุงระบบติดตามและวัดผลการดําเนินการ EERS | | | | | |
|
พัฒนาระบบฐานขอ้ มูล และระบบสารสนเทศ | | | | | |
|
พัฒนากฎหมายและกฎระเบียบรองรับการดําเนินการ EERS | | | | | |
|
นําร่องดําเนินการ EERS | | | | | |
| |
(๒) กลยุทธ์ภาคความร่วมมือ (Voluntary Program) ๒.๓ มาตรการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่ง | ๒.๓.๑ การกาํ หนดราคาพลังงานที่เหมาะสม (ดีเซล) | ลอยตัวราคานา้ํ มันดีเซลให้สะท้อนต้นทุน | | | | | |
| | | | |
๒.๓.๒ การสนับสนุนการใช้ยานยนต์ประหยัดพลังงานภาษี และฉลากแสดงประสิทธิภาพ | กระทรวงการคลัง จัดเก็บภาษีตามการปล่อย CO๒ | | | | | |
| | | | |
กระทรวงอุตสาหกรรม ติดฉลากแสดงประสิทธิภาพและการปล่อย CO๒ | | | | | |
| | | | |
ติดตามและประเมินผลการซื้อและจําหน่ายรถยนต์ | | | | | |
| | |
ประชาสัมพันธ์เพอื่ ปรับพฤตกิ รรมการซื้อ | | | | | |
| | |
๒.๓..๓ การติดฉลากแสดงประสิทธิภาพพลังงานในยาง รถยนต์ | พัฒนามาตรฐาน ติดฉลาก และ Wet Grip | | | | | |
| | | |
๒.๓.๔ การบริหารจัดการขนส่งเพื่อการประหยัดพลังงาน | พัฒนาโปรแกรมการบริหารจัดการขนสง่ เพื่อการประหยัดพลังงาน | | | | | |
|
ส่งเสริมการใช้โปรแกรมการบริหารจัดการขนส่งเพื่อการประหยัดพลังงาน | | | | | |
| | | | |
๒.๓.๕ การขับขี่เพอื่ การประหยัดพลังงาน (ECO Driving) | จัดอบรมพัฒนาความรู้และทักษะการขบั ขี่เพื่อประหยัดพลังงาน | | | | | |
| | | | |
พัฒนากลไกการฝึกอบรมให้เชื่อมโยงกับการขอใบอนุญาตขับขี่ | | | | | |
| |
๒.๓.๖ เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (ภาคขนส่ง) | สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการอนุรกั ษ์พลังงานภาคขนส่ง | | | | | |
| | | | |
๒.๓.๗ การอุดหนุนผลการประหยัดพลังงานสําหรับภาค ขนส่ง | ดําเนินการอุดหนุนการประหยัดพลังงานในภาคขนส่ง ต่อเนื่อง | | | | | |
| | | | |
๖๔
กลยุทธ์ | มาตรการด าเนินการ | แนวทางการด าเนินการ | แผนการด าเนินงาน ปี ๒๕๖๐-๒๕๖๔ |
๖๐ | ๖๑ | ๖๒ | ๖๓ | ๖๔ |
(๒) กลยุทธ์ภาคความร่วมมือ (Voluntary Program) ๒.๓ มาตรการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่ง | ๒.๓.๘ การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน | พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน | | | | | |
| | | | |
๒.๓.๙ การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง รถไฟรางคู่ | พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง รถไฟรางคู่ | | | | | |
| | | | |
๒.๓.๑๐ การเพิ่มประสิทธิภาพการขนสง่ น้ํามันของประเทศ โดยพัฒนาระบบขนส่งน้ํามันทางท่อ | พัฒนาระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อสายภาคเหนือ | | | | | |
| | | | |
พัฒนาระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อสายภาคตะวันออกเฉยี งเหนือ | | | | | |
| | | | |
๒.๓.๑๑ การส่งเสริม/ขยายผล การใชย้ านยนต์ไฟฟ้า (EV) | ศึกษา ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) | | | | | |
| | | | |
๖๕
ตารางที่ ๑๓ รายละเอียดด้านงบประมาณ ผลประหยัดที่คาดว่าจะได้รับของมาตรการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานอนุรักษ์พลังงานสําหรับผู้ผลิตและจําหน่ายพลังงาน (EERS) และมาตรการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่ง ในช่วง พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔
ล าดับ | แนวทางการด าเนินงาน | รายการ | แผนการด าเนินงาน ปี ๒๕๖๐-๒๕๖๔ | |
๒๕๖๐ | ๒๕๖๑ | ๒๕๖๒ | ๒๕๖๓ | ๒๕๖๔ |
๑) กลยุทธ์ภาคบังคับ มาตรการที่ ๔ มาตรการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานอนุรักษ์พลังงานส าหรับผู้ผลิตและจ าหน่ายพลังงาน (EERS) | | |
๑ | ปรับปรุงรูปแบบและกลไกการใช้ EERS ที่เหมาะสมกับประเทศไทย | ปีดําเนินการ | ● | | | | |
๒ | ปรับปรุงระบบติดตามและวัดผลการดําเนินการ EERS | ปีดําเนินการ | ● | | | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๕ | | | | |
๓ | พัฒนาระบบฐานข้อมูล และระบบสารสนเทศ | ปีดําเนินการ | ● | | | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๓๐ | | | | |
๔ | นําร่องดําเนินการ EERS | ปีดําเนินการ | | ● | | ● | |
๕ | พัฒนากฎหมายและระบบกฎระเบียบรองรับการดําเนินการ EERS | ปีดําเนินการ | ● | | | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๐ | | | | |
รวมงบประมาณ (ล้านบาท) | ๔๕ | | | | |
(๒) กลยุทธ์ภาคความร่วมมือ (Voluntary Program) มาตรการที่ ๗ มาตรการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่ง | | |
๑ | ลอยตัวราคาน้ํามันดีเซลให้สะท้อนต้นทุน | ปีดําเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
ผลประหยัด (ktoe) | ๙ | ๙ | ๑๒ | ๑๓ | ๑๖ |
๒ | กระทรวงการคลัง จัดเก็บภาษีตามการปล่อย CO๒ | ปีดําเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
๓ | กระทรวงอุตสาหกรรม ติดฉลากแสดงประสิทธิภาพและการปล่อย CO๒ | ปีดําเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
๔ | ติดตามและประเมินผลการซื้อและจําหน่ายรถยนต์ | ปีดําเนินการ | ● | | ● | | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๓ | | ๓ | | ๓ |
๖๖
ล าดับ | แนวทางการด าเนินงาน | รายการ | แผนการด าเนินงาน ปี ๒๕๖๐-๒๕๖๔ | |
๒๕๖๐ | ๒๕๖๑ | ๒๕๖๒ | ๒๕๖๓ | ๒๕๖๔ |
๕ | ประชาสัมพันธ์เพื่อปรับพฤติกรรมการซื้อ | ปีดําเนินการ | ● | ● | ● | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๓๐ | ๓๐ | ๓๐ | | |
ผลประหยัด (ktoe) | ๔๙๖ | ๔๓๘ | ๔๕๖ | ๔๘๐ | ๔๙๕ |
๖ | พัฒนามาตรฐาน ติดฉลาก และ Wet Grip | ปีดําเนินการ | | ● | ● | ● | ● |
ผลประหยัด (ktoe) | | ๒๐ | ๒๐ | ๒๒ | ๒๑ |
๗ | พัฒนาโปรแกรมการบริหารจัดการขนส่งเพื่อการประหยัดพลังงาน | ปีดําเนินการ | ● | | | | |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๐ | | | | |
๘ | ส่งเสริมการใช้โปรแกรมการบริหารจัดการขนส่งเพื่อการประหยัดพลังงาน | ปีดําเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๐ | ๑๐ | ๑๐ | ๑๐ | ๑๐ |
ผลประหยัด (ktoe) | ๑๙ | ๑๙ | ๒๔ | ๒๔ | ๕๕ |
๙ | จัดอบรมพัฒนาความรู้และทักษะการขับขี่เพื่อประหยัดพลังงาน | ปีดําเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
ผลประหยัด (ktoe) | | ๑ | ๓ | ๕ | ๕ |
๑๐ | พัฒนากลไกให้การฝึกอบรมให้เชื่อมโยงกับการขอใบอนุญาตขับขี่ | ปีดําเนินการ | | ● | ● | | |
๑๑ | สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่ง | ปีดําเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๔๐๐ | ๔๐๐ | ๔๐๐ | ๔๐๐ | ๔๐๐ |
ผลประหยัด (ktoe) | ๑๘ | ๑๗ | ๑๘ | ๑๗ | ๑๗ |
๑๒ | ดําเนินการอุดหนุนการประหยัดพลังงานในภาคขนส่ง ต่อเนื่อง | ปีดําเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
งบประมาณ (ล้านบาท) | ๑๒๐ | ๒๕๐ | ๓๕๐ | ๓๕๐ | ๓๕๐ |
ผลประหยัด (ktoe) | ๓๔ | ๖๙ | ๙๗ | ๙๘ | ๖๓ |
๑๓ | การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน | ปีดําเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
ผลประหยัด (ktoe) | -๑๔๙ | -๙๓ | ๒๗๖ | ๓๖ | ๑๘๗ |
๖๗
ล าดับ | แนวทางการด าเนินงาน | รายการ | แผนการด าเนินงาน ปี ๒๕๖๐-๒๕๖๔ | |
๒๕๖๐ | ๒๕๖๑ | ๒๕๖๒ | ๒๕๖๓ | ๒๕๖๔ |
๑๔ | พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง รถไฟรางคู่ | ปีดําเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
ผลประหยัด (ktoe) | ๖๑ | ๓๐๘ | ๑๑ | ๑,๖๐๓ | ๕๗ |
๑๕ | พัฒนาระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อสายภาคเหนือ | ปีดําเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
๑๖ | พัฒนาระบบการขนส่งน้ํามันทางท่อสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | ปีดําเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
๑๗ | ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) | ปีดําเนินการ | ● | ● | ● | ● | ● |
ผลประหยัด (ktoe) | ๕ | ๖ | ๑๕ | ๒๒ | ๒๗ |
| รวมงบประมาณ (ล้านบาท) | | ๕๗๓ | ๖๙๐ | ๗๙๓ | ๗๖๐ | ๗๖๓ |
| รวมผลประหยัด (ktoe) | | ๔๙๓ | ๗๙๔ | ๙๓๒ | ๒,๓๒๐ | ๙๔๓ |
หมายเหตุ แนวทางการดํานินการในบางหัวข้อตามมาตรการที่ ๔ และมาตรการที่ ๗ ที่ปรากฏอยู่ในภาคผนวก แผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๙ ไม่มีการระบุข้อมูลด้าน งบประมาณ (ล้านบาท) และ ผลประหยัด (ktoe) ไว้ในแผนการดําเนินงานระหว่าง ปี ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔
๖๘
แผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔)
๔. ความสอดคล้องของแผนการอนุรักษ์พลังงาน กับแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน ๕ ปี
(พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔) แผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน ๕ ปี พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔ มีความสอดคล้องกับแผนอนุรักษ์พลังงาน
พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๗๙ ซึ่งมีการดําเนินการทั้ง ๓ กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ภาคบังคับ (Compulsory Program) กลยุทธ์ภาคความร่วมมือ (Voluntary Program) และกลยุทธ์สนับสนุน (Complementary Program) โดย มาตรการหลักในแต่ะละกลยุทธ์ที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ดําเนินการใน แผนปฏิบัติการฯ คือ มาตรการที่อยู่ในพันธกิจหลักของ พพ.ได้แก่ มาตรการบังคับใช้มาตรฐานการอนุรักษ์ พลังงานในโรงงาน/อาคารควบคุม (EE๑) มาตรการบังคับมาตรฐานอาคารก่อสร้างใหม่เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (EE๒) มาตรการกําหนดมาตรฐานและติดฉลากอุปกรณ์เครื่องจักรและวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (Labeling) (EE๓) มาตรการสนับสนุนด้านการเงิน (EE๕) มาตรการส่งเสริมการใช้แสงสว่างเพื่ออนุรักษ์พลังงาน (EE๖) มาตรการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอนุรักษ์พลังงาน (EE๘) มาตรการพัฒนาบุคลากรด้านอนุรักษ์ พลังงาน (EE๙) และมาตรการประชาสัมพันธ์สร้างจิตสํานึกการอนุรักษ์พลังงาน (EE๑๐)
๕. ข้อเสนอแนะในการด าเนินการปรับปรุงแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงานในอนาคต จากการศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลในการดําเนินการจัดทําแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงานในอนาคต
ควรมีการปรับปรุงแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงานในอนาคต ดังต่อไปนี้
๑. ควรมีการบริหารจัดการแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงานระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๔) เชิงรุก เพื่อติดตาม ปรับปรุง และควบคุมให้เกิดการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการที่กําหนดไว้ตลอดจน
ปรับปรุงแนวทางในการดําเนินการตามสถานการณ์และแนวนโยบายที่ชัดเจนให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุด
๒. ควรกําหนดแนวทางการดําเนินงานด้านร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน และเป็นรูปธรรมเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานอย่างมีนัยสําคัญ
๓. ควรมีการนําข้อมูลผลการดําเนินการตามแผนปฏิบัติการเผยแพร่สู่สาธารณะชน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ
๔. ควรมีระบบการติดตามประเมินผลโครงการต่าง ๆ ที่ดําเนินการตามแผนปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงาน ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๔) อย่างมีประสิทธิภาพ และมีการดําเนินการเชิงรุก เพื่อทําการ ประเมินความก้าวหน้าของโครงการในเวลาต่าง ๆ รวมทั้งรวบรวมปัญหา และอุปสรรคในการดําเนิน โครงการ ตลอดจนผลลัพธ์ของโครงการเหล่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้ได้ซึ่งข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน เพื่อนําไปสู่การปรับปรุงแนวทางการขับเคลื่อนการดําเนินงานให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการที่กําหนด
๕. ควรมีการปรับปรุงแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๔ ให้มีความสอดคล้องกับสภาวการณ์ เนื่องจากแผนอนุรักษ์พลังงานมีระยะเวลานานดําเนินการถึง ๒๑ ปี ยกตัวอย่างเช่น มาตรการที่ ๖ มาตรการส่งเสริมการใช้หลอดแอลอีดี (LED) นั้นในอนาคตอาจมีเทคโนโลยีที่ใช้ในการให้แสงสว่างที่ มีประสิทธิภาพสูงกว่าเทคโนโลยีหลอด LED ก็ได้
๐หน้า ๖๙